QC เครื่องเอกซเรย์ด้วย CR ???_Update2


การทำ QC เครื่องเอกซเรย์ เฉพาะการทดสอบที่ใช้ฟิล์มเอกซเรย์ เช่น beam&collimator alignment, focal spot, mAs reciprocity, grid aligment เป็นต้น จะใช้ระบบ CR แทนการใช้ฟิล์มเอกซเรย์ได้หรือไม่

ความเดิม 2 กันายายน 2549

     เป็นที่น่ายินดีว่า กระแสในเรื่องคุณภาพมาแรง แสดงให้เห็นว่า มาตรฐานการให้บริการผู้ป่วย ได้ถูกยกระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างหนึ่งเล็กๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การควบคุมคุณภาพของเครื่องเอกซเรย์แบบธรรมดาซึ่งทั้งประเทศมีอยู่หลายพันเครื่อง มีความใส่ใจเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในการที่จะเฝ้าระวังและบำรุงรักษาให้มันออยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ แต่การกระทำนั้น จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย ได้แก่ เครื่องมือในการทำ QC, วัสดุต่างๆ(ฟิล์ม น้ำยา ฯลฯ) เป็นต้น ค่าใช้จ่ายนี้หลายท่านคิดว่าค่อนข้างสูง อาจจะไม่สามารถชดเชยกับปริมาณฟิล์มเสียที่เกิดขึ้นหากไม่มีการทำ QC โดยเฉพาะผู้บริหารที่ต้องปวดหัวกับเรื่องงบประมาณ

     ขณะเดียวกัน เทคโนโลยีการถ่ายภาพเอกซเรย์ธรรมดาแบบ digital (filmless) เช่น CR (computed radiography) เริ่มเข้ามาใช้ร่วมหรือแทนที่มากขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราที่อาจจะยังไม่รวดเร็วมากนัก เพราะมีปัจจัยเรื่องงบประมาณขวางอยู่ พูดง่ายๆว่ายังแพงอยู่สำหรับ รพช.ทุกแห่งจะจัดหามาใช้ (ต่อไปถ้าถูกลงอีกก็ไม่แน่) แต่ รพศ. หรือโรงพยาบาลใหญ่ๆ อาจพอหาได้

     ขอตั้งข้อสังเกต โดยการตั้งคำถามถึงชาวเราทั้งหลายว่า "การทำ QC เครื่องเอกซเรย์ เฉพาะการทดสอบที่ใช้ฟิล์มเอกซเรย์ เช่น beam&collimator alignment, focal spot, mAs reciprocity, grid aligment เป็นต้น จะใช้ระบบ CR แทนการใช้ฟิล์มเอกซเรย์ได้หรือไม่" เป็นคำถามง่ายๆครับ ชาวเราคิดว่าอย่างไรในเรื่องนี้ ถ้าทำทดแทนกันได้ จะประหยัดงบประมาณ เพราะเท่าที่เปรียบเท่าค่าใช้จ่ายแบบคร่าวๆเมื่อใช้ฟิล์มเอกซเรย์เทียบกับการใช้ CR พบว่า การใช้ CR มีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำกว่า 8 เท่า น่าสนใจครับ

ความคืบหน้า 

     1.ขณะนี้มีความคืบหน้าในเรื่องนี้ คือนักศึกษาปริญญาโทรังสีเทคนิค ภาควิชรังสีเทคนิค มหิดล กำลังทำวิจัยเรื่องนี้โดยมีผมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เป้าหมายคือต้องการพิสูจน์ให้ได้ว่า CR ใช้แทนฟิล์มได้หรือไม่ มีการเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ปรากฏว่า มีผลที่บ่งชี้ว่าเป็นไปได้ แต่การพิสูจน์จะต้องกระทำอย่างระมัดระวัง

     ขณะเดียวกัน มีนักศึกษาปริญญาเอก community medicine ของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กำลังทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยโดยที่ผมได้เข้าไปช่วยเป็นที่ปรึกษา การวิจัยจะเน้นในเรื่อง cost effectiveness ดังนั้น เมื่อผลออกมาเป็นอย่างไรก็จะนำมาแลกเปลี่ยนความรู้กันเป็นระยะๆครับ 

มานัส มงคลสุข

คำสำคัญ (Tags): #rtmu#ประกายรังสี
หมายเลขบันทึก: 91634เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2007 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ศาสตร์ด้าน CR ในเมืองไทย เป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างยิ่งครับ
  • ติดตามเรื่องราวอาจารย์มาโดยตลอดครับ
  • อาจารย์สบายดีนะครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

เสรี ศักดิ์จิรพาพงษ์

รังสีเทคนิค มอ.หาดใหญ่

น่าสนใจมากที่เดียวครับ ข้อมูลทางด้าน CR สำหรับการการตัดสินใจของผู้บริหารในรูปแบบของงานวิจัยที่เกิดจากการศึกษาในสภาวะประเทศไทยของเราเอง จะได้ฟันธงง่ายขึ้น พิจารณาเรื่อง cost effectiveness น่าจะเหมาะกับความพอเพียง และเพียงพอสำหรับการพัฒนางาน บางครั้งไม่ได้หลงเทคโนโลยีจนลืมไปว่าเราก้าวทันหรือเปล่า แต่งานวิจัยช่วยบอกอะไรได้หลายอย่าง น่าติดตามมากครับ ขอบคุณแทนประเทศไทยที่เรายังมีนักวิจัยและนักวิชาการที่รู้ลึกและเห็นคุณค่าของการพัฒนาที่ถูกทาง

ด้วยความเคารพอย่างสูง

นายไพทูล มาประกอบ

รังสีเทคนิค โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

(เห็น web blog ของอาจารย์ผมดีใจมากเลยครับคงต้องขอเป็นแฟนประจำนะครับอาจารย์)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท