การบริหารสถานศึกษา รูปแบบ SBM


การบริหารสถานศึกษา รูปแบบ SBM

        

การบริหารสถานศึกษา รูปแบบ  SBM

   1.   ความหมาย SBM
              เป็นการจัดและบริหารสถานศึกษาโดยการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปยังสถานศึกษา ให้มีอำนาจ
หน้าที่ความรับผิดชอบ มีความอิสระ คล่องตัว 4 ด้าน
         1. วิชาการ     2.  งบประมาณ    3. บุคลากร    4. บริหารทั่วไป
    ภายใต้ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( ถ่วงดุลย์ )
   2.    รูปแบบ ( บทบาทอยู่ที่ใคร ? )
        2.1 ผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก
        2.2 ครู เป็นหลัก ( ผู้แทนครู ) ประธานยังเป็น ผู้อำนวยการ
        2.3 ชุมชนเป็นหลัก  ( ผู้ทรงคุณวุฒิ )
        2.4 ครู + ชุมชนเป็นหลัก
   3. หลักการ SBM
         1. หลักกระจายอำนาจ
         2. หลักบริหารตนเอง
         3. หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
         4. หลักการใช้ภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน
         5. หลักการบริหารทั้งระบบ
         6. หลักการบริหารโปร่งใสนที่ตรวจสอบได้
   4. การนำ SBM สู่การปฏิบัติ
         1. สร้างความตระหนัก ทั้งผู้บริหาร + ครู + อาจารย์ ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชนให้เข้าใจ
         2. ต้องพัฒนาคน / พัฒนางาน / พัฒนาองค์การ โดยทำ work shop ร่วมกันทุกฝ่าย
         3. ใช้ swot วิเคราะห์ สภาพปัจจุบัน ความต้องการ  ปัญหา เพื่อดู จุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาส  อุปสรรค
         4. เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม ทำแผน ปฏิบัติ ปรับปรุง พัฒนา
         5. กำหนดวิสัยทัศน์  ทุกคนร่วมกันเผยแพร่
         6. กำหนดเป้าหมาย ED ผลผลิต  ผลลัพธ์ ให้เกิด Satisfaction
         7. จัดให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วยกันคิด  พัฒนา และถ่วงดุล
         8. กำหนดแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยอาศัยระบบข้อมูลสารสนเทศให้ทุกฝ่ายร่วมตัดสินใจ
  * ประเมินตนเอง  แล้ว ประเมินภายใน และ ประเมินภายนอก
   5. จุดมุ่งหมาย
         1. มุ่งบริหารตนเอง  มีความยืดหยุ่น
         2. ให้เกิดความคล่องตัว ส่งผลให้ถึงผู้เรียน
         3. หลอม 3 แนวความคิด ( Whole school  Approach )  เปลี่ยนทั้งระบบ
             ได้แก่ การปฏิรูปการเรียนรู้  หลักสูตร  ผู้เรียน  กิจกรรม 
                     การประกันคุณภาพ
                     มีอิสระ  อำนาจ  หน้าที่  ตัดสินใจ
    6. ประโยชน์
         1. ระดมผู้เชี่ยวชาญ / ผู้มีประสบการณ์ เข้ามาช่วย
         2. ขวัญกำลังใจ  ครูดีขึ้น
         3. ระดมทรัพยากรเข้ามาช่วยสนับสนุนได้เต็มที่
         4. สร้างให้เกิดผู้นำใหม่ ๆ ขึ้นมาทดแทน ( Tran - Lead )
         5. ครู - ผู้ปกครอง - ชุมชน - องค์กรต่าง ๆ มีส่วนร่วม
         6. เปิดเวทีให้แสดงความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงพัฒนา
         7. โปร่งใส
         8. สร้างสรรค์
หมายเลขบันทึก: 196162เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2008 06:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 07:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

SBM ย่อมาจาก อะไร ครับ

 

  • เป็นการนำเสนอที่ชัดเจน เยี่ยมมาก
  • ดูแล้วเหมือนง่าย
  • แต่ทำจริงๆ ต้องอาศัย
  • เทคนิค วิธีการที่กลมกลืนกับ
  • วัฒนธรรมของชุมชน
  • ไม่ง่ายเลยจริงๆๆ

 

สำคัญครงการมีส่วนร่วม และวัฒนธรรมองค์กร ครับ ขอบคุณครับ

สวัสดียามเย็นค่ะ

ขอขอบคุณในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขออนุญาตเพิ่มเติมนะคะ

SBM ย่อมาจาก School Based Management หรือการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยสถานศึกษาซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติมีหน้าที่ต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม เพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการจัดการศึกษาของสถานศึกษานั้น เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาอย่างแท้จริง การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นการเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจจากส่วนกลางไปยังสถานศึกษา โดยให้คณะกรรมการสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา โดยมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ บุคลากรและวิชาการ โดยให้เป็นไปตามความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท