โยนิโสมนสิการ


โยนิโสมนสิการ

ความหมายของโยนิโสมนสิการ
             
โยนิโสมนสิการ ประกอบด้วย โยนิโส และมนสิการ 

              โยนิโส  มาจาก โยนิ แปลว่า   เหตุ ต้นเค้าแหล่งเกิดปัญญา อุบาย วิถีทาง
             
มนสิการ แปลว่า การนำในใจ การคิดคำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา

ดังนั้น โยนิโสมนสิการ แปลว่า การนึกในใจโดยแยบคายการทำในใจให้แยบคาย มีความหมายในหลายแง่มุม ดังนี้
              1) คิดอย่างมีวิธีเข้าถึงความจริง (อุบายมนสิการ) 
              แปลว่า คิดหรือพิจารณาโดยอุบาย คิดอย่างมีวิธี หรือคิดถูกวิธีที่จะเข้าถึงความจริง สอดคล้องกับแนวสัจจะ ทำให้หยั่งรู้สภาวะลักษณะและสามัญลักษณะของสิ่งทั้งหลาย
              2) คิดถูกทางเป็นขั้นตอนลำดับ (ปถมนสิการ)
              แปลว่า คิดเป็นทาง หรือคิดถูกทาง คิดได้ต่อเนื่องเป็นลำดับ จัดลำดับได้ มีขั้นตอน เป็นแถวเป็นแนว คิดเป็นระเบียบตามแนวเหตุผล ไม่ยุ่งเหยิงสับสน
              3) คิดหาต้นเหตุที่ต่อเนื่องมา (การณมนสิการ)
              แปลว่าคิดตามเหตุ คิดค้นเหตุ คิดตามเหตุผล คิดสืบค้นตามแนวสัมพันธ์สืบทอดกัน แห่งเหตุปัจจัยถึงต้นเค้า หรือแหล่งที่มาที่ส่งผลต่อเนื่องมาตามลำดับ
              4) คิดอย่างมีเป้าหมาย (อุปปาทกมนสิการ)
              แปลว่า คิดทำให้เกิดผล คิดอย่างมีเป้าหมาย คิดทำให้เกิดผลต่อจิตใจให้เข้มแข็ง คิดให้กำลังใจตนเอง
              โดยสรุปอาจกล่าวลักษณะการคิด 4 ลักษณะ คือ คิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผล และคิดเร้ากุศล การคิดครั้งหนึ่งๆ อาจมีครบทั้ง 4 ลักษณะก็ได้ โยนิโสมนสิการ เป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา หรือสัมมาทิฎฐิ คิดเป็นกุศล คิดสุจริตทำให้ใจสงบ คิดเป็นสาระประโยชน์ คิดดับทุกข์ แต่อโยนิโสมนสิการ (ตรงกันข้าม) จะเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชา (มิจฉาทิฎฐิ) คิดทำชั่ว ขี้ระแวง ดูหมิ่นผู้อื่น มองคนอื่นในแง่ร้าย หวาดระแวง

ขี้กลัวเป็นโรคประสาท คิดแล้วเป็นทุกข์ ศรัทธาที่ถูกต้อง เป็นอาหารหล่อเลี้ยงการคิดอย่างแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) และเอาความรู้ภายนอก (ปรโตโฆสะ) เป็นกัลยาณมิตร ซึ่งอาศัยศรัทธาเป็นทางเดิน และบางครั้งโยนิโสมนสิการก็เป็นปัจจัย ส่งเสริมให้เกิดศรัทธา ชวนให้ศึกษายิ่งขึ้น โยนิโสมนสิการ เป็นอาหารหล่อเลี้ยงสติ ช่วยทำให้สติที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ช่วยให้สติที่เกิดขึ้น แล้วเกิดต่อเนื่องไปอีก คนที่มีสติดีจะมีความคิดเป็นระเบียบ ถ้าตัณหาเป็นตัวเดินก็หนักไปทางชอบใจไม่ชอบใจ ปรุงแต่งไปตามความชอบความชัง

ขอขอบคุณ

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2545). พุทธวิธีคิดเชิงปัญญา. สืบค้นเมื่อวันที่ 26

              ตุลาคม2551 จาก http://www.budmgt.com/budman/bm02/yonisomanasikan.html

 

 

หมายเลขบันทึก: 218981เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2008 00:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท