กระทงดอกไม้


พานไหว้ผู้ใหญ่

พานไหว้ผู้ใหญ่1

 

            มีคนเขียนมาขอว่าต้องการทำกรวยดอกไม้บูชาพ่อ แม่ในวันสงกรานต์ จัดให้นะค่ะ แต่ขอบอกว่าต้องประยุกต์เองบ้างเนื่องจากภาพขั้นตอนการทำบางภาพขาดหายไปเนื่องจากหาที่เก็บไฟล์ภาพไม่เจอเก็บในคอมฯหลายเครื่อง เลยงง ค่ะ

            อันนี้เป็นพานที่ดึงมาจากชุดแต่งงาน ของลูกครูข้างบ้าน เป็นพานไหว้ผู้ใหญ่ กรวยดอกไม้นั่นแหละค่ะ ลอทำตามดูนะค่ะ

วัสดุอุปกรณ์ ทุกอย่าประยุกต์ได้ไม่ตายตัวมีดอกไม้อะไรหรือใบไม้มงคลอะไรก็สามารถทำแทนใบตองได้ค่ะ

เริ่มต้นด้วยการเลือกพานสวย ๆ สักใบหนึ่ง ขนาดตามต้องการ ให้เหมาะกับธูปเทียนแพที่จัดไว้ ในที่นี้ใช้เบอร์ 2 อย่างดีค่ะ ดูภาพประกอบไปนะค่ะไม่มีเวลาบรรยายภาพค่ะ เพื่อให้ทันก่อนส่งกรานต์นี้ค่ะ

 

กระทง

   1.  พับใบตองกลีบคอม้า หรือกลีบกุหลาบ หรือกลีบหัวนกลายเปีย แบบใดก็ได้ความยาวประมาณ 20-30 กลีบ (ในภาพใช้ได้ร้อยมาลัยเย็บจะเหนียวและแน่นกว่าใช้ได้เย็บผ้าเบอร์ 60 ส่วนสีถ้าอยากให้เป็นสีเขียวก่อนเย็บย้อมสีก่อนก็ได้)

 

 

2. ได้ระยะความยาวแล้วขดเป็นวงให้ได้เส้นผ่าศูนย์กลาง 3- 4 นิ้ว นำกลีบแรกสอดเข้าใต้กลีบสุดท้าย ด้านล่างตัดได้ออกประมาณ 2-3 กลีบเพื่อสอดกลีบสุดท้ายเข้าไป และพับโค้งทะแยงกลีบแรกทับกลีบสุดท้าย เย็บติด

 

3. จัดเป็นวงกลม ตัดโฟมหรือฟอรัลโฟม หรือชาวบ้านเรียกโอเอซีส เป็นวงกลมจัดวางลงในกระทง

 

 

 

 

4. พับกลีบบัวสายสอดไส้กลีบดอกรัก ยึดติดด้วยตะปูเข็มด้านล่างขอบกระทงสองถึงสามชั้น  จากนั้นพับกลีบนมสาวเย็บปิดทับรอยอีกครั้ง

 

กรวยครอบ

 

     1. ฉีกใบตองซ้อนกันสลับทาง 4 ชิ้น พับกรวยขนาดความกว้างของปากเท่ากระทง

 

 

    

2. ติดปากกรวยด้วยกลีบบัวสายสอดไส้กลีบดอกรัก รอบปากกรวย ชั้นหรือสองชั้นแล้วแต่ชอบ 

บายศรีกลีบเล็บครุฑยกนม

 

    ขั้นตอนการพับกลีบเล็บครุฑยกนม

  

 

  

 

 

    

  

 

 

 

ขั้นตอนการเข้าตัวบายศรี

         ฉีกใบตองสำหรับผ้านุ่ง 5 ชิ้น  ลวดเบอร์ 18 ขดเป็นรูปตัวยู  กลีบเล็บครุฑยกนม 5 กลีบ  เข้าตัวแบบบายศรีทั่วไป แล้วยกนมด้านข้างขณะนุ่งผ้า  เข้าตัวบายศรีทั้งหมด 8 ตัว หรือ 8 องค์

 

  

 

 

  

 

  

 

  

 

  

ในชั้นที่ 2 ก่อนวางกลีบบายศรีกลีบที่ 3 ให้นำลวดตัวยู สอดใส่ด้านข้างของตัวบายศรีโดยสอดเข้าผ้านุ่งชิ้นแรก

 

  

ในชั้นต่อ ๆ ไปทำเช่นเดียวกับชั้นแรกปรับลวดให้เสมอขอบตัวบายศรีด้านข้างด้วย

 

เข้าไว้ครบ 8 องค์

 

เตรียสส่วนตกแต่งพาน

 

  

 

 

เย็บดอกทัดหู จำนวน 4 ดอก  ด้านนอกเป็นดอกพุด ด้านในเป็นกลีบดอกกุหลาบ หรือจะใช้กลีบดอกไม้อื่นได้

 

    

 

เย็บดอกข่าสำหรับใส่ในกระทง 9 ดอก ทำตุ้งติ้ง 12 ดอก

 

ตัดดอกพุดชิดโคนดอกระวังอย่าให้ชิดมากดอกจะแตก ร้อยเฟื่อง 2 ชั้น  จำนวน 4 เส้น

 

 

ประกอบพาน

        

เกลาโฟมเป็นรูปขันคว่ำจัดวางลงในพาน ปักดอกบานไม่รู้โรยให้เต็มโดยปักจากด้านล่างขึ้นด้านบน

 

 

 

 

จัดวางธูปเทียนแพด้านบนพานให้ได้กึ่งกลาง

 

 

ใช้ลวดตัวยูยึดติดกับพานให้แน่น

 

 

  

นำตัวบายศรีที่เตรียมไว้ปักลงตรงมุมทั้ง 4 ด้านของธูปเทียนแพ

 

 

   

ปักบายศรีที่เหลือด้านข้างอีก ข้าง ๆละ 2 ตัว

 

 

 

   

นำเฟื่องมาร้อยรอบพานครบทั้ง 4 ด้านระยะห่างเท่ากัน ตุ้งติ้งมัดรวมกัน 3 ขามัดเข้ากับลวดปักลงระหว่างเฟื่อง

 

 

ปิดทับรอยต่อเฟื่องด้วยดอกทัดหู

 

 

   

จัดวางกระทงลงบนธูปเทียนแพยึดติดด้วยลวดตัวยู

 

 

 

จัดวางดอกข่า 9 ดอกเป็นพุ่ม เริ่มต้นจากด้านล่าง 5 ดอก ชั้นที่สอง 3 ดอก และบนสุด 1 ดอก

 

 

 

จัดวางกรวยครอบปิด นำไปใช้งานได้

หมายเลขบันทึก: 252208เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2009 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2012 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สนุกมากๆๆๆๆๆ

สนุกมากๆๆๆๆๆค่ะ

ไหว้คนเป็นเอาธูปไว้ข้างบนนะค่ะ

ขอบคุณนะค่ะ ก็สับสนอยู่เหมือนกันเพราะไปซื้อที่ร้านที่ไรจะจัดวางมาไม่เหมือนกันสักครั้งถามผู้รู้ด้านวัฒนธรรมก็พูดไม่ตรงกันสักคน ค้นคว้าจากหนังสือวัฒนธรรมการจัดดอกไม้ก็ไม่ปรากฏข้อมูลที่ชัดเจน พอดีมีเว็บแลกเปลี่ยนเรียนรู้เขาเขียนบทความไว้น่าสนใจ  เลยคัดลอกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกัน  ส่วนว่าไว้คนเอาธูปไว้ด้านบนนั้นหมายความว่านอกจากไหว้คน ไหว้สิ่งเคารพบูชา แล้วยังมีไหว้อย่าอื่นด้วยหรือค่ะ ขอข้อมูลด้วยค่ะ

http://debgo-10.com/?p=854

14 กรกฎาคม 2010ธูปเทียนแพที่ถูกต้องมีเพื่อนๆ หลายคน อยากให้หาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดธูปเทียนแพที่ถูกต้องเผยแพร่เป็นวิทยาทานหน่อย ก็พยายามหาต้นตอหรือแหล่งข้อมูลที่เป็นลักษณะอ้างอิงได้ และเพื่อนๆ นำไปเล่าต่อได้ ดังนี้ครับ โดยปกติแล้วธูปเทียนแพคนทั่วไปมักจะได้พบเห็นกันตามงานพิธีมงคลต่างๆ เช่นพิธีมงคลสมรส หรือพิธีอุปสมบท ธรรมเนียมการใช้ธูปเทียนแพ ได้รับความนิยมจากในรั้วในวังและได้เป็นประเพณีนิยมในที่สุด แต่ก็มีอีกหลายท่านที่ยังสับสนเกี่ยวกับธรรมเนียมการใช้ธูปเทียนแพ ธูปเทียนที่จะมาใช้ประกอบเป็นแพนั้นโดยปกติสมัยก่อนจะเป็นธูปไม้ระกำและเทียนที่ทำจากขี้ผึ้งแท้สีนวลขึ้นอยู่กับคุณภาพของขี้ผึ้ง โดยใช้ธูปเทียนที่มีขนาดเท่าๆกันมาเรียงเป็นแพและใช้วิธีการยึดติดกันเรียงเป็นแพ โดยวางแพเทียนอยู่ด้านล่างและวางแพธูปไม้ระกำอยู่ด้านบนสุด นี่คือลักษณะการจัดวางธูปเทียนแพอย่างถูกต้อง และโดยปรกติทั่วไปธูปเทียนแพจะไม่มีใช้ในงานอวมงคลในลักษณะของพานธูปเทียนแพเพื่อการสักการะ หากแต่จะอยู่ในรูปของธูปเทียนแพประกอบกับช่อดอกไม้จันท์สำรับหลวงสำหรับเชื้อพระวงศ์ ดังนั้นความคิดที่ว่ากางวางสลับที่กันระหว่างธูปและเทียนนั้นมีนัยสำคัญระหว่างงานพิธีมงคล งานพิธีอวมงคล ความเชื่อเช่นนี้เป็นความเชื่อที่ผิด อยากให้ทุกท่านได้ปรับทัศนะคติเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน ตามธรรมเนียมปฏิบัติในราชสำนัก ธูปเทียนแพสำหรับเป็นเครื่องสักการะ ธูปเทียนแพจะถูกวางอยู่บนพานทองโดยอาจจะมีการกรุผ้าตาดทองโดยรอบเพื่อปิดปากพานแต่จะไม่ทิ้งชายผ้าออกมานอกปากพานโดยมีกระทงเจิมคอม้าเล็กๆ หรือกระทงเจิมกลีบบัว วางอยู่ด้านบนโดยใส่ดอกจำปาสีเหลืองนวลไว้ด้านในและมีกรวยแบบเรียบครอบไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ดอกไม้สกปรกหรือเหี่ยวเฉา เพราะธูปเทียนแพและดอกไม้คือเครื่องสักการะถือเป็นของสูงจึงต้องสะอาดที่สุด ดังนั้นธูปเทียนแพกระทงดอกไม้ที่ถูกต้องตามแบบแผนธรรมเนียมไทยคือแพธูปอยู่ด้านบนสุดแพเทียนอยู่ด้านล่าง ในบางครั้งอาจจะเพิ่มมาลัยแบนรัดแพธูปเทียนไว้เพื่อเพิ่มความสวยงาม นี่คือลักษณะแบบดั้งเดิมที่ใช้กันอยู่ในรั้วในวัง แต่ในยุคสมัยนี้ได้มีการเพิ่มเติมสิ่งปรุงแต่ง งานเครื่องสดเพิ่มเข้าไป บางครั้งมากจนเกินความจำเป็นและทำให้ดูรก ทีนี้เวลาทุกท่านไปร้านขายของจำพวกนี้ทั่วไป จะเห็นว่า แพเทียนอยู่ด้านบน ติดโบว์สวยงาม เลยทำให้คนทั่วไปที่ไม่รู้ธรรมเนียมเข้าใจกันว่า แพเทียนต้องอยู่ด้านบนซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ เหล่านั้นเป็นความมักง่ายของคนขายของผู้ผลิต ขอขอบคุณ คุณตรีศุลี่ วิถีแห่งสายน้ำ นอกจากนี้ อ.ทองสุข มันตาทร ยังได้แนะนำอีกว่า ธูปเทียนแพ และ เครื่องทองน้อย มีลักษณะอย่างไร ใช้ในโอกาสใดบ้าง ธูปเทียนแพ ในพจนานุกรม เรียกว่า ธูปแพเทียนแพ คือธูปไม้ระกำ ๕ ดอก วางเรียงกันบนเทียนและเทียน ๕ เล่ม วางนอนเรียงใต้ธูป มัดซ้อนกันและมีกรวยดอกไม้สด ๑ กรวยวางข้างบน เวลาใช้เปิดที่ครอบออก (ชุดเล็ก ธูป ๑ ชั้น เทียน ๑ ชั้นรวมอย่างละ ๕ ชุดใหญ่ ธูป ๒ ชั้น เทียน ๒ ชั้น รวมอย่างละ ๑๐) โอกาสในการใช้ ๑. พระสงฆ์ใช้สักการะ หรือทำวัตรอุปัชฌาย์อาจารย์ ๒. พระสงฆ์ คฤหัสถ์ ใช้เป็นเครื่องสักการะพระเถระผู้ใหญ่ ในโอกาสพิเศษ ๓. ใช้ตั้งบูชาพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในโอกาสต่างๆ ๒. มีบางคนเข้าใจว่า ถ้าใช้กับพระสงฆ์ เทียนอยู่บนธูปจริงหรือไม่ ไม่จริง ธูปอยู่บนเทียนตลอด ๓. เครื่องทองน้อย คืออะไร เครื่องทองน้อย เป็นเครื่องบูชาชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยเชิงเทียน ๑ คู่สำหรับปักธูปไม้ระกำ ๑ ที่ ปักเทียน ๑ ที่ กรวยพุ่มดอกไม้ ๓ พุ่ม ตั้งรวมบนพานรอง เครื่องทองน้อย ๔. โอกาสใดจึงใช้เครื่องทองน้อยบูชา ใช้ในโอกาสดังต่อไปนี้ ๑. ในการทรงธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒. ในการบูชาพระธาตุ ๓. ในการบูชาพระอัฐิ พระบรมอัฐิ พระบรมรูป หรือพระบรมฉายาลักษณ์ ในรัชกาลก่อน ๔. ใช้บูชาศพ ๕. ใช้ตั้งให้ศพบูชาพระธรรม ๖. ใช้นำขบวนแห่ศพเวียนเมรุ ๕. เครื่องทองน้อย มีวิธีตั้งอย่างไร ให้หันด้านที่เป็นธูปเทียนออกมาด้านนอก คือหันมาหาผู้จุดบูชา ยกเว้นตั้งให้ศพบูชาธรรม ให้หันธูปเทียนไปทางด้านศพ (เหมือนกับจะอำนวยความสะดวกให้ศพลุกขึ้นมาจุดธูปเทียนได้ง่าย) ๖. จะใช้เครื่องทองน้อยกับธูปเทียนแพ แทนกันได้หรือไม่ ห้ามใช้แทนกันเด็ดขาด โอกาสในการใช้เครื่องทองน้อยและธูปเทียนแพ ให้เป็นไปตามนี้ เคยเห็นหน่วยงานบางหน่วย ในตอนที่สมเด็จย่าสวรรคตใหม่ๆ ใช้ธูปเทียนแพถวายสักการะ ซึ่งที่จริงน่าจะต้องใช้เครื่องทองน้อย เรื่องที่เกี่ยวข้อง No Related Post One Response to “ธูปเทียนแพที่ถูกต้อง”

ผมว่าปฏิบัติตามสำนักพระราชวังจะได้แนวปฏิบัติที่เหมือนกันหมดคร้าบ

ขอบคุณที่แบ่งปันนะจ๊ะ

เวลาแข่งประดิษฐ์พานธูปเทียนแพ ต้องใช้ธูปขึ้น หรือเทียนขึ้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท