การศึกษาการกระจายตัวของตัวอ่อนแมลงกลุ่ม Ephemeroptera Plecoptera และ Trichoptera (EPT) ในลำธารต้นน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


การศึกษาการกระจายตัวของตัวอ่อนแมลงกลุ่ม EPT ในลำธารต้นน้ำ 22 สาย ของลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำโขง ในเขตจังหวัดชัยภูมิ เพชรบูรณ์ และเลย โดยการเก็บตัวอ่อนแมลงด้วย Surber Sampler ลำธารละ 6 ซ้ำ และเก็บตัวอย่างตัวเต็มวัยด้วยกับดักแสงไฟอัลตราไวโอเลต ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2541 ถึง กรกฎาคม 2542 ร่วมกับการใช้ emergent trap และการนำตัวอ่อนระยะสุดท้ายหรือดักแด้มาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ เพื่อเชื่อมโยงตัวอ่อนกับตัวเต็มวัย พบว่าสามารถเชื่อมโยงตัวอ่อนแมลงชีปะขาวได้ 4 สกุล แมลงหนอนปลอกน้ำได้ 11 ชนิด ส่วนแมลงสโตนฟลายยังไม่สามารถเชื่อมโยงได้


ตัวอ่อนแมลงกลุ่ม EPT มีความหลากหลายมากโดยพบแมลงชีปะขาว แมลงสโตนฟลาย และแมลงหนอนปลอกน้ำอย่างน้อย 46 ชนิด 13 ชนิด และ 64 ชนิดตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลมากต่อการกระจายตัวของตัวอ่อนคือ ปริมาณป่าไม้ปกคลุม ระดับความสูงจากน้ำทะเล ความลึกและความเร็วของน้ำ ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ และค่าของแข็งละลายน้ำ

 

  ตัวอ่อนแมลงกลุ่ม EPT มีการกระจายตัวมากที่สุดในลำธารของลุ่มน้ำป่าสัก รองลงมาคือลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำโขงตามลำดับ ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณป่าไม้ปกคลุมลำธาร ตัวอ่อนของแมลงสโตนฟลายซึ่งเป็นสัตว์ที่มีความอ่อนไหวมากที่สุดต่อมลภาวะและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม มีการกระจายากในลำธารต้นน้ำของลุ่มน้ำป่าสัก แลดงให้เห็นว่า ป่าต้นน้ำบริเวณนี้ถูกรบกวนน้อยกว่าอีก 2 ลุ่มน้ำ

 

คณะผู้วิจัย นฤมล แสงประดับ, ยรรยงค์ อินทร์ม่วง, ชุติมา หาญจวณิช, อาษา อาษาไชย และประยุทธิ์ อุดรพิมาย

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

Distribution of Ephemeropteran, Plecopteran and Trichopteran (EPT) Larvae in Watershed Streams, Northeast, Thailand

 

 

Narumon Sangpradub, Yanyong Inmuong, Chutima Hanjavanit, Asa Asachai and Prayut Udonphimai.

 

 

Abstract ..

 

The Study on distribution of EPT larvae in 22 headwater streams of Chi, Pasak and Mekong basins were conducted in Chaiyabhom, Petchabun and Loei provinces. EPT larvae were collected monthly with 6 replicates by using Surber Sampler during November 1998  - July 1999.

In order to associate adults and larval stages, the adults were caught by using ultraviolet light – trap, which were setting over night. In addition, emergent trap and rearing the last instar larvae or pupae in the laboratory were conducted. We succeeded in association 4 mayfly genera and 11 caddis species, but not any of stonefly.

 

The EPT larvae were very diverse; at least 46, 13 and 64 species were identified respectively. Forest cover, altitude, water depth, water velocity, dissolve oxygen, conductivity and total dissolved solid effected  distribution of larvae.

 

The EPT larvae are more diverse and distribute in the stream of Pasak, Chi and Mekong basin respectively which corresponded with the amount of forest cover. The appearance of stonefly larvae, which are the most sensitive creatures, showed that Pasak watershed was less disturbed than the others.

 

 

หมายเลขบันทึก: 36182เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2006 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท