๖.หญ้าคา.หญ้า"ครู"


           

                   หลังหลบไอร้อน-ควันรถ จากชุมชนดงคอนกรีต  ไปสร้าง“ เพิงพัก”..ผ่อน หย่อนจิต สถานที่ฟิตร่างกาย(ออกกำลัง)  หลัง “ เขาลับงา “ ที่มากมีด้วยสายลม แมกไม้ ใบหญ้าและสกุณาใหญ่น้อย ร้องกล่อมให้เพลิดเพลิน ทุกเช้าค่ำ เป็นเนืองนิจแล้ว

                   

                  

                ผู้คนที่อาศัย ในถิ่นนี้ ยังมากมี ด้วยต้นทุนแห่งความเอื้ออารี มีมิตรภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส ไร้เสแสร้ง แต่งเติม  และสุขด้วยการดำรงชีพอย่างพอเพียง

                รอบๆ ชายเขาแห่งนี้ มีหญ้าคาขึ้นแทรก  กลางมวลหมู่ไม้ ยืนต้นใหญ่น้อยและไผ่ป่า เป็นหย่อมๆ กระจายตัว  พอมีให้เห็นได้ ไม่มากนัก               

                  ลุงสวัสดิ์และนายแป๊ะ ๒ ใน ๑๐๐กว่าๆ  ของครอบครัวหลังเขา  ได้อาศัยการกรองหญ้าคาเป็นวัสดุมุงหลังคา จำหน่ายเป็นรายเสริมช่วงเวลาว่าง  จากการทำไร่มันสำปะหลัง  หลายครั้ง ที่ผมได้ขอให้ช่วยทดสอบเพื่อหาข้อมูลรอบๆเขา เกี่ยวกับพืชตัวนี้ ควบคู่ไปกับการส่องดูนก จนได้เป็นข้อมูลเฉพาะถิ่น ที่ไร้การทดสอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรืออย่างเป็นทางการ สรุปได้คือ       

                   

๑.หญ้าคา ที่เหมาะนำมาเป็นวัสดุมุงหลังคา ต้องมีความยาว มากกว่า ๑.๐๐ เมตร และมีอายุมากกว่า ๑๐๕ วัน ถ้าน้อยกว่านี้ จะผุเร็ว ต้องมุงถี่และใช้จำนวนตับมากขึ้น

๒.เคยทดลองบำรุงรักษา โดยหลังเก็บเกี่ยว  จะมีต้นเหลืออยู่บ้าง ต้องตัดทิ้งออกให้หมด ทิ้งไว้พอแห้ง แล้วเผาไฟ จะเร่งให้หญ้าคาแทงต้นเร็วขึ้น  พร้อมๆไปกับการหว่านปุ๋ยยูเรียก่อนฝนตก ประมาณ ไร่ละ ๑๐ กิโลกรัม/ครั้ง  จะสามารถเก็บเกี่ยวได้ ๓ ครั้ง ต่อปี ครั้งแรก จะเก็บเกี่ยวได้  ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ครั้งที่ ๒ ช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน  ครั้งที่ ๓ ธันวาคม-มกราคม

๓.ต้นต้องมีความสูง ประมาณ ๑.๐๐ เมตร เก็บเกี่ยว ให้มีความยาว ๐.๙๐-๑.๐๐ เมตรและจะต้องมีโคนต้น ที่เป็นก้านแข็ง  เหลืออย่างน้อย ๑ ใน ๓ ของความยาวทั้งหมด

๔.สาง(คัดเลือก)เอาต้นที่หักและมีใบเน่าออกทิ้ง นำไปตากแดด ๓-๖ วัน แล้วแต่ฤดูกาล                     

                                  ๕.หญ้าคาสด เมื่อตากแห้ง (ไม่ทราบความชื้นที่เหลือในลำต้นหลังตาก) จะเหลือน้ำหนัก ประมาณ ๔๐-๕๐ เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักสด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความหนาแน่นของหญ้าที่ขึ้น,อายุ,ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวและวิธีการบำรุงรักษา โดยหญ้าที่ขึ้นถี่ ต้นจะเล็ก เมื่อตากแห้งจะได้น้ำหนักน้อยกว่าต้นใหญ่ ต้นที่มีอายุมาก เมื่อตากแห้ง จะเหลือน้ำหนักแห้งมากกว่า เก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้ง จะได้น้ำหนักแห้ง มากกว่าเก็บเกี่ยวช่วงปลายฝน ต้นหนาวและหญ้าคาที่ใส่ปุ๋ยยูเรีย จะมีน้ำหนักเบากว่าหญ้าที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย ๓-๕ เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับชนิดดิน(Series)ที่หญ้าขึ้น 

                   ๖.ทดสอบเก็บข้อมูลหญ้าที่ขึ้นตามธรรมชาติ ในพื้นที่ ๑๐๐ ตารางเมตร   จะได้หญ้าสด หลังการสาง(คัดแยกเลือกต้นเสียทิ้ง) ๑๑๖.๕ กก.เมื่อนำไปตากให้แห้งเหลือน้ำหนัก ๕๑.๗ กก.น้ำหนักลดลงร้อยละ ๔๔.๓๗ เมื่อเทียบโดยวิธีคำนวณ พื้นที่ ๑ ไร่ ได้หญ้าคาแห้ง ๘๒๙.๒ กก.            

                     ๗.ความยาวของตับหญ้า จะยาว ๑.๕๐ เมตร ความกว้างวัดจากโคนต้นหญ้าคา ถึงรอยหักพับ กอดแกนไม้ไผ่ จะกว้าง ๐.๓๕-๐.๔๐ เมตร

 

  

                                     ๘.ตับหญ้าคา ๑ ตับ จะใช้หญ้าคาแห้ง ๕๐๐-๖๕๐ กรั

พื้นที่ ๑ ไร่ จะได้ไพหญ้าคา ๑,๒๗๒ - ๑,๖๕๔ ตับ

 

                   ๙.แรงงานที่ชำนาญ จะกรองหญ้าได้วันละ ๓๐-๕๐ ตับ

                   ๑๐.ราคาจำหน่ายในพื้นที่ ราคาตับละ ๕ บาท จะมีรายได้วันละ ๑๕๐-๒๕๐ บาท

                   ๑๑.เมื่อลองๆหาต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร จะมีต้นทุนรวมอยู่ที่ ๒.๔๑ บาท/ตับ มีอัตราส่วนการตอบแทนที่ระดับ ๒.๐๗ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี

                   ๑๒.ปัจจุบัน ตลาดยังมีความต้องการอีกมาก ถ้าจะผลิตในเชิงธุรกิจ จำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้กับคนในหมู่บ้านที่กันดาร แห้งแล้งหรือหมู่บ้าน ที่มีการอพยพแรงงานเข้าสู่เมืองสูง หรือหมู่บ้านที่มี สว.(ผู้สูงวัย) จำนวนมาก....

                   ถึงแม้ว่า จะดูเป็นรายได้เพียงเล็กน้อยไม่มากนัก..แต่เงิน ๑๐๐-๒๐๐ บาท ในชนบท ก็ถือว่า มีค่ามาก ที่เทียบกับในเมืองเจริญ..จึงน่าจะเป็นทางเลือกย่อยๆ หรือกลวิธีเล็กๆ ของนักส่งเสริมการเกษตร ที่จะลดแรงงานอพยพเข้าสู่เมือง ส่งผลให้เกิดวามอบอุ่นในครอบครัว ปัญหาทางสังคม โดยเฉพาะปัญหาเยาวชน น่าจะลดลง ได้ในระดับหนึ่ง

                  

                   จะเห็นว่า..หญ้าคา นอกจากจะนำมาใช้เป็นวัสดุมุงหลังคา บังแดดฝน ให้ความร่มเย็น ดูสวยงามอย่างไทยๆ แล้ว ภูมิปัญญาของบรรพชน ยังได้ใช้หญ้าคา เป็นสมุนไพรบำรุงไต รักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้ผดผื่นคัน..ฯลฯ  ที่สำคัญ..ในงานพิธีต่างๆ นิยมใช้หญ้าคา มัดเป็นกำ จุ่มน้ำพระพุทธมนต์  ประพรมให้เป็นขวัญกำลังใจและเป็นศิริมงคล..ซึ่งพบเห็นได้โดยทั่วไป   

                   หญ้าคา จึงเป็นพืชสัญญาลักษณ์..พืชตัวแทนที่สื่อ..ถึงการนำพาความร่มเย็น ความสดสีดีงามและความเป็นศิริมงคล...ที่ทุกคนไฝ่หา..ควรค่า..แก่การเคารพ ยกย่องเทิดทูน...ในสิ่งดีๆ เหล่านั้น

                  เปรียบได้กับ " ครู "   บุคคล ผู้ให้ความร่มเย็น ผู้บ่มเพาะและรักษา/ส่งเสริม ให้เยาวชน  ..ได้เป็นคนดี มีความรู้ ควบคู่ด้วย..คุณธรรม จริยธรรม..ตระหนักรู้-สำนึกในบุญคุณ..แผ่นดิน..ถิ่นเกิด...จุดกำเนิดแห่งความร่มเย็น ... ในชาติบ้านเมืองนี้ 

                  ผมจึงขอกราบ -สำนึกในพระคุณของ " ครู " และขอคารวะ..ครู/อาจารย์/ผู้บริหาร-ผู้จัดการความรู้(KM) ..มา ณ โอกาสนี้ ทุกท่านทุกคน..ด้วยครับ

 

                                                                            สามสัก

                                                                      ๒๗ ส.ค.๒๕๕๒

หมายเลขบันทึก: 291714เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ

  • มาร่วมสำนึกในพระคุณของครูบา อาจารย์
  • บรรยากาศน่าอยู่นะคะ  ธรรมชาติ..จริง ๆ
  • ขอขอบพระคุณในความรู้จากบันทึกนี้ค่ะ
  • ขอขอบคุณ ที่กรุณาแวะมาเยี่ยมเยียน.ครับ
  • ขอขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมค่ะ
  • อ้อ..ก็มีเรื่องพูดคุยเรื่องหญ้าคา
  • ที่บ้านมีพื้นที่ปลูกปาล์มกับต้นลองกอง
  • ด้วยอาชีพราชการไม่มีเวลาเข้าสวน
  • ปล่อยให้สวนรกไปด้วยหญ้าคา
  • แต่ไม่เคยฉีดยาฆ่าหญ้าเลยมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว
  • ได้แต่ตัดหญ้าในสวน(จ้างเขาตัดก็ตัดหญ้าคานั่นแหล่ะค่ะ)
  • เป็นเพราะไม่อยากให้หน้าดินเสีย
  • ชาวบ้านเห็นสวนรกด้วยหญ้าคาเขาบอกว่าทำให้ต้นไม้ไม่โต
  • ปรากฎว่าต้นปาล์มโตวันโตคืนต้นลองกองให้ผลดีค่ะ
  • ประโยชน์ของหญ้าคามีเยอะนะคะ  ถ้าได้ค้นหา
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อคิดค่ะ

ป.ล. What did the Buddha teach? พรุ่งนี้บันทึกภาคภาษาไทยค่ะ

  • ขอขอบคุณคุณบุญนาคและคุณณัฐรดา ที่กรุณามาเยี่ยมเยียน..ครับ

                            (ภาพ : ชมพูภูคา )

  • หญ้าคา...ภูมิปัญญาไทย
  • มาขอบคุณที่ให้เกียรติเข้าไปทักทายกันครับ
  • ขอบคุณครับคุณสามสัก

สวัสดีครับ คุณสามสัก

@ "เพิกพัก" รอบขุนเขา แมกไม้

@ ล้อมรอบด้วยธรรมชาติ "สุขด้วยการดำรงชีพอย่างพอเพียง"

 

@ อากาศอันแสนบริสุทธิ์ ช่างแตกต่างจาก "ดงคอนครีตเมืองหลวง" นัก

@ ขอร่วมเรียนรู้ด้วนคนครับ

@ ขอบพระคุณครับ


 

มาชม

อยู่กับขุนเขาลำเนาไพรในป่ากว้าง

ทำให้จิตใจกว้างสบาย ๆ อิสระ นะครับ

  • ขอขอบพระคุณ คุณก้ามกุ้ง คุณไทบ้านผำและท่านอาจารย์UMI มาก ที่กรุณาแวะเยี่ยมเยียนกัน
  • ขอเชิญ ทุกท่าน จิบกาแฟก่อนครับ..กำลังร้อนๆ พอดีๆ เชียว

  • หากมีโอกาสผ่านไปมา ขอเชิญมาแวะ..แลกเปลี่ยนเรียนรู้และชิมกาแฟ..ด้วยกันน๊ะครับ

เคยอ่านนิทานเรื่อง พ่อตาหาลูกเขย ให้ลูกเขยไปปลูกหญ้าคาให้ออกดอก ลูกเขยที่ไม่มีความรู้เรื่องธรรมชาติของหญ้าคา(ไม่เคยจับจอบดายหญ้าว่างั้นเหอะ) ปลูกยังไงมันก็ไม่ออกดอกเพราะไปบำรุงใส่ปุ๋ยให้หญ้าคา ส่วนลูกเขยที่ทำมาหากินทำสวนก็รู้ธรรมชาติของหญ้าคา หญ้าคาก็ออกดอก สรุปว่าพ่อตาต้องการลูกเขยที่ขยันขันแข็ง รู้จักสังเกต เพื่อลูกสาวจะไม่ต้องลำบากในอนาคต

การหาความรู้ใน G2K นี่ดีนะครับ ได้ความรู้หลายเรื่อง

  • ขอขอบพระคุณ อัยการชาวเกาะมากครับ ..ที่กรุณาแวะเยี่ยม
  • มีนิทานมาฝาก..ให้สำราญใจด้วย
  • กลับเกาะ  ต้องกินกล้วย. กายจะแกร่ง
  • จึงขอฝาก..กล้วยไข่เมืองกำแพง..ไปลองรับประทานดู...ครับ
  • หากผ่านไปมา..อย่าลืมแวะ..ยินดีต้อนรับท่านเสมอ
  • ด้วยความจริงใจครับ

                

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับบทกวีที่ไพเราะค่ะ

  • ขอบคุณคุณณัฐรดา ที่กรุณาแวะมาทักทาย
  • สมแล้วที่ท่านเป็นนักส่งเสริมการเกษตร...แต่น่าเสียดายที่ท่านจะไม่ยอมสละเวลาที่มีค่าของท่าน นำสิ่งดีดีในชีวิต และประสบการณ์ของท่าน มาแบ่งปันกันอีก ..คอยติดตามงานของท่าน ทุกบันทึก ..ท่านบันทึกจากประสบการณ์ในงานที่ท่านรัก...อ่านแล้วก็สนุกไปกับท่านด้วย...ไม่อยากให้ท่านเลิกทำเพียงเห็นว่าไม่มีประโยชน์....
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท