โลกร้อน (2.3.3)


บันทึกชุดนี้ทั้งชุด ติดตามได้ที่นี่

ที่ผ่านมา ผมเจตนาไม่แวะไปเรื่องการแก้ไขปัญหาโลกร้อนครับ มีหลายสาเหตุครับ

  1. ศึกนี้ใหญ่หลวงนัก ความคิดที่บอกว่าทำอย่างนี้ซิ แล้วหวังว่าจะแก้ไขได้ เป็นความคิดแบบที่ยังติดกับการทำข้อสอบ
  2. การเลื่อนปัญหาออกไปในอนาคต หรือการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ได้เป็นการแก้ไขอะไรเลย
  3. การแก้ปัญหาที่สาเหตุ มีโอกาสที่จะได้ผลลัพท์ตามประสงค์ที่ยั่งยืน มากกว่าการมั่วไปเรื่อยๆ เป็นครั้งคราว เหมือนไฟไหม้ฟาง

ปัญหาโลกร้อน เริ่มมาจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ ก๊าซเรือนกระจกเป็นก๊าซที่ประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอน ไฮโดรเจน และ/หรือออกซิเจน ก๊าซเหล่านี้ เพิ่มปริมาณขึ้นมากมาย เนื่องจากการเผาไหม้ เปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมีของเชื้อเพลิงให้เป็นก๊าซ เพื่อให้เราเอาพลังงานไปใช้; การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลอันได้แก่น้ำมัน และการผลิตปิโตรเคมีต่างๆ

การแก้ไขภาวะโลกร้อน พูดง่าย แต่ทำยาก ในเมื่อต้นเหตุคือก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ วิธีแก้ไขก็คือเอาก๊าซเรือนกระจกออกจากบรรยากาศ; การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทน ฯลฯ เป็นการบรรเทาปัญหาไม่ให้รุนแรงกว่าในปัจจุบัน แต่ก็ไม่ได้ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศลงเลย แต่ทำให้อัตราการเพิ่มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกไปในบรรยากาศน้อยลง ถึงยังไงก็ยังดีกว่าทำเป็นไม่รู้เรื่อง ตั้งหน้าตั้งตาทำลายโลกต่อไป

ปลูกต้นไม้แก้โลกร้อน ต่อชีวิตตนเอง ลูกหลาน และอารยธรรมมนุษย์

เนื้อไม้ประกอบด้วยเซลลูโลส (C6H10O5)nโดยที่คาร์บอนในเซลลูโลส พืชได้มาจากกระบวนการสังเคราะห์แสงโดยดูดคาร์บอนไดอ็อกไซด์มาจากบรรยากาศ

6 CO2(g) + 12 H2O(l) + photons → C6H12O6(aq) + 6 O2(g) + 6 H2O(l)
carbon dioxide + water + light energy → glucose + oxygen + water

พืชเอาคาร์บอนไดอ็อกไซด์จากอากาศ น้ำจากราก แสงแดดจากดวงอาทิตย์ มาสร้างกลูโคส (ก่อนนำกลูโคสไปสร้างเป็นเซลลูโลส) คายออกซิเจน และน้ำออกมาทางใบ

ถ้าเผาไม้ คาร์บอนที่พืชเก็บไว้ในรูปของเซลลูโลส ก็จะถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศในอัตรา ไม้แห้ง 1 ตัน ปล่อยคาร์บอนไดอ็อกไซด์ออกมา 1.833 ตัน

ในทำนองกลับกัน การปลูกต้นไม้ที่มีน้ำหนักไม้แห้ง 1 ตัน ก็จะดูดคาร์บอนไดอ็อกไซด์จากบรรยากาศเข้าไป 1.833 ตัน

นี่เป็นที่มาของการปลูกต้นไม้สามารถนำไปเคลมคาร์บอนเครดิต (และขึ้นเงินได้) ในบันทึกโลกร้อน (2.3.1)

ปลูกต้นไม้แบบไหนดี

จะปลูกอะไรก็ดีทั้งนั้น ตราบใดที่ไม่เผา

แต่เมื่อมองอรรถประโยชน์โดยรวมแล้ว ไม้ยืนต้นที่มีน้ำหนักมาก อายุยืนยาว จะดีกว่าไม้เล็ก ไม้ล้มลุก ซึ่งมีโอกาสถูกเผาทำลายมากกว่า

อ้าปากรอก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ลอยมาเข้าปากแบบนางสวาหะ (แม่หนุมาน) ไม่เวิร์คครับ ไม่เวิร์ค

หมายเลขบันทึก: 187387เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2008 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีเจ้าค่ะ ลุงคอนดักเตอร์

แวะมาด้วยความคิดถึง กอดดดดดดดดดดดดด โลกร้อน เครียดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด 55555555555+++ รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ --->น้องจิ ^_^

เครียดเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ปลูกต้นไม้เป็นเรื่องส่วนรวมครับ

  • ใช่แล้วนะน้องจ๋า เราควรมาชวนกันทำเรื่องดีๆให้ส่วนรวม
  • รวมทั้งดูแลกัน เพื่อให้ได้ร่วมกันทำให้กับส่วนรวมได้ยืนยาวไปอีกนานๆ
  • เพื่อให้ชีวิตที่ยังไม่สิ้น ได้มีโอกาสให้ และให้ต่อไป

ว่าแล้วก็ลิงก์บันทึกพี่หมอเจ๊มาไว้ในบันทึกผมเลยครับ

ทำอย่างนี้เป็นปกติ อิอิ เป็นการเชื่อมโยงความรู้ ซึ่งตามความเห็นผมคิดว่าใน GotoKnow นี้ยังไม่ค่อยทำกันทั้งๆที่เป็นเว็บ KM แท้ๆ เราไปพึ่งคำสำคัญ แต่ก็ไม่ได้มีการตกลงกันก่อนว่าจะใช้คำอะไร เลยทำให้ตั้งกันได้ตามสบาย ความรู้ไม่รวมกันเป็นหมวดหมู่ 

ขำค่ะ "อ้าปากรอก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ลอยมาเข้าปากแบบนางสวาหะ (แม่หนุมาน) ไม่เวิร์คครับ ไม่เวิร์ค" กะว่าจะทำอยู่แล้วเชียว..ฮ่าๆๆๆ กลัวมีหนุมาน..อิอิ

ปลูกต้นไม้ดีกว่า..โครงการระหว่างคิด..อีกเดี๋ยวกลับเมืองไทยจะไปดำเนินการ ^ ^

ปลูกต้นไม้ที่บ้านแล้วค่ะ ... อ.ตุ๋ย คิดโครงการออกแล้วบอกด้วยนะค่ะ...เผื่อสามารถร่วมด้วยช่วยกันค่ะ... ^_^

ไม่ลอง ไม่รู้ครับ (แต่ไม่ต้องลองอ้าปากแบบนั้น)

อยากปลูกต้นไม้เหมือนกัน ทำมั้ย ทำเลย ไม่ค่อยอยากพูดโน่นนี่มากมาย ยังไปปลูกที่อื่นไม่ได้จะลองปลูกหน้าออฟฟิศตัวเองก่อน มีสวนสาธารณะอยู่

มีอีกโครงการที่พาเด็กๆ ไปปลูกป่าชายเลน ถ้าสนใจจะเอามาเขียนสั้นๆ ให้อ่าน ดีเหมือนกันนะ ผู้ใหญ่ก็ได้ปลูกด้วย มีพันธุ์ต้นไม้เตรียมให้เรียบร้อย มีคนดูแลต่อเนื่อง

ทำเลยครับ เรื่องนี้ ไม่ต้องคิดมาก ผู้ใหญ่นั่นแหละ เงื่อนไขเยอะ เหตุผลเยอะ ในที่สุดก็คิดมากจนไม่ทำเรื่องที่ต้องทำ เรียกว่าฉลาดเกินไป

เทคโนโลยีนางสวาหะ

เมื่อปี 1999 เด็กเกรด 8 ประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์แล้วชนะ (แม้จะสร้างไม่ได้จริง) โดยจะดักจับคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในอากาศเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (คุณพ่อ) นำความคิดนี้ไปพัฒนาต่อ

ปัญหาเดิม เท่าที่จำได้จากข่าวเก่า คือความหนาแน่นของคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในอากาศปัจจุบัน "ยังไม่มากนัก" ทำให้กระบวนการเคมีปกติ ไม่มีประสิทธิภาพพอ --> แปลว่าแพงเกินไป

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเทคโนโลยีนี้ สามารถทำได้ที่ต้นทุน $30-50 ต่อตันของคาร์บอนไดอ็อกไซด์ที่ดูดมาจากอากาศ

ถ้า commercialize จริงๆ ก็ดีนะคะ อย่างน้อยก็เป็นหนทางหนึ่ง..แล้วก็ปลูกต้นไม้ไปด้วย.. คิดว่าวิธีการที่ไม่ธรรมชาติ ทำขึ้นมามักจะมี side effect เสมอ ... ระหว่างนี้ก็ปลูกต้นไม้รอไปก่อน ^ ^

เมื่อจะทำอะไรสักอย่างที่ต้องมีการลงทุน และใช้พลังงาน ในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน จะไม่มีใครทำอะไรให้ฟรีหรอกครับ ดังนันจึงมีความคิดเรื่อง CDM และ Carbon Credit/Carbon Exchange ขึ้นมาใน Kyoto Protocol เพื่อให้ผู้ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก รับผิดชอบต่อการกระทำของตน

จำได้ว่าราคา CDM  อยู่ประมาณ $100 ต่อตันของคาร์บอกไดออกไซด์ (tCO2e) ดังนั้นหากทำต้นทุนได้ที่ $30-50/tCO2e ก็จะมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ ส่วน side effect ก็คือดูดมาแล้ว จะเก็บอย่างไร จะใช้พลังงานอีกเท่าไหร่ คุ้มหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งต้องไปคิดต่อ

CDM ที่ศึกษา เค้าว่าไม่ใช่ 'business as usual' เช่นลาวมีป่าเยอะ จะเอา carbon credit ไปขายตรงๆ ก็ไม่ได้ แต่จะต้องทำโครงการใหม่ที่จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศ จึงจะขาย tCO2e ได้ -- ดังนั้น หากไทยปลูกป่าโดยคัดเลือกพันธุ์ไม้น้ำหนักสูงที่โตเร็ว ก็อาจจะเป็นโอกาสที่ดีทางเศรษฐกิจครับ

ช่วงนี้ออกแบบการปลูกต้นไม้ในที่ดอน มีกระบวนการดังนี้

  1. เอาเสียมเหล็ก ที่การไฟฟ้าขุดหลุมฝังเสาไฟฟ้านั่น เหตุผล เพราะขุดได้ลึก และขุดได้เร็ว ดินแข็งๆขุดได้
  2. ขุดลึกหลุมละครึ่งเมตร
  3. เอาปุ๋ยคอกใส่ ครึ่งถัง แล้วเอาหน้าดินรองสูง1 ฝ่ามือ รากไม้จะได้ไม่ชนปุ๋ยโดยตรง
  4. ตอนปลูกให้ต้นไม้ต่ำกว่าปากหลุม1 ฝ่ามือ
  5. ถากดินรอบปากหลุมให้เป็นรูปกะทะ ฝนตกมาน้ำจะได้ไหลลงหลุมมากขึ้น เศษใบไม้ก็จะไหลลงมาปกคลุม
  6. ริมหลุมเอาเมล็ดฟัก แฟง แตงโม น้ำเต้า พริก มะเขือ ฯลฯ มาปลูกร่วม จะได้อธิบายว่า..ปลูกไม้ยืนต้นแล้วจะกินอะไรร?????????????????????????
  7. รอดูภาพ วันที่ชาวแซ่เฮ จะปลูกเอกมหาชัย วันที่14 นี้  

หมายเหตุ

วิธีปลูกแบบนี้เหมาะกับที่ดอนเท่านั้น ไม่แนะนำให้ปลูกวิธีนี้ในที่ลุ่ม

อ้าว แล้วคนปลูกในที่ลุ่มละ จะปลูกอย่างไร?

ใครอยู่ในที่ลุ่ม ก็คิดวิธีปลูกต้นไม้ที่ดีที่สุดในที่ลุ่ม สิครับ 

จะให้คนที่ดอนไปเสนอแนะ..ไม่อาจเอื้อม ครับผ๊ม อิอิ

ไม้ไผ่ เตรียมไว้เป็นหลักมัดต้นไม้ กันลมโยก

เห็นประโยชน์ของไม้ไผ่แล้วไหมละ

..ตั้งเกิดมาไม่เห็นใครขาดทุนเพราะการปลูกต้นไม้

ใครอยากมีกำไรชีวิต รีบปลูก ปลูก เดี๋ยวจะว่าหล่อไม่เตือน

มีบางประเด็นที่ผมไม่มีข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ ซึ่งหากเป็นจริง คงไม่ใช่ข่าวดีนัก

  1. การปลูกต้นไม้หากมองในเรื่องของการช่วยลดก๊าซเรือนกระจกแล้ว การปลูกในบางพื้นที่เท่านั้นที่สามารถที่จะช่วยลดได้ แต่บางพื้นที่อาจจะทำให้เลวร้ายยิ่งกว่าเดิม(ประมาณว่าเส้นรุ้งเส้นแวงที่เท่าไหร่)
  2. ต้นไม้คือสิ่งมีชีวิต มีช่วงของอุณหภูมิในการดำรงชีวิต(ประมาณ 50 องศาเซลเซียส??) หากโลกร้อน ต้นไม้ก็จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยเพิ่มก๊าซเรือนกระจกได้
  3. ในบ้านเรา ถ้าผมจำไม่ผิดน่าจะเป็น มจธ. ที่ศึกษาเรื่องของการดูดซับก๊าซ CO2 ของต้นไม้
  4. CDM ด้านไม้ป่า จะแตกต่างจาก ด้านอื่น ๆ ทั้งในส่วนของรายละเิีอียดและระยะเวลาในการคิดคาร์บอนเครดิต

ผมไม่ได้มองว่า การที่เราทำอะไร จะเป็นการช่วยโลก เพราะว่ามันใหญ่ไป ช่วยชาติ? ก็ยังใหญ่ไป ช่วยเราต่างหาก แม้ว่าเราจะคิดอย่างนั้น แต่สิ่งที่เราทำจริง ๆ ก็แค่ช่วยเรา

คงใช้เวลานิดเดียวในการอ่านบันทึกนี้

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท