ภาษีเงินได้สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ


เงินหรือประโยชน์ใดๆ จากกองทุนสำรองเลียงชีพ ถือเป็นรายได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มีข้อยกเว้นตามข้อ 55 ของเอกสารเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี ของกรมสรรพากรอยู่สามกรณีคือ

55. เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพหรือตายดังนี้
        (1) กรณีเกษียณอายุลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
        (2) กรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและ แสดงความเห็นว่าลูกจ้างผู้นั้นไม่สามารถที่จะทำงานในตำแหน่งหน้าที่ซึ่ง ปฏิบัติอยู่นั้นต่อไป ไม่ว่าเหตุทุพพลภาพนั้นจะเกิดเนื่องจากการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างหรือไม่ ก็ตาม
        (3) กรณีตาย ไม่ว่าการตายนั้นจะเกิดจากการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างหรือไม่

คงไม่มีใครไม่อยากออกจากกองทุนมาด้วย วงเล็บ (2) กับ (3) แต่ประเด็นของ (1) เป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณา-วางแผนล่วงหน้าสำหรับท่านที่คิดจะเกษียณอายุก่อนกำหนด

ในขณะนี้ตามคำวินิจฉัยของกรมกรรพากรที่ 706/3494 การเกษียณอายุแบบที่ไม่ต้องนำเงินหรือประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาคิดเป็นรายได้พึงประเมิน จะต้อง

  1. มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  2. เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
  3. ครบกำหนดการทำงานกับนายจ้าง ทั้งนี้ การครบกำหนดการทำงานมีได้ 2 กรณี คือ
        (1) กรณีเกษียณอายุตามที่นายจ้างกำหนดไว้ในข้อบังคับการทำงาน หากนายจ้างกำหนดเกษียณอายุไว้น้อยกว่า 55 ปี จะเป็นผลให้ลูกจ้างที่ได้รับเงินจากกองทุนไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ แต่หากนายจ้างกำหนดเกษียณอายุไว้มากกว่า 55 ปี กรณีลูกจ้างจะได้รับยกเว้นภาษี ลูกจ้างจะต้องทำงานจนครบอายุเกษียณตามที่นายจ้างกำหนดไว้ในข้อบังคับการ ทำงานเท่านั้น
        (2) กรณีสิ้นกำหนดเวลาการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ลูกจ้างจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ต่อเมื่อลูกจ้างได้ทำงานจนครบเวลาที่กำหนด ไว้ในสัญญาจ้างแรงงานแล้วเท่านั้น

ในกรณีนายจ้างยอมให้ลูกจ้างเกษียณก่อนกำหนดอายุเกษียณ (Early Retirement) จะพิจารณาว่า เป็นการครบกำหนดการทำงานตามข้อ 3. ก็ต่อเมื่อนายจ้างได้ระบุหลักเกณฑ์การอนุญาตให้มี Early Retirement ไว้ในข้อบังคับการทำงานอย่างชัดเจนโดยไม่ต้องมีการใช้ดุลพินิจเพิ่มเติม เช่น กำหนดว่า "นายจ้างจะอนุญาตให้พนักงานเกษียณก่อนอายุได้ หากพนักงานมีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปและทำงานกับนายจ้างมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี" ทั้งนี้ หากนายจ้างมีลักษณะตามองค์ประกอบในข้อ 1. และ 2. ข้างต้น ก็จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์การยกเว้นภาษีสำหรับเงินที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

หากไม่เข้าเกณฑ์เหล่านี้ แล้วต้องออกจากงาน หรือเลิกทำงานก่อนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะต้องนำมาคำนวณรายได้พึงประเมิน และเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา -- ซึ่งหากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินก้อนโต ก็จะต้องเสียภาษีในอัตราสูง อย่าเพิ่งฝันหวานว่าจะเอาเงินทั้งหมดไปทำอะไร

หมายเลขบันทึก: 194198เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2008 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เรื่องนี้สำคัญครับ โดยเฉพาะผู้ที่วางแผน early retirement ครับ

แต่บันทึกนี้จะแนะนำให้สมาชิก UsableLabs อ่านดีไหมนะ

อรุณสวัสดิ์ค่ะ ท่านเทพ

* ท่านเทพสบายดีนะคะ .. ขอบคุณค่ะบันทึกนี้

* มาเก็บเกี่ยวค่ะ จะถึงเวลาได้รับเงินส่วนนี้เช่นกันค่ะ

* เพราะไปอ่านเรื่อง midlife crisis ฤาถึงเวลาแล้ว?

* เพลิดเพลินกับการงาน เจริญอาหารนะคะ :)

 

อ.ธวัชชัย: คนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

คุณปู: คุณปูอีกตั้งนานกว่าจะครบ 55 แต่ศึกษาไว้ล่วงหน้าก็ดีครับ

ถ้าเลิกทำงานก่อนอายุ 55 จะไม่เรียกว่าเกษียณอายุ แล้วเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ -- ซึ่งตั้งใจจะให้เป็นเงินออมเอาไว้เป็นทุนรอนในการดำรงชีวิตในเวลาที่เรี่ยวแรงถดถอย -- กลับจะต้องเอามารวมกับเงินได้ประจำปีที่ออกจากงานนั้น แล้วเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

บางทีแม้เงินเดือนไม่สูงแต่อยู่ในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมานาน ก็จะมีเงินเก็บมาก ทำให้ต้องเสียภาษีเงินได้มากไปด้วย ดังนั้นเมื่อจะออกจากงาน ควรทำงานต่อกับองค์กรที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไปจนอย่างน้อยอายุ 55 ครับ กองทุนโอนจากงานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้

เป็นอันว่า เราต้อง "ทน" ทำงานในลักษณะลูกจ้าง ไปจนกระทั่งอายุ 55 ปีซิคะ

เงินจากกองทุน จึงได้รับเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ถูกหักภาษี

เฮ้อ.....

ผมเห็นว่าไม่ "ต้อง" และไม่ต้อง "ทน" ด้วยครับ เราเลือกและรับผลของการที่เราเลือกด้วยตัวเอง จึงควรเข้าใจเสียก่อนว่าทางเลือกคืออะไร ถึงจะเลือกได้อย่างฉลาดครับ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกอบไปด้วยเงินสามส่วนคือ (1) เงินที่ลูกจ้างจ่ายสบทบเข้ากองทุน (2) เงินที่นายจ้างสมทบ และ (3) ดอกผลที่เกิดจากการ "ฝาก" เงินทั้ง (1)+(2)+(3) ไว้กับกองทุนเป็นระยะเวลานาน

โดยทั่วไป ภาษีที่จ่ายมักจะไม่เกินส่วนที่นายจ้างสมทบ ส่วนที่อยู่หลังจากภาษีก็ยังมี (1)+(3)+เศษของ(2)

แต่ถ้าจะได้รับประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วย ก็ต้องเป็นไปตามเกณฑ์การยกเว้นภาษีครับ

มีความพยายามในการจัดตั้งกองทุนบำเน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) มาหลายปี แต่เท่าที่รู้ก็ยังไม่คลอดครับ

เป็นความรู้ ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งค่ะ บางคนไม่ได้ดูให้รอบคอบก่อนตัดสินใจค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ  Conductor

  • แวะมาขอบคุณค่ะ  ที่นำข้อมูลที่เกิดประโยชน์ส่งให้ถึงที่...  ซึ่งคนที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่างดิฉันยังไม่เคยได้ศึกษาเลย...
  • ขอบคุณมากๆค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • ครูปูขออนุญาตพาดพิง คุณ conductor ที่นี่ นะคะ
  • พาดพิงด้วยความคิดถึงค่ะ
  • อิอิ

 

"ซึ่งหากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินก้อนโต ก็จะต้องเสียภาษีในอัตราสูง อย่าเพิ่งฝันหวานว่าจะเอาเงินทั้งหมดไปทำอะไร"

ประโยคนี้สะกิดให้อ่านซ้ำ เพราะกลัวเสียผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ตามกฏหมายค่ะ

ขอบคุณนะคะสำหรับความรู้ดีมีประโยชน์ต่อวัยชรา อิอิ

 

รบกวนขอความรู้จากท่านผู้รู้ทุกท่านนะคะ กรณี พนักงานเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้ว 8 ปี (ทำงานมาทั้งสิ้น 19 ปี) ขณะนี้อายุ 75 ปี เนื่องจากอายุมากแล้ว จึงประสงค์จะลาออกจากกองทุนฯ แต่บริษัทยังจ้างให้เป็นพนักงานต่อค่ะ กรณีต้องเสียภาษีอย่างไรคะ ขอบคุณมากๆล่วงหน้านะคะ

นุช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท