ไปไม่กลับ..หลับไม่ตื่น..ฟื้นไม่มี..ที่นี่มีข้อสงสัย


ประเพณี การจัดการงานศพ เมื่ออดีต การจัดงานศพ จะมีบรรยากาศเศร้าหมอง เปิดเพลงธรณีกรรแสง “เท่านั้น”

วันหยุดที่ผ่านมา วางแผนว่า อยากพักผ่อน (โดยไม่ต้องซีเรียสในการทำงานมาก)

 

แต่แล้ว ก็ได้รับโทรศัพท์ บอกว่า “ญาติที่ป่วย..!! เขาเสียแล้ว

 

อืม..อาการซีเรียส ก็เริ่มขึ้น เมื่อไม่ไปก็กะไร คนเราอ่ะนะ!!...ตายครั้งเดียวนี่นา  จึงต้องไป...ญาติฝ่ายคุณแม่..ของเราเอง...

 

  • ประเพณีงานศพ ทางภาคอีสาน
  • การจัดการงานศพ เมื่ออดีต การจัดงานศพ จะมีบรรยากาศเศร้าหมอง เปิดเพลงธรณีกรรแสง เท่านั้น

 เออ...เราก็มานั่งคิดๆๆๆ แล้วก็คิด...

  • สมัยนี้...แปลกๆๆ
  • วันแรกที่เผาศพ (พิธีฌาปนกิจ) เรียบร้อย
  • ตกเย็น พระสงฆ์ทำพิธีสวดมนต์เรียบร้อย
  • เวลาประมาณ (20.00-24.00 น.) เป็นกิจกรรมเหล่าญาติข้างบ้าน ญาติทางไกล (รวมเราด้วย) มีกิจกรรม (หายโศกเศร้า) ร้องรำทำเพลง...
  • เรามานึกได้ว่า ..พระเจ้าจอร์ส  บ้านเมืองเราเปลี่ยนไปมาก เชียวหรือ

 

มิน่าล่ะ ที่ได้ข่าวว่า มีโคโยตี้ ในงานศพ

มันคงจริง อย่างเขาว่า 

  • แล้วจะทำอย่างไร กับประเพณี วัฒนธรรม ที่เราอยากสืบสาน อนุรักษ์
  • อืม..งง...งง...งง...
  • นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์ ช่วยที ก่อนประเพณี จะหายไปมากกว่านี้

 

สาระ/ข้อคิดในบล็อกนี้

  • วัฒนธรรม ประเพณี หายสาบสูญ โดยสิ้นเชิง
  • คนไทย ต่างกับ คนต่างชาติ เนื่องจาก ปรับเปลี่ยนวิธีคิดง่ายๆ ไม่มีความจริงใจเหมือนคนต่างชาติ
  • คนไทย มีนิสัยโดยรวม คือ ลืมง่าย ไม่เคร่งครัดในระเบียบวินัย หรือข้อปฏิบัติ
  • งานศพ งานสงกรานต์ งานทำบุญอุทิศส่วนกุศลต่างๆ (ถูกละลายหายไป) อย่างไม่น่าเชื่อว่า ทำไม อะไรคือสาเหตุ และจะทำอย่างไรต่อไป....
  • น่าคิด.... น่าศึกษา... น่าทบทวน...
  • ความรัก ความอาลัย ความคิดถึง ที่จะต้องฝังลึก "ด้วยความรู้สึกถึงจิตวิญญาณ" ไม่มีเสียแล้ว
  • หากป่วย...แล้วตาย... สิ่งสุดท้าย...คือบอกว่า "เผา" ก็จบ..
  • อนิจจัง!!!~~~...ชีวิตคนเรา มีค่าเท่านี้หรือ..???

ข้อเสนอเชิงนโยบาย (โอ๊!!..เชิงส่วนตัว) ขอโทษ ค่ะ

  • ข้าพเจ้า ก่อนตาย คงต้องทำหนังสือแจ้งว่า
  • "หากข้าพเจ้าเสียชีวิตลง กรุณาจัดงานศพของข้าพเจ้าอย่างเงียบๆๆ ไม่เอิกกะเริก
  • ทำบุญ ทำทาน ตามประเพณีของบ้านเรา
  • ไม่ให้มีเสียงเพลงที่บ่งบอกถึงความสนุกสนาน ร่าเริง บันเทิงใจ
  • นี่คือ อีกความรู้สึก ที่คิดแบบนั้นจริงๆ แก่ลูกหลาน ที่จะต้องจัดการกับชีวิตเรา..

  • ขอแลกเปลี่ยน เรียนรู้  ไม่ทราบว่า ประเพณีเช่นนี้ ที่ภาคอื่นๆ เป็นอย่างไร??
  • ช่วยแจมด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
หมายเลขบันทึก: 181868เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2008 07:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

         ประเพณีวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงได้ แต่ที่น่าใจหายคือเปลี่ยนได้เร็วนัก

         1.สาเหตุคือความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การสื่อสารต่างๆที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้วัฒนธรรมหลากหลายหลั่งไหลเข้ามา และไหลออกไป

         2.ระบบทุนนิยม ระบอบประชาธิปไตยทำให้คนมีอิสระในการคิด การกระทำและการเปลี่ยนแปลง

         3.พฤติกรรมเลียนแบบและเอาอย่างกัน เมื่อมีการประพฤติประเพณีที่ผิดไปแล้วไม่มีผู้ออกมาทักท้วง ท้วงติง เมื่อเห็นบ่อยๆเข้าจึงเห็นประเพณีที่ผิดกลายเป็นถูก ที่เรียกว่า "ตากลับ"

         4.ผู้นำสังคม ผู้นำจิตวิญญาณ ผู้มีหน้าตาในสังคม ผู้นำทางศาสนา ผู้ที่เป็นศูนย์รวมแห่งความเชื่อของสังคม ไม่ออกมาให้ความรู้ด้านประเพณีที่ถูกต้อง หรือไม่ออกมาต่อต้านเมื่อเห็นการกระทำผิด หรือบางทีบางท่านอาจเป็นผู้นำในการกระทำผิดโดยไม่จงใจหรือที้งจงใจ

         5.จิตใต้สำนึก,ธาตุแท้,สันดาน ของแต่ละคนเริ่มผุดขึ้นมาแล้วแสดงออกทางความนึกคิด, ภาษา, อาการ, การแสดงออก

         6.ทุกหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้นำองค์กรศาสนา ผู้นำสังคมร่วมสร้างจิตสำนึกในการป้องกัน สร้างสรรค์ เพณีอันดีงามของไทยเอาไว้

         7.ที่สำคัญที่สุดคือสังคมระดับครอบครัวซึ่งถือว่าเป็นหน่วยย่อยที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุด ที่จะต้องให้ความสำคัญให้ความรักความเมตตา สร้างกระแสความอบอุ่นในครอบครัว เพื่อเป็นการปลูกฝังเพาะบ่ม จิตใจอารมณ์ของคนในสังคมให้เป็นผู้ที่มีสำนึกดี มีความปรารถนาที่จะปกป้องคุ้มครองประเพณี และสืบสานวัฒนธรรมไทยให้ดำรงคงอยู่ต่อไปตราบนานเท่านาน

P

2. ร่มไม้ใหญ่ใกล้ทาง
เมื่อ จ. 12 พฤษภาคม 2551 @ 09:08
649753 [ลบ]
ขอบพระคุณค่ะ
มุมมอง แง่คิด ดีมั่กๆๆ ค่ะ

ขอบคุณมากครับที่นำมาเล่าสู่กันฟัง ขออนุญาต...............รวมตะกอร

P

4. สิทธิรักษ์
เมื่อ จ. 12 พฤษภาคม 2551 @ 09:30
649783 [ลบ]
ขอบพระคุณค่ะ
คนดี ของเรา อิอิ

จากอดีตสู่ปัจจุบันวัฒนธรรมคนไทยได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะวัฒนธรรมตะวันตกเข้าในประเทศไทย สังคมปัจจุบันมองไปที่วัตถุ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต้องย่อมรับการเปลี่ยนในยุคโลกาภิวัฒน์ ทุกอย่างเกิด และดับ เป็นของธรรมดา (เกิด แก่ เจ็บ ตาย) จากอดีตสู่ปัจจุบัน

สวัสดีครับ

เรื่องงานศพนี่ ดูๆ ก็แปลกดีครับ

แต่ละถิ่น แต่ละยุคสมัยก็ต่างกัน

บางถิ่น เขาแสดงความรื่นเริงกัน (ต่างประเทศไกลๆ)

ของไทยเรา สมัยโบราณก็ไม่ได้แต่งดำแต่งขาวเคร่งครัดเหมือนสมัยนี้

งานศพเป็นงานใหญ่ เป็นประเพณีที่มีมานาน

เรียกว่า มีพัฒนาการมายาว

ความเห็นส่วนตัว :

ตายแล้วก็ช่างเถอะ ใครจะทำอะไร อิๆ

สวัสดีครับ

แวะมาทักทาย

แปลกดีนะครับ  เจ้าภาพคงไม่ต้องการให้เศร้าโศกเสียใจ  ก็เลยจัดงานรื่นเริงปิดท้ายเสียเลย

ที่ทางเหนือไม่เคยเห็นมีแบบนี้  หลังจากที่ฌาปนกิจเรียบร้อยแล้วก็ช่วยกันเก็บของ  เสร็จแล้วก็การเลี้ยงอาหารและน้ำทิพย์กันเล็กน้อยเป็นการตอบแทนเพื่อนบ้านที่มาช่วยงาน

หรือว่านิสัยคนไทยเป็นคนชอบสนุกสนาน คงลืมนึกถึงเรื่องกาลเทศะไป

 

สวัสดีครับพี่

ผมมาอยู่ที่นี่บ่นกับแฟนทุกครั้งที่มีงานศพ เพราะญาติพี่น้องจะร้องคาราโอเกะกันเสียงดังทู้กที

นั่นสิครับ การน้อมนำจิตคารวะคนตาย ไม่ได้อยู่ในความคิด หรือความสำคัญของแก่นแกนสาระการจัดงานสำหรับคนตายหรือไร

หรือว่าการจัดงานเพียงเพื่อการเผาศพเท่านั้นก็ไม่ทราบนะครับ ความจริงเรื่องนี้น่าศึกษาอย่างมาก เรา เขาคิดอะไรกันแน่ คนแก่คนหนุ่มคิดต่างกัน หรือเปล่า

การเคลื่อนไหลทางวัฒนธรรม หรือการประยุกต์วัฒนธรรม หรือไรก็ไม่ทราบนะครับ แต่การเปลี่ยนแปลงเป็นนิรันด์อยู่แล้ว

หาคำตอบไม่ได้เช่นกันครับ แต่รู้สึกดีที่พี่สะท้อนได้ชัดเจนออกมา ผมเองอยู่จนชินชาไปแล้วจริงๆ

ไม่มีรูป

6. นายพิเชฐ
เมื่อ จ. 12 พฤษภาคม 2551 @ 11:14
649905 [ลบ]
ขอบพระคุณที่มาแลกเปลี่ยน ค่ะ
โลกเปลี่ยน คนเปลี่ยน วัฒนธรรมเปลี่ยน รวดเร็วมาก..
เยาวชน คนรุ่นหลัง ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่ซึมซับกับประเพณีเหล่านี้แล้วล่ะค่ะ
ขอบคุณค่ะ

P

7. ธ.วั ช ชั ย
เมื่อ จ. 12 พฤษภาคม 2551 @ 11:20
649910 [ลบ]

ขอบพระคุณที่มาแลกเปลี่ยนค่ะ
  • นี่คือ มองในมุม วัฒนธรรม ประเพณี
  • การซึมซับ การโศกเศร้า ตามประเพณีดั้งเดิม โดยอยู่ย่อมต้องมีความรู้สึก "อาลัย" ต่อ "ผู้จากไป" และส่งวิญญาณ ของผู้จากไป สู่สุขติ..
  • การจัดงานที่ว่านี้ ต้องจัดด้วยความรู้สึกถึงจิตวิญญาณ จริงๆ
  • ขอบคุณค่ะ

P

8. วัชรา ทองหยอด
เมื่อ จ. 12 พฤษภาคม 2551 @ 11:22
649913 [ลบ]
ขอบคุณค่ะ ที่แลกเปลี่ยน
  • วันนั้น (มีญาติของญาติอีกที) เขาตามไปสมทบงานศพนี้ ทีหลัง
  • ด้วยเพราะว่า "คุณปู่" (พ่อของสามี) อยู่จังหวัดลำปาง ก็เสียชีวิตด้วยโรคชรา เช่นกัน และทำพิธีงานศพช่วงวันเดียวกัน
  • ถามเขาว่า "พิธีงานศพ ทางเหนือ" เขาจัดอย่างไร เรียบร้อยแล้วหรือ
  • ได้คำตอบว่า เรียบร้อยแล้ว จัดแบบง่าย ๆ เงียบ ไม่เอิกกะเริก เหมือนบ้านเราหรอก
  • ...เราก็...ได้แต่ พยักหน้า...
  • ภาคอีสาน เขาเป็นเช่นนี้เอง...

P

9. mr. สุมิตรชัย คำเขาแดง
เมื่อ จ. 12 พฤษภาคม 2551 @ 12:21
649980 [ลบ]

ขอบคุณค่ะ

นี่แหล่ะ ก็แสดงให้เห็นว่า ลุกคืบทางวัฒนธรรม ที่มีผลกระทบต่อสังคมปัจจุบัน ไม่ใช่(รวมทุกภาค) ภาคอื่น ๆเขายังรักษา ประเพณี ดั้งเดิมไว้ได้

คนอีสาน เปลี่ยนแปลงไปเอง โดยไม่นึกถึงว่า ลูกหลาน รุ่นหลัง ๆ จะสืบสาน อนุรักษ์ และหวงแหน ในสิ่งที่บรรพบุรุษ เคยรักษาไว้ให้หรือเปล่า...

ก็น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง...

สวัสดีค่ะ แล้วถึงรุ่นหนูคงมีเพียงชื่อประกาศไว้หน้าวัดว่า.....ตายแล้ว

ผมเห็นว่าควรเปลี่ยนประเพณีงี่เง่านี่เสียที โดยเฉพาะเรื่องเปิดเพลงงานศพ คนตายไปแล้วไม่รู้จะเศร้ากันไปถึงไหน

รีบเผารีบเสร็จ จะได้ทำมาหากินต่อ ความกตัญญูก็แสดงกันเต็มที่อยู่แล้ว อีกหน่อยมีคนตายทุกวัน ไม่ฟังเพลงนี้กันทั้งวันทั้งคืนรึ ฝรั่งมังค่ามาเที่ยวคงงง ประเทศนี้มันเศร้าอะไรกันนักกันหนา ถ้าคุณอยากจะเศร้าก็เปิดฟังคนเดียวได้ป่ะ คนอื่นเขารำคาญ และพ่อแม่เขาไม่ได้ตายไม่ต้องแบ่งความเศร้าไปให้เขาทั้งบ้านทั้งเมืองหรอก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท