โทรทัศน์: หน้าจอ หรือ หน้ากล้อง


ข่าวสะเทือนขวัญเกี่ยวกับการสังหาร นางเบนาซีร์ บุตโต (Benazir Bhutto) อดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถาน พร้อมชาวบ้านอีกหลายสิบคน อาจจะไม่เรื่องใหญ่ในชีวิตชาวบ้านในเมืองไทย ก็เป็นเพียงรายงานเหตุการณ์หนึ่งในหกพันล้านเรื่องที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน

ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ การใช้ความรุนแรง ไม่เคยแก้ปัญหาอะไรได้เลย กระทำครั้งหนึ่ง ก็สร้างปัญหาใหม่ๆตามมาอีกเสมอ 

ดูเหมือนเรื่องไกลตัว

  • เป็นเรื่องที่ไม่เข้าใจสาเหตุ: ผมอนุมานเอาว่ารัฐประหารคงไม่ใช่สาเหตุ ถ้ารัฐประหารเป็นสาเหตุ ก็ต้องถามว่าอะไรคือสาเหตุของการรัฐประหาร แล้วก็คงต้องถามปัญหาต่อไปเรื่อยๆ อาจไปจนถึงคนเราเกิดมาทำไม
  • เกิดขึ้นไกลจากเมืองไทย: นั่งเครื่องบินก็หลายชั่วโมง ไม่มีผลกระทบโดยตรง
  • เป็นเรื่องที่ข่าวสารเผยแพร่ผ่านสื่อแบบทางเดียว: ไม่มีโอกาสสอบถาม ถึงถามได้ ก็ไม่แน่ใจว่าจะถามอะไรดี
  • การนำเสนอยังขึ้นกับบรรณาธิการข่าวของแต่ละสื่ออีก ว่าจะนำเสนอแต่ละประเด็นอย่างไร

ถึงกระนั้น ผมก็เชื่อว่ามีคนเป็นจำนวนมากทั่วโลก ได้ตัดสินไปแล้วว่าใคร กลุ่มใดเป็นผู้ลงมือ 

ว่าแต่ว่า ก่อนตัดสินใจ เราเข้าใจเรื่องนี้ดีแค่ไหน 

กับโทรทัศน์

  • ดูละคร ทั้งๆ ที่รู้ แต่ทำไมถึงได้ "อิน" ได้มากขนาดนั้น
  • สำหรับรายการสัมภาษณ์สด อรรถประโยชน์ของคำตอบ กลับขึ้นกับคุณภาพของคำถาม
  • ส่วนข่าวที่คิดว่ารวดเร็วฉับไวนั้น ที่จริงมีดีเลย์ กว่าเทปจะกลับสู่สถานี ตัดต่อ ส่งออกอากาศ แล้วจึงมาถึงเครื่องรับโทรทัศน์

อะไรเป็น "ของจริง" สำหรับเรากันแน่ ตัดสินจากอะไร

How real is real? 

เราเล็งก่อนยิง หรือยิงก่อนเล็ง หรือว่ามัวแต่คิดว่ากำลังเล็งโดยไม่เคยคิดจะยิงครับ

{แก้ไข: ตัวสะกด เพิ่มข้อความ เพิ่มข้อมูลเสริม เพิ่มหมวดหมู่}
หมายเลขบันทึก: 156307เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2007 02:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีครับพี่

  • ผมไม่ได้ดูข้อมูลครับ เลยไม่รู้่ว่าหน้าจอหรือว่าหน้ากล้องครับ
  • แต่หากได้ดูหน้าจอ ก็คง สรุปไม่ได้ถึงหน้ากล้อง
  • แต่หากได้ดูหน้ากล้อง ก็สรุปไม่ได้จากต้นตอ
  • ข้อมูล ข่าวสารมีกี่ระดับชั้นหนอ...แล้วเราเสพอยู่ในระดับชั้นไหนหนอครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

อาจารย์เม้ง: ไม่ว่าจะอยู่หน้ากล้องหรือหลังกล้อง เราก็ควรตระหนักว่ามีทางเลือกเสมอครับ เราไม่ต้องเลือกสิ่งที่ไม่เหมาะกับตัวเรา

คุณไม่แสดงตน: ขอบคุณสำหรับข้อความ อโหสิครับ สำหรับผม เรื่องจบไปตั้งแต่ชี้แจงแล้ว ถ้าไม่เข้าใจ ถามมาผมก็ตอบไปทุกทีนะครับ

ข้อความ(กึ่ง)ส่วนตัวแบบนี้ สามารถติดต่อด้วยอีเมลของ GotoKnow ได้ ถ้าไม่ต้องการแสดงตัวและไม่ต้องการคำตอบ ก็ใช้ชื่อปลอม+ใส่อีเมลมั่วๆ มา ให้ผมรู้ว่าไม่ต้องตอบก็ได้ครับ

ขอบคุณสำหรับ quote จากหนังสือ เข้าใจแล้วครับ 

ขออนุญาตลบข้อความ(กึ่ง)ส่วนตัวออกนะครับ

สวัสดีค่ะ

เรื่อง อดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถาน ที่ถูกลอบสังหาร เราได้ยินข่าวกัน แต่ก็คงไม่มีใครทราบความจริงที่แท้จริงค่ะ

คนที่อยู่ไกลๆ ฟังแต่ข่าวอย่างเรา คงไม่ทราบว่าอะไรจริง ไม่จริง  แล้วมันไม่มีเกณฑ์ที่เป็นสากลจะมาวัดว่า อะไร "จริง" อะไร "ไม่จริง"

ยิ่งเราเป็นผู้อยู่ห่างจากเหตุการณ์แล้ว

เรายิ่งไม่สามารถตัดสินได้ว่าความจริงของใครเหนือกว่าของใคร ความจริงของใครถูกที่สุด ดีที่สุดค่ะ

บางที"ความจริง" ที่เราได้ยินได้ฟังมา ไม่ว่าเรื่องอะไร

อาจจะเป็นเรื่องที่แต่ละฝ่าย แต่ละคน  ต่างล้วน "สร้าง" มันขึ้นมา ด้วยมุมมอง ประสบการณ์ ภูมิหลัง ฐานะทางสังคม ค่านิยม อุดมการณ์ หรือจากการถูกฝึกฝน การศึกษา 

คล้ายๆว่า ถูกสร้างขึ้นมา ตาม "โลก" ของใครของมันค่ะ

ขอบคุณพี่ศศินันท์ครับ

เรื่องบางเรื่อง อยู่เลยสายตาไป ก็บอกยากแล้วครับ 

แต่บางทีเราก็รู้ (หรือคิดว่ารู้) จากข้อมูลประกอบเหมือนกัน อย่างเช่นผมรู้ว่ามีอยู่สองจังหวัดที่ผมไม่เคยไป คือนราธิวาสกับแม่ฮ่องสอน เพราะจังหวัดอื่น ผมเคยไปแล้วเหลือแค่สองจังหวัดนี้ และผมมั่นใจว่าเมืองไทยไม่มีจังหวัดอื่นอีกในเวลานี้ที่ผมยังไม่เคยได้ยินชื่อ หรือว่าเช่นนางเบนาซีร์ บุตโตถูกสังหารแล้วตามข่าว

ตรงที่ยากคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลประกอบนั้นถูกต้องครับ

ตรงที่ยากคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลประกอบนั้นถูกต้องครับ

ตรงนี้ ถ้าในความเห็นส่วนตัวจริงๆ  ในเรื่องความถูกต้องของข้อมูลที่ได้ฟังได้อ่านได้ยิน นะคะ

พี่ใช้ ประสบการณ์ส่วนตัว ที่ผ่านมา มาพิจารณา+ข้อมูลประจักษ์พยานข้อเท็จจริง  หรืออาจจะด้วยการใช้เหตุใช้ผล (rationalism)ค่ะ

 เพราะเมื่อเชื่อว่าความจริงมีอยู่จริง ก็ย่อมเชื่อต่อไปว่า มีวิธีที่ดีที่จะอธิบายความจริงนั้น

บางทีที่ดูข่าว อ่านข่าว จะพบว่าสื่อบางแห่ง ใช้วิธีการในการ ชักจูง คนอื่นให้ยอมรับ "ความจริง" ที่เขาบอก

ซึ่งในกรณีนี้ พี่ใช้ "ความสมเหตุสมผล" (validity) ของข้อมูล และ ท่วงทำนอง  ที่ใช้ในการสื่อสารออกมายังสาธารณชน และตรรกะ แวดล้อมต่างๆ มาพิจารณาประกอบค่ะ

 แต่ที่ลึกกว่านั้น อาจจะต้องมี"วิถีคิด"ของเราเอง มาจับประเด็น ความจริงของข้อมูลด้วยค่ะ

เรื่องนี้ มีเรื่องพูดได้อีกมากนะคะ

เราจะไปบอกว่า  ความจริงของใครเหนือกว่าของใคร ความจริงของใครถูกที่สุด ดีที่สุด ยากค่ะ

ความจริงของแต่ละคนต่างก็มีพื้นที่พร่าเลือน (blind area) แตกต่างกัน มีจุดตั้งต้นในการสร้างความจริงต่างกัน มีจุดมุ่งเน้นสำคัญแตกต่างกันค่ะ

คงต้องไป เปิดตำรา วิชาปรัชญาแล้วค่ะ

และประเด็นนี้ เป็นประเด็นที่ คนโต้เถียงกันมาเยอะแล้ว โดยเฉพาะที่โยงถึงการเมืองค่ะ

สวัสดีครับคุณ conductor

ผมมองเหตุการณ์ในข่าวหลายอย่างมิใช่เฉพาะข่าวไกลตัว แม้ข่าวในเมืองไทย หรือแม้แต่การพูดถึงคนที่ใกล้ตัวในทางที่ดีหรือไม่ดี ผมเองมองแง่ประโยชน์ของการเสพสื่อ/ข้อมูล

โดยข้อมูลเองก็เป็นไปตามผู้เห็นจะตีความ ความหมายเป็นไปตามภูมิปัญญาของผู้สื่อข่าวนั้น (แม้แต่เราเห็นด้วยตายังอาจไปเป็นอย่างที่เราคิด)

เรามองข้อมูลนั้นอย่างไร ใช้ประโยชน์อย่างไร ก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะเลือกข้อมูลนั้นมาก่อประโยชน์สุขกับตัวเองอย่างไร ต่อการสร้างปัญญาของตนมากกว่าการโต้เถียงว่าสิ่งใดจริงหรือไม่จริง

"ความจริงในบริบทหนึ่ง อาจไม่จริงในอีกสถานการณ์"

 "คำลวงในความเห็นเรา อาจเป็นความจริงในความเห็นของเขา"

หมายเหตุ : ตั่งประเด็นได้น่าสนใจมากครับคุณ conductor

พี่ศศินันท์กับหมอโรจน์ คงคุ้นกับวิธีเขียนของผมแล้ว จึงตระหนักได้ว่าบันทึกสไตล์นี้ มีอะไรซ่อนอยู่อยู่เสมอ ขอบคุณทั้งสองท่านครับ 

ในชั้นเรียน เวลาอาจารย์สอน ทำไมนักศึกษาจึงเข้าใจไม่เหมือนกัน ทำไมมีบางคนได้ A บางคนได้ F ทั้งๆ ที่ ฟังอาจารย์พูดแบบเดียวกัน อ่านหนังสือเล่มเดียวกัน

ข้อมูลต่างๆ ที่เรารับมา ตัวเราเป็นผู้ประเมินเอง ทำความเข้าใจเอง ตามประสบการณ์ที่ผ่านมา ถ้าสามารถ relate ได้ ก็จะช่วยให้เข้าใจ/จับประเด็นได้ง่ายขึ้น ส่วนจะเชื่อหรือไม่นั้น แล้วแต่แต่ละคน

มีหนังสือเก่า เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับการสื่อสารของมนุษย์ ชื่อ How Real is Real? โดย Paul Watzlawick ถ้าสนใจ ลองหาอ่านได้ครับ

  • จะอยู่หน้ากล้องหรือหลังกล้อง เป็นผลของการเลือกครับ เช่นเดียวกับการเลือกทำหรือเลือกดู
  • ถ้าเลือกทำนั้น น่าจะต้องเชื่อเสียก่อน
  • แต่ก็เป็นไปได้เหมือนกันที่เราเชื่อโดยไม่เข้าใจว่าเชื่ออะไร

สวัสดีค่ะ

ขออนุญาตสวัสดีปีใหม่ ที่นี่นะคะ

ช่วงเวลานี้   เป็นช่วงที่เราจะมอบคำอวยพรให้แก่กันในวาระวันขึ้นปีใหม่นี้   วันเวลานี่ช่างหมุนเวียนเปลี่ยนไปเร็วเหลือเกิน เดี๋ยววันเดี๋ยวคืน 

แต่ชีวิตเราๆต้องมั่นใจว่า  จะต้องมีสิ่งดีๆ ที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตเราแน่นอน ในปีใหม่นี้ค่ะ

และขอนำคำสอนของพระ ที่พี่เคารพนับถือมาฝากค่ะ

การเกิดมาในแต่ละภพแต่ละชาติของมนุษย์ทุก ๆ คนมีจุดประสงค์อันสูงสุด คือแสวงหาที่พึ่งที่ระลึกอันแท้จริง ที่พึ่งที่แท้จริงนั้นต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นสุขได้ด้วยตัวเองและต้องเป็นตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง

 

ขอน้อมรับคำอวยพรและกำลังใจ เรื่องราวดีๆ ตลอดจนการเตือนสติ ที่พี่ศศินันท์ให้แก่ตัวผมและสมาชิกทุกท่านตลอดมาครับ ที่ขอบคุณมากเป็นพิเศษคือการเป็นกัลยาณมิตรที่แลกเปลี่ยนกันได้ทุกเรื่องผ่านช่องทางส่วนตัวอื่นๆ 

การเกิดมาในแต่ละภพแต่ละชาติของมนุษย์ทุก ๆ คนมีจุดประสงค์อันสูงสุด คือแสวงหาที่พึ่งที่ระลึกอันแท้จริง ที่พึ่งที่แท้จริงนั้นต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นสุขได้ด้วยตัวเองและต้องเป็นตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง

สาธุ ความสุขหรือสิ่งที่เกิดในใจนั้นยั่งยืนกว่า ส่วนความสุขหรือสิ่งที่เกิดในสมอง คือคิดเอาว่าเป็นอย่างนี้อย่างนั้น อยู่ได้เดี๋ยวเดียวครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ

สุข สดชื่น สมหวัง จงมีแด่ท่านตลอดปี ตลอดไป

  • แวะมาสวัสดีปีใหม่ค่ะ
  • ขอให้มีสุขภาพแข็งแรงนะคะ
ขอบคุณท่านสิทธิรักษ์์ พี่เหลียงผู้อาวุโส และคุณนารี กงจู๊อ๊อด ครับ ขอให้ทั้งสองท่านประสบความสุขความเจริญตลอดไปครับ

เรื่องนี้เป็นเรื่องน่าคิด  ต้องประติดประต่อภาพ Jigsaw ให้มันชัด  ในขณะที่เรากำลังโทษอีกฝ่ายแต่ผลกลับกลายเป็นอีกฝ่ายหนึ่ง

หลังผมบรรยายวิเคราะห์เรื่อง 9/11 มีหมอท่านหนึ่งบอกมีซีดีที่บอกว่าทุกสิ่งทุกอย่างทำโดยประเทศของเขาเอง  มันคิดแบบกลับหัวกลับหางเลย  อะไรคือความจริงครับ

ในสหรัฐ มีกลุ่มคนซึ่งเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดกันมากพอควรทีเดียวนะครับ เค้าทำหนังออกมาในรูปของสารคดีเพื่อชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่คนส่วนใหญ่ของโลกเชื่อว่าตึกถล่มจากเครื่องบินชนนั้น อาจเกิดจากการจุดระเบิดถล่มตึกจากภายใน แล้วก็มีอีกฝ่ายหนึ่ง ออกมาพิสูจน์ว่าเป็นไปได้เหมือนกัน

มี "หลักฐาน" อันหนึ่ง ซึ่งดูเผินๆ โดยไม่คิดอะไรแล้ว ดูดีมากครับ คือเริ่มต้นที่เค้าบอกว่าการที่ตึกถล่มนั้น เครื่องวัดแผ่นดินไหวตรวจจับได้ 

เครื่องวัดแผ่นดินไหวที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย วัดเวลาจากจุดที่ตึกเริ่มยุบตัวจนยอดตึกร่วงลงสู่พื้นได้ประมาณ 10 วินาที เวลาที่ใช้นั้น พอๆ กับเวลาวัตถุตกลงอย่างเสรี (free fall ตามทฤษฎี = 9.22 วินาทีที่ระยะ 417 เมตร) ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ เนื่องจากโครงสร้างตึกที่ยังยืนอยู่ได้นั้น น่าจะต้านเอาไว้ หน่วงเวลาออกไปได้บ้าง ตึกไม่น่าจะถล่มได้เร็วขนาดนั้น จนเป็นเหตุให้สงสัยว่าจะมีการวางระเบิดอย่างเป็นระบบในตึก ทำลายโครงสร้างภายในของตึก

แต่ก็มีการคำนวนทางฟิสิกส์เพื่อโต้แย้งว่ามีความเป็นไปได้

สังคมวิทยาศาสตร์ว่ากันด้วยเหตุผล สังคมพุทธศาสตร์ว่ากันด้วยความจริง ส่วนสังคมไสยศาสตร์นั้นได้ยินอะไรมาก็เชื่อไว้ก่อนครับ

น่าเปิดประเด็นต่อ ครั้งซึนามิ ในเมืองไทย  ทั้งอเมริกันและญี่ปุ่นทราบข้อมูลก่อนได้อย่างไร  จึงทำให้คนญี่ปุ่นและอเมริกันไม่สูญเสีย

ก่อนหน้าไม่เกินสัปดาห์กำลังทางอากาศสหรัฐขอใช้ฐานบินในเมืองไทย  ยังไม่ได้อนุมัติเกิดซึนามิ  เครื่องบินดังว่าบินว่อนสร้างปัญหาไปทุกประเทศรอบคาบสมุทรอินเดียและอินโดนีเซีย  น่าแปลกและน่าศึกษา  ประเด็นเดียวกันต้องหาความจริง  ว่าไม่ใช่ธรรมชาติโดยแท้ทั้งหมด 

เรื่องของสหรัฐ ผมเพียงแต่ให้ข้อมูลและตั้งข้อสังเกตได้เท่านั้นครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท