ดัชนี e-Government ทั่วโลกประจำปี 2007, สำหรับเมืองไทย ร่วงลงอีกแล้ว


Taubman Center for Public Policy ของมหาวิทยาลัย Brown ได้จัดทำดัชนี e-government rating มาเป็นปีที่เจ็ด และได้ตีพิมพ์เอกสารผลของการสำรวจฉบับล่าสุดเผยแพร่แล้วเมื่อเดือนที่ผ่านมา

ในปีนี้ มีการสำรวจเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐ 1,687 เว็บไซต์ ใน 198 ประเทศ

ห้าอันดับแรกของโลกเป็น เกาหลี(1) สิงคโปร์(3) ไต้หวัน(2) สหรัฐอเมริกา(4) และสหราชอาณาจักร(6) -- ตัวเลขในวงเล็บเป็นอันดับของปีที่ผ่านมา

สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียน ปรากฏอันดับดังนี้

  1. สิงคโปร์ (2007:2, 2006:3 ดีขึ้น)
  2. มาเลเซีย (2007:25, 2006:36 ดีขึ้น)
  3. บรูไน (2007:28, 2006:106 ดีขึ้น)
  4. กัมพูชา (2007:87, 2006:155 ดีขึ้น)
  5. เวียดนาม (2007:90, 2006:126 ดีขึ้น)
  6. ฟิลลิปปินส์ (2007:96, 2006:59)
  7. อินโดนีเซีย (2007:170, 2006:176 ดีขึ้น)
  8. ลาว (2007:176, 2006:95)
  9. ไทย (2007:178, 2006:151)
  10. เมียนมาร์ (2007:184, 2006:122)

ผมรู้สึกเฉยๆ กับเรื่องอันดับนะครับ แม้ว่าเขาจัดอันดับ e-Government ของไทยอยู่ใน percentile ที่ 10 เท่านั้น ถ้าตัดเกรด คงเป็น F-- เกณฑ์ในการจัดอันดับ เป็นการวัดที่ไม่ได้ตอบคำถามเรื่องประโยชน์มากเท่าไหร่

เรื่องที่น่าสนใจมากกว่าอันดับ คือการใช้ e-Government เป็นเครื่องมือในการบริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใสมากขึ้น

คำถามสำคัญของวันนี้คือ ระบบ e-Government ของเรา ดีพอหรือยัง แล้วเรากำลังทำอะไรกันอยู่ครับ

หมายเลขบันทึก: 131051เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2007 02:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

It was written somewhere in Anthony G. Wilhelm's    2004 book "Digital Nation" about e-government and the concept of "build it and they will come."

I suspect  Thailand's digital divide is  real and a fact of life, therefore e-government as "เครื่องมือในการบริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพ"  is not comparable to e-commerce in a sense that government  won't see any ROI  in terms of its infra-structure investment.  In other words, an e-government budget line can easily be cut if that's what they're looking for - somewhat like a $100 notebook project that was cut.

Anyway, Thailand's e-government's index dropped from last year's or year before might have been from the lack of progress in the existing projects and the zero birth of new initiatves. 

Oh well, who is to be held responsbile for this? 

ถ้าสังเกตให้ดี จะพบว่า "คู่แข่ง" ในภูมิภาคนี้ของไทยในปัจจุบันเหลือแต่ "พม่า" เท่านั้นแล้ว นี่เป็นสิ่งที่น่าสะทกสะท้อนใจเป็นอย่างยิ่ง

ซ้ำร้ายเรายังกำลังพยายามเลียนแบบพม่าในเรื่อง "Burmese Way" อีกต่างหาก

เรื่อง e-government คงเป็นสิ่งที่ไกลออกไปทุกทีครับ

Albert Einstien เคยกล่าวไว้ว่า "We can't solve problems by using the same kind of thinking we used when we created them."

Conductor กล่าวว่า "ไม่ลงมือเปลี่ยนแปลง ก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง" ;-)

P
สวัสดีค่ะ
เปลี่ยนรูปอีกแล้วนะคะ แสดงว่า ชอบการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  รุปนี้ เหมือนกำลังไปชมพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำอะไรซักแห่ง สวยค่ะ รักธรรมชาติ
เรื่องe-government คงต้องให้เวลานะคะ
 ถ้ามีรัฐบาลใหม่ อะไรๆคงดีขึ้นค่ะ ตอนนี้ เท่าที่ทราบ ก็มีการระดมความคิดเห็นในหลายๆมิติออกมาอย่างเข้มข้น
 แต่ยังไม่เปิดตัว เพราะ ยังไม่ถึงเวลา
 ช่วงนี้ เป็นช่วงพักเหนื่อยค่ะ
เรียกว่าพยายามมองโลกในแง่ดีไว้ก่อน

พี่ศศินันท์ทักเรื่องรูปก่อนตามเคยครับ รูปนี้เป็นเด็กยืนหน้า aquarium ศึกษาปลา แต่ปลาก็ศึกษาเด็กเช่นกัน ดังนั้นในธรรมชาติจะหาประธานของประโยคก็จะไม่ง่ายนัก เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวพันกันทั้งสิ้น เช่นเดียวกับความคิดเห็นต่างๆ จะบอกว่าอะไรถูกหรือผิด อาจจะขึ้นกับมุมมอง ไม่ใช่ตำแหน่งหน้าที่ ความนับหน้าถือตา และเราสามารถเรียนรู้ความแตกต่างเหล่านี้ได้ถ้าหากว่าอยากจะเรียน 

ส่วนเรื่อง e-Government ผมให้เวลาครับ ถึงอย่างไร เมืองไทยก็บ้านผม เพียงแต่เอาตัวเลขมาให้พิจารณากันเองครับ 

ที่อยากรู้คือเราได้ลงมือทำอะไรกันบ้างหรือยังครับ มีความคืบหน้าอะไรบ้าง มาถูกทางหรือไม่ มีแผนงานอะไร รับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียบ้างหรือไม่ครับ อยู่นิ่งๆ ผมรู้สึกหลอนครับ

ยุทธศาสตร์หลักออกมานานแล้ว ก่อนที่เราจะมีกระทรวงซึ่งดูแลเรื่องนี้โดยตรงมาห้าปีแล้ว ถึงช่วงนี้จะพักเหนื่อย แต่เวลาหลายปีที่ผ่านมา น่าจะเห็นอะไรให้เป็นกำลังใจบ้างนะครับ (ยุทธศาสตร์กระทรวง)

คุณ Conductor พอทราบไหมคะว่า เขาเอาอะไรมาเป็นตัวชี้วัด ดัชนี e-Government แล้วเราจะมีส่วนทำให้อันดับของเมืองไทยสูงขึ้นได้อย่างไรบ้างคะ ขอบคุณค่ะ

วิธีการวัดอยู่ในลิงก์แรกของบันทึกครับ บางอย่างผมเห็นด้วย บางอย่างก็ไม่เข้าท่าเลย

แต่ประเด็นสำคัญคือเราเชื่อและทำให้ e-Government เป็นเครื่องมือในการบริการประชาชนโดยเอาชนะข้อจำกัดของระยะทาง และเวลา หรือไม่ เชื่อว่าเป็นวิธีการเอาชนะการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการหรือไม่

ถ้าเชื่อก็ควรทำครับ คงไม่ต้องไปสนใจดัชนีเท่าไหร่ ขอให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี+เป็นธรรมก็พอ

ว่ากันตามที่เห็นแล้ว ผมคิดว่ากระทรวงไอซีทีและหน่วยงานในกระทรวง ปรับปรุงดีขึ้นเป็นอย่างมาก เรื่องการเตือนภัยพิบัติครับ (แต่ดีได้กว่านี้อีก ;-) และดีได้กว่านี้อีกมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เรื่อง e-Government ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท