กระบวนการคิดให้แยบคาย ๑๐ แบบ...อ่านเอาไปทำจากพุทธธรรม


กระบวนการคิดให้แยบคาย ๑๐ แบบ...(ต่อ)

             6. การคิดแบบคุณโทษและทางออก เป็นการคิดเชิงตรวจสอบ (Examine thinking) เพื่อเข้าถึงความเป็นจริงของการปฏิบัติต่างๆให้รอบด้าน อย่างรอบคอบ เพื่อสร้างทางออกร่วมกันให้ดีที่สุด  มีความเป็นเหตุเป็นผลที่ได้ช่วยกันดู  ช่วยกันตรวจตรา เหมาะสมกับการคิดเพื่อหาข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน การคิดที่นำผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดมาคิดร่วมกัน  การคิดเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบที่เป็นสิ่งจูงใจและสิ่งขัดแย้งของกลุ่มผู้เกี่ยวข้องที่มีจุดยืนหลากหลาย (Motivation analysis and Searching for Common Interests) 

           7. การคิดแบบคุณค่าแท้คุณค่าเทียม เป็นกระบวนการคิดเพื่อพิจารณาอรรถประโยชน์ หรือคิดเพื่อวิเคราะห์ประโยชน์ใช้สอย ให้เข้าถึงคุณค่าพื้นฐานหรือคุณค่าที่แท้ เข้าใจจำแนกแยกแยะประโยชน์เพื่อการใช้สอย และคุณค่าที่แท้ ทำให้ได้หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่เหมาะสมที่พ้นไปจากปรากฏการณ์ผิวเผินและความฉาบฉวย

         8. คิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม เป็นกระบวนการคิดหาพลังในการสร้างสิ่งที่เป็นกุศลให้แก่เงื่อนไขที่เผชิญอยู่ เป็นกระบวนการคิดเพื่อครองตนและครองธรรม อยู่โดยธรรม และเผชิญทุกอย่างโดยมั่นในคุณธรรม  มั่นในกุศลธรรม  หนักแน่น เร้าใจเร้าสติปัญญาตนเองผ่านกระบวนการคิด  เป็นกระบวนการคิดแบบนักอุดมคติ หรือคนที่ตั้งมั่นในคุณธรรมของปัจเจก 

        9. คิดแบบเป็นอยู่ในปัจจุบันขณะ เป็นกระบวนการคิดแบบไม่คิดแต่เป็นการรู้สึกตรง ซึ่งอธิบายให้เข้าใจตรงความเป็นจริงได้ยาก หากใครเคยฝึกฝนการทำกรรมฐาน หรือทำอาณาปนสติ เมื่อเป็นหนึ่งอยู่กับลมหายใจได้ จะเข้าใจความคิดแต่ไม่คิดอย่างเป็นปัจจุบันขณะได้ เป็นการคิดที่ส่งการรู้สึกทั่วไปยังทุกสรรพสิ่ง เหมือนกับเราเป็นหนึ่งเดียวกับรถเวลาขับรถ จิตใจเป็นหนึ่งเดียวกับกระบี่ เป็นกระบวนการคิดแบบตื่นรู้ ตื่นตัว เหมาะกับการปฏิบัติด้วยสติและความตื่นตัวที่สุด เช่น  การเล่นกีฬา การทำกิจกรรมที่ผิดพลาดไม่ได้แม้แต่น้อย  เป็นต้น

        10. การคิดแบบวิภัชชวาทธรรม เป็นกระบวนการคิดจำแนกแยกแยะที่เห็นจากวาทกรรม ท่านอธิบายว่าเป็นการคิดผ่านการพูด ซึ่งถ้าใครศึกษางานของมิเชล ฟูโก หรือศึกษางานแนวนิรุกติศาสตร์ของจิตร ภูมิศักดิ์ หรือศึกษากระบวนการทางวาทกรรม (Discourse analysis) ก็พอจะเข้าใจได้ง่าย เพราะการพูดการสื่อสาร เป็นสิ่งที่สร้างความเป็นมนุษย์ (เราจึงจัดว่าสามารถใช้ศึกษาเพื่อเข้าใจความเป็นมนุษย์...มนุษยศาสตร์ได้) ในงานจิตวิทยาการศึกษาสมัยใหม่เช่น ของกานเย (Gange) ก็มีแนวทางอธิบายกระบวนการคิดแบบนี้ไว้ด้วย โดยเขาโต้แย้งนักการศึกษาที่กล่าวว่า การสอนให้จำเป็นการสอนที่ผิดพลาดว่า คนเราถ้าไม่มีข่าวสารเก็บไว้ในหัว  ก็จะไม่สามารถคิดให้ทะลุ (Break Through) จนเกิดความเข้าใจสิ่งต่างๆได้  ดังนั้น  ต้องป้อนข้อมูลและพัฒนาการจำก่อน การคิดแบบนี้  เหมาะสำหรับการทำการเรียนรู้ให้แตกฉานแล้วคิด  คิดแบบคนสดับตรับฟังรู้เรื่องต่างๆมาก  คิดแบบพหูสูต..ทำนองนั้น  การคิดแบบสุดท้ายนี้  ขาดไม่ได้ที่จะต้องศึกษาอบรมตนแบบ สุ จิ ปุ ลิ

             ในทางจัดการความรู้ กระบวนการคิด จัดว่าเป็นการประมวลความรู้ภายใน (Internal Knowledge and Information Computation Procees) กระบวนการคิดให้แยบคาย หรือโยนิโสมนสิการ จึงเป็นการพัฒนาเชิงคุณภาพของการจัดการความรู้อย่างผสมผสานระหว่างความรู้ในตัวเรา (Tacit Knowlege) กับความรู้ภายนอกที่ใช้ร่วมกันของสังคม (Explicit Knowlege) ศึกษาเรียนรู้โดยพิสดารเอาจากหนังสือพุทธธรรมนะครับ ที่ย่อยมาแลกเปลี่ยนนี้ เป็นการเข้าใจของผมซึ่งยังเป็นนักเรียนอยู่ครับ.

 

อ่านเรื่องเดียวกัน ตอนที่ ๑ Clickhere  

คำสำคัญ (Tags): #วิธีวิทยา
หมายเลขบันทึก: 45676เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2006 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะอาจารย์

กำลังศึกษาการใช้เวบนี้อยู่ค่ะ ยังขาดๆเกินๆอยู่เลย

เพิ่งลงเรื่องใหม่ค่ะ เกี่ยวกับคำกล่าวถึงอายุ 5,000 ปี ของพระศาสนาค่ะ (กำลังหาวิธีส่งลิ้งค์ในเวบนี้อยู่ค่ะ)

  • ขอแสดงความยินดีด้วยครับ
  • และขออนุโมทนาด้วยครับ
  • จะตามอ่านครับ น่าสนใจทุกเรื่องเลย

ขออนุญาตท่านอาจารย์นำบล็อกเข้าแพลนเน็ต http://gotoknow.org/planet/thinkthink นะครับ

สวัสดีครับคุณณัฐรดา เพิ่งแวะเข้าไปดูขั้นตอนการเขียนภาพ Botanical painting ของคุณณัฐรดามาเมื่อสักครู่นี้เองครับ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมแล้วก็นำลิ๊งค์มาฝากให้ได้ตามไปดูงานของคุณณัฐรดาครับ

สวัสดีครับอาจารย์ศิลป์ชัยครับ ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ ผมเองก็ขอลิ๊งค์ติดตามอ่านบันทึกในอนุทินของอาจารย์นะครับ แนวคิดของอาจารย์ลึกซึ้งและน่าสนใจมากเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท