ตามรอย รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี กับการปลูกมะกรูดระยะชิด


มะกรูดระยะชิด

เป็นแห่งแรกของประเทศที่นำเทคนิคนี้มาเผยแพร่ แนวคิดดังกล่าวมาจากท่าน รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และนางมณฑา วงศ์มณีโรจน์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสนที่ต้องการจะนำเทคนิคนี้มาเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร ส่วนมากเท่าที่พบเห็นเกษตรกรจะปลูกมะกรูดที่ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 4-6 เมตรขึ้นไป แต่เทคนิคของท่านอาจารย์จะปลูกมะกรูดที่ระยะ50X50เซนติเมตรเท่านั้น ส่วนความสูงไว้ที่60-80เซนติเมตร

    จากที่ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้นทั่วไป การผลิตใบมะกรูดจึงมุ่งเน้นเฉพาะการเจริญเติบโตด้านกิ่งใบ (vegetative growth) เป็นหลัก การตัดแต่งเป็นการกระตุ้นให้มีการผลิตาและยังส่งเสริมในด้านการเจริญเติบโตทางกิ่งใบอีกด้วย ซึ่งย่อมสัมพันธ์กับระยะปลูกและจำนวนต้นที่ปลูกอีกด้วย ซึ่งมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

                1.  พื้นที่  สภาพพื้นที่ต้องมีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วงขัง มีระดับ pH 5.5-7.0 มีอินทรีย์วัตถุสูงหรือปรับแต่งได้ด้วยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยพืชสดได้ ควรมีการไถพรวนก่อนเพื่อช่วยไม่ให้ดินแน่นเข็ง ในบางกรณีอาจปลูกในโรงเรือนมุ้งตาข่ายขนาด เพื่อลดปัญหาของแมลงศัตรูพืชขนาดใหญ่ได้

                2.  การเตรียมแปลงปลูกและระยะปลูก  เนื่องจากระยะปลูกมีความสัมพันธ์กับการเตรียมแปลงและจำนวนต้นปลูก ขนาดของแปลงที่เหมาะสมนั้น ควรมีควมามกว้าง 1 เมตร ยกระดับความสูงประมาณ 20-25 ซม. ระยะห่างระหว่างต้น 50 ซม. ปลูกสลับฟันปลา 

     -  ปลูกในระยะ 50 x 50 ซม. สลับฟันปลา การใช้ระยะปลูกที่ห่างกว่านี้ไม่มีความจำเป็นเนื่องจากการผลิตใบมะกรูดต้องอาศัยกรรมวิธีในการตัดแต่งซึ่งเท่ากับเป็นการควบคุมขนาดพุ่มต้นพร้อมกันด้วย

                3.  กิ่งพันธุ์  สามารถใช้ต้นพันธ์ที่ขยายจากการเพาะเมล็ด กิ่งปักชำ หรือกิ่งตอนก็ได้ กิ่งที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีการเติบโตที่ช้ากว่าในช่วงระยะแรก อย่างไรก็ตาม ต้นพันธุ์ที่จะนำมาใช้ปลูกจะต้องปลอกจากโรคแคงเกอร์ส้ม (citrus canker) โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Xanthomonas campestris pv. citri (Hasse) Dye ซึ่งเป็นสาเหตุของข้อจำกัดหลักที่ทำให้ไม่สามารถส่งใบมะกรูดไปยังกลุ่มประเทศของสหภาพยุโรปได้ เนื่องจากเป็นเชื้อแบคทีเรีย สารป้องกันกำจัดเชื้อราจึงไม่สามารถควบคุมโรคนี้ได้ หากแพร่ระบาดเข้าไปในแปลงปลูกแล้ว ก็ยากที่จะกำจัดได้ ดังนั้นจึงควรป้องกันมิให้โรคนี้เข้าไปตั้งแต่เริ่มแรกกับต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูก โดยใช้วิธีการคัดเลือกกิ่ง และตัดแต่งกิ่ง/ใบ ส่วนที่เป็นโรคออกแล้วนำไปเผาไฟ จากนั้นำไปแช้ในสารปฏิชีวนะ สเต็ปโตมัยซิน (Streptomycin) ก่อนนำไปปลูก

                4.  อายุที่เริ่มให้ผลผลิต  สามารถเริ่มตัดแต่งกิ่งเพื่อจำหน่ายได้หลังจากปลูกประมาณ 4-6 เดือน หากมีการดูแลรักษาที่ดีแล้ว ก็จะสามารถอยู่ได้ตลอดไป

                5.  เทคโนโลยีการผลิตใบ  ประกอบด้วยด้านต่างๆ ดังนี้

                                5.1  การจัดการแปลง  อาจใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลงปลูก หรือใช้ฟางข้าวคลุมแปลง เพื่อป้องกันวัชพืชและช่วยรักษาความชื้นด้วย

                                5.2  ระบบน้ำ  หากมีการใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลงแล้ว ระบบการให้น้ำจำเป็นต้องใช้เป็นแบบน้ำหยดที่มีการให้ปุ๋ยไปกับน้ำ (fertigation) พร้อมกันด้วย สำหรับแปลงปลูกที่ไม่ได้มีการใช้ผ้าพลาสติกแล้ว ก็สามารถเลือกใช้การให้น้ำระบบต่างๆ ที่มีอยู่ตามความเหมาะสมได้

                                5.3  การให้ปุ๋ย  ผลจากการตัดใบนั้นเป็นการนำเอาแร่ธาตุอาหารออกไปจากดินอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นที่จะต้องให้ปุ๋ยชดเช่ยกลับคืนให้กับต้นดังเดิม 

                                5.4  การป้องกันกำจัดศัตรูพืช  นอกจากโรคแคงเกอร์แล้ว มักไม่พบโรคอื่นๆ ที่มีความรุนแนงแต่อย่างใด ส่วนกรณีของแมลงศัตรูพืชนั้นที่สำคัญได้แก่ เพลี้ยไฟ หนอนชอนใบ เพลี้ยอ่อนและเพลี้ยแป้ง การปลูกในโรงเรือนสามารถป้องกันหนอนชอนใบได้ระดับหนึ่ง

                                5.5  การเก็บเกี่ยว  เมื่อปลูกไปประมาณ 4-6 เดือน จะเริ่มการตัดแต่งกิ่งโดยตัดให้อยู่ในระดับความสูง 60-80 ซม. จากผิวดิน กำจัดกิ่งที่อยู่ในแนวนอนออกไป ภายหลังการตัดแต่ง ตาจะเริ่มผลิ ผลจากการศึกษา 

 

ปัจจุบันได้รับความสนใจแก่เกษกรเป็นอย่างมาก และได้ขอความกรุณาจากท่านรศ.ดร.รวี เสรฐภักดีและนางมณฑา วงศ์มณีโรจน์ที่จะให้มีการเปิดฝึกอบรมในเรื่องการปลูกมะกรูดระยะชิดนี้ คาดว่าน่าจะเปิดฝึกอบรมได้ในช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน 52  ซึ่งจะแจ้งรายละเอียดให้ทราบต่อไป

 

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม

โดย

ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน ร่วมกับ คณะเกษตร กำแพงแสน

จัดโครงการฝึกอบรม หลักสูตร

เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู ประจำปี 2553 รุ่นที่ 2 วันที่ 17 มีนาคม 2553 (เวลา 8:30น. – 17:00 น.) และเทคนิคการผลิตใบและผลมะกรูดเชิงการค้า รุ่นที่ 1 วันที่ 18 มีนาคม 2553 (เวลา 8:30น. – 16:30 น.)

หลักสูตรมะนาว ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของเทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู การจัดการดินและการใช้ปุ๋ยมะนาว การขยายพันธุ์มะนาว ฯลฯ

หลักสูตรมะกรูด ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกและดูแลรักษามะกรูด เทคนิคการผลิตใบมะกรูดอย่างมีคุณภาพ และให้ได้ปริมาณมากที่สุด การผลิตผลมะกรูด การบริหารจัดการศัตรูพืชตระกูลส้ม:มะกรูด มะนาว

ผู้สนใจขอทราบรายละเอียดและสมัครเข้ารับการอบรมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140 ติดต่ออาจารย์รัฐกานต์ 089-254-1552 หรือโทร. (034) 281090 หรือ โทรสาร (034) 281091

1. คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม เกษตรกร ข้าราชการ และผู้สนใจทั่วไป

2. ค่าใช้จ่ายในการสมัคร ค่าลงทะเบียนหลักสูตรละ 600 บาท แต่ถ้าลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนวันที่ 10 มีนาคม 2553 ลดเหลือหลักสูตรละ 500 บาท(รวมอาหารว่าง อาหารกลางวันและเอกสารประกอบการอบรม)

การจัดส่งค่าลงทะเบียนล่วงหน้า

ธนาณัติในนาม นางมณฑา วงศ์มณีโรจน์ (ปณ. กำแพงแสน) ที่อยู่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์ อ. กำแพงแสน จ. นครปฐม 73140 หรือ

โอนเงินเข้าบัญชีในนาม ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อย ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ประเภท ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 769 – 227500 - 5 หลังจากโอนเงินกรุณาส่งหลักฐานการโอนแนบมาพร้อมกับใบสมัครส่งมาทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ข้างบน หรือทางโทรสาร (034) 281091 และท่านจะได้รับใบเสร็จรับเงินในวันฝึกอบรม

3. หัวข้อในการฝึกอบรมมะนาว (ร่าง)

8.00 – 9.00 น ลงทะเบียนและรับประทานอาหารว่าง

9.00 – 10.30 น. การจัดการดินและการใช้ปุ๋ยมะนาว( ผศ.อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์)

10.30 – 12.00 น. การขยายพันธุ์มะนาว (อ.สามารถ เศรษฐวิทยา)

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 16.30 น. การปลูกมะนาวและการผลิตมะนาวนอกฤดู(รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี)

4 หัวข้อในการฝึกอบรมมะกรูด (ร่าง)

8.00 – 9.00 น ลงทะเบียนและรับประทานอาหารว่าง

9.00 – 12.00 น เทคนิคการผลิตใบและผลมะกรูดเชิงการค้า(รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี)

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 16.30 น. การบริหารจัดการศัตรูพืช:มะกรูด มะนาว และ ชมแปลงปลูก

ใบสมัคร

โครงการฝึกอบรม “เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู ประจำปี 2553 รุ่นที่ 2”

และ “เทคนิคการผลิตใบและผลมะกรูดเชิงการค้า ประจำปี 2553 รุ่นที่ 1”

ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน นครปฐม

1.ชื่อ (นาง/นางสาว/นาย)…………………………นามสกุล……………………………อายุ………ปี

2.วุฒิการศึกษา……………………………………….…………………………………………………….

3.อาชีพ…………………………………………………………………………………………………….

4.สถานที่ทำงาน……………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………….โทรศัพท์……………………………โทรสาร……………………..…

5.ที่อยู่ที่บ้าน………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………….โทรศัพท์……………………………โทรสาร……………………..…

6.ที่อยู่ที่สะดวกในการติดต่อ สถานที่ทำงาน บ้าน

7.หลักสูตรที่จะเข้ารับการฝึกอบรม  เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู ประจำปี 2553 รุ่นที่ 2

 เทคนิคการผลิตใบและผลมะกรูดเชิงการค้า ประจำปี 2553 รุ่นที่ 1

8.การลงทะเบียน ลงทะเบียนล่วงหน้า มะนาว 500 บาท (ภายในวันที่ 10 มี.ค. 2553)

ลงทะเบียนล่วงหน้า มะกรูด 500 บาท (ภายในวันที่ 10 มี.ค. 2553)

ลงทะเบียนมะนาววันฝึกอบรม ค่าลงทะเบียน 600 บาท

ลงทะเบียนมะกรูดวันฝึกอบรม ค่าลงทะเบียน 600 บาท

9. ที่พัก  ต้องการที่พัก  ไม่ต้องการ

8.ประสบการณ์ในการปลูกมะนาว  มี  ไม่มี

9.การใช้ประโยชน์หลังจากการฝึกอบรม….……………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………

ลงชื่อ…………………………………….

…………./………../………..

หมายเลขบันทึก: 314154เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2009 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

รอ อ่านนานมาก ครับ คลอกยาก

4 ธค. 52 เจอกัน ที่ กำแพงแสน อบรมฟรีครับ

ชอบฟรีๆ นี่

พอดีผมแก้ไขครับ รอนานนิดหนึ่ง เป็นเพียงเนื้อหาแค่บางส่วนเท่านั้นครับ

ส่วนในเรื่องการขยายพันธุ์มะกรูดนั้น ใช้วิธีการเดียวกันกับ เทคนิคการขยายพันธุ์มะนาว แต่มะกรูดจะออกรากช้ากว่ามะนาวประมาณ 20-30 วัน

ที่บ้านปลูกมะกรูดและมะนาว มีแต่ใบตลอดปี..นานๆทีจึงจะออกลูกมาให้ชมบ้าง..สงสัยว่ารดน้ำมากเกินไปนะคะ...ขอบคุณค่ะที่มาแบ่งปันวิธีปลูกที่ถูกต้อง...

ขอบคุณครับท่าน ที่แวะมาทักทาย ตอนนี้คิดจะทำVCDในเรื่องมะกรูดมะนาวอยู่ครับ เมื่อเสร็จจะจัดส่งไปให้ครับ

โอ้ ทำ vcd เสร็จ แล้ว อย่าลืมฉันน่ะครับ

forget me not.

เห็นคุณนงนาท สนธิสุวรรณ กับพี่ศุภรักษ์ เป็นตัวอย่าง ก็เลยอยากทำอะไรที่เป็นกุศลบ้างครับ อยากแจกให้แก่เด็กที่ขาดโอกาสและอยู่ห่างไกลความเจริญ คงอีกไม่นาน

  • สวัสดีค่ะ คุณสามารถ
  • บุษรามารายงานตัวค่ะ
  • มาเรียนรู้วิธีการปลูกมะกรูดด้วยค่ะ  ไหน ๆ ก็มาแล้ว เดี๋ยวขาดทุน (555)
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณสามารถ

มาขอความรู้พร้อมทั้งยืมอุปกรณ์ (รถขุด)

 ไปปลูกมะกรูด มะนาวระยะชิดหน่อย

เพราะที่บ้นมีเนื้อที่น้อยพอดีเลยค่ะ

ขอบคุณทั้งสองท่านที่แวะมาทักทายครับ และจะนำเนื้อหาที่สมบูรณ์มาเรียนให้ทราบต่อไปครับ

เข้ามาเรียนรู้วิธีการปลูกมะกรูดด้วยคนค่ะ...เพราะที่บ้านได้แต่ปลูกต้นสักค่ะ

 

ปลูกมะกรูด กี่เดือน จึงเก้บใบขายได้ครับ

ต้นมะกรูดต้องมีอายุ4-6เดือนครับจึงจะตัดได้ และสามารถตัดได้ในทุกๆ45วันครับ ต้องขอโทษพี่หมอด้วยครับ ช่วงนี้มีงานต้องทำหลายอย่างครับ เมื่อมีการฝึกอบรมใหญ่จะแจ้งให้ทราบครับพี่หมอ

ผมขอข้อมูลการปลูกด้วยคนครับกิ่งพันธุ์ซื้อที่ไหนได้บ้างครับจะปลูก มี่ที่ 5 ไร่อยู่ชลบุรีเบื่องานประจำแล้วครับ จะต้องขุดสระขนาดไหนจึงจะเพียงพอ และต้องปลูกกี่ต้นครับ

น้อมนำไปใช้ได้เลยครับ การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นทฤษฎีแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตรที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร โดยการแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งขุดสระกักเก็บน้ำ จำนวน 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สอง ปลูกข้าว จำนวน 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สาม ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นและส่วนที่สี่ เป็นพื้นที่ที่ใช้สร้างสิ่งปลูกสร้างเช่น ที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ฉาง จำนวน 10% ของพื้นที่ จำนวนสัดส่วนของพื้นที่นี้ทั้งหมดสามารถปรับเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพพื้นที่แต่ละแห่ง เช่นครอบครัวหนึ่งมีสมาชิกจำนวน 4 คน พื้นที่มีแหล่งน้ำใช้ได้ตลอดทั้งปี แต่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำก็ควรปรับลดพื้นที่ขุดสระ และเพิ่มพื้นที่นาข้าวเพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอตลอดทั้งปี ส่วนถ้าต้องการทราบในเชิงลึกเรียนเชิญเข้ารับการฝึกอบรมเรื่องการผลิตใบและผลมะกรูดเพื่อการค้าจากทางสถาบันวิจัยและพัฒนากำแพงแสนครับ จะแจ้งรายละเอียดให้ทราบครับ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม

โดย

ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน

ร่วมกับ

คณะเกษตร กำแพงแสน

จัดโครงการฝึกอบรม หลักสูตร

"เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู ประจำปี 2553 รุ่นที่ 1

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 (เวลา 8:30น. – 17:00 น.)

หลักสูตรดังกล่าว ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของเทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู การจัดการดินและการใช้ปุ๋ยมะนาว การขยายพันธุ์มะนาว ฯลฯ

ผู้สนใจขอทราบรายละเอียดและสมัครเข้ารับการอบรมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140 ติดต่อคุณรัฐกานต์ 089-254-1552 หรือโทร. (034) 281090 หรือ โทรสาร (034) 281091

1. คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม เกษตรกร ข้าราชการ และผู้สนใจทั่วไป

2. ค่าใช้จ่ายในการสมัคร ค่าลงทะเบียนคนละ 600 บาท แต่ถ้าลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 ลดเหลือ 500 บาท(รวมอาหารว่าง อาหารกลางวันและเอกสารประกอบการอบรม)

การจัดส่งค่าลงทะเบียนล่วงหน้า

ธนาณัติในนาม นางมณฑา วงศ์มณีโรจน์ (ปณ. กำแพงแสน) ที่อยู่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์ อ. กำแพงแสน จ. นครปฐม 73140 หรือ

โอนเงินเข้าบัญชีในนาม ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อย ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ประเภท ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 769 – 227500 - 5 หลังจากโอนเงินกรุณาส่งหลักฐานการโอนแนบมาพร้อมกับใบสมัครและท่านจะได้รับใบเสร็จรับเงินในวันฝึกอบรม(ตามที่อยู่ข้างบน) เมื่อโอนเงินแล้วโปรดส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมใบสมัครมาที่ โทรสาร (034) 281091 และท่านจะได้รับใบเสร็จรับเงินในวันฝึกอบรม

3. หัวข้อในการฝึกอบรม

8.00 - 9.00 น ลงทะเบียนและรับประทานอาหารว่าง

9.00 - 10.30 น. การจัดการดินและการใช้ปุ๋ยมะนาว( ผศ.อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์)

10.30 – 12.00 น. การขยายพันธุ์มะนาว (อ.สามารถ เศรษฐวิทยา)

12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 16.30 น. การปลูกมะนาวและการผลิตมะนาวนอกฤดู(รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี)

ใบสมัคร

โครงการฝึกอบรม “เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู ประจำปี 2553 รุ่นที่ 1”

ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน นครปฐม

1.ชื่อ (นาง/นางสาว/นาย)…………………………นามสกุล……………………………อายุ………ปี

2.วุฒิการศึกษา……………………………………….…………………………………………………….

3.อาชีพ…………………………………………………………………………………………………….

4.สถานที่ทำงาน……………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………….โทรศัพท์……………………………โทรสาร……………………..…

5.ที่อยู่ที่บ้าน………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………….โทรศัพท์……………………………โทรสาร……………………..…

6.ที่อยู่ที่สะดวกในการติดต่อ สถานที่ทำงาน บ้าน

7.การลงทะเบียน ลงทะเบียนล่วงหน้า ค่าลงทะเบียน 500 บาท (ภายในวันที่ 15 ก.พ. 2553)

ลงทะเบียนวันฝึกอบรม ค่าลงทะเบียน 600 บาท

การจัดส่งค่าลงทะเบียนล่วงหน้า

ธนาณัติในนาม นางมณฑา วงศ์มณีโรจน์ (ปณ. กำแพงแสน) ที่อยู่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์ อ. กำแพงแสน จ. นครปฐม 73140 หรือ

โอนเงินเข้าบัญชีในนาม ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อย ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ประเภท ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 769 – 227500 - 5 หลังจากโอนเงินกรุณาส่งหลักฐานการโอนแนบมาพร้อมกับใบสมัครส่งมาทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ข้างบน หรือทางโทรสาร 034-281091

8.ประสบการณ์ในการปลูกมะนาว  มี  ไม่มี

9.การใช้ประโยชน์หลังจากการฝึกอบรม….……………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………

ลงชื่อ…………………………………….

(………………………………)

…………./………../………..

วันนี้วันที่14ต.ค.ไม่ทราบว่าปัจจุบันยังเปิดอบรมอยู่ไหมครับสนใจมากครับ

ภัชชนก ทองมีสิทธิ์

ไม่ทราบว่าจะมีการอบรมล่าสุดอีกเมื่อไรคะ สนใจอย่างมากค่ะ

นายปุริมปรัชญ์ รัตนแสนสิทธิ์

ไม่ทราบว่าจะมีการเปิดอบรมการปลูกมะกรูด กับ มะนาวอีกเมื่อไหร่ครับ เนื่องจากผมมีความสนใจอยากจะเข้าอบรมครับ

ถ้ามีการจัดอบรมรอบใหม่รบกวนท่านอาจารย์แจ้งให้ทราบด้วยน่ะครับ สนใจมากครับ

อยากเยี่ยมชมสวนมะกรูดของคุณศิวาวุธ ใช้เบอร์ที่ปราากฎในเวป นั้นติดต่อไม่ได้

จึงใคร่ขอเบอร์คุณศิวาวุธ ใหม่

นาย สมมารถ แดงทองดี

สนใจเข้าอบรมมากครับ อยากเป็นนายตัวเองเบื่อระบบงานโรงงาน จัดการอบรมอีกรบกวนแจ้งให้ทราบด้วยนะครับขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท