ภาพปฏิมากรรมนูนสูงเล่าเรื่องพุทธประวัติ เป็นศิลปกรรมที่งดงามทรงคุณค่าแห่งเดียวในประเทศไทย ภายในอุโบสถวัดดอนเจดีย์


วัดดอนเจดีย์

   

 

 

 

 

 

 

 http://www.watdonchedi.com/

    วัดดอนเจดีย์

สถานที่ตั้งวัด

 

                         วัดนี้ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับ     "พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์"  ด้านทิศตะวันออก  เลขที่ ๑๖๒๕  หมู่ที่ ๕  ตำบลดอนเจดีย์  อำเภอดอนเจดีย์ 
จังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕  พร้อมกับการบูรณะและสร้างพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์  โดยรัฐบาลสมัย  จอมพล ป. พิบูลสงคราม   เป็นนายกรัฐมนตรี  เป็นผู้สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติ และเพื่ออุทิศถวายเป็นราชพลีแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  โดยเวนคืนที่ดินและสงวนไว้ให้เป็นที่ตั้งวัด  สร้างวัดบนเนื้อที่ประมาณ  ๘๐ ไร่  ซึ่งแต่เดิมราชการดำริจะย้ายวัดหนองสระ  (ปัจจุบันคือ วัดสระศรีเจริญ)  มาตั้งเป็นวัดดอนเจดีย์  แต่เนื่องจากที่ตั้งวัดดอนเจดีย์  อยู่ห่างไกลหมู่บ้าน  มีบ้านใกล้เคียงเพียง ๒-๓ หลังเท่านั้น  ความดำรินี้จึงล้มเลิกไป

 

 

 

 

 

 

 

        วัดดอนเจดีย์  เดิมขึ้นกับอำเภอศรีประจันต์  ต่อมาแยกเป็นกิ่งอำเภอดอนเจดีย์ได้ตั้งเป็นที่ว่าการอำเภอเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๐๘  ทางราชการได้อนุมัติงบประมาณตั้งแต่แรกดำเนินการสร้าง  ตามหลักฐานที่ปรากฏ มีดังนี้

 

 

 

๑.   พ.ศ. ๒๔๙๕  งบประมาณเพื่อสร้างหอสวดมนต์ ๑ หลัง  กุฏิ ๔ หลัง  เป็นเงิน  ๕๕๖,๐๐๐  บาท (ห้าแสนหกหมื่นหกพันบาทถ้วน)

 

 

 

๒.   พ.ศ. ๒๔๙๖  งบประมาณเพื่อการสร้างรากฐานอุโบสถ  เป็นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน)

 

 

 

๓.   พ.ศ.๒๔๙๘  งบประมาณเพื่อการสร้างอุโบสถจนแล้วเสร็จ  เป็นเงิน ๙๘๐,๐๐๐ บาท  (เก้าแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)

 

 

 

๔.   พ.ศ. ๒๕๐๒  งบประมาณเพื่อการสร้างกฏิ  เป็นเงิน  ๔๘๐,๐๐๐  บาท  (สี่แสนแปดหมืนบาทถ้วน)

 

 

 

๕.   พ.ศ. ๒๕๐๓  งบประมาณเพื่อการสร้างกุฏิ  เป็นเงิน ๑๘,๐๐๐  บาท  (หนึ่งหมื่นแปดพันบาทถ้วน)

 

 

 

๖.    พ.ศ.๒๕๑๔  งบประมารเพื่อการซ่อมบูรณะอุโบสถ เป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท  (สองแสนบาทถ้วน)

 

 

 

๗.  พ.ศ.๒๕๑๕  งบประมารเพื่อการสร้างประตูอุโบสถ  ลาน  และกำแพงแก้ว  กับการซ่อมโรงเรียนพระปริยัติธรรม  เป็นเงิน  ๒๐๐,๐๐๐  บาท (สองแสนบาทถ้วน)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นอกจากนั้น  มีคหบดีพ่อค้าประชาชนผู้ร่วมบริจาคในการสร้างวัด ดังนี้

 

 

 

๑.   นายบุญวงศ์ อมาตยกุล  สร้างพระประธานในอุโบสถ ๑  องค์  เป็นเงิน  ๖๐,๐๐๐ บาท  (หกหมื่นบาทถ้วน)

 

 

 

๒.   พ.ศ. ๒๕๐๕  นายประยงค์  นางเล็ก  ตั้งตรงจิต สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม  ๑  หลัง  เป็นเงิน  ๕๕๐,๐๐๐ บาท  (ห้าแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)

 

 

 

๓.   กฐินจากกรมตำรวจ เพื่อสร้างกุฏิ เป็นเงิน ๖๐,๐๐๐ บาท (หกหมื่นบาทถ้วน)

 

 

 

๔.   นายสิงห์โต  เวียงธีรวัฒน์  บริจาคเพื่อการสร้างกุฏิ เป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท  (หนึ่งแสนบาทถ้วน)

 

 

 

 

 

 

 

และได้รับการอุปถัมภ์บำรุงจากข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ชาวดอนเจดีย์  ทำนุบำรุง  ให้รุ่งเรืองเป็นอย่างดีตลอดมา  จนกระทั้งถึงปัจจุบันได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่ ๓๑  มีนาคม  ๒๕๐๒ เขตวิสุงคามสีมา  ขนาดกว้าง  ๔๐  เมตร  ยาว  ๘๐  เมตร

 

 

 

       

 

 

 

        พ.ศ.๒๕๑๖  วันที่ ๑๖  สิงหาคม  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์  เพื่อทรงประกอบพิธีผูกพัทธสีมาตัดหวายลูกนิมิต ณ  อุโบสถวัดดอนเจดีย์  และทรงเททองหล่อพระพุทธรูป 

 

 

 

        พ.ศ.๒๕๓๓  ดำเนินการสร้าง  พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมวงศานุวงษ์

 

 

 

พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญอักษร พระปรมาภิไธย ภปร. อักษรพระนามาภิไธย สก. สว. มวก. สธ. และ อักษรพระนาม จภ. ประดิษฐานที่หน้าบัน
ทั้ง 6 ด้าน  ประดิษฐาน  พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  สมเด็จพระเอกาทศรถ  สมเด็จพระพี่นางพระสุพรรณกัลยา  บริเวณโดยรอบเป็นอุทยานหินประวัติศาสตร์พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ตั้งแต่ทรงพระเยาว์จนถึงเสด็จสวรรคต  เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี

 

 

 

พ.ศ. ๒๕๓๘  ดำเนินการสร้าง “ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี”  ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

 

 

 

สยามบรมราชกุมารี  และทรงเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิด  เมื่อวันที่  29 กันยายน  2540

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้ปกครองวัด

 

 

 

                       

 

 

 

             เมื่อได้ทางราชการดำเนินการก่อสร้างเสนาสนะพอเป็นที่อยู่อาศัยของ  พระภิกษุและ -สามเณรได้  ทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้ง  ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส  

 

 

 

มาเป็นผู้ปกครองวัด  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.  ๒๔๙๗ - ๒๕๐๐  รวม  ๔  รูป  คือ

 

 

 

            รูปที่  ๑.  พระอธิการศิริ    เจ้าอาวาสวัดหนองสระ (เป็นผู้รักษาการแทนฯ  ต่อมาลาสิกขา)

 

 

 

            รูปที่  ๒.  พระเมธีธรรมสาร    วัดบ้านกร่าง    เจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์  (เป็นผู้รักษาการแทนฯ  ต่อมา  ขอลาออก)

 

 

 

            รูปที่  ๓.  พระมหาผล  วัดพังม่วง    อำเภอศรีประจันต์  ต่อมาได้เป็นรองเจ้าคณะจังหวัด ฯ และเป็นพระราชาคณะ  ที่  "พระภัทรมุนี"

 

 

 

                           (เป็นผู้รักษาการแทนฯ  ต่อมา  ขอลาออก)

 

 

 

            รูปที่  ๔.  พระวิกรมมุนี   วัดปราสาททอง    อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี  (เป็นผู้รักษาการแทนฯ  ต่อมา  ขอลาออก)

 

 

 

 

 

 

 

หลังจากนั้นทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้ง  เจ้าอาวาส    ให้มาดำรงตำแหน่งเป็นการถาวร

 

 

 

            รูปที่ ๕.  พระวิบูลเมธจารย์  (เก็บ  ภทฺทิโย  ป.ธ.๗)  ๑๘  กุมภาพันธ์  ๒๕๐๑   มรณภาพ  ๒๙  ธันวาคม  ๒๕๒๕  หลวงพ่อเก็บ  นับเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

 

 

 

ครองวัดอยู่รวมเป็นระยะเวลา  ๒๕  ปี

 

 

 

            รูปที่ ๖.  พระสรินันทเมธี  ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง  และรองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี (ปัจจุบันคือ  พระราชปริยัติสุธี  เจ้าคณะจัง             

 

 

 

                          สุพรรณบุรี)  เป็นผู้รักษาการแทนและเป็นเจ้าอาวาส  ตั้งแต่  พ.ศ.๒๕๒๖  ลาออกจากเจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง  มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  เมื่อปี  พ.ศ.๒๕๓๙   ขอลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส  เพื่อไปสนองงานคณะสงฆ์  ในตำแหน่ง  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร  เมื่อวันที่  ๓๐  ตุลาคม  พ.ศ.๒๕๔๗

 

 

 

ครองวัดอยู่รวมเป็นระยะเวลา  ๒๒  ปี

 

 

 

           รูปที่ ๗. พระครูวิบูลเจติยานุรักษ์  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๑๔  เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๔๗  ถึงปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                              

  <table style="width: 762px;" border="1" cellpadding="0">

 

 

 

 

 

เจ้าอาวาส รูปที่ ๑

สังเขปประวัติ "พระวิบูลเมธาจารย์"  (หลวงพ่อเก็บ)

              พระวิบูลเมธาจารย์ (หลวงพ่อเก็บ) นามเดิม  ชื่อ เก็บ  นามสกุล พุฒิเจริญ เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๗  บิดาชื่อ นายรัด มารดาชื่อ นางโค้   เกิด ณ บ้านสองพี่น้อง  ตำบลสองพี่น้อง  อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี  มีศักดิ์เป็นหลานอา ของสมเด็จป๋า และ "หลานลุง"ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ อุปสมบทเมื่อ วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ พัทธสีมาวัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยมี พระครูอุภัยภาดารักษ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หอม วัดสองพี่น้อง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ล้วน เจ้าอาวาสวัดละครทำ เป็นพระอนุสาวนาจารย์   เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาอยู่ในสำนักของ พระอุปัชฌาย์วัดสองพี่น้อง ๑ พรรษา แล้วย้ายเข้าไปศึกษาบาลี ที่วัดพระเชตุพน กับสมเด็จป๋า สมัยที่ยังเป็นพระมหาปุ่น พอได้เป็นเปรียญธรรม ๕ ประโยค  สมเด็จป๋าก็ส่งให้กลับมาเปิดสำนักเรียนบาลีที่วัดสองพี่น้อง เมื่อพ.ศ. ๒๔๘๓ วัดสองพี่น้อง   จึงเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุพรรณบุรีสำนักหนึ่งตั้งแต่นั้นมา และตัวท่านเองก็สอบได้เป็นเปรียญธรรม ๗ ประโยค เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒  ถือเป็นพระมหารูปแรกที่สอบได้ ป.ธ. ๗ ในนามคณะสงฆ์จังหวัดสุพรรณฯ  ในเวลาต่อมา  และศิษย์สองพี่น้องของท่านตั้งแต่รุ่นแรกถึงรุ่น ต่อ ๆ มาได้อยู่สนองงาน ของคณะสงฆ์ปัจจุบัน อาทิ
    ๑. พระธรรมมหาวีรานุวัตร (ฉลอง จินตาอินโท ป.ธ.๕) เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี                                                        
     ๒. พระราชปริยัติสุธี (สอิ้ง  สิรินนฺโท  ป.ธ.๘) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี                                                                      
    ๓.พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ  ป.ธ.๙) (รองสมเด็จพระราชาคณะ) รองเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ    หัวหน้าสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูต และเจ้าคณะภาค ๗ 
     ๔. พระธรรมปัญญาภรณ์  (สุชาติ  ธมฺมรตโน  ป.ธ.๙) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ  เลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง  เจ้าคณะภาค ๕ ศิษย์สายสองพี่น้อง + ดอนเจดีย์ ที่สำเร็จเป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค ยังดำรง     สมณเพศอยู่อีกหลายรูป
                ครั้นถึง พ.ศ.๒๕๐๑  สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ (สมเด็จป๋า) วัดพระเชตุพน ฯ  กรุงเทพ ฯ  สมัยดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระธรรมวโรดม"เจ้าคณะตรวจการคณะสงฆ์ภาค ๗  เห็นว่าวัดดอนเจดีย์  เป็นวัดที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวาย "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" พระผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่แก่แผ่นดิน ควรมีพระผู้ใหญ่ไปอยู่ประจำ  จึงสั่งให้   "พระวิบูลเมธาจารย์"  (หลวงพ่อเก็บ) วัดสองพี่น้อง  เจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง  รักษาการเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี  ไปอยู่ประจำตั้งแต่เดือน  มกราคม  พ.ศ. ๒๕๐๑ จนกระทั้ง มรณภาพ เมื่อวันที่  ๒๙ ธันวาคม  พ.ศ.๒๕๒๕  สิริอายุได้ ๖๙ ปี                                                                                                                        
        ยุคสมัยของ หลวงพ่อพระวิบูลเมธาจารย์  ได้เปิดสำนักเรียนขึ้น มีพระภิกษุสามเณรมาอาศัยอยู่ศึกษาเล่าเรียนถึง ๑๓๐ รูปเศษนับเป็นยุคที่การศึกษารุ่งเรืองมาก  และถือว่าพลวงพ่อเป็นปูชนียบุคคลผู้วางรากฐานไว้ให้กับวัดดอนเจดีย์ อย่างแท้จริง
 

การสร้าง "วัตถุมงคล"
          เมื่อท่านได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์แล้ว นอกจากจัดการศึกษาของพระภิกษุ-สามเณรให้เจริญมั่นคง ท่านเห็นว่า "แผ่นดินอันเป็นที่ตั้งพระบรมราชานุสรณ์นี้" เป็นแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์ ก่อให้เกิดชัยมงคลแก่ประเทศชาติ จึงริเริ่มสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๓   โดยให้พระ-เณร ตักน้ำในสระวัดซึ่งมีสีขาว คล้ายน้ำซาวข้าว มาแกว่งสารส้ม แล้วนำตะกอนมาทำเป็นพระพิมพ์ต่าง ๆ มากมาย แจกลูกศิษย์ และผู้เคารพนับถือการสร้างวัตถุมงคล ในช่วงแรกจะเป็นดินเผาทั้งหมดแต่ตอนหลังใช้ผงดอกไม้ที่คนนำมาบูชาเป็นหลัก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช" ได้เสด็จไปทรงตัดลูกนิมิต ท่านจึงได้สร้างวัตถุมงคล หลายชนิดเป็นที่ระลึก คือ "พระกริ่งพระองค์ดำ กริ่งพระองค์ขาว" เหรียญ ภปร. พระผงสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ภปร. พระผงพิมพ์ต่าง ๆ กับเหรียญรูปเหมือน ของท่าน แล้วรวมทำพิธีพุทธาภิเศกโดยพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในยุคนั้นอันมี "สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๗ เป็นประธานจุดเทียนชัย" และยุติการสร้างแต่นั้นมา

 

 

 

 

                                                                          

 

 

             

สังเขปประวัติ  "พระราชปริยัติสุธี" (หลวงพ่อสอิ้ง)

         พระราชปริยัติสุธี   สอิ้ง สิรินนฺโท ป.ธ.๘  วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร  ตำบลรั้วใหญ่   อำเภอเมืองสุพรรณบุรี     จังหวัดสุพรรณบุรี    ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  ๑.  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์   ๒.  เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี 
          สถานะเดิม    ชื่อ   นายสอิ้ง   นามสกุล  อาสน์สถิตย์  เกิด  ๖  ฯ  ๑๔  ค่ำ    ปี  จอ  ตรงกับวันที่  ๔  เดือน มกราคม  พ.ศ. ๒๔๗๗   บิดาชื่อ  นายทองหล่อ  มารดาชื่อ  นางทองคำ   ตำบลหัวโพธิ์   อำเภอสองพี่น้อง   จังหวัดสุพรรณบุรี

            บรรพชา    วัน  ๔ ฯ ๘ ค่ำ   ปี เถาะ  ตรงกับวันที่ ๑๘ เดือน กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๔๙๔  ณ  วัดยางยี่แส  ตำบลกระจัน  อำเภออู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรี
พระอุปัชฌาย์ พระครูวินยานุโยค  วัดยางยี่แส    ตำบลกระจัน  อำเภออู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรี

      .    อุปสมบท    วัน  ๒  ฯ ๑๒  ค่ำ  ปี  มะโรง  ตรงกับวันที่  ๔   เดือน  เมษายน  พ.ศ. ๒๔๙๘    ณ  อุโบสถ วัดท่าไชย  ตำบลหัวโพธิ์  อำเภอสองพี่น้อง   จังหวัดสุพรรณบุรี  พระอุปัชฌาย์  พระวิบูลเมธาจารย์  วัดดอนเจดีย์   ตำบลดอนเจดีย์   อำเภอดอนเจดีย์   จังหวัดสุพรรณบุรี 
          พระกรรมวาจาจารย์   พระปลัดจำนงค์  ชิตกฺกิเลโส   วัดหัวโพธิ์  ตำบลหัวโพธิ์  อำเภอสองพี่น้อง           จังหวัดสุพรรณบุรี
          พระอนุสาวนาจารย์   พระครูหนุน  ฐิตธมฺโม  วัดท่าไชย     ตำบลหัวโพธิ์  อำเภอสองพี่น้อง              จังหวัดสุพรรณบุรี

วิทยฐานะ           - พ.ศ. ๒๔๘๙   สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดท่าไชย  อำเภอสองพี่น้อง         จังหวัดสุพรรณบุรี
                      - พ.ศ. ๒๔๙๗  สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษาวัดสองพี่น้อง  สำนักเรียนคณะจังหวัดสุพรรณบุรี
                      - พ.ศ. ๒๕๑๒  สอบไล่ได้ ป.ธ.๘  สำนักศาสนศึกษา   วัดสองพี่น้อง  สำนักเรียนคณะจังหวัดสุพรรณบุรี

งานปกครอง   - พ.ศ. ๒๕๐๕  เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง   - เป็นพระกรรมวาจาจารย์ 

                           - เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง
                 -  พ.ศ. ๒๕๑๑   เป็นเจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง
                 - พ.ศ.  ๒๕๑๒   เป็นพระอุปัชฌาย์   เป็นรองเจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง
                 - พ.ศ. ๒๕๑๕    เป็นเจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง
                 - พ.ศ. ๒๕๒๒   เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี

                 - พ.ศ. ๒๕๒๕   เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์

                 - พ.ศ. ๒๕๓๙    เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์

            ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์ เมื่อวันที่  ๓๐  ตุลาคม  พ.ศ.๒๕๔๗

                 - พ.ศ. 2548    เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

                 - พ.ศ. ๒๕๕๐   เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี


สมณศักดิ์
                 - พ.ศ. ๒๕๑๖       ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์  เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ   ในราชทินนาม 

ที่  พระสิรินันทเมธี  (สป.)
                 - พ.ศ. ๒๕๓๙       ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์  เป็นพระราชาคณะ  ชั้นราช ในราชทินนาม  ที่   พระราชปริยัติสุธี (ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี  ๙  มิถุนายน ๒๕๓๙)
 

   

 

 

 

 

              

 

 

เจ้าอาวาส รูปที่ 3  (รูปปัจจุบัน)

สังเขปประวัติ "พระครูวิบูลเจติยานุรักษ์ " 

(ประไพ  ปุญฺญกาโม   น.ธ.เอก  ป.ธ.๓)  
                                                                                 

ปัจจุบัน (พ.ศ.2552)  อายุ  44 ปี  24  พรรษา

           สถานะเดิม  ชื่อ ประไพ  นามสกุล  นนท์แก้ว  เกิดวันที่  ๒๑  เดือน  ตุลาคม  พุทธศักราช ๒๕๐๘       ตรงกับวันพฤหัสบดี  แรม ๑๑  ค่ำ เดือน ๑๑  ณ บ้านท้ายตลาดดอนเจดีย์   เลขที่  ๕๖๕  หมู่ที่  ๕ ตำบลดอนเจดีย์  อำเภอดอนเจดีย์  จังหวัดสุพรรณบุรี    บิดาชื่อ นายเป้ย  มารดาชื่อ นางบุญธรรม 

            อุปสมบท  ณ  พัทธสีมา  วัดดอนเจดีย์  ตำบลดอนเจดีย์  อำเภอดอนเจดีย์   จังหวัดสุพรรณบุรี        เมื่อ วันที่  ๑๕  เดือน  มิถุนายน  พุทธศักราช  ๒๕๒๘ 

โดยมี  พระสิรินันทเมธี  วัดดอนเจดีย์  ตำบลดอนเจดีย์  อำเภอดอนเจดีย์  จังหวัดสุพรรณบุรี  เป็น  พระอุปัชฌาย์  (ปัจจุบัน คือ พระเทพสุวรรณโมลี  เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี)

พระอาจารย์ทองคำ  อินฺทวโร  วัดดอนเจดีย์  ตำบลดอนเจดีย์     อำเภอดอนเจดีย์  จังหวัดสุพรรณบุรี  เป็นพระกรรมวาจาจารย์  (มรณภาพแล้ว)


พระอาจารย์จำรงค์  จตฺตสลฺโล  วัดดอนเจดีย์ ตำบลดอนเจดีย์    อำเภอดอนเจดีย์  จังหวัดสุพรรณบุรี  เป็นพระอนุสาวนาจารย์  (ปัจจุบันเป็น พระครูสุกิจจานุกูล  ผจร.วัดดอนเจดีย์)


ตำแหน่งทางการปกครอง

          ปี  พ.ศ.๒๕๓๕  วันที่ ๙  เดือน มีนาคม   เป็น พระกรรมวาจาจารย์

          ปี  พ.ศ.๒๕๓๖  วันที่ ๒  เดือน  เมษายน  เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะตำบลดอนเจดีย์                     อำเภอดอนจดีย์  จังหวัดสุพรรณบุรี

          ปี  พ.ศ.๒๕๓๖  วันที่ ๑๖  เดือน  เมษายน  เป็น เจ้าคณะตำบลดอนเจดีย์    อำเภอดอนเจดีย์          จังหวัดสุพรรณบุรี

          ปี  พ.ศ.๒๕๓๖  วันที่ ๔  เดือน  มิถุนายน  เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์    ตำบลดอนเจดีย์       อำเภอดอนเจดีย์  จังหวัดสุพรรณบุรี

          ปี  พ.ศ.๒๕๔๗  วันที่ ๑๔  เดือน  พฤศจิกายน  เป็น  เจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์    ตำบลดอนเจดีย์       อำเภอดอนเจดีย์  จังหวัดสุพรรณบุรี

          ปี  พ.ศ.๒๕๔๘  วันที่ ๒๐  เดือน  กุมภาพันธ์  เป็น พระอุปัชฌาย์

         ปี  พ.ศ.๒๕๕๒  วันที่ ๒  เดือน  เมษายน  เป็น รองเจ้าคณะอำเภอดอนเจดีย์    จังหวัดสุพรรณบุรี

สมณศักดิ์

         5  ธันวาคม  พ.ศ.2543  เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล  ชั้นโท  ที่  พระครูวิบูลเจติยานุรักษ์

         5 ธันวาคม  พ.ศ.2549  เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล  ชั้นเอก  ในราชทินนามเดิม

อุดมคติ
        “ข้าพเจ้ามุ่งมั่นและมีความหวังว่า จะครองสมณเพศที่ดี อยู่ให้ได้ตลอดชีวิต”

ปณิธาน
        “เมื่อข้าพเจ้ายังอยู่ในสมณเพศ  จะทำงานตอบแทนคุณพระพุทธเจ้า  และพระศาสนาให้ดีที่สุด  ตามกำลังและความสามารถ ของข้าพเจ้า”

 

 

 

 วัตถุมงคลที่จัดทำ  วัดดอนเจดีย์

 

 

 

 

 

 

 

     ชมพระเครื่องอื่นๆคลิกเลย

                                                                           

         http://www.watdonchedi.com/pages/phra_1.htm

 

 

 

 

 

 

 

</table>

หมายเลขบันทึก: 351433เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2010 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

นมัสการหลวงพี่ บวชนานๆๆอยู่เป็นเจ้าอาวาสนะครับ...

นมัสการเจ้าค่ะ

  • ศิลปวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทย
  • ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมเจ้าค่ะ
  • น่าภาคภูมิใจกับลูกหลาน

ขอนำบุญให้ท่านให้ท่านอาจารย์ขจิตและเพื่อนสมาชิกช่วยนำภาพปฏิมากรรมนูนสูงเล่าเรื่องพุทธประวัติ เป็นศิลปกรรมที่งดงามทรงคุณค่าแห่งเดียวในประเทศไทย ภายในอุโบสถวัดดอนเจดีย์ ไปเผยแพร่และช่วยบอกต่อด้วย  เจริญพร

กราบนมัสการพระคุณเจ้า และหลวงพี่สามารถ ที่เคารพค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณพ่อของหลวงพี่สามารถ ที่เคารพค่ะ

พี่นีนานันท์ ขอกราบขอบพระคุณหลวงพี่ ที่พาทัวร์วัด  เล่าเรื่องได้ละเอียดมาก..  ภาพถ่ายปฏิมากรรมนูนสูงเล่าเรื่องพุทธประวัติ เป็นศิลปกรรมที่งดงาม ถ่ายภาพได้สวยงาม เหมือนได้มาเที่ยวเองเลย..   ขอพรพระคุ้มครองให้คุณพ่อมีสุขภาพแข็งแรง มีแต่ความสุขนะคะ..  พี่ดีใจมากค่ะ ที่ได้ร่วมอนุโมทนาบุญกับหลวงพี่  เดี๋ยวคุณแม่ของพี่ตื่นก็จะพาคุณแม่มาทัวร์บันทึกนี้ด้วยค่ะ..  เมื่อเราโตขึ้น คุณพ่อของหลวงพี่ และคุณแม่ของพี่นีนานันท์ ก็ล้วนแต่มีอายุมากๆ แล้วนะคะ..  อิ อิ   ขอกราบอนุโมทนาบุญกับท่านด้วยค่ะ..  สาธุ สาธุ สาธุ..  ค่ะ..    

นำพรแก่ท่านและครอบครัว

ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ

บรรดาแม่น้ำในห้วยหนองคลองบึงบางต่างๆ
ย่อมไหลลงไปสู่มหาสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยมฉันใด
ด้วยอำนาจกุศลผลสุจริตทาน ที่ท่านทั้งหลาย
ได้กระทำมาแล้วโดยชอบจงเข้าไปสำเร็จแก่เปรตชนทั้งหลาย
มีมารดาบิดา ปู่ย่า ตายาย ญาติ มิตรสหาย เป็นต้น
ที่ล่วงลับไปแล้ว ยังปรโลกฉันนั้นเถิด

อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถา
มะณิ โชติระโส ยะถา

ความปรารถนาอันใด ที่ท่านทั้งหลายตั้งไว้แล้วโดยชอบ
จงเข้าไปสำเร็จสมดังความมุ่งมาดปรารถนาอย่าได้ช้า
อย่าได้นาน ความดำระในใจอันใด ที่ท่านทั้งหลาย
ดำริไว้แล้วโดยชอบ จงสมบูรณ์โดยชอบ
สมดั่งมโนรสทุกอย่างทุกประการ
อนึ่งเล่า พระจันทณ์อันมณฑลย่อมโสภณ
ในวันเพ็ญปุรณมีดิถีที่ ๑๕ ค่ำแล
มีฉันใด ขอความปรารถนาของท่านทั้งหลาย
จงเข้าไปเต็มเปี่ยมฉันนั้นเถิด
อนึ่งเล่าแก้วมณีอันมีนามว่าโชติรส
ย่อมยังความปรารถนาของพระเจ้าจักรพรริดราช
ให้สำเร็จได้ฉันใด ขอความปรารถนาของท่านทั้งหลาย
จงเข้าไปสำเร็จฉันนั้นเถิด

สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ

เสนียดจัญไรทั้งหลาย จงเสื่อมสูญหาย
สรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย
จงพินาศสูญไป
ขอสรรพอันตรายทั้งหลาย จงอย่าได้มา
พ้องพานในจิตสันดานของท่านทั้งหลาย
ขอท่านทั้งหลายจงมีความสุข มีอายุยืน
ทุกคืนวัน มิได้ขาด

อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง

อนึ่งเล่า วุฒิธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้เคารพนบนอบในวุฒิบุคคล
(คือ ชาติ วุฑโฒ ผู้เจริญโดยชาติ,
วยวุฑโฒ ผู้เจริญโดยวัย,
คุณวุฑโฒ ผู้เจริญโดยคุณ เป็นนิตย์
กิจเหล่านี้ เป็นอันว่าท่านทั้งหลาย
ได้บำเพ็ญมาแล้วโดยชอบ)
วุฒิธรรม ๔ ประการ คือ
อายุ ขอให้ท่านทั้งหลาย
จงมีอายุยืนยง คงทน ตลอดไปชั่วอายุขัย,
วรรณะ ขอให้ท่านทั้งหลาย
จงมีผิวพรรณผ่องใส สะอาดปราศจากมลทิน
เหมือนพระจันทร์อันโสภณในวันเพ็ญปุรณมี,
สุขะ ขอให้ท่านทั้งหลาย
จงมีความสุขกาย สบายจิตเป็นนิมิตเครื่องหมาย
ตลอดไปทุกอิริยาบถ,
พละ ขอให้ท่านทั้งหลาย จงปรากฎสมบูรณ์ด้วยกำลังกาย
และวาจา ทั้งกำลังปัญญาและกำลังทรัพย์
พร้อมทั้งลาภยศ (วัฑฒันตุ ขอให้พรทั้งหลาย
ที่บรรยายมานี้ จงปรากฎวัฒนาการให้ได้
ประสบความสำราญทุกเมื่อ)

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

๑) ขอสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลจงเกิดมี
๒) ขอทวยเทพเจ้าเหล่าอทิสสมานกาย
ซึ่งสถิตอยู่ในที่ทุกสถานวิมานมาศ
จงช่วยวางอำนาจปกครองป้องกันท่านทั้งหลาย
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
๓) ขอสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล
จงเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายให้ได้บำเพ็ญ
กุศล มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น
ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบไปสิ้นกาลนาน
สมดังปณิธานความปรารถนาจงทุกประการเทอญ


ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธรรมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

๑) ขอสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลจงเกิดมี
๒) ขอทวยเทพเจ้าเหล่าอทิสสมานกาย
ซึ่งสถิตอยู่ในที่ทุกสถานวิมานมาศ
จงช่วยวางอำนาจปกครองป้องกันท่านทั้งหลาย
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง
๓) ขอสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล
จงเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายให้ได้บำเพ็ญ
กุศล มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น
ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบไปสิ้นกาลนาน
สมดังปณิธานความปรารถนาจงทุกประการเทอญ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

๑) ขอสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลจงเกิดมี
๒) ขอทวยเทพเจ้าเหล่าอทิสสมานกาย
ซึ่งสถิตอยู่ในที่ทุกสถานวิมานมาศ
จงช่วยวางอำนาจปกครองป้องกันท่านทั้งหลาย
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง
๓) ขอสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล
จงเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายให้ได้บำเพ็ญ
กุศล มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น
ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบไปสิ้นกาลนาน
สมดังปณิธานความปรารถนาจงทุกประการเทอญ

 

นมัสการเจ้าค่ะ.....ไม่ค่อยถนัดเท่าไหร่...กราบลาละเจ้าค่ะ

พระพุทธปริศนาธรรมมงคล

หลวงพ่อปิดเคราะห์  เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกัน  อันเนื่องมาจากลักษณะ ขององค์พระ  ที่ยกพระหัตถ์ขึ้นปิดหูสองข้างหลับตาทั้งสองข้าง  ริมฝีปากปิดสนิท  เหมือนกับปิดไตรทวาร  จนเป็นเหตุให้มีบางคนเชื่อว่า  “ท่านมีความศักดิ์สิทธิ์ช่วยปิดเคราะห์ได้”  ซึ่งเป็นความเชื่อส่วนบุคคล  เดิมทีพระพุทธรูปองค์นี้  ได้ประดิษฐานไว้ในบริเวณสวนป่า        ในอาณาบริเวณเขตสังฆาวาส  ซึ่งอยู่ใกล้กับเขตกุฏิที่อยู่ของพระภิกษุ – สามเณร     เนื่องจากมีประชาชนซึ่งมีความศรัทธาและมีความเชื่อว่า ท่านศักดิ์สิทธิ์ มากราบไหว้ขอพร  ปรากฏตามคำบอกเล่าว่า   สำเร็จตามประสงค์หลายราย มาแก้บนกันบ้างมาขอพรใหม่กันบ้าง 

              ทางวัดจึงเห็นว่าสถานที่ตั้งไม่เหมาะสมต่อการมากราบไหว้ของประชาชนทั้งใกล้เคียงและต่างจังหวัด  จึงได้อาราธนาท่านขึ้นไปประดิษฐานไว้ด้านบนภายในพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระรูปของสมเด็จพระนเรศวรและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันศักดิ์สิทธิ์และสวยงามของวัดอยู่แล้ว

          หากท่านประสงค์จะไปกราบไหว้  โดยจะมาจากที่ไหนก็ตาม ให้ไปที่พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์  อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

       วัดดอนเจดีย์  อยู่ในบริเวณเดียวกัน  ห่างจากองค์พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์  ไปทางทิศตะวันออก        เพียง 300 เมตรเท่านั้น

           จะอย่างไรก็ตาม พระพุทธรูปองค์นี้  เป็นพระที่ได้รับทราบจากการบอกเล่ากันมาว่า  “มีพระมหารูปหนึ่งเคยบวชเป็นพระอยู่ที่วัดดอนเจดีย์ได้ปั้นขึ้นไว้ประมาณ ๔๐ ปีมาแล้ว”  แต่จะด้วยเหตุผลใดที่ปั้นออกมาเป็นลักษณะเช่นที่เห็นอยู่นี้  ไม่มีใครทราบ  ผู้ปั้นก็เสียชีวิตไปหลายปีแล้วและไม่ได้บันทึกเหตุผลไว้   แต่ถ้าเราจะสื่อความหมายในทางธรรม  ก็พอจะสรุปได้ว่า  ตามปกติมนุษย์ผู้เป็นปุถุชนทั้งหลาย  จะมีกิเลสเข้าสู่จิตใจได้ก็ด้วยช่องทาง ตา หู  จมูก ลิ้น และกาย หากรู้จักปิดเสียบ้างก็จะพบกับความสุขได้

          ดังคำพูดที่ว่า  “ไม่ฟังเป็นบางครา  หลับตาเป็นบางคราว  ไม่พูดบางเรื่องราวสุขกายสบายใจ”    ข้อคิดสุดท้ายก็คือ  ถ้าจะให้หลวงพ่อช่วยปิดเคราะห์ได้  เราต้องเป็นผู้ที่มีความคิด  คำพูดและการกระทำที่ดีด้วย....  เจริญพร

กราบนมมัสการค่ะพระคุณเจ้า

 ศิลปวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทย ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมเจ้า ค่ะ  ขออนุโมทนาในความปรารถนาดี นำสิ่งเหล่านี้มาเผยแพร่ให้เป็นที่ร ู้จักกันโดยทั่วไป  สาธุ  สาธุ เจ้าค่ะ

พรุ่งนี้ จะไปสงน้ำพระที่วัดหน้าบ้าน วัดใหญ่ท่าเสา  วันที่พระยาพิชัยดาบหักะบวชเรียนเมื่อวัยเด็กค่ะ  ก่อนทำบุญตักบาตร ก็ไปขนทรายเข้าวัดและก่อเจดีย์ทราบกัน....  

สงน้ำพระคุณเจ้าวันนี้เลยนะเจ้าคะ

 

  • นมัสการพระคุณเจ้าค่ะ
  • มาชมภาพปฏิมากรรมนูนสูงเล่าเรื่องพุทธประวัติ เป็นศิลปกรรมที่งดงามทรงคุณค่าแห่งเดียวในประเทศไทย ภายในอุโบสถวัดดอนเจดีย์ ซึ่งสวยงามและมีคุณค่าค่ะ
  • มาร่วมรับบุญด้วยค่ะ และมาสรงน้ำพระสามารถค่ะ
  •                               
  •                                      

มาเยี่ยมพระคุณเจ้าตอนดึก

ไม่ทราบจำวัดหรือยัง...

ไปรบกวนแล้วเจ้าค่ะ

 

กราบนมัสการค่ะ

           ขอบพระคุณมากนะคะ พร ภาพกัณฑ์ต่างๆ  พระเครื่อง ฯลฯ งามมากค่ะ ไปดอนเจดีย์ ก็ไม่เคยเข้าไปถึงวัดเลย ไปไหว้ที่เจดีย์เท่านั้นหากครั้งต่อไปจะไปที่วัดค่ะ งดงามทุกอย่าง ช่วงนี้ไม่ได้เปิดคอมฯหลายวัน เพื่อนชวนขายอาหารหน้าบ้านช่วงสงกรานต์ 3 วัน เป็นปีแรกที่ขาย ยังไม่ได้กำไรเลยค่ะ ขายถูกมากไป ขายไข่ป่าม ข้าวไข่เจียว หมูปิ้ง ข้าวนึ่ง และน้ำ ก็ได้ทำอะไรที่วุ่นวายดี  คนมาเที่ยวเชียงใหม่มากเหมือนเช่นทุกปี

        ได้เข้าไปชมพระเครื่อง วัด มีเว็ปไซด์ และอีเมล์ จะส่งสูตรการทำน้ำมันมะพร้าวไปให้ทางวัดเผยแพร่นะคะ พระทำไว้ใช้ได้ ที่ทราบเพราะมีพระหลายรูปหลายจังหวัด โทรมาให้ส่งวิธีทำไปให้ เพื่อสอนให้ชาวบ้าน และบางรูปทำใช้รักษาโรค โดยให้ โยมแม่หรือโยมอื่นๆทำให้ หรือว่าวัดดอนเจดืย์ทำใช้กันบ้างแล้ว โดยเฉพาะการใช้รักษา โรคที่เกี่ยวกับต่อมลูกหมาก ดีมากๆ หายดี จนหลายคนเก็บยาแผนปัจจุบัน ใช้น้ำมันมะพร้าวแทน ยา  พระส่วนใหญ่เป็นโรคนี้กันมากทีเดียว  ส่งเมล์ไปได้ใช้ไหมค่ะ

                 

                        

นมัสการค่ะหลวงพี่

สึกเมื่อไหร่คะ???

อยากไปใส่บาตรพระใหม่

เมื่อกี๊(3 ทุ่มกว่ากว่า) พี่สาวเพิ่งโทร.มาชวนให้ไปทำบุญที่วัด

แอบแซวพี่สาวไปว่า

"นู๋จะตกนรกก็ตกไม่ได้ เพราะพี่ก็ช่วยดึงขึ้นสวรรค์ทุกที"

ขอบคุณค่ะที่นำพรไปให้

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ  และกราบนมัสการเจ้าค่ะ..

หลวงพี่คะ  ภาพถ่ายปฏิมากรรมนูนสูงเล่าเรื่องพุทธประวัติ  ถ่ายได้ชัดเจนสวยงามมากนะคะ  เวลาเราไปยืนใกล้ๆ จะอ่านเห็นตัวหนังสือตัวเล็กๆ ที่อธิบายเรื่องราวมั๊ยคะ..   ()

กราบนมัสการพระเดชพระคุณท่านค่ะ

          มาแวะอ่านบันทึกดีๆเจ้าค่ะ

                             นมัสการเจ้าค่ะ

                              ครูกระแต

*** กราบนมัสการ....และเยี่ยมชมบันทึกอนุสรณ์อุปสมบทอันทรงคุณค่า ...เจ้าค่ะ

ขอเจริญรแก่ทุกท่าน

ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ

บรรดาแม่น้ำในห้วยหนองคลองบึงบางต่างๆ
ย่อมไหลลงไปสู่มหาสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยมฉันใด
ด้วยอำนาจกุศลผลสุจริตทาน ที่ท่านทั้งหลาย
ได้กระทำมาแล้วโดยชอบจงเข้าไปสำเร็จแก่เปรตชนทั้งหลาย
มีมารดาบิดา ปู่ย่า ตายาย ญาติ มิตรสหาย เป็นต้น
ที่ล่วงลับไปแล้ว ยังปรโลกฉันนั้นเถิด

อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถา
มะณิ โชติระโส ยะถา

ความปรารถนาอันใด ที่ท่านทั้งหลายตั้งไว้แล้วโดยชอบ
จงเข้าไปสำเร็จสมดังความมุ่งมาดปรารถนาอย่าได้ช้า
อย่าได้นาน ความดำระในใจอันใด ที่ท่านทั้งหลาย
ดำริไว้แล้วโดยชอบ จงสมบูรณ์โดยชอบ
สมดั่งมโนรสทุกอย่างทุกประการ
อนึ่งเล่า พระจันทณ์อันมณฑลย่อมโสภณ
ในวันเพ็ญปุรณมีดิถีที่ ๑๕ ค่ำแล
มีฉันใด ขอความปรารถนาของท่านทั้งหลาย
จงเข้าไปเต็มเปี่ยมฉันนั้นเถิด
อนึ่งเล่าแก้วมณีอันมีนามว่าโชติรส
ย่อมยังความปรารถนาของพระเจ้าจักรพรริดราช
ให้สำเร็จได้ฉันใด ขอความปรารถนาของท่านทั้งหลาย
จงเข้าไปสำเร็จฉันนั้นเถิด

สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ

เสนียดจัญไรทั้งหลาย จงเสื่อมสูญหาย
สรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย
จงพินาศสูญไป
ขอสรรพอันตรายทั้งหลาย จงอย่าได้มา
พ้องพานในจิตสันดานของท่านทั้งหลาย
ขอท่านทั้งหลายจงมีความสุข มีอายุยืน
ทุกคืนวัน มิได้ขาด

อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง

อนึ่งเล่า วุฒิธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้เคารพนบนอบในวุฒิบุคคล
(คือ ชาติ วุฑโฒ ผู้เจริญโดยชาติ,
วยวุฑโฒ ผู้เจริญโดยวัย,
คุณวุฑโฒ ผู้เจริญโดยคุณ เป็นนิตย์
กิจเหล่านี้ เป็นอันว่าท่านทั้งหลาย
ได้บำเพ็ญมาแล้วโดยชอบ)
วุฒิธรรม ๔ ประการ คือ
อายุ ขอให้ท่านทั้งหลาย
จงมีอายุยืนยง คงทน ตลอดไปชั่วอายุขัย,
วรรณะ ขอให้ท่านทั้งหลาย
จงมีผิวพรรณผ่องใส สะอาดปราศจากมลทิน
เหมือนพระจันทร์อันโสภณในวันเพ็ญปุรณมี,
สุขะ ขอให้ท่านทั้งหลาย
จงมีความสุขกาย สบายจิตเป็นนิมิตเครื่องหมาย
ตลอดไปทุกอิริยาบถ,
พละ ขอให้ท่านทั้งหลาย จงปรากฎสมบูรณ์ด้วยกำลังกาย
และวาจา ทั้งกำลังปัญญาและกำลังทรัพย์
พร้อมทั้งลาภยศ (วัฑฒันตุ ขอให้พรทั้งหลาย
ที่บรรยายมานี้ จงปรากฎวัฒนาการให้ได้
ประสบความสำราญทุกเมื่อ)

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

๑) ขอสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลจงเกิดมี
๒) ขอทวยเทพเจ้าเหล่าอทิสสมานกาย
ซึ่งสถิตอยู่ในที่ทุกสถานวิมานมาศ
จงช่วยวางอำนาจปกครองป้องกันท่านทั้งหลาย
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
๓) ขอสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล
จงเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายให้ได้บำเพ็ญ
กุศล มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น
ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบไปสิ้นกาลนาน
สมดังปณิธานความปรารถนาจงทุกประการเทอญ


ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธรรมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

๑) ขอสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลจงเกิดมี
๒) ขอทวยเทพเจ้าเหล่าอทิสสมานกาย
ซึ่งสถิตอยู่ในที่ทุกสถานวิมานมาศ
จงช่วยวางอำนาจปกครองป้องกันท่านทั้งหลาย
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง
๓) ขอสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล
จงเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายให้ได้บำเพ็ญ
กุศล มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น
ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบไปสิ้นกาลนาน
สมดังปณิธานความปรารถนาจงทุกประการเทอญ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

๑) ขอสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลจงเกิดมี
๒) ขอทวยเทพเจ้าเหล่าอทิสสมานกาย
ซึ่งสถิตอยู่ในที่ทุกสถานวิมานมาศ
จงช่วยวางอำนาจปกครองป้องกันท่านทั้งหลาย
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง
๓) ขอสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล
จงเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายให้ได้บำเพ็ญ
กุศล มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น
ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบไปสิ้นกาลนาน
สมดังปณิธานความปรารถนาจงทุกประการเทอญ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท