หนอนชอนใบ


ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนากำแพงแสน


14/06/2556 แนะนำให้ใช้อะบาเม็กติน ของ โซตัส 

ในการป้องกันกำจัดหนอนชอนใบ จะปลอดภัยแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภค

ที่เห็นนั้นเป็นภาพของใบมะนาวที่โดนเจ้าหนอนชอนใบเล่นงานครับ เจ้าตัวหนอนชอนใบจะมีลักษณะเป็นหนอนตัวเล็กสีเหลืองอ่อน มักชอบเข้าทำลายใบอ่อนของมะนาว โดยชอนไชและดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ใต้ใบ จนทำให้ใบบิดเบี้ยวม้วนงอ ทำให้ต้นมะนาวไม่เจริญเติบโต  การป้องกันกำจัด โดยใช้สารเคมีในกลุ่มของไซเปอร์เมทริน ซึ่งหาซื้อได้ร้านขายยาทางการเกษตรทั่วไป ลิตรล่ะ300-400บาท ครับ

ลืมไปครับไอ้เจ้าหนอนชอนใบมันจะเป็นหนอนประมาณ 1 สัปดาห์แล้วมันจะแปลงร่างเป็นดักแด้ซัก 10 วันเห็นจะได้ ที่สำคัญเวลาพ้นจากช่วงดักแด้ มาเป็นตัวเต็มใบแล้ว เจ้าตัวเต็มวัยที่เป็นผีเสื้อกลางคืนจะหลบอยู่ตามพงหญ้าใต้ต้นมะนาวหรือพืชอื่นๆที่ปลูกน่ะครับ แสดงให้เห็นว่าการกำจัดวัชพืชใต้ต้นมะนาวไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าผีเสื้อกลางคืน หรือการพ่นยาฆ่าแมลงบริเวณโคนต้นมะนาวนั่นก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยกำจัดไอ้เจ้าผีเสื้อกลางคือหรือหนอนชอนใบได้น่ะครับ ยังไงก็อย่างใช้สารเคมีกันมากน่ะครับ อันตรายยยยยย

 

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม

โดย

ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน ร่วมกับ คณะเกษตร กำแพงแสน

จัดโครงการฝึกอบรม หลักสูตร

เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู ประจำปี 2553 รุ่นที่ 2 วันที่ 17 มีนาคม 2553 (เวลา 8:30น. – 17:00 น.) และเทคนิคการผลิตใบและผลมะกรูดเชิงการค้า รุ่นที่ 1 วันที่ 18 มีนาคม 2553 (เวลา 8:30น. – 16:30 น.)

หลักสูตรมะนาว ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของเทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู การจัดการดินและการใช้ปุ๋ยมะนาว การขยายพันธุ์มะนาว ฯลฯ

หลักสูตรมะกรูด ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกและดูแลรักษามะกรูด เทคนิคการผลิตใบมะกรูดอย่างมีคุณภาพ และให้ได้ปริมาณมากที่สุด การผลิตผลมะกรูด การบริหารจัดการศัตรูพืชตระกูลส้ม:มะกรูด มะนาว

ผู้สนใจขอทราบรายละเอียดและสมัครเข้ารับการอบรมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140 ติดต่ออาจารย์รัฐกานต์ 089-254-1552 หรือโทร. (034) 281090 หรือ โทรสาร (034) 281091

1. คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม เกษตรกร ข้าราชการ และผู้สนใจทั่วไป

2. ค่าใช้จ่ายในการสมัคร ค่าลงทะเบียนหลักสูตรละ 600 บาท แต่ถ้าลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนวันที่ 10 มีนาคม 2553 ลดเหลือหลักสูตรละ 500 บาท(รวมอาหารว่าง อาหารกลางวันและเอกสารประกอบการอบรม)

การจัดส่งค่าลงทะเบียนล่วงหน้า

ธนาณัติในนาม นางมณฑา วงศ์มณีโรจน์ (ปณ. กำแพงแสน) ที่อยู่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์ อ. กำแพงแสน จ. นครปฐม 73140 หรือ

โอนเงินเข้าบัญชีในนาม ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อย ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ประเภท ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 769 – 227500 - 5 หลังจากโอนเงินกรุณาส่งหลักฐานการโอนแนบมาพร้อมกับใบสมัครส่งมาทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ข้างบน หรือทางโทรสาร (034) 281091 และท่านจะได้รับใบเสร็จรับเงินในวันฝึกอบรม

3. หัวข้อในการฝึกอบรมมะนาว (ร่าง)

8.00 – 9.00 น ลงทะเบียนและรับประทานอาหารว่าง

9.00 – 10.30 น. การจัดการดินและการใช้ปุ๋ยมะนาว( ผศ.อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์)

10.30 – 12.00 น. การขยายพันธุ์มะนาว (อ.สามารถ เศรษฐวิทยา)

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 16.30 น. การปลูกมะนาวและการผลิตมะนาวนอกฤดู(รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี)

4 หัวข้อในการฝึกอบรมมะกรูด (ร่าง)

8.00 – 9.00 น ลงทะเบียนและรับประทานอาหารว่าง

9.00 – 12.00 น เทคนิคการผลิตใบและผลมะกรูดเชิงการค้า(รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี)

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 16.30 น. การบริหารจัดการศัตรูพืช:มะกรูด มะนาว และ ชมแปลงปลูก

ใบสมัคร

โครงการฝึกอบรม “เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู ประจำปี 2553 รุ่นที่ 2”

และ “เทคนิคการผลิตใบและผลมะกรูดเชิงการค้า ประจำปี 2553 รุ่นที่ 1”

ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน นครปฐม

1.ชื่อ (นาง/นางสาว/นาย)…………………………นามสกุล……………………………อายุ………ปี

2.วุฒิการศึกษา……………………………………….…………………………………………………….

3.อาชีพ…………………………………………………………………………………………………….

4.สถานที่ทำงาน……………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………….โทรศัพท์……………………………โทรสาร……………………..…

5.ที่อยู่ที่บ้าน………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………….โทรศัพท์……………………………โทรสาร……………………..…

6.ที่อยู่ที่สะดวกในการติดต่อ สถานที่ทำงาน บ้าน

7.หลักสูตรที่จะเข้ารับการฝึกอบรม  เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู ประจำปี 2553 รุ่นที่ 2

 เทคนิคการผลิตใบและผลมะกรูดเชิงการค้า ประจำปี 2553 รุ่นที่ 1

8.การลงทะเบียน ลงทะเบียนล่วงหน้า มะนาว 500 บาท (ภายในวันที่ 10 มี.ค. 2553)

ลงทะเบียนล่วงหน้า มะกรูด 500 บาท (ภายในวันที่ 10 มี.ค. 2553)

ลงทะเบียนมะนาววันฝึกอบรม ค่าลงทะเบียน 600 บาท

ลงทะเบียนมะกรูดวันฝึกอบรม ค่าลงทะเบียน 600 บาท

9. ที่พัก  ต้องการที่พัก  ไม่ต้องการ

8.ประสบการณ์ในการปลูกมะนาว  มี  ไม่มี

9.การใช้ประโยชน์หลังจากการฝึกอบรม….……………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………

ลงชื่อ…………………………………….

…………./………../………..

 

หมายเลขบันทึก: 335354เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2010 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • สวัสดีค่ะ คุณสามารถ
  • ดีใจจังเลยได้เข้ามาเป็นกำลังใจให้เพื่อนเป็นคนแรกอีกแล้ว....
  • ปวดหัว ปวดฟันด้วย เป็นอย่างหนึ่งอย่างใดก็พอได้เครียดแล้ว บุษราเข้าใจเวลาปวดฟัน หงุดหงิด ไม่อยากพูด ไม่อยากคุย ไม่อยากได้ยินเสียงอะไรทั้งนั้น (เป็นหนักไปมั๊ยเนี่ย)
  • หายเร็ว ๆ นะเพื่อน เป็นห่วง (ขอบอก)
  • ขอบคุณค่ะ 
  • สวัสดีค่ะ

    ตาม คุณบุษรา มา เป็นคนที่ 2  อิ อิ

    หายป่วยเร็วๆ และมีความสุขมากๆ มีสุขภาพแข็งแรงนะคะ..      

    ปล.  โห..  ยาแพงนะคะ  300 บาท ซื้อมะนาวลูกละ 3 บาท ได้ตั้ง 100 ลูก   อิ อิ   

     

     

        * .:。✿*゚・Have a nice day !!! *.:。✿*゚・

      

     

    ปวดฟัน ทำแบบนี้ก่อนนะคะ

    ใช้ปาสเตอร์ปิดแก้มตรงที่ปวดไว้ก่อน โดยเฉพาะในตอนกลางคืน ตอนนอน น่ะค่ะ  เช้าก็ต้องรีบไปหาหมอฟัน  ดูคลีนิคที่สะอาดๆ ไว้ก่อนนะคะ  ช่วงที่ปวดฟัน คุณหมอฟันคงจะยังทำฟันให้ไม่ได้ คุณหมอก็จะต้องรอให้คนไข้หายปวดก่อนจึงจะทำฟันให้ได้  จำเป็นมากนะคะที่ต้องไปหาหมอฟัน ถ้ารอให้ประสาทฟันหมดอายุหายปวดเองจะต้องทนทรมานเป็นเวลานานมากๆ เลยค่ะ  เบื้องต้นจึงต้องรีบทำให้หายปวดก่อนชั่วคราวก็ยังดี  ไม่สนับสนุนให้กินยาแก้ปวดประเภทdeclofenac เพราะต้นตอของการปวดอยู่ที่โพรงประสาทฟัน ยาแก้ปวดแรงแค่ไหนก็ช่วยไม่ได้ และจะทำให้เพิ่มโรคต้องมารักษากระเพาะอาหารอีกด้วย  อีกอย่าง ช่วงนี้ ต้องใช้ยาสีฟัน เซ็นโซดายน์กล่องแดง แทนยาสีฟันทั่วๆ ไป อาจต้องเปลี่ยนแปรงสีฟัน น่าจะเป็นยี่ห้อ systema original น่าจะช่วยให้สบายขึ้นค่ะ..  (เขียนยืดยาวเลยยยยย..  อิ อิ)  

    ปล. ปาสเตอร์ปิดบรรเทาอาหารปวดฟัน ซื้อได้ที่ร้านขายยา เป็นแผ่นสีขาวๆ ค่ะ  ถ้าปิดตอนไปทำงาน ระวังสาวๆ  ล้อ นะคะ  อิ อิ

    ว่าแล้วเราอมเกลือมาแปดวันแล้วไม่ยอมหาย ขอบคุณมากๆครับคุณนินานันท์

    ภาพที่โดนหนอนชอนใบเล่นงานภาพล่างนั่นเป็นใบมะกรูดน่ะครับ ตอนนี้ใครมีต้นมะกรูดสวย ใบเยอะๆ รวยเห็นๆ ครับ

    มะกรูดก็ปลูกค่ะ  อยู่ในกระถาง ไม่ได้ลงดินเหมือนมะนาวต้นนั้น..  ยิ่งมะกรูดที่ใช้ใบเป็นหลัก ยิ่งต้องห้ามใส่ยาฆ่าแมลง คิดว่าถ้าใครจะใส่ยาฆ่าแมลงมะกรูด ซื้อใบมะกรูดเขาดีกว่า..  ยาแพงนะ..  ราคาตั้ง 300 บาท/ลิตร  อิ อิ

    เจอ มาเหมือนกัน ครับ แรกก็งง ว่า มันตัวอะไร

    พอดี รพ. มาพ่นยากำจัดยุงลาย

    หนอน เลย ตายครับ

    Thank you for this good informative article with pictures.

    Do we have alternative control methods? Like herbal spray, oil+water spray, EM (จุลินทรีย์) around the trunk,...

    Has anyone any success in controlling 'leaf curl' biologically?

    การพ่นสารเคมีจำพวกไซเปอร์เมทรินนั้น จะใช้อัตราตั้งแต่15-20ซีซีต่อน้ำ20ลิตร(1ขวดมี1000ซีซี)ซึ่งจะสามารถพ่นมะนาวที่มีขนาดทรงพุ่ม1-2เมตรได้ประมาณ10-20ต้นทั้งนี้แล้วแต่เทคนิคการพ่น ในมะนาวทีมีอายุ1-3ปีนั้นสามารถให้ผลผลิตได้ตั้งแต่100-1200ลูกต่อต้นครับ ซึ่งปัจจุบันราคามะนาวยังแพงอยู่เลยผมออกไปที่ตลาดนัดวันนี้ยังมีราคาผลล่ะ5บาทอยู่เลยครับรับรองว่าคุ้มค่ากับค่าสารเคมีแน่นอนครับ

    ส่วนใบมะกรูดก็มีหนอนชอนใบเข้าทำลายเหมือนกันครับ ถ้าเราปลูกมะกรูดแค่ต้นสองต้น ก็คงไม่ต้องไปพ่นสารเคมีหรอกครับ ยิ่งเราเอาไปประกอบอาหารแล้วด้วยนั้นยิ่งต้องระวังใหญ่ แต่เมื่อทำในเชิงธุรกิจแล้วต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากยิ่งเมื่อเกิดความเสียหายจนถึงจุดวิกฤติแล้วการใช้สารเคมีก็มีความสำคัญมากเพื่อไม่ให้ขาดทุน

    ไม่ต้องเครียดกับการใช้สารเคมีในมะกรูดครับ ภาพที่เห็นเป็นการปลูกมะกรูดระยะชิดที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครับไม่ต้องพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดอะไรเลย(อยู่ในมุ้งก็มันไม่มีอะไรให้เจอและมันไม่เจออะไรก็เลยไม่ต้องพ่นสารอะไรนอกจากให้ปุ๋ย ฮิๆๆๆๆ) ล่าสุดผมขายใบไปกิโลกรัมละ35บาทครับ ถ้าสนใจจะมีฝึกอบรมในเดือนมีนาคม 2553 นี้ครับแล้วจะแจ้งให้ทราบครับ

    ชื่นชมความคิดในการปลูกต้นใบมะกรูดนะคะ.. 

    มะกรูดที่ปลูกไว้ต้นหนึ่งนั้น  ปลูกแบบไม้ยืนต้นและอยู่ในกระถาง และก็เหมือนบ้านอื่นๆ ที่ปลูกมะกรดบ้านละต้น-สองต้นไว้ใช้ใบ..  เพื่อนบ้านเอาต้นมะกรูดลงดิน โตเร็วต้นหญ่มาก ได้ใช้ทั้งใบและลูก  ดูเหมือนมะกรูดจะออกลูกเร็วกว่ามะนาว และปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลมาก..  มะนาวดูแลให้ออกลูกยากกว่านะคะ..  ขอบคุณที่ส่งข่าวฝึกอบรมด้วยค่ะ..     

    ปล.  หายปวดฟันแล้วนะคะ..   

    สวัสดีคับ ผมอมร ขอเข้ามาดูความคิดเห็นของพวกพี่คับ

    ในชีวิตเคยคิดไว้ว่าอยากทำอะไรเป็นของตัวเอง(ซึ่งปัญจุบรรณผมทำงานเป็นลูกจ้างของหน่วยราชการผมอายุ26คับ)และเคยคิดว่าอยากจะทำสวนเป็นของตัวเองและตอนนี้ผมก็เริ่มทำความฝันของผมคับ

    ผมเริ่มจากการปลูกมะนาว(พันธ์พิจิตร1) จำนวน 100 ต้น ผมปลูกไปได้ 15 วัน แล้วคับ ตอนนี้ผมเจอปัญหาคับโดยเฉพาะเรื่องหนอนชอนใบและกินใบชนิดที่ว่ายอดอ่อนไม่ได้เกิดเลยคับ ตอนนี้ผมเอาฆ่าแมลงฉีดไว้อยู่ ตอนนี้ก็รอดูผลอยู่คับ.....

    สถานที่ปลูกมะนาว เป็นดินปนทรายคับ คลายๆ กับที่ไร่นะคับบริเวณรอบๆเขาทำสวนมะนวงกันแล้วก็ปลูกมันสำปะลังคับ.... อีก1เดือนข้างหน้าผมจะลงอีก 100 ต้น คับ ..ไม่ทราบว่าพวกพี่ๆจะมีคำแนะนำอะไรบ้างคับ..............ขอบคุณคับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท