มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับการพัฒนาชนบทตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง

 

     การพัฒนาชนบทได้รับความสำคัญในนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่  1 เป็นต้นมา  ภายใต้แนวคิดการพัฒนากระแสหลักที่เน้นการสร้างความทันสมัย  การพัฒนาเศรษฐกิจ  และความเท่าเทียมกันของประชาชนในทุกภูมิภาค  รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายการพัฒนาชนบทที่เน้นการกระจายรายได้และความเจริญสู่ชนบทและภูมิภาค  อย่างต่อเนื่อง  จนส่งผลให้ประเทศไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่นานาประเทศให้การยอมรับเป็นอย่างสู่ ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ  "เศรษฐกิจพอเพียง"  ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน  เพราะหากเราไม่ไปพึ่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป 

ผู้บริหารระดับสูงและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทั้งนั้นครับ

ไปกันแบบติดดินจริงๆ

 จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่  วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้   ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง"  จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ 

ท่านรศ.ดร.เอมอร อังสุรัตน์ สอบถามปัญหาด้านการเกษตรเพื่อหาแนวทางการแก้ไข

 เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออก

ท่านผศ.ดร.ชวลิต ฮงประยูร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน และ ท่านรศ.ดร.เอมอร อังสุรัตน์ รองประธานคณะทำงาน ประชุมเพื่อแต่งตั้งคณะทำงานภาคประชาชน

บนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานให้เป็นแนวทางสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนชาวไทย และเป็นหลักปรัชญานำทางในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) จะเห็นว่าการกระจายโอกาสที่เท่าเทียมกันของคุณภาพชีวิตประชาชนโดยกลยุทธ์การยึดคนในพื้นที่เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมที่มีฐานรากมาจากรากฐานความเข้มแข็งของชุมชนทั้งในชนบทและในเมือง (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545 - 2549 หน้า 46) ในภาคยุทธศาสตร์การปรับ โครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายสำคัญ คือ การลดสัดส่วนคนยากจนของประเทศให้ อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 10 ของประชากรรวมในปี 2549 และเพิ่มความเข้มแข็งของชุมชนและประชาชนในระดับต่าง ๆ ให้มีความมั่นคงทางสังคมทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ รวมทั้งมีระบบบริหารจัดการของชุมชนที่ดีให้ครอบคลุมทุกตำบลทั่วประเทศภายในปี 2549 (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2544, เรื่องเดิมหน้า 7)

คุณวรุณ สวนนาค นักพัฒนาชุมชน เทศบาลตำบลกรับใหญ่

เป็นผู้ที่คอยประสานงาน ในการทำโครงการนี้

ดูเหมือนว่าจะเป็นหน้าที่ของคุณวรุณอยู่แล้ว

แต่ผมก็รู้สึกได้ถึงความตั้งใจของ คุณวรุณที่จะช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้

การพัฒนาประเทศในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  10  (พ.ศ. 2550 - 2554)  ยังคงอัญเชิญ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นหลักปฏิบัติในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ และยึดกระบวนทรรศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี“คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  9   (พ.ศ. 2545 - 2549)  วิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ มุ่งพัฒนาประเทศไทยสู่ “สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน (green and happiness society)” โดยคนไทยมีความรู้คู่คุณธรรม รู้เท่าทันโลก เป็นคนดี มีวินัยและรับผิดชอบ มีความภูมิใจสามารถสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ชุมชนและสถาบันสังคมมีความเข้มแข็ง อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและเกื้อกูลภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติ มีระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ สามารถพึ่งตนเองและแข่งขันได้ รวมทั้งมีการกระจายการพัฒนาที่เป็นธรรม อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่โปร่งใส เป็นธรรม และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม อันจะเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศที่สมดุล และสร้างความสุขอย่างยั่งยืนโดยมีพันธกิจของการพัฒนาประเทศ ดังนี้  (1) พัฒนาคุณภาพคนในชาติให้มีความรอบรู้คู่คุณธรรมและสร้างสังคมฐานความรู้ให้เป็นภูมิคุ้มกัน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (2) เสริมสร้างความเท่าเทียมและความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม รวมพลังเป็นเครือข่ายการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง มุ่งคงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยและความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นฐานที่มั่นคงในการดำรงวิถีชีวิตและการพึ่งตนเองขณะเดียวกันสร้างสังคมที่เป็นธรรม คนในชาติมีความเสมอภาคในสิทธิและเสรีภาพ

(3) ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง มั่นคง แข่งขันได้และเป็นธรรม ที่เน้นการพึ่งตนเอง ลดการพึ่งพาจากภายนอก มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีคุณภาพ แข่งขันได้มีเสถียรภาพและมีการกระจายการพัฒนาอย่างเป็นธรรม เป็นการปรับโครงสร้างการผลิตระหว่างภาคเกษตร อุตสาหกรรมและบริการสู่การผลิตบนฐานความรู้ ที่เน้นกระบวนการผลิตที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีการพัฒนาต่อยอดและประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่ม ควบคู่กับการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ พลังงาน องค์ความรู้และกลไกที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพและสร้างภูมิคุ้มกันของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อกระจายความเจริญและรายได้

(4) พัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาลในทุกระดับมีการกระจายอำนาจ เสริมสร้างประชาธิปไตย บริหารจัดการด้วยความโปร่งใส รับผิดชอบต่อสาธารณะยุติธรรม มีกลไกและกฎระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนาที่สร้างความเป็นธรรมในสังคม และเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมพัฒนาของคนส่วนใหญ่ในชาติทุกระดับ นำไปสู่สังคมที่มีความสุขบนรากฐานการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมที่สมดุลและยั่งยืน

ปัญหาปลานิลแดดเดียว

เป็นปัญหาหนึ่งที่ผมสนใจ

เนื่องจากปลานิลแดดเดียวของคุณป้ามีรสชาติที่อร่อยมาก และเป็นที่ต้องการของร้านค้าทั่วประเทศ ประกอบกับคุณป้าเจ้าของกิจการ ต้องการที่จะให้คนในหมู่บ้านมีอาชีพ และสร้างรายได้ ก็ให้คนในหมู่บ้านไปหาปลานิลที่มีขนาดเล็กเอามาจำหน่าย

แต่ปัญหาก็คือ การที่จะได้ปลานิลที่มีขนาดพอเหมาะนั้น ชาวบ้านต้องไป ยกยอ จับปลาที่บ่อทราย ในแต่และวันจะได้ปลานิลมาจำนวนไม่มากนัก ไม่เพียงพอต่อการผลิตออกสู่ท้องตลาด

ผมจึงได้พยายามหาทางช่วยเหลือ

โดยประสานงานไปที่

พี่น้อยผู้นำกลุ่มแม่บ้านที่อำเภอบางบาล

ก็ได้รับคำตอบว่า

ต้องมีบ่อที่เลี้ยงปลานิลแต่ก็จะมีปัญหาที่ตามมา

ว่าจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

เนื่องจากการทำปลานิลแดดเดียว

ต้องใช้ปลานิลที่มีขนาดเล็ก

หรือไม่ก็ต้องไปตามตลาดสด หาซื้อปลานิลที่มีขนาดเล็ก แต่ก็จะไม่มีจำหน่ายทุกวัน ซึ่งตัวพี่น้อยเองก็เคยทำมาแล้ว แต่ปัจจุบันทำ กล้วยแปรรูปเนื่องจากมีปัญหาในเรื่องวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตเช่นกัน

มีภาพเรื่องปลานิลอีกมากครับ แล้วจะนำภาพมาเพิ่มเติมอีกครับ

หรือท่านใดที่มีความคิดเห็นอย่างไร หรือสามารถช่วยคุณป้าแกได้ก็บอกกันบ้างน่ะครับ

จากภาพ ท่านรศ.ดร.เอมอร อังสุรัตน์ จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและต้องการให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าไปช่วยเหลือ

การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบัวอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

 

 

 

 

 

 



ความเห็น (24)

สวัสดีค่ะ..คุณสามารถ

  • ปิดเพลงทิ้งไว้..ไพเราะจังค่ะ..
  • แต่เจ้าของบันทึกหาย..(อาจารย์ขจิต กับพี่ครูใจดีมา)
  • ไม่เป็นไรค่ะ..เดี๋ยวเพลงจบก็จะไปแล้ว..อิ..อิ..
  • ขอบคุณมากค่ะ..(บอกสองท่านด้วยนะคะ..ว่าคิดถึง)
  • บาย..

            สนุก อิ่มท้อง อิ่มใจไหมฯ ได้พบหลายคนเลย ใครคุยเก่งที่สุด มาเล่าม่วนๆให้ทราบหน่อย  มาชมบันทึกนี้ เป็นอาหารโปรดพี่ดาเลยค่ะ ชอบกินปลามากๆ   เมื่อตอนเย็น ก็กินปลาตะเพียนแดดเดียวย่าง   และวันนี้ แม่ค้าลำปางเดินมาขายถึงบ้าน ซื้อปลากดย่างไว้ต้มยำ 1 ตัว กับ ผักพ่อค้าตีเมีย       

                 

                         ปลา เมือง เชียงใหม่ มาฝากค่ะ   

สวัสดีค่ะอาจารย์สามารถ ยายอยากกินปลาแดดเดียวทอดกรอบค่ะ

สวัสดีค่ะ

เหมือนน้องคุณยายเลยค่ะ แถมมะนาวรสหวาน ๆ ด้วยนะคะ

เมื่อคืนมีสาวๆมาหา อ.ขจิต ที่ ม.เกษตร เก็บภาพมาฝากครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • แล้วมือกล้องไม่เห็นซักรูป....เลย  พี่จุ๋มทำไมไม่ถ่ายคุณสามารถซักรูป อ๋อ...รู้แล้วมือไม่ว่างจากการพูดโทรศัพท์นั่นเอง 55555
  • เห็นอาหารแล้วอยากกินขึ้นมาทันทีเลย น่ากินทั้งนั้น อยากรู้ใครสั่ง......
  • ขอบคุณค่ะ

ตามมาชมภาพพี่จุ๋ม ครูพี่อ้อยเล็ก ภาพนี้น่ารักมากๆ ขอบคุณค่ะ

ปลานิลทอด อร่อยเหาะ แถวบ้านขายดี ปลานิล บินๆ ทุกวันค่ะ ;)

 

สวัสดีค่ะมาเยี่ยมชม สาว สาว สาว น่ารักทุกคนค่ะ..อาจารย์ขจิตทำหน้า งง คงจะไม่มีช่องว่างให้ได้คุยล่ะสิ..ครูใจดีค่ะอาจารย์น้องงอนอยู่หลังน่ะ..จขบ. ทำไม่ไม่มีสักภาพค่ะ..โชว์ได้แล่ว..อิอิ..

จัดให้ครับ ผมแกล้งทำเป็นตัวเล็กน่ะครับ สาวไม่ต้องคิดมาก ฮ่าๆๆ เดี๋ยวจะพาพี่ครูใจดีไปพบกับท่าน รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี กับ อาจารย์มณฑา วงศ์มณีโรจน์ครับ เห็นพี่ครูใจดี เขาตั้งใจที่จะช่วยเหลือเกษตรกรจริง

ตามมาดู เรื่องปลานิลน่าสนใจดี เข้าใจว่าปลานิลที่จับได้ตัวจะเล็กกว่าปกติใช่ไหมครับ สนใจเรื่องการหาหรือการตั้งกลุ่มชาวบ้านแล้วใช้กระบวนการจัดการความรู้ครับ

โอโห รูปข้างบน เจอสีกางเกงพี่ครูใจดีแล้ว อึ้งๆๆครับ ตอนนี้เป็นหวัดเมื่อวานโดนฝน แงๆๆๆๆๆๆๆ

อาจารย์น้องขจิตค่ะพักผ่อนบ้างสิค่ะ...เห็นแล้วล่ะสี... แจ่มมากๆ...นี้แหละขวัญใจวัยรุ่นล่ะ..ไปกับลูกไม่รู้ว่าใครแม่ลูกนะค่ะ..คุณสามารถค่ะเป็นพระเอกได้เลยค่ะ..อย่าให้สีตกไปกว่านี้นะคะ..อิอิ..

แหมสีตก เล่นเอาจุกไปเลย  วันนี้ก็ได้พาพี่ครูใจดี พบกับท่าน รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี พูดคุยกันเรื่องแนวทางในการสร้างสวนไม้ผล และการฝึกอบรมให้กับเกษตรกรในพื้นที่ หลังจากนั้นพาไปศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน ไปดูการปลูกมะนาวระยะชิด ต่อที่ ศูนย์พืชผักเขตร้อน ไปดูผักหลายๆอย่าง เบื้องต้นคิดว่าน่ะจะเกิดการประสานงาน และสามารถให้ความรู้แก่เกษตรกรได้ไม่ยาก

  • คุณสามารถครับ
  • ไปที่บันทึกนี้นะครับ
  • http://gotoknow.org/blog/samart9/354950
  • ไปที่แก้ไขบันทึก
  • เขียนคำหลักเพิ่มว่า
  • รวมบันทึกมะกรูดและมะนาว
  • มะกรูด
  • มะนาว
  • Lemon
  • Citrus  นะครับ

ถ้าพอเพียงได้ ชีวิตเราก็เพียงพอ

อยากทำแต่.....ทำยาก.....

สวัสดีค่ะ..คุณสามารถ

  • มาชวนไปเก็บผักกินนินค่ะ
  • ไปรู้จักกับปู่กันค่ะ

P..อิๆที่รู้ๆหวานใจน้องมาด..น้องเล็ก...น่ารักมาก..หาอาหารเสริม เช่นข้าวเกรียบปากหม้อมาให้..และกลับไปซักผ้า...แข่งกับฝนตกด้วยล่ะ..อิๆน่ารักจริงๆน้องสาวเล็กของเรา...

 

ตอนนี้กำแพงแสนฝนตกแรงมากๆครับ พรุ่งนี้ไม่ต้องรดน้ำแล้ว

ตามมาอิจฉา

อาหารเต็มโต๊ะเลย

สาวๆคงคุยกันสนุก..ซีนะ

หนุ่มๆเลยไม่มีคิว...

เพลงเพราะนิ...

 

น้องเอ้ย.... เวลาถ่ายรูป เธอจะให้พี่คุยโทรศัพท์เสร็จก่อนไม่ไรึงัยจ๊ะ????

โห... อดแอ๊บเลย  ฮา....

รู้มั้ย คีรีบูร "รอวันฉันรักเธอ".... เป็นเพลงโปรดสมัยพี่กับครูอ้อยเล็กเป็นวัยซะรุ่นอ่ะนะ...

หมอมะนาวก็ชอบฟังหรอ.... ดีๆๆ  ร่วมสมัย  อย่างนี้คุยกันนานเลย...

ความความระถึงถึงน้องสาวด้วยนะ.... เธอน่ารักอัธยาศัยดี.. มีข่าวดีเมื่อไหร่บอกด้วย... ไม่ต้องรอ อ.ขจิตหรอกนะ....ฮา

 

 มะม่วงมหาชนก จากสวนแม่ริมมาฝากค่ะ  หวานหอมอร่อย

      

ชอบปลานิลทอด อร่อยเหาะ เลยนะคะ ;)

ว่าแล้ว ทำไมป้าแกขึ้นไปอยู่บนหลังคาบ้าน อร่อยเหาะนี้เอง ฮ่าๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท