การพิจารณาทุกข์


ขอเราจงอย่าประมาท ชีวิตนี้ชั่วฟ้าแลบ ชีวิตนี้ชั่วกระพริบตา เท่านั้น

การพิจารณาทุกข์

         ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความไม่ชอบใจความคับแค้นใจ ความเศร้าโศก ร่ำไห้ รำพัน ความเดือดร้อนความยากลำบาก

          สมุทัย คือความต้องการไม่ได้รับการตอบสนอง

ทุกข์อยู่ที่ไหน? ตอบได้ว่า

1.ทุกข์ในอริยสัจจ

 

         พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นการเกิดเป็นทุกข์

 

         พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นการแก่เป็นทุกข์

 

         พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นการเจ็บเป็นทุกข์

          พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นการตายเป็นทุกข์ 

         การดับทุกข์ให้ดับที่เหตุตามแนวทางของมรรคเพื่อนำไปสู่นิโรธ

 

         สมุทัยเป็นเหตุทำให้เกิดทุกข์ มรรคเป็นแนวทางไปสู่นิโรธและผลที่ตามมาคือ ทุกข์ดับ

          กระบวนการในการดับทุกข์ตามแนวทางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือไม่ทำให้เป็นที่สุดในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่ปล่อยให้เกลือกกลั้วกับความสะดวกสบายในทางโลกสุดโต่งแบบกามสุขขัลลิกานุโยคไม่ทำให้เป็นที่สุดในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยทำตัวให้คับแค้นทั้งกายและใจแบบทุกกรกิริยาให้ดำเนินทางสายกลางโดยมรรคตามแบบมัชฌิมาปฏิปทา 

  

ภาพความทุกข์ของผู้ป่วยเกิดบาดแผลจากการถูกงูเห่ากัด(1),(2)

2.ทุกข์อันเกิดจากทุกขเวทนาในขันธ์ห้า

 

         กองทุกข์อยู่ที่กายกับจิต คือ รูปกับนาม ในขันธ์ห้า มี รูปเวทนา(สุขเวทนา,ทุกขเวทนา) สัญญา สังขาร วิญญาณ

 

         ทุกข์ คือ ทุกขเวทนา เกิดจากผัสสะของอายตนะกับสฬายตนะ มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตามทวารทั้ง 6แล้วทำให้เกิด รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส วิญญาณ

 

ตาเห็นรูปที่ไม่ชอบใจเกิดความจำได้(สัญญา)จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร) ทำให้เกิดทุกข์

 

หูได้ยินเสียงที่ไม่ชอบใจเกิดความจำได้(สัญญา)จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร) ทำให้เกิดทุกข์

 

จมูกได้กลิ่นที่ไม่ชอบใจเกิดความจำได้(สัญญา)จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร) ทำให้เกิดทุกข์

 

ลิ้นรับรสที่ไม่ชอบใจเกิดความจำได้(สัญญา)จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร) ทำให้เกิดทุกข์

 

กายสัมผัสสิ่งที่ไม่ชอบใจเกิดความจำได้(สัญญา)จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร) ทำให้เกิดทุกข์

 

ใจรับรู้สิ่งที่ไม่ชอบใจเกิดความจำได้(สัญญา)จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร) ทำให้เกิดทุกข์

 

         ทุกข์เพราะผัสสะ(เครื่องต่อ) ระหว่างปัจจัยภายนอกกับปัจจัยภายใน ทุกข์เกิดจากการได้เห็นรูป ทุกข์เกิดจากการได้ยินเสียงทุกข์เกิดจากการได้กลิ่น ทุกข์เกิดจากการได้ลิ้มรสทุกข์เกิดจากการได้สัมผัสต้องตัวทุกข์เกิดจากการตรึกนึกคิดไป

   

ภาพความทุกข์ของผู้ป่วยเกิดบาดแผลจากการถูกงูเห่ากัด(3),(4)

3.ทุกข์ในปฏิจจสมุปบาท

 

         กระบวนการของจิตในการเกิดทุกข์ตามวงจร ปฏิจจสมุปบาทอันเป็นเครื่องอาศัยที่ก่อให้เกิดต่อเนื่องกัน เช่น

 ตาเห็นรูปที่ไม่ชอบใจ จำได้หมายรู้(สัญญา)จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร)เกิดทุกขเวทนา ก่อให้เกิดตัณหา(ความทะยานอยาก)จึงทำให้เกิดอุปาทาน(ความยึดมั่นหมายมั่น) 

หูได้ยินเสียงที่ไม่ชอบใจ จำได้หมายรู้(สัญญา)จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร)เกิดทุกขเวทนา ก่อให้เกิดตัณหา(ความทะยานอยาก)จึงทำให้เกิดอุปาทาน(ความยึดมั่นหมายมั่น) 

จมูกได้กลิ่นที่ไม่ชอบใจ จำได้หมายรู้(สัญญา)จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร)เกิดทุกขเวทนา ก่อให้เกิดตัณหา(ความทะยานอยาก)จึงทำให้เกิดอุปาทาน(ความยึดมั่นหมายมั่น) 

ลิ้นรับรสที่ไม่ชอบใจ จำได้หมายรู้(สัญญา)จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร)เกิดทุกขเวทนา ก่อให้เกิดตัณหา(ความทะยานอยาก)จึงทำให้เกิดอุปาทาน(ความยึดมั่นหมายมั่น) 

กายสัมผัสสิ่งที่ไม่ชอบใจ จำได้หมายรู้(สัญญา)จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร)เกิดทุกขเวทนา ก่อให้เกิดตัณหา(ความทะยานอยาก)จึงทำให้เกิดอุปาทาน(ความยึดมั่นหมายมั่น) 

จิตรับรู้สิ่งที่ไม่ชอบใจ จำได้หมายรู้(สัญญา)จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร)เกิดทุกขเวทนา ก่อให้เกิดตัณหา(ความทะยานอยาก)จึงทำให้เกิดอุปาทาน(ความยึดมั่นหมายมั่น)

          กระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นนี้รวดเร็วมากเปรียบได้กับการกระพริบตาที่ว่าเร็วแล้วกระบวนการเกิดเหล่านี้เร็วยิ่งกว่า สำหรับผู้ที่มีสติมีปัญญา ก็จะสามารถตัดวงจรออกได้โดย  

ตาเห็นรูปที่ชอบใจไม่ชอบใจเกิดสัญญา(จำได้หมายรู้)สำรวมระวังเหตุที่เข้ามากระทบหยุดด้วยสติรู้เท่าทันใช้ปัญญาบอกจิตเป็นเพียงว่า สักแต่รูปน้อมลงสู่ไตรลักษณ์ มีเกิด แปรปรวนและดับไปเป็นธรรมดา 

หูได้ยินเสียงที่ชอบใจไม่ชอบใจเกิดสัญญา(จำได้หมายรู้)สำรวมระวังเหตุที่เข้ามากระทบหยุดด้วยสติรู้เท่าทันใช้ปัญญาบอกจิตเป็นเพียงว่า สักแต่รูปน้อมลงสู่ไตรลักษณ์ มีเกิด แปรปรวนและดับไปเป็นธรรมดา 

จมูกได้กลิ่นที่ชอบใจไม่ชอบใจเกิดสัญญา(จำได้หมายรู้)สำรวมระวังเหตุที่เข้ามากระทบหยุดด้วยสติรู้เท่าทันใช้ปัญญาบอกจิตเป็นเพียงว่า สักแต่รูปน้อมลงสู่ไตรลักษณ์ มีเกิด แปรปรวนและดับไปเป็นธรรมดา 

ลิ้นรับรสที่ชอบใจไม่ชอบใจเกิดสัญญา(จำได้หมายรู้)สำรวมระวังเหตุที่เข้ามากระทบหยุดด้วยสติรู้เท่าทันใช้ปัญญาบอกจิตเป็นเพียงว่า สักแต่รูปน้อมลงสู่ไตรลักษณ์ มีเกิด แปรปรวนและดับไปเป็นธรรมดา 

กายสัมผัสสิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจเกิดสัญญา(จำได้หมายรู้)สำรวมระวังเหตุที่เข้ามากระทบหยุดด้วยสติรู้เท่าทันใช้ปัญญาบอกจิตเป็นเพียงว่า สักแต่รูปน้อมลงสู่ไตรลักษณ์ มีเกิด แปรปรวนและดับไปเป็นธรรมดา 

ใจรับรู้สิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจเกิดสัญญา(จำได้หมายรู้)สำรวมระวังเหตุที่เข้ามากระทบหยุดด้วยสติรู้เท่าทันใช้ปัญญาบอกจิตเป็นเพียงว่า สักแต่รูปน้อมลงสู่ไตรลักษณ์ มีเกิด แปรปรวนและดับไปเป็นธรรมดา 

ทำไมจึงต้องพิจารณาทุกข์?

         เพราะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบธรรมอันเป็นความจริง 4 ประการ มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคการจะกระทำสิ่งใดๆให้สำเร็จจำเป็นต้องรู้ปัจจัยนำเข้า กระบวนการปัจจัยนำออก และผลผลิตให้ชัดเจน ปัจจัยนำเข้าคือทุกข์มาผ่านกระบวนการตามทางของมรรค ปัจจัยนำออกคือนิโรธผลผลิตที่ได้คือมรรคผลนิพพาน ฉะนั้นเราจึงต้องพิจารณาทุกข์ให้เข้าใจแจ่มแจ้งเสียก่อนเพราะทุกข์คือสิ่งที่เราจะต้องดับ แล้วเราจะดับอะไรถ้าไม่รู้ในสิ่งที่จะดับ ก็อาจจะทำให้ดับผิดที่ ดับผิดเป้าหมายหลังจากนั้นค่อยพิจารณา เหตุแห่งทุกข์ และมรรคเป็นลำดับไป

ขอเราจงอย่าประมาท ชีวิตนี้ชั่วฟ้าแลบชีวิตนี้ชั่วกระพริบตา เท่านั้น

โดย

สักทองร่มไม้ใหญ่ใกล้ทาง

หมายเลขบันทึก: 140456เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2007 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
  • เป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนา...
  • พระพุทธเจ้ามีคำสอนให้เราเรียนรู้ และปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การดับทุกข์
  • ( แต่เห็นภาพ แว้บเดียวก็เกิดทุกข์ - -ไม่ทันได้พิจารณาก็รู้สึกว่าคนๆนั้นจะเจ็บไหม รู้สึกเป็นทุกข์เมื่อแค่เห็นด้วยตา...)

 

รูปที่นำมาฝากนี้ เป็นรูปที่ทำให้พิจารณาอสุภะได้ดีเลยค่ะ

ขอบคุณที่นำมาเตือนกันให้เห็นชัดๆ นะคะ

ขอเราจงอย่าประมาท ชีวิตนี้ชั่วฟ้าแลบ ชีวิตนี้ชั่วกระพริบตา

...................

อ่านแล้วเตือนสติ อย่างดีเยี่ยมคะ

  • เข้ามาอ่านและได้ปัญญา จิตใจเบิกบานขึ้นค่ะ
  • กำลังถูก โมหะ ครอบงำอยู่ทีเดียว
  • สาธุและขออนุโมทนาค่ะ

โลกนี้เป็นมหาสมุทรแห่งความทุกข์

ผู้มีสติตื่นรู้ สามารถบรรเทาทุกข์

ขอบคุณที่บันทึกนี้เตือนสติให้รู้จักเหตุแห่งทุกข์ และการจัดการกับความทุกข์ครับ

เมื่อใดมีการเกิดเมื่อนั้นย่อมมีทุกข์

เกิดดีก็ทุกข์

เกิดไม่ดียิ่งทุกข์...

สาธุ สาธุ สาธุ

  • ทุกข์ : แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์
  • สมุทัย : เหตุเกิดแห่งทุกข์ การเกิดเป็นเหตุ เมื่อเกิดแล้วก็ต้องแก่ เจ็บ ตาย
  • นิโรธ : การดับทุกข์ ดับที่เหตุไม่ต้องมาเกิด
  • มรรค : ทางแห่งการดับทุกข์ ดำเนินไปตามมรรค 8 นี้ ไปนิพพาน ไม่ต้องมาเกิด

แวะมาเยี่ยมค่ะ

เพื่อหาเหตุแห่งทุกข์

P  สวัสดีครับคุณ คนไม่มีราก ลองพิจารณาทุกข์ดูนะครับว่าคืออะไร

P สวัสดีครับคุณ paleeyon ผู้ที่มีสติตื่นรู้เท่านั้นที่จะบรรเทาทุกข์ได้จริงๆ ครับ

P ขอบคุณคุณ กวิน ครับ ที่เข้ามาติดตามอ่านบันทึก

P นมัสการพระอาจารย์ สุญญตา...นับว่าเป็นพระคุณอย่างยิ่งที่ท่านได้มีเมตตาให้ข้อคิด ให้ธรรมะ ในข้อคิดเห็นในบันทึกนี้ครับ กระผมก็จะได้นำเอาข้อธรรมที่ท่านกล่าว ไปพิจารณาทบทวนเนืองๆ ครับ

P ท่าน ทนัน ภิวงศ์งาม ครับ กระผมต้องขอขอบคุณท่านอย่างมากครับที่ได้มาเสริมข้อธรรมะ และแง่คิด เพื่อให้บันทึกมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอขอบคุณครับ

P สวัสดีครับท่าน ครูเอ ขอบคุณครับที่ได้มาเยี่ยมบันทึกเพื่อหาเหตุแห่งทุกข์ เมื่อหาเหตุเจอแล้วอย่าลืมหาทางดับทุกข์ ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

ขอให้คุณพระคุ้มครองท่านและครอบครัว จงอยู่รอดปลอดภัยตลอดไปนะครับ

  • สวัสดีครับ ท่านร่มไม้ใหญ่ใกล้ทาง วันก่อนท่านแวะไปเยี่ยมบล็อกพระอุ่ม
  • มอบพระให้แล้ว 1 องค์ เห็นไม่มีเวลาไปรับ เลยตามเอามาส่งให้ครับ

P

โอ้...เกรงใจจังเลยครับ ท่าน ทนัน ภิวงศ์งาม

         ก็ขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงเลยที่มาเยี่ยมถึงบ้านและนำพระเครื่องติดไม้ติดมือมาฝาก พระปิดตาผมยิ่งชอบมากด้วยครับ ความหมายดี เตือนตนดี ที่ผมใช้อยู่ก็มีของหลวงปู่โต๊ะ,หลวงพ่อมุ่ย,และก็พระปิดตางาแกะหลวงพ่อเดิม...ครับ

  • สวัสดีครับท่านร่มไม้ใหญ่ใกล้ทาง
  • ครับ พระปิดตามีความหมาย หากมีไว้และระลึกถึงองค์ท่านในความหมายนั้น จะทำให้เราแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวงได้ครับ
  • มีหลายองค์นะ ขอชมภาพองค์ท่านบางซิ หวงไหมครับ
  • โชคดีตลอดไปครับ

P

เรียนท่าน ทนัน ภิวงศ์งาม ที่เคารพยิ่ง

กระผมได้นำภาพพระปิดตามาให้ท่านชมแล้วนะครับ

    

พระปิดตางาแกะหลวงพ่อเดิมวัดหนองโพ (ด้าน หน้า - หลัง)

   

หระปิดตาหลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี (หน้า - หลัง)

   

พระปิดตาหลวงพ่อมุ่ย (หน้า - หลัง)

การสะสมพระเครื่องพระบูชาของกระผม มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1.เพื่อระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้า

2.เป็นที่เคารพสักการะกราบไหว้บูชา

3.เพื่อศึกษาพุทธศิลป์ในแต่ละยุคสมัย

4.กระทำด้วยความเคารพบูชาไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า

5.เพื่อกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีสติ มีจิตใจเยือกเย็นและอ่อนโยน

6.ถูกปลูกฝังและถ่ายทอดมาแต่บรรพบุรุษ

7.มีความรักและชอบการสะสมพระเครื่องพระบูชา

 

  • ขอบคุณมากท่านร่มไม้ใหญ่ใกล้ทาง
  • เป็นบุญตาจริง ๆ ครับ พุทธลักษณ์หรือพุทธศิลป์สวยมากครับ
  • ผมเองก็มีพระเครื่องอยู่บ้าง แต่ไม่ได้ตั้งใจสะสม
  • เป็นเพียงว่า หากจักได้มาซึ่งพระองค์ใด ก็แล้วแต่จักมีผู้ให้มา
  • เมื่อได้มาแล้ว ก็นับถือบูชา แม้นว่าจักสมควรให้ ก็มอบให้ผู้อื่นไป ตามนาบุญของผู้นั้น ๆ
  • ขอบคุณอีกครั้งครับ ขอให้ท่านจงโชคดี

ขอบคุณสำหรับความรู้ด้านพระธรรมที่นำมาเผยแผ่ให้ได้รับความรู้ และความเข้าใจแห่งแก่นแท้ของพุทธศาสนาค่ะ ขออนุโมทนานะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท