"ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษา" เพียงเพราะ "ทนกับผลข้างเคียงไม่ไหว" !!!


          สัปดาห์ก่อน น้องจาก ward โทรมาบอกที่ OPD รังสีว่า มีผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูกรายนึงขอปฏิเสธการรักษา น้องพยาบาลที่ ward คุยแล้วแต่ผู้ป่วยยังคงยืนยันที่จะขอกลับบ้าน จึงขอส่งผู้ป่วยลงมาให้ couselling ก่อนที่จะเซ็นต์ไม่สมัครใจรักษา
          จากการที่มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้ป่วยรายนี้ พบว่า ผู้ป่วยยืนยันจะไม่ฉายแสงอีกแล้ว(ทั้งที่ได้ฉายแสงไปครึ่งทาง คงเหลืออีกไม่กี่สัปดาห์ก็จะครบการรักษาแล้ว) ผู้ป่วยขอกลับบ้านอย่างเดียวเลยค่ะ ขณะพูดคุยผู้ป่วยไม่สบตาพยาบาลเลย และไม่ว่าจะชวนคุยยังไงก็พูดอยู่ประโยคเดียวว่า จะกลับบ้าน สอบถามจากลูกสาวและมารดาของผู้ป่วยที่ตามผู้ป่วยลงมาด้วย ว่าต้องการให้ผู้ป่วยกลับหรือต้องการให้รักษาต่อ ได้รับคำตอบว่าต้องการให้รักษาให้ครบตามแผนการรักษา แต่ผู้ป่วยยืนยันไม่รักษา รายนี้หนึ่งให้เวลากับผู้ป่วยมากพอควรเลยค่ะ เพราะผู้ป่วยเพิ่งเป็นมะเร็งระยะ 2 เท่านั้น เป้าหมายในการรักษาคือเพื่อให้หายขาด แต่การที่ผู้ป่วยจะปฏิเสธการรักษาก็เป็นสิทธิของผู้ป่วยเช่นกัน ก่อนที่จะปล่อยผู้ป่วยไป หนึ่งก็ต้องขออธิบายข้อดีข้อเสียของการรักษา และการไม่รักษาให้ผู้ป่วยฟังก่อนค่ะ แต่ดูลักษณะแล้วผู้ป่วยแทบไม่ค่อยได้ฟังเพราะยังไงก็จะปฏิเสธอย่างเดียวเลยค่ะ หนึ่งชวนคุยไปเรื่อยๆ (เพื่อค้นหาสาเหตุว่าผู้ป่วยปฏิเสธเพราะอะไร เพราะหนึ่งดูแล้วผู้ป่วยรายนี้ยังแข็งแรง และอายุยังไม่มาก เรื่องค่าใช้จ่ายก็ฟรีทุกอย่างเพราะบัตรทองถ้ามาตามขั้นตอนรักษาฟรีทุกอย่างแล้วค่ะ รวมทั้งค่ายาเคมี(ในบัญชี)ด้วยนะคะ) ในที่สุดผู้ป่วยก็บ่นออกมาเบาๆว่า
"เจ็บปากเจ็บคอมาก น้ำลายแห้ง กินข้าวไม่ได้ เป็นมาหลายวันแล้ว ไปขอยากับพยาบาลในตึก ก็ได้แต่พารา กินไม่หาย ทรมานมาก"
"เมื่อคืนก็นอนไม่หลับ ไอตลอดเวลา จนอาเจียนออกมาเลย ไม่อยากรักษาแล้ว ขอกลับไปตายที่บ้านดีกว่า"
 
          สาเหตุอยู่ตรงนี้นี่เองค่ะ ผู้ป่วยทนผลข้างเคียงจากการฉายรังสีบริเวณศีรษะและคอไม่ไหว และไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือในระยะที่ทุกข์ทรมานจากผลข้างเคียงนั้นๆ
          ปัญหาเยื่อบุช่องปากอักเสบเป็นปัญหาที่ดูเหมือนเล็กๆ ไม่สำคัญเท่าปัญหาโรคมะเร็ง  แต่ก็ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างมาก จนทำให้ผู้ป่วยตัดสินใจยอมให้มะเร็งลุกลามดีกว่าเจ็บปากเจ็บคอแบบนี้
          พยาบาลเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด เพราะอยู่ดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง นอกเหนือไปจากการรักษาหลักแล้วพยาบาลต้องไม่ลืมที่จะดูแลผู้ป่วยในด้านอื่นๆด้วย เช่นผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษา เหมือนรายนี้ การดูแลทางด้านจิตวิญญาณ สังคม อารมณ์ เรียกว่าเราต้องดูแลผู้ป่วยแต่ละรายให้ครบทุกด้าน แบบองค์รวมนั่นเอง
          วันนี้ขอเน้นปัญหาที่เกิดกับผู้ป่วยรายนี้ก่อนค่ะ
          ปัญหาเยื่อบุช่องปากอักเสบ (Oral Mucositis) ถ้าใครนึกความทุกข์ทรมานจากภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบไม่ออก ลองนึงถึงตอนที่เราเป็นแผลร้อนใน ในช่องปากดูนะคะ หนึ่งเคยเป็นบ่อยๆ อาจเกิดจากการที่เราเคี้ยวอาหารแล้วไม่ระวัง ไปกัดปากตัวเองเข้า อิอิ เลยทำให้กลายเป็นแผลอักเสบในช่องปากไปได้ซะงั้น นั่นขนาดเป็นแผลเล็กๆนิดเดียวเองนะคะ เรายังรู้สึกเจ็บปวดทุกข์ทรมานมากมาย กินก็ลำบาก แปรงฟันก็ลำบาก ถ้าเป็นตรงริมฝีปาก เวลายิ้ม หรือพูดแล้วฟันไปโดนแผลเข้าละก็ โหย..ย ไม่ต้องพูดถึงเลยค่ะ ถึงขั้นน้ำตาซึมเลยทีเดียวค่ะ นี่ขนาดเราเป็นเพียงแผลเล็กๆเท่านั้นนะคะ แต่สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีนั้น แผลเยื่อบุช่องปากอักเสบจะใหญ่ และไม่ใช่แค่แผลดียวค่ะ 
          ความทุกข์ทรมานนอกจากอาการเจ็บปวดจากแผลแล้ว ยังส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ยอมอ้าปาก และไม่ยอมทำความสะอาดในช่องปาก (เพราะเจ็บในช่องปาก) และก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น หากไม่ยอมอ้าปากหรือขยับขากรรไกรนานๆ ก็จะส่งผลให้เกิดภาวะอ้าปากได้น้อยกว่าปกติ (trismus) เมื่อไม่ค่อยทำความสะอาดช่องปาก ก็จะส่งผลให้มีกลิ่นปากรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่กล้าเข้าใกล้หรือพูดคุยกับบุคคลอื่น  ทำให้รู้สึกตนเองด้วยค่า เป็นบุคคลที่ไม่มีความสำคัญ
          จะเห็นได้ว่า เพียงอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการฉายรังสีแค่อาการเดียว ยังก่อให้เกิดผลกระทบตามมาอีกมากมาย
          ในรายนี้หนึ่งให้เวลากับผู้ป่วยมากพอสมควร เพราะไม่อยากให้ผู้ป่วยต้องกลับบ้านไปต่อสู้กับโรคมะเร็งตามลำพัง ซึ่งโรคมะเร็งจะต้องดำเนินไปเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการรักษา หนึ่งได้ให้ข้อมูลที่คิดว่าผู้ป่วยยังไม่ทราบ ซึ่งก็คือแผนการรักษาที่ผู้ป่วยกำลังใกล้ครบการรักษาแล้ว เหลืออีกเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น ข้อดีข้อเสียของการหยุดการรักษากลางทาง ผลกระทบที่จะตามมาในอนาคตหากหยุดการรักษาตอนนี้ และแนวทางการแก้ไขปัญหาเยื่อบุช่องปากอักเสบที่เป็นปัญหาสำคัญกับผู้ป่วย ณ เวลานี้ ยกตัวอย่างผู้ป่วยที่อาการหนักกว่าแต่ก็สามารถผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ และตอนนี้ผู้ป่วยรายนั้นยังแข็งแรงดี
          ถึงตรงนี้สังเกตดูสีหน้าผู้ป่วยเริ่มให้ความสนใจกับสิ่งที่หนึ่งพูดมากขึ้น หันมาสบตามากขึ้น หนึ่งปล่อยให้ผู้ป่วยใช้เวลาตัดสินใจ ผู้ป่วยมีคำถามกลับมาว่า อีกแค่ 2 สัปดาห์จริงๆนะ งั้นรักษาต่อก็ได้ ถ้าอีกแค่ 2 สัปดาห์ น่าจะสู้ไหว แต่ขอให้พยาบาลช่วยขอยาแก้ปวดหมอให้หน่อย (ผู้ป่วยไม่กล้าพูดกับหมอ)
สรุปเคส
          ผู้ป่วยขอรับการรักษาต่อ โดยที่จะขอกลับบ้านในช่วงวันหยุดมาฆะบูชานี้ก่อน 3 วัน เพื่อเพิ่มกำลังใจ ^^ และจะกลับมารักษาต่ออีก 2 สัปดาห์จนครบการรักษา ขอให้พยาบาลช่วยขออนุญาตคุณหมอและขอยาคุณหมอให้ด้วย
          ส่วนเรื่องวิธีการดูแล ช่วยเหลือ การจัดการอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา หนึ่งจะขอพูดถึงรายละเอียดในบันทึกหน้านะคะ ^^
คำสำคัญ (Tags): #oral mucositis
หมายเลขบันทึก: 340850เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2010 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

แวะมาให้กำลังใจค่ะ

บางทีอาการข้างเคียงที่คิดว่าไม่สำคัญแต่ส่งผลต่อการรักษาอย่างมาก

อยากให้ถ้าบุคลากรทางการแพทย์ให้ความสนใจกับผู้ป่วยแบบคุณ hana แบบนี้จังเลยค่ะ

พี่ Hana >>> ชื่อพี่หนึ่งช่ายป่ะครับ เห็นในบทความ ^^

ผมว่าพี่สุดยอดมากเลยนะ ในที่สุดก็หาสาเหตุในการไม่รักษาได้

ยังไงก็เป็นกำลังใจให้นะครับ สู้ๆ ^^

สวัสดีค่ะคุณลมรำเพย

ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ ^^

ใช่แล้วค่ะ บางครั้งเราคิดว่าอาการข้างเคียงเพียงเล็กน้อยถ้าเทียบกับอาการจากโรคมะเร็ง

แต่จริงๆแล้ว อาการที่เราคิดว่าเล็กน้อยนั้น สำหรับผู้ป่วยเป็นปัญหาใหญ่เลยทีเดียวค่ะ

ขอบคุณมากๆค่ะ สำหรับกำลังใจ ^^

สวัสดีค่ะน้องเอิร์ท

ใช่แล้วค่ะ พี่ชื่อพี่หนึ่งจ้า ^^ hana เป็นภาษาเกาหลีแปลว่า หนึ่ง จ้า

(เพื่อนชาวเกาหลีตั้งให้อ่ะ พี่ว่าชื่อ hana น่ารักดีเลยเอามาใช้อ่ะจ้า อิอิ)

ขอบคุณมากจ้าสำหรับกำลังใจ สู้ๆๆๆๆ ^^

ผลข้างเคียงแบบนี้จะรุนแรงกับทุกคนหรือเปล่า

ขอคำอธิบายหน่อยซิคะ

สวัสดีค่ะคุณครู ป.1

ในกรณีอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบจากรังสี จะเกิดกับผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีทุกรายค่ะ (สถิติศูนย์มะเร็งอุดรฯ)

การประเมินภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบจะแบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 4 ระดับค่ะ (แบ่งตาม WHO และ RTOG)

เรื่องนี้หนึ่งจะอธิบายในบันทึกต่อไปนะคะ แต่ขออธิบายคร่าวๆก่อนว่า

ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ มีโอกาสเกิดกับผู้ป่วยทุกรายที่ฉายรังสีบริเวณศีรษะและคอ

ผลจากรังสีต่อเนื้อเยื่อในช่องปากโดยตรง และความรุนแรงเกิดได้แตกต่างกันในแต่ละบุคคลค่ะ

บางรายที่ทนต่อรังสีได้ดี ก็จะเกิดไม่รุนแรง บางรายทนไม่ดีก็รุนแรง

อายุ เพศ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดเยื่อบุช่องปากแตกต่างกันค่ะ

การรักษาที่เคยได้รับ ภาวะทุโภชนาการ การดูแลความสะอาดในช่องปากก่อนรับการรักษาและขณะรักษา เป็นต้น

ที่กล่าวมาล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบได้แตกต่างกันในแต่ละรายค่ะ

ส่วนเรื่องกลไกการเกิด การจัดการดูแล ป้องกัน หรือลดระดับความรุนแรง หรือยืดระยะเวลาการเกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบออกไป

หนึ่งจะเขียนเป็นบันทึกต่อๆไปนะคะ ^^

ขอบคุณคุณครูป.1 มากๆค่ะที่ให้ความสนใจ อย่าลืมติดตามตอนต่อไปนะคะ อิอิ

ส่งความรัก ความปรารถนาให้ปฏิบัติกิจที่ดี ด้วยกำลังใจและความรักต่อไปค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณkrutoiting

ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับกำลังใจดีๆจากคุณครูต้อยติ่ง ^^

มาให้กำลังใจทั้งผู้ป่วย และ ผู้รักษา ครับ

ผมเป็นคนเเรกๆของบ้านที่กลัวหมอเป็นที่สุด....ไม่เคยไปหาหมอ ป่วยก็ทนๆๆเอา นี่เเหละข้อเสียของผมขอรับ

จะแว่ะมาอ่านต่ออีกครับ ขอบคุณที่ให้ความรู้

solno07

http://solno07.exteen.com/

แวะมาให้กำลังใจคร่าคุณพี่หมอฮาน่า

เห็นใจผู้ป่วยอ่า เค้าคงทรมานน่าดูเลย

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์ JJ

ขอบคุณท่านอาจารย์JJ ที่แวะมาส่งกำลังใจค่ะ ^^

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์กู้เกียรติ

หนึ่งเองก็เช่นกันค่ะ แหะๆ ไม่ค่อยอยากไปหาหมอ

ไม่สบายเล็กๆน้อยๆก็ดูแลตัวเองไปก่อนค่ะ เป็นหนักเมื่อไหร่ค่อยไป แหะๆ

สวัสดีค่ะคุณsolno07

ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ (กุหลาบสีน้ำเงินสวยมากเลยค่ะ ^^)

สวัสดีค่ะน้อง εöз. . . NinG-WerN . . .εöз

ขอบคุณค่าที่แวะมาให้กำลังใจ ^^

สวัสดีค่ะ น่ากลัวจัง..ครูบันเทิงเป็นกำลังใจให้ทั้ง หมอ พยาบาล ผู้ช่วย และคนป่วยน่ะค่ะ

สวัสดีค่คุณNew.ครูบันเทิง

ขอบคุณมากๆค่ะที่แวะมาส่งกำลังใจ ^^

สวัสดีค่ะ พี่ฮานะ

ไม่ได้แวะมาทักทายซะนาน

พอดีเพิ่งกลับมาจาก ภูเก็ตค่ะ อิอิ

เห็นแบบนี้แล้ว เป็นกำลังใจให้ บุคคลสีขาวทุกคนนะคะ

ว่าแต่ อุดร หนาวมั๊ยคะ ขอนแก่น น๊าวววหนาว อิอิ

บุญรักษาค่ะ ^^

ลืมแซว เปลี่ยนรูปใหม่ น่ารักเชียวนะคะ อิอิ

บุญรักษาค่ะ ^^

สวัสดีค่ะน้องsOul_

ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ ^^

อุดรหนาวมากกกกกกกก อิอิ ร้อนจัดอยู่ๆก็หนาวซะงั้นค่ะ แปรปรวนสุดๆเจงๆ

พี่ก็เพิ่งกลับจากชะอำ หัวหิน ค่ะ อิอิ (ภูเก็ตเป็นไงบ้างคะ อยากไปๆๆๆ)

ขอบคุณค่ะน้องsOul_

แหมๆๆ .. แซวกันงี้พี่ก็เขิลแย่สิคะ อิอิ

ไปเที่ยวทะเล ถ่ายรูปแอ๊บแบ๊ว แข่งกะเด็กๆเค้าน่ะค่ะ (กระชากวัยนี๊สสสนึง) หุหุหุ

แวะมาให้กำลังใจคุณHana ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณปริมปราง

ขอบคุณที่แวะมาส่งกำลังใจค่ะ ^^

เปลี่ยนรูปใหม่น่ารักเชียวนะคะ อิอิ

สวัสดีค่ะน้องεöз. . . NinG-WerN . . .εöз

ขอบคุณค่า แหะๆๆ พี่ก็เขินแย่สิคะเนี่ย แหะๆๆ

ดีใจแทนผู้ป่วยนะครับ ที่มีพยาบาลที่ไวต่อความรู้สึกของผู้ป่วย ช่วยทำให้ผู้ป่วยคงการรักษาได้ครับ สู้ๆๆ ต่อไปนะครับพี่หนึ่ง

สวัสดีจ้าม่อน

ขอบคุณที่แวะมาทักทายจ้า (แวะมาเพราะถูกบังคับด้วยอ่ะ อิอิ)

สู้ๆๆๆจ้า ^^

ม่อนอย่าลืมเขียนบันทึกที่ 4 ต่อไปด้วยน้า รออ่านอยู่นะจ๊ะ

ได้ความรู้มากๆเลย ถือว่าเป็นข้อมูลพื้นฐานที่มีความสำคัญมากๆ สำหรับผู้ป่วยและญาติ ในการเรียนรู้และเข้าใจ โรค และผลข้างเคียงจากการรักษา. ขอเป็นกำลังใจให้คุณหมอเพื่อทำหน้าที่อันทรงคุณค่าต่อไปนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท