สงบ อ่วมคำ


การศึกษาคือการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ความรู้เบื้องต้นและการผลิตเอนไซม์               ในภูมิศาสตร์ที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ในละติจูดที่ 0-20 ลองติจูดที่ 100 มีผลทำให้การเจริญเติบโตของเชื้อโรคมากที่สุดในโลก  มีพลังงานมากที่สุด โดยจุลินทรียที่มีสถานภาพโตเร็ว ตายเร็ว ทำให้เปลี่ยนสถานภาพที่เกิดประโยชน์กับมนุษย์ โดยการหมักในภาชนะกำจัดอากาศและมีน้ำตาลเป็นอาหาร เพื่อการสร้างสภาพความเป็นกรด-ด่างด้วยสารอินทรีย์ เพื่อให้ไอน้ำในอากาศแตกตัวเป็นออกซิเจนอิสระ (O3) และให้โอกาสกับจุลินทรีย์สลายตัวให้โปรตีนและวิตามิน เรียกว่า "เอนไซม์"                เอนไซม์   คือ สารโปรตีนที่ประกอบไปด้วยวิตามิน และการหมักเอนไซม์มีกระบวนการทางเคมี จากทฤษฎีของการเปลี่ยนแป้งและน้ำตาลจากผลไม้เป็นกรดน้ำส้ม เหมือนการทำของหมักดองของไทย เช่นข้าวหมัก ผักกาดดองประเภทของเอนไซม์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามการใช้งาน   คือ1.              เอนไซม์สำหรับคน โดยการหมักผลไม้ น้ำผึ้ง และน้ำ ในระยะเวลา 3 ปี2.              เอนไซม์สำหรับสัตว์และพืช โดยการหมักเศษอินทรียวัตถุ ได้แก่ เศษหญ้า เศษอาหาร และผักผลไม้ในครัว เป็นต้นทำไมถึงควรจะต้องมีเครื่องคั้นน้ำเอนไซม์ (ผัก ผลไม้)ไว้ในบ้าน:  เหมาะสำหรับคนที่ใส่ฟันปลอม ฟันปลอมจะทำให้ทานผัก-ผลไม้สดได้ลำบาก เหมาะสำหรับคนที่ไม่ยอมทาน ผัก ผลไม้                 ดีสำหรับคนที่มีแผลในกระเพาะและลำไส้ ( น้ำแครอทสด จะช่วยลดความเจ็บปวด และ สมานแผล) ในรูปของน้ำเอนไซม์ (ผัก ผลไม้) ผู้ที่รับประทานสามารถได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ได้โดยตรงและมีคุณค่าเทียบเท่ารับประทาน ผัก ผลไม้ในปริมาณมาก(ทั้งนี้เพราะในผักผลไม้จะมีผนัง เซลลูโลสคอยกั้นไว้ ทำให้คุณค่าเสียหายไปในขบวนการย่อยอาหาร )  สำหรับคนที่เบื่ออาหาร ช่วยให้สามารถได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ได้โดยตรง เด็กเล็ก สามารถผสมน้ำแครอทสดในนมให้เด็กดื่มได้โดยที่นมไม่จับตัวเป็นก้อน อีกทั้งการให้เด็ก ทานน้ำเอนไซม์ (ผัก ผลไม้) ยังช่วยส่งเสริมให้เด็กสามารถทานผัก ผลไม้สดได้                 วัยรุ่น น้ำเอนไซม์ (ผัก ผลไม้)จะช่วยพัฒนาการของต่อมต่างๆดีขึ้น ช่วยลดปัญหาสิว ผู้สูงอายุ น้ำเอนไซม์ (ผัก ผลไม้) ช่วยป้องกัน ท้องผูก และ ลดการเกิดนิ่ว ดีสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะมีสุขภาพแข็งแรง หรือ เจ็บป่วย การทานน้ำเอนไซม์ (ผัก ผลไม้) ทุกวันจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างครบถ้วนและพอเพียง ประโยชน์ของเอนไซม์
1. ปรับความเป็นกรดเป็นด่างในร่างกาย
2. ทำให้ระบบการย่อยและการขับถ่ายดีขึ้น
3. ทำให้แต่ละเซลในร่างกายได้สารอาหารอย่างสมดุล
4. สลายสารพิษและสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ( ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ )
5. อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินและเกลือแร่ คือ วิตามินบีรวม, บี 1, บี 2, บี 12
วิตามินที่ได้ในการนำผลไม้แต่ละชนิดมาหมัก ผลไม้แต่ละชนิดการนำมาหมักเป็นเอนไซม์จะได้วิตามินไม่เหมือนกัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ลำดับ ชนิดพืชที่นำมาหมัก วิตามินที่ได้
1 ผลไม้รสหวาน วิตามิน เอ, ดี, อี, เค
2 ผลไม้รสเปรี้ยว วิตามิน ซีและเค
3 จากข้าว วิตามิน บี ซี อี
อายุกับการนำเอนไซม์มาใช้
อายุ 2 ปี
ผสมน้ำด่างตามชอบที่ต้องการจะให้ฟองมากน้อย
ใช้ทำแชมพูสระผม, น้ำยาซักผ้า, น้ำยาล้างจาน, สบู่น้ำ เป็นต้น
อายุ 4 ปี
ใช้หัวเชื้อ 1 ส่วน + น้ำผึ้ง 1 : ผลไม้ 3 : น้ำ 10 หมักในเวลา 15 วันใช้ได้เลย
ทำน้ำยาบ้วนปาก, ล้างแผลอักเสบเน่าเปื่อยพุพอง, งูสวัด ถ้าจะเอามาใช้ล้างสารพิษในพืช-ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์

นำหัวเชื้ออายุ 4 ปี จำนวน 2 ลิตร หมักกับข้าวสุก 10 กิโลกรัมและน้ำผึ้ง 1 กิโลกรัม ใส่น้ำท่วมข้าว หมักภายใน 15 วันจะได้น้ำเอนไซม์ ส่วนข้าวสุกที่หมักแล้ว นำมาใส่น้ำท่วมข้าวหมักอีก 15 วันได้น้ำเอนไซม์ ทำได้ 3 ครั้งจนข้าวเป็นผง

อายุ 6 ปี
ขยายหัวเชื้อ 1: น้ำผึ้ง 1: น้ำ 10 ดื่มได้เลย
เมื่อเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊ส ท้องเสีย 20-30 ซีซี, ใช้ทำผลิตภัณฑ์บำรุงผม, ผิวพรรณ, ใบหน้า, ตา, จมูก, ช่องปาก, คอ, ดับกลิ่นตัวตัวในร่มผ้า, เท้า ให้สะอาดและสดชื่น


อายุ 6-10 ปีขึ้นไป
ใช้ดองยาสมุนไพร เป็นเวลา 1 เดือน จะได้ประสิทธิภาพตามคุณสมบัติของสมุนไพร แต่ละตัวเพิ่มขึ้น ควรรับประทานวันละครั้ง ( 3-10 ซีซี ) ก่อนหรือหลังอาหาร 1.30 ชั่วโมง
การทำน้ำด่างจากธรรมชาติ
นำขี้เถ้ามาแช่น้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 10
เป็นเวลา 2 ปี จึงได้น้ำด่างที่มีฟองมาใส่ในเอนไซม์
จะทำให้น้ำเอนไซม์ใสและมีฟอง แต่จะนำไปขยายต่ออีกไม่ได้
เอนไซม์กับฝ้าสีขาว
ฝ้าขาว ถ้าเป็นสีอื่นใช้ไม่ได้ ( เสียแล้ว )
ในการหมักจะเกิดมีฝ้าขาวขึ้นมาลอยอยู่ส่วนบนให้เอาออกมาคลุกกับแป้งสาลี นำน้ำเอนไซม์ติดมาด้วย เพื่อจะได้ปั้นให้เป็นก้อน
    ห่อไว้ด้วยกระดาษทึบแสง เก็บได้นาน ใช้เป็นยีสต์ ( หัวเชื้อเร่ง ) ในการทำเต้าเจี้ยว,    น้ำส้มสายชู, ซีอิ๊ว, ซีอิ๊ว (เปรี้ยว), ขนมปัง, แป้งทำพิซซ่า, โรตีน้ำตาลกับน้ำผึ้งต่างกันอย่างไร ?
  • ถ้าหมักกับน้ำตาลจะเกิดแอลกอฮอล์มาก
  • ถ้าหมักกับน้ำผึ้งที่ไม่ได้เอาความชื้นออกก็ยังเกิดแอลกอฮอล์และมีซากยีสต์ตกค้างเยอะ
  • ถ้าหมักด้วยน้ำผึ้งที่ผ่านการเอาความชื้นออกถึง 80% เหลือเพียง 20% น้ำผึ้งนั้นจะกลายเป็นกรดอิ่มตัวที่ไม่มีจุลินทรีย์และไม่มีแอลกอฮอล์ แต่จะเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับออกซิเจน
  • เอนไซม์ที่ขยายด้วยน้ำผึ้งที่ Dehydrate 80% ( เอาน้ำออก 80% ) จะใช้ได้เลย
  • เอนไซม์ที่ขยายด้วยน้ำผึ้งทั่ว ๆ ไป จะต้องหมักต่ออีก 3 เดือน
    และนำมาขยายปิดท้ายด้วยน้ำผึ้งที่เอาน้ำออก 80% จึงจะใช้ได้เลย
คุณสมบัติของน้ำผัก
เรื่อง : ชมรมบ้านสุขภาพ
ในน้ำผักเป็นกรดอ่อน ๆ ที่มี คลอโรฟิลล์ ( Chlorophyll สารสีเขียวในพืช ) มีวิตามินเอ วิตามินซีธาตุเหล็ก โปแตสเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส   ซึ่งเมื่อทานเข้าไป จะเกิดการแลกเปลี่ยนการใช้สารอาหารได้สูงสุด ณ จุดที่ร่างกายสามารถนำของ เสียทิ้งได้ทั้งหมด และทำให้ร่างกายสร้างพลังงานในแต่ละเซลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลให้เกิดการ สร้างเซลใหม่ทดแทนเซลเก่าที่ตายในแต่ละวันได้เต็มที่  ลักษณะนี้คือ ปัจจัยสูงสุดที่ร่างกาย จะไม่เกิดความอ่อนแอ ในทุกอวัยวะ
ดังนั้นเมื่อไปอยู่ในประเทศไหนก็แล้วแต่ ถ้าได้สัดส่วนของสารอาหารออกมาเป็นกรดอ่อน
   มีคลอโรฟิลล์แล้วมีสารอาหารพวกโปแตสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ครบ 5 ตัวนี้    ในค่า pH = 4 และมีคลอโรฟิลล์ มีวิตามินเอ และวิตามินซี ซึ่งจะทำให้ร่างกายสามารถมีอาหารได้เต็มที่ในแต่ละเซล ถ้าทุกเซลแข็งแรงไม่มีเซลตายก็ไม่แก่เลย
ถ้าค่า pH เป็น
"กรดเกินไป" การใช้แคลเซียมก็จะยาก "กรดอ่อน" ทำให้เกิดการใช้ไขมัน ทำให้ไขมันถูกย่อยสลายได้เร็ว ถ้าเป็น "ด่างเกินไป" การย่อยสลายไขมันก็ทำได้น้อย  ไขมันคือของแข็งที่มีปริมาณถึง 60% ของของแข็งทั้งหมดในร่างกาย ไขมันคือตัวที่จะไปเปลี่ยนเป็นน้ำหล่อเลี้ยง น้ำเมือกที่ไปหล่อเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย น้ำไขข้อ เป็นไขกระดูก เป็นกล้ามเนื้อ เป็นกระดูก เส้นเอ็น ไขมันหล่อเลี้ยงเส้นผมเป็นลำดับ   pH ของน้ำผักที่เหมาะสมกับคนไทยอยู่ที่ pH 4-6 คนอ้วนมาก ให้น้ำผักที่ pH 4 เลย เนื่องจากคนอ้วนมีไขมันค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ น้ำผักจะเปลี่ยนไขมันเป็นโคเลสเตอรอล ไปเป็นไตรกลีเซอไรด์ และเป็นกลีเซอไรด์ในที่สุด ซึ่งร่างกายนำไปใช้ได้                                     
      
การทำหัวเชื้อ  ใช้ผลไม้ 3 กก. +น้ำตาลทรายแดง  1  กก.และน้ำผึ้ง 4  ช้อนโต๊ะ  + น้ำ10 ลิตร    หมักไว้เป็นเวลา 3 เดือน 1ปี ขึ้นไป       จะได้หัวเชื้อน้ำผลไม้เข้มข้นที่สกัดด้วยวิธีการทางธรรมชาติ ให้แยกเอาน้ำออกมา                                                                                                                                                                                                                                                     ส่วนกากผลไม้ที่เหลือให้ผสมน้ำตาลทรายแดง1 กก.  และน้ำผึ้ง4  4  ช้อนโต๊ะ    + น้ำ 10 ลิตร     หมักทิ้งไว้ 2 เดือนขึ้นไป จนกว่ากากผลไม้ที่เหลือจะย่อยสลายหมด  สามารถทำซ้ำอีก 3-4 ครั้งก็จะได้หัวน้ำผลไม้เข้มข้น      ที่สกัดด้วยวิธีการทางธรรมชาติเก็บไว้เพิ่มอีก                                                                                                                   เอนไซม์กับฝ้าสีขาว                                                        ในการหมักจะเกิดมีฝ้าขาวขึ้นมาลอยอยู่ส่วนบน                                                        ถ้าเป็นสีอื่นใช้ไม่ได้ ( เสียแล้ว )   กระบวนการหมักในภาชนะพลาสติกที่ปิดจำกัดอากาศ  โดยใช้หัวน้ำผลไม้เข้มข้นที่สกัดด้วยวิธีการ                         ทางธรรมชาติ    หัวน้ำผลไม้เข้มข้น4 แก้ว +น้ำตาลทรายแดง 1 กก.  และน้ำผึ้ง   4  ช้อนโต๊ะ+ น้ำ 10 ส่วน  หมักไว้เป็นเวลานาน  7 วันขึ้นไป   ก็จะได้น้ำเอนไซม์พร้อมดื่มที่ช่วยให้การย่อยอาหารและการขับถ่ายดีขึ้น                                            เคล็ดลับ     ในการหมักสร้างหัวเชื้อหากหัวน้ำผลไม้เข้มข้นได้มาใส่เร่งสักหนึ่งแก้วจะช่วยเร่งในการสร้างจุลินทรีย์ให้เร็วขึ้น ท่านใดสนใจจะศึกษา ดูงาน ขอคำปรึกษาด้วยตัวของท่านเอง เชิญเดินทางไปด้วยตนเองที่บ้านเลขที่  1  บ้านซับสายออ  หมู่ที่  5  ตำบลท่ากูบ  อำเภอซับใหญ่  จังหวัดชัยภูมิ                            โทรศัพท์  081 1973561,       044 – 731 - 020
หมายเลขบันทึก: 162965เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2008 07:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ปัจจุบันปัญหาความยากจนมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สาเหตุของปัญหามีความเชื่อมโยงกันจนไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่า ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเป็นสาเหตุของความยากจนที่แท้จริง สาเหตุของความยากจนมีทั้งปัจจัยส่วนบุคคล เช่น การขาดโอกาสทางการศึกษา การขาดทักษะในการประกอบอาชีพ การไม่มีที่ดินทำกิน มีภาระหนี้สินมาก เป็นต้น
การแก้ไขปัญหาความยากจน จึงต้องมุ่งเสริมสร้างความสามารถในการจัดการปัญหาชุมชน โดยชุมชนและเพื่อชุมชน ใช้ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นศักยภาพของชุมชนมาสร้างกระบวนการพัฒนา การเรียนรู้ของชุมชนร่วมกัน

แผนชุมชน หมายถึง กิจกรรมพัฒนาที่เกิดขึ้นจากคนในชุมชนที่มีการรวมตัวกันเพื่อจัดทำแผนขึ้นมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่นของตนเอง ให้เป็นไปตามความต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ร่วมกันได้ โดยคนในชุมชนได้มาร่วมกันคิด ร่วมกำหนดแนวทาง และกิจกรรมการพัฒนาของชุมชน โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพิงภายนอก ด้วยการคำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเป็นหลัก ซึ่งบางกิจกรรมที่ชุมชนไม่สามารถทำเองได้ ก็สามารถขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกได้ โดยชุมชนเสนอแผนชุมชนเข้าเป็นแผนขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือแผนงาน/โครงการของราชการได้

การบูรณาการแผนชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและเอาชนะความยากจน มีหลักการสำคัญคือ-   ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ชาวบ้านเป็นเจ้าของ ทำการพัฒนาให้เป็นไปตามความต้องการของชุมชนมากกว่าการตอบสนองวัตถุประสงค์ของหน่วยงานสนับสนุนภายนอก-    รวมพลังทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชนและภาคีการพัฒนาอื่นๆ สนับสนุนกระบวนทัศน์และการบริหารการพัฒนารูปแบบใหม่-    การบูรณาการกระบวนการ บุคลากร แผนงาน และงบประมาณของหน่วยงานสนับสนุน มุ่งสู่การแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม โดยมีกลุ่มคนเป้าหมายและพื้นที่เป้าหมายที่ชัดเจน

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

วิชา การสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตและงาน 2

แบบเสนอเค้าโครงของโครงงานพัฒนาบุคลิกภาพ

*******************************************************************************************

ศูนย์เรียนรู้ เทพสถิต - บ้านนา ตำบลนายางกลัก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ

1. ชื่อโครงงาน การฝึกตนให้มีสติ ไม่ให้หลงลืมของข้าพเจ้า

2. ชื่อผู้เสนอโครงงาน นางสงบ อ่วมคำ รหัสประจำตัว 50733803017

3. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน/ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้คำแนะนำปรึกษา

3.1 อาจารย์ ประภาส นาคประกอบ

3.2 อาจารย์ ทรงไกร รอดสัมฤทธิ์

4. ความเป็นมาของโครงงาน

4.1 บุคลิกที่ข้าพเจ้าอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง คือ การมีความเป็นผู้มีสติไม่หลงลืมตัวเอง และมีสมาธิในการทำงานแต่ละอย่างให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

4.2 จากการร่วมกิจกรรมวิเคราะห์บุคลิกภาพในการสัมมนาวิชา สปช.2 ครั้งที่ 1 ข้าพเจ้าพบว่าตัวเองมีบุคลิกภาพประเภท (ระบุสัตว์ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์) หนู ซึ่งจัดอยู่ธาตุ น้ำ ซึ่ง

ข้าพเจ้ามีจุดแข็ง คือ ใส่ใจความรู้สึกผู้อื่น รับฟังผู้อื่น ให้กำลังใจ มองโลกในแง่ดี

แต่ก็มีจุดอ่อน คือ ขี้เกรงใจ ไม่ค่อยกล้าตัดสินใจ ไม่มั่นใจในตนเอง เก็บกด อ่อนไหว ไว้ใจ

คนง่าย ขี้หลง ขี้ลืม

4.3 สิ่งหรือเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าข้าพเจ้าเป็นอย่างในข้อ 4.2 คือ เมื่อมีสิ่งต่างๆ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัวผ่านเข้ามา เช่น มีลูกค้าฝากถ่ายเอกสารไว้ เขาบอกพรุ่งนี้เช้า เขาถึงจะเข้ามาเอา ปรากฏว่าข้าพเจ้าก็จะลืมเรื่องที่กำลังทำไปเลย ข้าพเจ้าคิดโครงการใหม่ๆ ออกมาอยู่ตลอดเวลา ทั้งๆ ที่โครงการเก่าเพิ่งเริ่มยังไม่เสร็จ พอทำโครงการใหม่สักพักก็ทิ้งอีก ข้าพเจ้ามักใจลอยไปคิดเรื่องอื่นขณะกำลังฟังผู้อื่น สามีและลูกบอกข้าพเจ้าอยู่เนืองๆ

4.4 ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงทำโครงงานเรื่องการฝึกตนให้มีสติ ไม่ให้หลงลืมของข้าพเจ้า เพื่อให้จุดอ่อนในข้อ 4.2 ของข้าพเจ้าลดลง โดยได้คิดคำขวัญหรือปณิธานสำหรับตัวเองเพื่อการนี้ว่า

การฝึกตนให้มีสติสัมปชัญญะ รู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิต ผู้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา จะเป็นผู้ได้ รับประโยชน์ การกระทำกิจการใดๆ ก็ลุล่วงไปด้วยดี ไม่ค่อย มีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้น

5. จุดประสงค์เฉพาะของโครงงานของข้าพเจ้า คือ

ต้องการพัฒนาตนด้านพฤติกรรมในการใช้ชีวิตของข้าพเจ้า เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการฝึกฝนตนให้มีสติ

ฝึกฝนตนให้มีจิตใจสงบ รู้คิดตลอดเวลามีความตั้งใจที่จะทำสิ่งใดๆให้สำเร็จ พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ความเห็น การหยั่งรู้เหตุรู้ผล การคิดต่างๆอย่างสร้างสรรค์ หมั่นค้นคว้าความรู้ใหม่ๆเพื่อปรับใช้

6 เริ่มดำเนินการวันที่ 28 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2551 สิ้นสุดวันที่ 20 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2552

7 หลักวิชาหรือแนวคิดที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน

จิตใจมีความมีความสำคัญ เพราะเป็นมูลฐานแห่งความประพฤติในทุกทาง ทั้งความเจริญและความเสื่อมดังนั้นหากไม่มีสติระลึกรู้ รักษาคุ้มครอง อบรมชำระขัดเกลาจิตใจไปในทางที่ถูกที่ควรแห่งศีลแห่งธรรมแล้ว จิตนี้แหละจะนำให้เกิดทุกข์เดือดร้อนมาสู่ตน ใช้แนวคิดจากหนังสือพุทธศาสนา

8 วิธีการและขั้นตอนการดำเนินการ

- โดยการคิดคำขวัญหรือปณิธานสำหรับตัวเองเพื่อการนี้ว่า การฝึกตนให้มีสติสัมปชัญญะ รู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิต ผู้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา จะเป็นผู้ได้ รับประโยชน์ การกระทำกิจการใดๆ ก็ลุล่วงไปด้วยดี ไม่ค่อย มีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้น

- บอกสมาชิกในครอบครัวว่าข้าพเจ้าตั้งใจจะทำตามคำขวัญที่ตัวเองตั้งขึ้นนี้ ขอให้ทุกคนช่วยเตือนและให้กำลังใจข้าพเจ้าด้วย

- ข้าพเจ้าจะประเมินตัวเองด้วยการสังเกตจิตตัวเองอยู่เสมอ

- ประมวลความสำเร็จหรือล้มเหลวจากการทำโครงงานนี้ขึ้นเป็นรายงาน

9 ประโยชน์ที่ข้าพเจ้าคาดว่าจะได้รับจากโครงงานนี้ คือ

- ได้พัฒนาตนด้านพฤติกรรมในการใช้ชีวิต

- เป็นจุดเริ่มต้นในการฝึกฝนตนให้มีสติสัมปชัญญะ

- ทำให้มีจิตใจสงบ รู้คิดตลอดเวลามีความตั้งใจที่จะทำสิ่งใดๆให้สำเร็จ

- ได้พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ความเห็น การหยั่งรู้เหตุรู้ผล และการคิดต่างๆอย่างสร้างสรรค์

10 งบประมาณที่ใช้ (หากมี) บาท แหล่งที่มาของงบประมาณ

ลงชื่อ …………………………ผู้เสนอโครงงาน

(นางสงบ อ่วมคำ )

วัน/เดือน/ปี ที่เสนอ 28 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2551

ลงชื่อ ………………………………….. ผู้อนุมัติ

(นายทรงไกร รอดสัมฤทธิ์ )

อาจารย์ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ประจำศูนย์เรียนรู้

วัน/เดือน/ปี ที่อนุมัติ 29 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2551

หลักการและแนวคิดที่นำมาใช้

หลักการและแนวคิด หรือความรู้ที่ข้าพเจ้านำมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติในโครงงานนี้ได้จากประสบการณ์เดิมของข้าพเจ้าเอง จากหนังสือ การบริหารทางจิต พระนิพนธ์ ของ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เอกสาร สื่อ หรือคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์

หลักคิดหรือหลักการที่นำมาใช้ ประกอบด้วย

- สติคืออะไร

- สติสำคัญอย่างไร

- คนทั่วไปเห็นและให้ความสำคัญแก่สติของตนเพียงไร

- ทำไมจึงต้องให้มีสติ

- ลักษณะที่มีสติและไม่มีสติ

- วิธีฝึกให้มีสติพึงทำอย่างไร

- วิธีฝึกให้มีสติด้วยการฟัง

- วิธีฝึกให้มีสติด้วยการคิด

- อะไรเป็นผลโดยตรงของการฝึกให้มีสติ

วิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติ

- สติคืออะไร

ในคนเราทุกคนย่อมมีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน ประกอบกันอยู่ คือ กายกับจิต กายคือร่างกายนี้

ที่ปรากฏเป็นรูปที่มองเห็นได้ เป็นเสียงที่ได้ยินได้ เป็นกลิ่นที่สูดดมได้ เป็นรสที่ลิ้มได้ เป็นส่วนกายที่ถูกต้องได้ จิตคือส่วนที่เรียกกันว่าจิตใจ ซึ่งไม่ปรากฏเป็นรูปที่มองเห็นด้วยตาได้เหมือนอย่างร่างกาย

แต่ก็ปรากฏเป็นความคิดนึก เป็นความชอบความไม่ชอบ ความหดหู่ ความฟุ้งซ่าน ความสงสัยต่างๆ

เป็นต้น หรือจะกล่าวว่า ปรากฏเป็นความรู้ต่างๆก็ได้ เพราะจิตเป็นสิ่งที่มองเห็นด้วยตาไม่ได้

จึงมีนักศึกษาแสดงความเห็นเรื่องจิตนี้ต่างๆกัน ดังเช่นนักศึกษาทางสรีรวิทยา พบหน้าที่หลายอย่าง

ของมันสมอง ก็กล่าวว่า จิตคือมันสมองหรืออาการของมันสมอง นักศึกษาอีกทางหนึ่ง ดังจะเรียกว่า

ทางอสรีรวิทยา เมื่อสังเกตอาการหลายอย่างของจิต ก็กล่าวว่าจิตหาใช่มันสมองไม่ เพราะมันสมอง

เป็นเพียงอวัยวะร่างกาย ซึ่งเป็นสรีระส่วนหนึ่ง แต่มีหน้าที่เป็นเครื่องมือบัญชาการของจิตซึ่งนับว่าเป็นหน้าที่สำคัญ ทั้ง 2 ฝ่ายนี้ต่างก็มีเหตุผลยกขึ้นโต้แย้งกันได้อีกเป็นอันมาก ทั้งยังมีปัญหาว่าจิตอาศัยอยู่ที่ส่วนไหนในร่างกาย ตามตำราหนึ่งกล่าวว่า หทัยคือเนื้อหัวใจเป็นวัตถุที่ตั้งอาศัยแห่งมโน และ

มโนวิญญาณธาตุ คือจิต ตามอธิบายในตำรานั้น ครั้นบัดนี้มีการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจได้จึงเกิดปัญหาขึ้นว่า จิตใจจะเปลี่ยนไปหรือไม่ ก่อนนี้ในบางประเทศได้ผ่าตัดศีรษะสุนัขอีกตัวหนึ่งมาต่อเข้ากับสุนัขอีกตัวหนึ่ง ทำให้เป็นสุนัข 2 ศีรษะรวมอยู่ในตัวเดียวกัน มีคำเขียนชี้แจงว่า สุนัขทั้ง 2 ศีรษะต่างแสดงอาการทางจิตใจต่างกัน แสดงว่าจิต ติดไปกับอวัยวะส่วนศีรษะ ฉะนั้นมันสมองก็น่าจะเป็นวัตถุที่ตั้งอาศัยของจิต

แต่อันที่จริงพระบาลีธรรมบทก็มีว่า “มีคูหา (อธิบายว่า คือกายนี้) เป็นที่อาศัย” ดังจะกล่าวถึงอีก

คำว่าคูหา แปลทั่วไปว่าถ้ำ ในที่นี้จะได้แก่ส่วนไหนของร่างกาย บางท่านกล่าวว่ากะโหลกศีรษะมีรูปลักษณะคล้ายถ้ำอยู่เหมือนกัน ผู้อื่นก็กล่าวอย่างอื่นอีก จึงสู้มติอธิบายว่า คือกายนี้ ซึ่งคลุมไปทั้งหมด

มิได้ ครั้นจะกล่าวสาธยายถึงข้อโต้แย้งกันว่าอย่างไรต่อไป ก็จะกลายเป็นเรื่องหนักไปทางสรีรวิทยา มิใช่ เป็นความมุ่งหมายทางพระศาสนา จึงจะยุติไว้เพียงตรงนี้ และเข้าเรื่องจิตโดยตรงต่อไป

พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในพระธรรมบทว่า จิตนี้ไม่มีสรีระ คือ ร่างกาย หรือไม่ใช่สรีระ

มีคูหา (คือกาย) เป็นที่อาศัย มีปกติเที่ยวไปไกล เที่ยวไปผู้เดียว ทั้งดิ้นรนกวัดแกร่ง รักษายาก ห้ามยาก

ในธรรมคำสั่งสอนอื่นๆ ตรัสสอนให้ทำความรู้จิตใจของตนเอง ว่าจิตใจของตนเองเป็นอย่างไร มีชอบหรือ

มีชังเป็นต้นอย่างไร ก็ให้รู้ ตรัสสอนให้ชำระขัดเกลาจิตใจ ให้อบรม รักษาคุ้มครอง สำรวมระวัง ข่มฝึกจิตใจ

เป็นต้น ซึ่งรวมเรียกว่า การมีสติ

- สติสำคัญอย่างไร

เมื่อจิตใจมีความมีความสำคัญ เพราะเป็นมูลฐานแห่งความประพฤติในทุกทาง ทั้งความเจริญความเสื่อม ความสุขความทุกข์ต่างๆ ดังนั้นหากไม่มีสติระลึกรู้ รักษาคุ้มครอง อบรมชำระขัดเกลาจิตใจ

สำรวมระวัง ข่มฝึกจิตใจไปในทางที่ถูกที่ควรแห่งศีลแห่งธรรมแล้ว จิตนี้แหละจะนำให้เกิดทุกข์เดือดร้อน

- คนทั่วไปเห็นและให้ความสำคัญแก่สติของตนเพียงไร

เมื่อจิตใจมีความสำคัญอย่างยิ่งดังเช่นที่กล่าวมา ก็น่าจะคิดต่อไปว่า เจ้าของจิตใจทุกคนได้เห็นและให้ความสำคัญแก่จิตใจของตนตามที่ควรหรือไม่ ที่เรียกว่าให้ความสำคัญนั้นคือ ให้มีสติ ระลึกรู้ รักษาคุ้มครอง อบรมชำระขัดเกลาจิตใจสำรวมระวัง ข่มฝึกจิตใจไปในทางที่ถูกที่ควรแห่งศีลแห่งธรรม

- ทำไมจึงต้องให้มีสติ

เรื่องนี้ถ้าไม่ตั้งเป็นปัญหาขึ้นก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีความสำคัญเท่าไร แต่ความจริงสำคัญมาก เพราะ

ผู้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา จะเป็นผู้ได้ รับประโยชน์ การกระทำกิจการใดๆ ก็ลุล่วงไปด้วยดี ไม่ค่อย มีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้น

- ลักษณะที่มีสติและไม่มีสติ

สติคือการระลึกรู้ ให้รู้อยู่กับสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏขึ้น เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะทั้งหลาย ที่มาสัมผัสกับตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วก็เกิดอารมณ์ต่างๆปรากฏตามขึ้นมา เช่นอารมณ์ชอบ อารมณ์ไม่ชอบ

อารมณ์รัก อารมณ์ชัง แล้วก็มีปฏิกิริยาตอบโต้ไปในทางความคิด เช่น เมื่อได้สัมผัสกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ทำให้เกิดความชอบขึ้นมา ก็เกิดความอยากที่จะได้สิ่งนั้นมา สัมผัสกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ไม่ถูกใจ ก็เกิดความไม่ชอบขึ้นมา ต้องการให้สิ่งนั้นๆหายไปหมดไป ผู้รู้ผู้ปฏิบัติคือตัวเรา ควรรู้กับเหตุการณ์และสิ่งต่างๆที่มาสัมผัสและปรากฏขึ้น ถ้าไม่มีสติคอยเฝ้าดูอยู่ ก็จะไม่รู้ เมื่อไม่รู้ ก็จะปล่อยให้ชีวิตถูกฉุดกระชากลากไปตามอารมณ์ต่างๆ ถ้ามีสติ ก็จะรู้ว่าขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่ กำลังคิดอะไร พูดอะไร ถ้ามีสติ ก็รู้ ถ้าไม่มีสติก็ไม่รู้

- วิธีฝึกให้มีสติพึงทำอย่างไร

- การตั้งใจให้มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ คือ ผู้ฝึกจะต้องตั้งใจกำหนดรู้สึกตัวอยู่ทุกขณะไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องใคร่ครวญทำช้าๆ อย่ารวดเร็วเกินไป เช่น ในขณะเดิน ยืน นั่ง นอน จะต้องพยายามให้ตัวสติระลึกอยู่ตลอดเวลาทุกๆ อิริยาบถ และมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่เสมอ เมื่อตั้งใจปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวก็จะทำให้ผู้นั้นมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์

- การคบกับคนผู้มีสติปัญญามั่นคง คือ พยายามเข้าสมาคมกับคนผู้มีสติปัญญามั่นคงด้วยการทำ การพุด และการแสดงออกอื่นๆ ยกตัวอย่าง เช่น การเข้าไปพบปะสนทนากับพระสงฆ์ผู้ฝึกสมาธิมาดีแล้ว โดยพิจารณาจากการพูดและการกระทำ ท่านจะอยู่ในลักษณะสำรวมระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้เราผู้เข้าร่วมสมาคมด้วยเกิดการตั้งสติและมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวสำรวมระมัดระวังตัวเช่นเดียวกัน

- การไม่คบคนที่มีจิตใจฟุ้งซ่านปั่นป่วย คือ คนใดที่มีสติฟั่นเฟือน หลงๆ ลืมๆ ซึ่งมีการกระทำการพูดผิดๆ ถูกๆ อยู่ตลอดนั้น เราไม่ควรจะไปคบด้วย เพราะการสมาคมกับคนประเภทนี้บ่อยๆ เข้าบางทีจะทำให้เราติดโรคสติฟั่นเฟือนได้ เว้นได้แต่เข้าไปคบด้วยความสงสาร เพื่อจะแนะนำเขาในบางครั้งบางคราวเท่านั้น

- การมีใจน้อมไปในการมีสติ คืออยากเป็นคนมีสติมั่นคง โดยตัวเราเองต้องพยายามขวนขวายปลุกใจให้เห็นคุณค่าในการมีสติสัมปชัญญะแล้วปฏิบัติธรรมเพื่อนำจิตของตนให้เป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิในขั้นต้น แม้เพียงขณิกสมาธิอันเป็นสมาธิชั่วขณะที่เกิดขึ้นกับคนทั่วๆ ไปในการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน เท่านี้ก็จะทำให้เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะดีขึ้นอย่างแน่นอน

นอกจากนี้แล้วพระพุทธเจ้ายังได้ทรงแสดงวิธีการฝึกสติให้สมบูรณ์ไว้ในสติปัฏฐาน ๔ อย่าง

กล่าวคือ การดำรงสติไว้ที่ฐานมี ๔ อย่าง ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม และกำหนดพิจารณาฐานทั้ง ๔ เหล่านั้น เช่น กายานุปัสสนา ตั้งสติกำหนดพิจารณากายเป็นอารมณ์ เวทนานุปัสสนา ตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนาเป็นอารมณ์ จิตตานุปัสสนา ตั้งสติกำหนดพิจารณาจิตเป็นอารมณ์ และธัมมานุปัสสนา ตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรมเป็นอารมณ์

- วิธีฝึกให้มีสติด้วยการฟัง

การฟังการรับรู้เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการเรียนรู้แบบพุทธ(สัทธรรม) ซึ่งรวมถึงการเรียนรู้จากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร(สัตบุรุษ) อย่างไรก็ตาม กระบวนการรับรู้นั้นนอกจากประกอบด้วยข้อมูล ข่าวสารความรู้ หรือคำชี้แนะอันเป็นองค์ประกอบภายนอกแล้ว องค์ประกอบภายใน อัน ได้แก่ ความสามารถในการรับรู้เข้าใจก็มีความสำคัญอย่างมาก แม้จะได้ยินได้ฟังสิ่งดีงาม แต่หากรับรู้หรือเข้าใจคลาดเคลื่อน การรับรู้ก็ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ความคลาดเคลื่อนในการรับรู้อย่างแรกก็คือ การรับรู้ไม่ตรงตามความเป็นจริง เช่นได้ยินหรือเห็นไปอีกอย่างหนึ่งความคลาดเคลื่อนดังกล่าวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยมากในชีวิตประจำวัน ปัจจัยสำคัญนั้นไม่ได้อยู่ที่อายตนะทั้ง ๕ เช่นหู หรือตา แต่อยู่ที่ใจและสติ คนที่กำลังหวาดกลัวด้วยไม่เคยเข้าป่า ย่อมเห็นรากไม้เป็นงูได้ง่ายๆ ในทำนองเดียวกันพ่อที่กำลังกังวลกับงานการย่อมได้ยินไม่ตลอดว่าลูกกำลังปรึกษาเรื่องอะไร ส่วนคนที่กำลังคุมแค้นอยู่ในใจ ถ้ามีใครยิ้มให้ก็อาจมองว่าเขายิ้มเยาะตนก็ได้ พูดตามหลักปฏิจจสมุปบาทก็คือ สังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ

การรับรู้คลาดเคลื่อนนั้นมิได้เป็นผลจากการปรุงแต่งของอารมณ์ความรู้สึกในขณะนั้นเท่านั้น หากยังเกิดจากทัศนคติหรือทิฏฐิที่ฝังแน่นในใจด้วย ด้วยเหตุนี้ ในกระบวนการเรียนรู้แบบพุทธ นอกจากจะให้ความสำคัญแก่ข้อมูลข่าวสารหรือเนื้อหาที่จะรับรู้แล้วสิ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ก็คือ ความสามารถในการรับรู้ ในทางพุทธศาสนาสิ่งที่จะช่วยให้เกิดการรับรู้ตรงตามความเป็นจริงก็คือ "สติ" สติช่วยให้บุคคลรู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกที่กำลังเกิดขึ้นในใจ สามารถยกจิตจากอารมณ์และรับรู้สิ่งต่างๆ ที่กำลังประสบอย่างตรงตามความเป็นจริงได้ ก็คือการฟังอย่างมีสติปลอดจากอคติและสมมติฐานล่วงหน้านั่นเอง

สติหากมีกำลังเพียงพอและต่อเนื่อง ยังจะช่วยให้บุคคลมองเห็นตัวเองอย่างลึกซึ้งจนตระหนักถึงทัศนคติหรือความลำเอียงทางเชื้อชาติเพศ เศรษฐกิจ สถานะ ที่ฝังลึกอยู่ในตน อันเป็นอุปสรรคต่อการรับรู้โลกตามความเป็นจริง สติยังช่วยให้ปัญญาหรือความรู้ที่มีอยู่ ถูกดึงมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ด้วย และหากฝึกฝนมาดีพอ ทั้งๆ ที่เห็นหรือรับรู้สิ่งที่ไม่ดี แทนที่จะเป็นโทษก็อาจเป็นคุณด้วยพุทธศาสนาแม้จะเน้นการรับรู้รับฟังสิ่งที่ดี แต่เมื่อมีเหตุจะต้องประสบกับสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ท่านก็สอนให้รู้จักเปลี่ยนร้ายให้กลายเป็นดี

- วิธีฝึกให้มีสติด้วยการคิด ( โยนิโสมนสิการ )

เมื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำได้อย่างถูกต้อง ตรงประเด็น และครบถ้วนแล้ว กระบวนการเรียนรู้ขั้นต่อมาก็คือ การคิด หรือการนำเอาสิ่งที่รับรู้นั้นมาย่อย จัดระเบียบ หรือเสริมเติมต่อเพื่อให้เกิดปัญญาเพิ่มพูนขึ้น เปรียบดังการย่อยอาหารให้เกิดพลังงานเพื่อความเจริญเติบโตของร่างกาย

โยนิโสมนสิการคือการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีสามารถจัดได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ

- โยนิโสมนสิการแบบปลุกปัญญา คือการคิดเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งตามสภาวะหรือความเป็นจริง

- โยนิโสมนสิการประเภทนี้มุ่งให้เกิดโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ เข้าถึงอิสรภาพทางจิตและปัญญา

แต่ในระดับสามัญหรือโลกียธรรมหมายถึงการคิดเพื่อให้เกิดปัญญาเพิ่มพูนขึ้น ส่วนโยนิโสมนสิการอีกประเภทหนึ่งคือโยนิโสมนสิการแบบเสริมสร้างคุณภาพจิต เป็นการใช้ความคิดเพื่อให้เกิดกุศลธรรม เป็นอุบายลดโลภะ โทสะและโมหะโดยใช้ธรรมฝ่ายดีมากดข่มหรือทดแทน สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้รู้จักคิดหรือเกิดโยนิโสมนสิการก็คือการรู้จักตั้งคำถาม คำถามนั้นเป็นตัวนำความคิดและกำหนดการรับรู้เพื่อแสวงหาคำตอบ พระพุทธองค์ได้ใช้คำถามในการกระตุ้นให้เกิดปัญญาบ่อยครั้งมาก อันที่จริงการที่มีพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้ก็เพราะเจ้าชายสิทธัตถะหมั่นตั้งคำถามกับตนเองอยู่ตลอดเวลาว่า ทำอย่างไรถึงจะพ้นทุกข์ได้ คำถามนี้คำถามเดียวเท่านั้นที่ทำให้ทรงสละวังออกบวช ละทิ้งอาฬารดาบส อุททกดาบส และเลิกละการบำเพ็ญทุกรกิริยา จนค้นพบสัจธรรมอันทำให้พ้นทุกข์สิ้นเชิง คำถามอีกเช่นกันที่ทำให้องคุลีมาลฉุกคิดขึ้นมา เลิกไล่ล่าพระพุทธองค์ และสนใจสดับฟังธรรมจากพระองค์คำถามนั้นก็คือ "เราหยุดแล้ว แต่เหตุใดท่านจึงยังไม่หยุด ?" เปรียบเช่นคนเมื่อถูกลูกศรเสียบอก ปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องหาคำตอบคืออะไรหาว่าใครยิงธนู? ธนูมาจากไหน? ทำด้วยอะไร? หรือทำอย่างไรจะถอดลูกธนูออกมาได้? คำถามเหล่านี้พระพุทธองค์ได้ใช้ในการกระตุ้นให้ผู้คนเกิดฉุกคิดขึ้นมา และสนใจในการปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์ แทนที่จะคอยจะหาคำตอบในทางอภิปรัชญาว่า โลกเที่ยงหรือไม่? คนเรามาจากไหน? ตายแล้วไปไหน?

ซึ่งล้วนเป็นคำถามที่ทำให้ชีวิตว่างเปล่าและหลงทิศหลงทาง กระบวนการเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่รู้จักคิดหรือคิดไม่ถูกวิธี ขณะเดียวกันคนจะคิดเป็นหรือคิดถูกวิธีได้ก็เพราะรู้จักตั้งคำถามอย่างมีสติ กระบวนการศึกษาที่ถูกต้องจึงควรให้ความสำคัญแก่การฝึกให้รู้จักตั้งคำถามอย่างมีสติ มิใช่เก่งแต่การแสวงหาหรือจดจำคำตอบอย่างเดียว

- อะไรเป็นผลโดยตรงของการฝึกให้มีสติ

สติ เหมือนทำให้เรามีอาการตื่น เรียกว่า อัปมาทะ คือไม่ประมาท ไม่ตาย ถ้าไม่มีสติ หรือ ปมาทะ คือประมาท หรือตาย ตายทั้งทางร่างกายก็ได้คืออาจถูกรถชนตาย หรือทางจิตก็ได้ คือ มีกิเลสครอบงำ

ตกนรกทั้งเป็นตลอดเวลา มันก็เหมือนตายแหละ จึงเห็นว่าสติเรื่องเดียว เป็นเรื่องทั้งหมดที่จะดับทุกข์ได้ ถ้าจะแยกไปศีล สมาธิ ปัญญา มรรคมีองค์แปด มันก็ได้ แต่ต้องมีผลอย่างนี้ คือมีสติ ปัญญามาทันเวลาที่มีการกระทบผัสสะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ พระพุทธศาสนาตั้งต้นสอนกันที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วคู่ของมันคือ รูป รส กลิ่น เสียง แล้วจะมีวิญญาณของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อวิญญาณนี้ทำงานอยู่เรียกว่า ผัสสะ ตอนนี้ถ้าสติไม่มา ก็เป็นผัสสะหลับ กระแสไหลไปสู่ความทุกข์ ถ้าสติมาก็กั้นกระแสนี้ไว้ เราก็ไม่มีความทุกข์ นี่เป็นศาสนาตามธรรมชาติ คุณถือศาสนาอะไรก็ตาม แต่ความทุกข์ต้องเกิดขึ้นอย่างนี้ และการดับทุกข์ได้ด้วยวิธีอย่างนี้ สมกับที่ว่ามันเป็นเครื่องตื่นในโลก ถ้าไม่มีสติแล้ว ทั้งโลกก็เหมือนหลับ แต่โลกจะตื่นเมื่อมีสติ ดังนั้นเราต้องพัฒนาสติอย่างเพียงพอตามที่ว่ามาแล้ว ดังนั้นขอให้สนใจสติปัฏฐานทั้งสี่ เพื่อพัฒนาสติ เพียงพอสำหรับจะรอดชีวิตอยู่ เพียงพอสำหรับจะดียิ่งๆขึ้นไป จนบรรลุ มรรคผลนิพพาน

สรุปผลของการปฏิบัติ

โครงงานนี้ บรรลุวัตถุประสงค์ประมาณ 75% เพราะระดับของสติปัญญาจัดเป็น 5 ระดับ คือ

ระดับที่ 1 มีความรู้ความเข้าใจในศิลปะวิทยาการ

ระดับที่ 2 มีการรับรู้ เรียนรู้อย่างถูกวิธีตามความเป็นจริง

ระดับที่ 3 มีการคิดวินิจฉัยโดยบริสุทธิ์ใจ

ระดับที่ 4 มีการเข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริง รู้ทางเสื่อม ทางเจริญและสาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รู้วิธีแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์ความสำเร็จที่ทำให้พัฒนาชีวิตและสังคมให้เจริญดีงามยิ่งๆขึ้นไป

ระดับที่ 5 รู้เท่าทันธรรมดาของโลกและชีวิต เข้าใจความจริงแท้ จิตใจเป็นอิสระ หลุดพ้นจากทุกข์ได้

โดยสมบูรณ์ ระดับปัจจัยดังที่แจงมาแล้วนั้นเป็นสาเหตุที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ไม่ได้ในเวลาที่จำกัด

9. ความรู้ ความรู้สึก และประสบการณ์ที่ได้จากการทำโครงงาน

9.1 อะไรเป็นสาเหตุให้การปฏิบัติของข้าพเจ้าบรรลุผลสำเร็จหรือล้มเหลว

- สาเหตุบรรลุผลฯ เพราะมีการตั้งเป็นประเด็นปัญหาขึ้นมาทำโครงงาน ล้มเหลวเพราะเวลาที่จำกัด

9.2 หลักการและแนวคิดต่างๆ ที่ได้เรียนรู้มีส่วนหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน มีส่วน 50%

9.3 ประสบการณ์เดิมของข้าพเจ้ามีส่วนมากน้อยแค่ไหน 25%จาก75%

9.4 มีการผสมผสานประสบการณ์เดิมกับความรู้จากการศึกษาด้วยตนเองเพิ่มเติมหรือร่วมกับ

สมาชิกในกลุ่มหรือไม่ ในประเด็นใดบ้าง มี ในทุกประเด็น

9.5 สิ่งที่ข้าพเจ้าคิดขึ้นมาได้เองและใช้ได้ผลมีหรือไม่ หากมีสิ่งนั้นคืออะไร

มี สิ่งนั้นคือความศรัทธาในพุทธศาสนา

9.6 ขณะที่ทำโครงงานนี้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับข้าพเจ้าได้พูดหรือแสดงท่าทีและความเห็นต่อข้าพเจ้า

อย่างไร ดี และเห็นด้วยอย่างยิ่ง และขออนุโมทนา

9.7 ข้าพเจ้ารู้สึกอย่างไรบ้างทั้งก่อนปฏิบัติ ในขณะปฏิบัติ และหลังจากโครงงานสิ้นสุดลงแล้ว

ก่อนปฏิบัติ มีความเข้าใจในเรื่องสติในมิติหนึ่ง (ในมิติวัตถุสิ่งของต่างๆอันเป็นเรื่องภายนอก)

ในขณะปฏิบัติ มีความเข้าใจในเรื่องสติ ในอีกมิติหนึ่ง(อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆอันเป็นเรื่องภายใน)

และหลังจากโครงงานสิ้นสุดลงแล้ว ทำให้รู้จัดประเมินตัวเองด้วยการสังเกตจิตด้วยการมีสติ

9.8 ข้าพเจ้ามีแผนจะทำอะไรต่อไปหรือไม่ อย่างไร และหากมีผู้ต้องการทำโครงงานในเรื่อง

หรือลักษณะนี้ ข้าพเจ้ามีข้อแนะนำดังนี้

ข้าพเจ้ามีแผนที่จะนำความรู้มาพัฒนาตนด้านพฤติกรรมในการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่อง

และหากมีผู้ต้องการทำโครงงานในเรื่องหรือลักษณะนี้ ข้าพเจ้ามีข้อแนะ ให้นำมาพฤติปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนในการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่องด้วยการมีสติและรู้เท่าทันอารมณ์ภายในของตนอันเป็นเหตุก่อให้เกิดผลกับปัจจัยภายนอกต่างๆ

ประวัติย่อของผู้ทำโครงงาน ประกอบด้วย

1) ชื่อ นางสงบ อ่วมคำ

2) อายุ 40 ปี

3) ที่อยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ 5 บ้านซับสายออ ต.ท่ากูบ อ.ซับใหญ่ จ.ชัยภูมิ

4) หมายเลขโทรศัพท์บ้าน 044 – 731020 มือถือ 081 – 1973561

5) ที่อยู่อีเมล์ [email protected]

6) สถานภาพสมรส สมรสแล้ว มีบุตรจำนวน 2 คน เพศหญิงทั้ง 2 คน

7) ตำแหน่งทางสังคม เป็นสมาชิกกลุ่มสตรีประจำอำเภอซับใหญ่

8) อาชีพ ประกอบการค้า

9) ความสามารถพิเศษ ผลิตน้ำเอนไซด์ ผลิตภัณฑ์ยาสระผมจากใบหมี่และดอกอันชัน

10) ผลงานที่ภูมิใจ ผลิตน้ำเอนไซด์ ผลิตภัณฑ์ยาสระผมจากใบหมี่และดอกอันชัน

บทคัดย่อ

โครงงานที่ข้าพเจ้าทำคือ การฝึกตนให้มีสติ ไม่ให้หลงลืมของข้าพเจ้า

โครงงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนด้านพฤติกรรมในการใช้ชีวิตอย่างมีสติไม่ให้หลงลืม

และเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการฝึกฝนตนให้มีสติ ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และเอื้ออาทร โดยข้าพเจ้าเริ่มทำโครงงานนี้ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2551 ถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 โดยข้าพเจ้าทำทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน และที่อื่นๆ ที่มีการพบปะกับผู้คน หลักการและแนวคิดที่นำมาใช้ คือจิตใจมีความมีความสำคัญ เพราะเป็นมูลฐานแห่งความประพฤติในทุกทาง ทั้งความเจริญและความเสื่อมดังนั้นหากไม่มีสติระลึกรู้ รักษาคุ้มครอง อบรมชำระขัดเกลาจิตใจไปในทางที่ถูกที่ควรแห่งศีลแห่งธรรมแล้ว จิตนี้แหละจะนำให้เกิดทุกข์เดือดร้อนมาสู่ตน วิธีการและขั้นตอน คือ เขียนคำขวัญว่า การฝึกตนให้มีสติสัมปชัญญะ รู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิต ผู้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา จะเป็นผู้ได้ รับประโยชน์ การกระทำกิจการใดๆ ก็ลุล่วงไปด้วยดี ไม่ค่อย มีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้น ใช้แนวคิดจากหนังสือพุทธศาสนา

โครงงานนี้ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ประมาณ 75% เพราะข้าพเจ้ามีความเข้าใจในเรื่องของการมีสติที่ลึกขึ้นในอีกมิติหนึ่ง ที่ข้าพเจ้าไม่เคยรู้จัดมาก่อน รู้เท่าทันอารมณ์ภายใน อันเป็นเหตุก่อให้เกิดผลกับปัจจัยภายนอกต่าง ๆ แม้นในในปัจจุบันนี้ข้าพเจ้ายังมีพฤติกรรมที่ยังมีความหลงลืมอยู่บ้างแต่ก็มีความเข้าใจในสาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้ง เพิ่มมากขึ้น

คำนำ

การเปลี่ยนแปลงใดๆของสังคมคนเรานั้นย่อมมาจากภายในสู่ภายนอก เมื่อความศรัทธา ความคิดและความเชื่อของคนเป็นไปในทิศทางใดอย่างมุ่งมั่นแล้ว การเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นไปในทิศทางนั้นได้เสมอ เพราะความความศรัทธา ความคิดและความเชื่อของคนเป็นระบบความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งในทุกมิติและทุกรูปแบบ โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา

การสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตและงาน 2 โครงงานพัฒนาบุคลิกภาพ เรื่องการฝึกตนให้มีสติ

ไม่ให้หลงลืมของข้าพเจ้า หวังว่าเนื้อหาในโครงงานพัฒนาบุคลิกภาพ เรื่องการฝึกตนให้มีสติ

ไม่ให้หลงลืมของข้าพเจ้า จะให้ประโยชน์ ความรู้ และแนวทางแก่ท่านผู้อ่านศึกษาและจุดประกายจุดเริ่มต้นในการฝึกฝนตนให้มีสติสัมปชัญญะ ของท่านผู้อ่านในกาลต่อไป

สงบ อ่วมคำ

ผู้จัดทำ

สารบัญ

หน้า

บทคัดย่อ 1

แบบเสนอเค้าโครงของโครงงาน 2 - 3 หลักการและแนวคิดที่นำมาใช้ 4 วิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติ 4 - 8 สรุปผลของการปฏิบัติ 8 ความรู้ ความรู้สึก และประสบการณ์ที่ได้ฯ 8 - 9 ภาคผนวก

ประวัติย่อของผู้ทำโครงงาน บันทึกประจำวัน

ประวัติพระพุทธบาทเขายายหอม

โดย อาจารย์วิทยา สกุลอนันท์

..................................................................................

รอยพระพุทธบาทเขายายหอม ประทับที่ลานหินยอดภูเขายายเหม็นปัจจุบันอยู่ในท้องที่บ้านตาท้าวตำบลนายางกลัก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ภูเขายายเหม็นเป็นยอดสูงสุด ของยอดเขาพังเหย ดงพญาเย็น รอยพระพุทธบาทกลางพระบาทตรงกรงจักร มีขนาดกว้าง 63 เซนติเมตร ปลายพระบาทกว้าง 72 เซนติเมตร ส้นพระบาทกว้าง 48 เซนติเมตร ยาววัดจากส้นพระบาทถึงปลายพระบาทยาว 185 เซนติเมตร ลึกวัดจากหินเดิมลงไป 32 เซนติเมตร หันรอยพระบาทไปทางทิศอาคเนย์ คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนเคารพสักการบูชายึดถือว่าเป็นปูชนียวัตถุโบราณสำคัญทางพระพุทธศาสนา เดิมพบชื่อภูเขาที่พระพุทธบาทประทับอยู่ว่าพระพุทธบาทเขายายเหม็น ครั้นต่อมาคณะสงฆ์และฆราวาสได้ประชุมลงมติเป็นเอกฉันท์ ให้เปลี่ยนชื่อพระพุทธบาทใหม่เพื่อเป็นสิริมงคล เหมาะสมกับเป็นปูชนียวัตถุโบราณสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นชื่อ พระพุทธบาทเขายายหอม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมาจนบัดนี้

รอยพระพุทธบาทเขายายหอมแห่งนี้ จะประทับไว้ตั้งแต่เมื่อไรไม่มีหลักฐาน เป็นแต่ประชาชนได้เล่าลือติดต่อกันมา เป็นเวลานานหลายชั่วอายุคนว่ามีครอบครัวหนึ่งได้ไปอาศัยทำไร่ ซึ่งตามคำบอกเล่าติดติดกันมามีชื่อว่ายายเหม็น สามีชื่อ ตาท้าว สถานที่ดังกล่าวนี้เป็นภูเขาสูงมีลานหินและภูเขาโดยรอบ นับว่าเป็นดินแดนถิ่นธุระกันดารที่สุด พวกนี้เขาเรียกว่าพวกชาวบน เพราะอยู่บนไหล่เขาสูง จึงสันนิษฐานได้ว่ายายเหม็นกับตาท้าว ซึ่งทำมาหากินอยู่ที่นี่ คงจะเป็นผู้พบเห็นรอยพระพุทธบาท

ครั้งแรก ประมาณ พ.ศ. 2312 แต่ยายเหม็นตาท้าว คงจะเห็นเป็นของแปลกประหลาด เพราะรอยใหญ่กว่าคนธรรมดามาก ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เลยทำให้ยายเหม็นตาท้าวคิดไปต่าง ๆ นานา และเกรงกลัวว่าจะเป็นภัยแก่ตนและครอบครัว จึงได้ทำการปกปิดมาตลอดเวลา ครั้นต่อมายายเหม็นก็ตาย ตาท้าวและลูกหลานจึงได้ตั้งชื่อภูเขาลูกที่พระพุทธบาทประทับอยู่ว่า เขายายเหม็น เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ยายเหม็นที่ได้มาทำมาหากินอยู่ที่นี่นามมาแล้วด้วย เมื่อยายเหม็นตายแล้วตาท้าวสามีก็ได้นำลูกหลานย้ายลงมาจากเขายายเหม็น มาอยู่ข้างล่างห่างจากเขายายเหม็นประมาณ 4 กิโลเมตร มีลำห้วยน้ำไหลผ่านอยู่ตลอดเวลา และได้มาตั้งหลักฐานทำมาหากินจนเป็นหมู่บ้านและทางราชการจึงตั้งเป็นบ้าน เรียกว่า บ้านตาท้าว หมู่ที่ 3 ตำบลนายางกลัก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ต่อมาตาท้าวตายลูกหลานชาวบ้านได้ตั้งชื่อลำห้วยดังกล่าวมาแล้วว่า ลำตาท้าว และหมู่บ้านก็ตั้งเป็น บ้านตาท้าว เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการที่ตาท้าวที่ได้มาอยู่ทำมาหากินเป็นคนแรกและทำการพัฒนาในหมู่บ้านดังกล่าวนี้ด้วย

ในปี พ.ศ. 2463 พระศรีสมัตถการ (ใหญ่ บุนนาค) เจ้าเมืองชัยภูมิ ได้เดินทางมาตรวจราชการที่กิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ และได้ประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ราษฎร ชี้แจงข้อราชการ เมื่อเสร็จจากการประชุมแล้ว เจ้าเมืองได้สนทนากับกำนัน

ผู้ใหญ่บ้านและราษฎร ผู้ใหญ่บ้านและราษฎรผู้เฒ่าได้เล่าเรื่อง ให้เจ้าเมืองได้ทราบว่า มีผู้พบเห็นรอยคนใหญ่อยู่ที่ภูเขาตำบลนายางกลักตามที่เล่าลือติดต่อกันมาเป็นเวลานานแล้ว พระศรีสมัตถการเจ้าเมืองชัยภูมิ ได้ทราบเกิดความสนใจอยากจะทราบ

ความจริงจึงได้สั่งให้บุคคลดังต่อไปนี้ คือ ขุนจำนง (ไผ่) ขุนศักดา (แจ้ง) ขุนบำรุง (อ่อง) นายปลื้ม กลิ่นศรีสุข และผู้ติดตามอีกจำนวนมากออกไปค้นสืบหา

รอยคนใหญ่ (พระพุทธบาท) ในเขตดงตำบลนายางกลัก บุคคลดังกล่าวเมื่อได้รับคำสั่งจากเจ้าเมืองแล้วได้จัดหาเสบียงอาหารเดินทางไปดงนายางกลัก สืบค้นหารอยคนใหญ่กับชาวบนก็เพียงได้รับคำบอกเล่าจากพวกชาวบนว่า ปู่ ย่า ตา ยาย ของเขาเล่าให้ฟังว่า ปู่ ย่า ตา ยายเขาได้พบรอยคนใหญ่จริงแต่พวกเขาไม่ทราบว่าอยู่ที่แห่งใด เพราะปู่ ย่า ตา ยาย เขาปิดบังไม่บอกสถานที่จริง ดังนั้นคณะจึงได้นำกันค้นหาอยู่เป็นเวลานานถึง 10 วันก็ไม่พบ จึงพากันเดินทางกลับบ้าน ปรากฏว่าคณะที่ไปค้นหารอยพระพุทธบาท มาป่วยเป็นไข้ป่า (มาเลเรีย) กันทุกคน ตั้งแต่นั้นมาเรื่องราวรอยพระพุทธบาทที่เล่าลือกันจึงเงียบหายไปเป็นเวลานาน

ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ท่านพระครูมนูญชัยกิจ (หลวงพ่ออ่วม) เจ้าอาวาสวัดบึงชวนท่านก็ได้เริ่มนำสงฆ์เดินทางไปดงตำบลนายางกลัก เพื่อเผยแผ่ศาสนาแนะนำให้พวกดง (ชาวบน) ได้ทำบุญเป็นประจำทุก ๆ ปี จนปรากฏว่าท่านหลวงพ่ออ่วมเป็นที่เคารพนับถือของพวกชาวเขามาก ได้นำบุตรหลานมาให้หลวงพ่อบรรพชา อุปสมบทให้อยู่เสมอ

จนในปี พ.ศ. 2492 ต่อเนื่องปี พ.ศ. 2493 พระครูมนุญชัยกิจ (หลวงพ่ออ่วม) เจ้าอาวาสวัดบึงชวน ได้นำคณะสงฆ์เดินธุดงค์เข้าไปยังหมู่บ้านตาท้าว ในท้องที่ตำบลนายางกลักตามที่ได้เคยไปมาเกือบจะทุกปี จนเป็นที่รู้จักและเคารพนับถือของ

พวกชาวเขา แต่การมาครั้งนี้ได้ไปพบกับ ตาขำ อายุประมาณ 70 ปี และนายหมี บ้านตาท้าวอยู่ห่างจากเขายายเหม็นประมาณ 4 กิโลเมตร ตาขำและนายหมีได้เปิดเผยบอกเล่าเรื่องรอยคนใหญ่ ให้ท่านพระครูมนูญชัยกิจได้ทราบความว่า เมื่อนายหมี ยังเล็ก ๆ พอจำความได้ ยายของนายหมีได้บอกเล่าแม่ของนายหมีว่า บนลานหินเขายายเหม็นมีรอยคนใหญ่แปลกประหลาดอยู่ข้างบ่อหินตาทอง ซึ่งยายของนายหมีขณะนั้นยังเป็นเด็ก ได้ติดตามไปกับพวกคนใหญ่เขา และได้ไปเห็นรอยคนใหญ่จริง และในสมัยนั้นคนดงคนป่ายังโง่ เพราะไม่ได้รับการศึกษาเลย เมื่อพบเห็นสิ่งแปลกประหลาดก็เกรงกลัวจะเป็นภัยแก่พวกตนในอนาคต เขาเหล่านั้นจึงได้ช่วยกันทำลาย โดยใช้วิธีเอาไฟสุมเผาทุบตี แล้วก็ขนหินดินมาถมปกปิดจนมิดชิดและได้ปลูกต้นหญ้าต้นสลักใด พรางตาเอาไว้ เพื่อไม่ให้ผู้คนพบเห็นสงสัย เมื่อท่าน พระครูมนูญชัยกิจ ได้ทราบเรื่องราวตามที่ตาขำและนายหมีบอกเล่ามาแล้ว ท่านก็รีบเดินทางกลับยังวัดบึงชวน และได้บอกเล่าให้ญาติโยมได้ทราบต่อไป เมื่อประชาชนญาติโยมได้ทราบเรื่องราว ต่างก็ดีใจและสนใจ เพราะความอยากรู้อยากเห็นว่ามีรอยพระพุทธบาทเหมือนคำเล่าลือจริงหรือไม่

ครั้นต่อมาพระครูมนูญชัยกิจ ได้ทำหนังสือเรียนเรื่องมีผู้บอกเล่าว่า มีรอยคนใหญ่ (พระพุทธบาท) ไปให้พระครูพินิจสมณวัตร เจ้าคณะกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ ซึ่งอยู่ที่วัดเพชรภูมิสุวรรณทราบ เมื่อท่านพระครูพินิจสมณวัตรได้รับหนังสือทราบเรื่องรอยพระพุทธบาทแล้ว ท่านก็มีความสนใจมาก จึงได้มาสอบถามกับท่านพระครูมนูญชัยกิจ จนเป็นที่แน่นอนแล้ว และจะมีตาขำและนายหมีเป็นผู้นำทาง ชี้ตำแหน่งแห่งที่จะค้นหารอยพระพุทธบาทด้วย จึงนับว่าเป็นนิมิตหมายอันดี เห็นจะเป็นด้วยบุญญาบารมี ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะดลบันดาลขึ้นให้เห็นรอยพระพุทธบาท ซึ่งนับว่าเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญทาง

พระพุทธศาสนา เพื่อที่พุทธศาสนิกชนจะได้สักการบูชาสืบต่อไปด้วย

ในปี พ.ศ. 2493 พระครูพินิจสมณวัตร เจ้าคณะกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ และพระครูมนูญชัยกิจ (หลวงพ่ออ่วม) ได้ประชุมปรึกษาญาติโยม และประชาชนชาวบ้านเพชร บ้านชวน และชาวบ้านวังเสมาอำเภอจัตุรัส ประชาชนก็พร้อมใจกัน

ที่จะเดินทางไปค้นหารอยพระพุทธบาท

ครั้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ท่านพระครูพินิจสมณวัตรผู้นำได้พร้อมกันออกเดินทางไปโดยมีพระครูมนูญชัยกิจ (หลวงพ่ออ่วม) ตาคำ (หลวงตาคำ) นายอ่ำ นายหิน ร่วมด้วยตาขำ นายหมี และชาวบ้านร่วมไปด้วยอีกจำนวนมาก จนเวลาเย็นจึงขึ้นไปถึงเขายายเหม็น ด้วยความอ่อนเพลียเพราะต้องปีนป่ายขึ้นเขาลงเขา จึงได้จัดหาที่พักผ่อนหลับนอน ครั้นรุ่งเช้าก็หุงหาอาหารกินเสร็จแล้ว พระครูพินิจสมณวัตรและพระครูมนูญชัยกิจ จึงได้ให้ตาขำและนายหมี ผู้ที่เล่าเรื่องราวรอยคนใหญ่เป็นผู้นำทางชี้สถานที่ ตาขำและนายหมีบอกว่าไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน เพราะไม่ได้มาพบเห็น เพียงแต่ได้รับความบอกเล่าติดต่อกันมาจาก ปู่ ย่า ตา ยายว่ามีรอยคนใหญ่อยู่ข้างบ่อน้ำหินตาทอง ถ้าวิดน้ำจากบ่อนี้สาดขึ้นไปจะตกถึงรอยพอดี จากนั้นจึงได้ช่วยกันกระจายกำลังกันออกค้นหาบ่อแต่ก็ยังไม่พบ ก็ช่วยกันค้นหาต่อไปอีก 3 วันก็ยังไม่พบ

ครั้นอยู่มาคืนวันหนึ่ง เวลาประมาณ 5 ทุ่ม คณะที่ค้นหายังสุมไฟนั่งคุยกันอยู่ก็ปรากฏการมีแสงเป็นลำสีแดงเขียวพุ่งขึ้นในกลางป่า ทางทิศอาคเนย์จากที่พักทุกคนก็ตั้งตาดูแสงนั้นเป็นเวลานานพอสมควรแสงนั้นจึงหายไป พระครูพินิจสมณวัตร จึงได้บอกญาติโยมว่า แสงนั้นเป็นนิมิตหมายอันดีที่พระพุทธองค์ อาจจะทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้คณะค้นหาได้ทราบว่ามีรอยพระพุทธบาทที่พระองค์ประทับไว้ พระครูพินิจสมณวัตร จึงบอกญาติโยมว่าอาจจะเป็นแนวทาง

บอกให้ค้นพบรอยพระพุทธบาทเป็นแน่นอน ครั้นรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 4 คณะหุงหาอาหารเช้ากินเสร็จแล้ว ก็รีบเดินทางมุ่งหน้าไปค้นหาตามที่เห็นแสงขึ้นทางทิศอาคเนย์ ก็จึงพบและได้พากันพิจารณาดูตามคำบอกเล่าว่าข้างบ่อนั้นมีรอยคนใหญ่ และมีต้นหญ้าปกคลุมต้นสลักใดขึ้นอยู่ ราวปาฏิหาริย์เมื่อคณะค้นหาเหลือบไปพบต้นสลักใด และดอกไม้นานาชนิดวางเรียงรายอยู่ ซึ่งมีอยู่แห่งเดียวใกล้กับบ่อตาทอง จึงได้ลงมือช่วยกันขุดคุ้ยดินหินทรายขึ้นอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย เสร็จแล้วก็จัดหาน้ำมาล้างให้สะอาดจึงปรากฏเห็นเป็นรูปรอยเท้าคนจริง ๆ แต่มีขนาดใหญ่โตกว่าบุคคลธรรมดาหลายเท่า มีรอยนิ้วเท้ายาวเสมอกัน มีเส้นวงก้นหอยเห็นชัดเจนปรากฏว่าเป็นรอยเท้าข้างซ้าย หันรอยเท้าไปทางทิศอาคเนย์ จึงวัดตรวจสอบมีความยาว 185 เซนติเมตร กลางพระบาทกว้าง 63 เซนติเมตร ลึกจากลานหินเดิมลงไป 32 เซนติเมตร ปลายพระบาทกว้าง 72 เซนติเมตร ส้นพระบาทกว้าง 48 เซนติเมตร ลักษณะของหินมีสีแดงเพราะถูกไฟเผา ฝั่งด้านซ้ายและปลายเท้ามีรอยแตก เพราะถูกไฟเผาและทุบเป็นแน่ ตรงกับคำบอกเล่าของยายนายหมี พระครูพินิจสมณวัตรและพระครูมนูญชัยกิจ พร้อมด้วยญาติโยมได้พิจารณาเป็นอย่างดี เห็นว่ารูปร่างลักษณะรอยสวยงามมาก มีรอยหินหลินตามง่ามนิ้วเท้าเห็นได้ชัดเจน และมีรูปวงกลมคล้ายกรงจักรนูนอยู่กลางเท้าเป็นรูปเงาราง ๆ ทั้งนี้เพราะมีร่องรอยถูกไฟเผา

ดังนั้นเมื่อข่าวการค้นพบรอยพระพุทธบาท ทราบไปถึงพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน ประชาชนชาวอำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอจัตุรัสและต่างจังหวัดโดยทั่วไป ต่างก็จัดหาเสบียงอาหารพากันหลั่งไหลเดินทางเท้ารอนแรมกันเป็นหมู่คณะเป็นจำนวนมากเขาไปยังลานเขายายเหม็น ถึงแม้ว่าจะเป็นถิ่นธุระกันดารอย่างยิ่งก็ตาม ทั้งนี้ด้วยแรงศรัทธาเพื่อจะได้ชมและนมัสการปิดทองรอยพระพุทธบาท เป็นความจริงตามคำเล่าลือ ประชาชนที่มีความเชื่อความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงเคารพนับถือว่าพระพุทธบาทเป็นปูชนียวัตถุสำคัญทางพระพุทธศาสนา จึงได้ทำการเคารพสักการบูชาตลอดมา

สถานที่รอยพระพุทธบาทประทับอยู่เป็นลานหินอยู่บนยอดเขายายเหม็น มีบริเวณกว้างขวาง เมื่อมองไปโดยรอยลานหินแห่งนี้ จะมองเห็นทิวเขาล้อมรอบเป็นวง เปรียบเสมือนเขาวงกต เป็นภาพและทิวทัศน์ที่สวยงามมากหาดูได้ยาก และยังมีสิ่งแปลกประหลาดมหัศจรรย์ เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ คือ อ่างน้ำหินทั้งใหญ่และเล็ก อยู่บนลานพระพุทธบาท เรียงรายรอบรอยพระพุทธบาท มีจำนวนหลายสิบอ่าง แต่ละอ่างมีน้ำขังเต็มใสสะอาดมาก บางอ่างก็มีสีแดง บางอ่างก็มีสีเขียว ซึ่งใช้ดื่มได้เป็นอย่างดี ในอ่างน้ำจะมีสาหร่ายบัวและปลาแหวกว่ายน่าดูมาก พูดถึงเรื่องน้ำแล้วถึงแม้จะอยู่บนภูเขาแต่ก็มีอ่างน้ำหินดังกล่าวแล้วอยู่มากมาย มีน้ำดื่มและน้ำใช้สอยจนพอเพียงตลอดทุกฤดูกาล ถึงแม้ว่าจะมีประชาชนขึ้นไปใช้เป็นหมื่นเป็นแสนก็ตามจะไม่มีแห้งเลย นอกจากนี้แล้วยังมีพันธุ์ไม้นานาชนิด เช่นไม้ดอก และไม้ยืนต้นทั้งเล็กใหญ่ เครือเถาวัลย์ และพืชที่ใช้เป็นยาสมุนไพรด้วย มีภูเขาสูงชัน เป็นหน้าผาสลับซับซ้อน มีก้อนหินงอกขึ้นตามธรรมชาติมากมาย ดูไปก็คล้ายกับกองพระทรายแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ มีร่องน้ำไหลผ่านลานพระพุทธบาท ลงไปตามซอกเขาไปรวมกับห้วยลำกระจวน มีก้อนหินใหญ่ ๆ ยื่นชะเง้อออกมาเป็นบริเวณกว้างเรียกว่าถ้ำเพิงอยู่หลายแห่ง ถ้ำเพิงนี้ประชาชนจะเข้าไปพักอาศัยอยู่หลายแห่งได้เป็นจำนวนร้อย ๆ คนอย่างสบาย มีก้อนหินสลับซับซ้อนกันเป็นชั้น ๆ สูงขึ้นไปมองดูคล้าย ๆ ธรรมมาส มีแท่นหินดูเหมือนคล้ายกับแท่นบรรทม มีหินแยกออกเป็นร่องราง กว้างยาวมากดูเหมือนคล้ายเรือสำเภา มีถ้ำเป็นรูและโพรงลึกบ้าง ตื้นบ้างอยู่หลายแห่ง แต่ก่อนมามีสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้าง เสือ กวาง เก้ง หมี กระต่าง นก และไก่ป่าทั้งนี้เพราะบริเวณเขายายเหม็นนี้เป็นดงดิบป่าทึบ เมื่อคณะไปค้นพบรอยพระพุทธบาทยังเห็นกระดูกช้างตายกองอยู่บนลาน ใกล้ ๆ พระพุทธบาทด้วย หลังจากนั้นก็มีลูกช้างมากินน้ำตกลงไปในบ่อหินทิศเหนือของรอยพระพุทธบาท จึงใช้ชื่อว่าอ่างลูกช้างมาจนปัจจุบันนี้ แต่เวลานี้สัตว์ต่าง ๆ เช่น เสือ ช้าง กวาง เก้ง หมี ไม่มีอาศัยอยู่แล้วเพราะว่าป่าได้ถูกตัดฟันจนโล่งเตียน และประชาชนก็เข้าไปตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยบริเวณไหล่เขาและถางป่าทำไร่ สัตว์ป่าต่าง ๆ ก็หนีไปอยู่ที่อื่นหมด แต่มีสิ่งที่ควรทราบและอัศจรรย์คือ บริเวณลานพระพุทธบาทเขายายหอมไม่มีสัตว์ร้าย เช่น งู ตะขาบ มด แมลงต่าง ๆ เลย อากาศเย็นสบายดีตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีสิ่งธรรมชาติต่าง ๆ ที่น่าดูอีกมากสุดที่จะบรรยายจึงนับว่าเป็นโชคดีสำหรับผู้ที่จะขึ้นไปแสวงบุญ และยังได้มีโอกาสท่องเที่ยวพบเห็นสิ่งธรรมชาติอีกมากมาย

ครั้นเมื่อได้ค้นพบรอยพระพุทธบาทแล้ว พระครูพินิจสมณวัตร เจ้าคณะกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ ท่านก็ได้พาคณะสงฆ์และญาติโยมได้ไปอยู่ประจำ ณ ที่พระพุทธบาทเขายายหอม ซึ่งขณะนั้นถนนหนทางที่จะขึ้นไปยังเขายายเหม็น แสนธุระกันดารที่สุด ต้องบุกป่าดงขึ้นเขาลงห้วย ทางจะไปเป็นทางเท้า การเดินไปลำบากมากเพราะบางตอนเป็นทราย บางตอนเป็นเนินสูง มีหินและต้นไม้ขึ้นหนาแน่น ทางบางตอนก็คดโค้งเลี้ยวไปตามไหล่เขา มีลำน้ำกระจวนขวางอยู่ เป็นลำห้วยลึกฝั่งสูงชันมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี สำหรับลำห้วยกระจวนนี้อยู่ห่างจากลานพระพุทธบาท ประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ ทางตอนนี้จะลำบากมากเพราะจะต้องขึ้นเขาและเดินลัดเลาะเรียบไปตามช่องเขาและซอกหิน ต้องปีนป่ายขึ้นไปประมาณ 7 พัก จึงจะถึงเส้นทางแสนลำบากที่สุด

พ.ศ. 2493 พระครูพินิจสมณวัตร จึงได้ปรึกษาญาติโยมได้ช่วยกันสร้างทาง ก็ได้รับความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ จากญาติโยมประชาชนช่วยสละกำลังกาย กำลังทรัพย์ สร้างทางขึ้นไปยังลานพระพุทธบาท ขึ้นต้นโดยการถางป่าขุดตอ ยกคันดินบางตอน จนสามารถนำรถยนต์ขึ้นไปได้ ในงานเทศกาลครั้นฤดูฝนถนนก็ชำรุด เมื่อถึงกำหนดจะจัดงานเทศกาล (ภายในขึ้น 11 – 15 ค่ำเดือน 3 ของทุกปี) พระครูพินิจสมณวัตรก็นำญาติโยมประชาชนช่วยกันซ่อมอยู่อย่างนี้ทุกปี

ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2494 ในสมัยที่พระครูพินิจสมณวัตร เจ้าคณะกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์เป็นผู้นำพัฒนาพระพุทธบาทเขายายหอมอยู่นั้น ประชาชนได้ถวายที่ดินในบริเวณพระพุทธบาท ให้เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์และวัดต่อไป

ครั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2495 ท่านพระครูพินิจสมณวัตร ท่านก็ได้มรณภาพ ณ ที่สำนักสงฆ์พระพุทธบาทเขายายหอม ท่านพระครูมนูญชัยกิจ จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์แทนต่อไป พระครูมนูญชัยกิจ เป็นผู้นำพัฒนาสำนักสงฆ์พระพุทธบาทสืบต่อไป

ครั้นในปี พ.ศ. 2498 ทางราชการกรมที่ดินได้ประกาศให้ผู้ที่มีที่ดินอยู่ ได้แจ้งการครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พระครูมนูญชัยกิจ อดีตเจ้าคณะกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ จึงได้มอบหมายให้นายสหัส แสนสูงเนิน อดีตศึกษาธิการอำเภอบำเหน็จณรงค์ แทนกรมการศาสนา ได้ทำหน้าที่แจ้งการครอบครองที่ดินแทนสำนักสงฆ์พระพุทธบาทไว้ แต่วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ได้ออก ส.ค. 1 เล่มที่ 20 ได้ยึดถือไว้จำนวนเนื้อที่ 625 ไร่ ทิศติดต่อข้างเคียง ทิศเหนือจดห้วยหัน สันเขายายเหม็น ทิศใต้จดลำกระจวน ทิศตะวันออกจดห้วยหัน-ลำกระจวน ทิศตะวันตกจดห้วยน้อย ตีนเขายายเหม็น รูปที่ดินโดยประมาณ กว้าง 25 เส้น ยาว 25 เส้น มณฑณ

พ.ศ. 2501 – 2512 พระอาจารย์นเรนทร์ ผู้ซึ่งได้มอบหมายจากเจ้าคณะอำเภอบำเหน็จณรงค์ ให้มาอยู่ประจำสำนักสงฆ์พระพุทธบาทเขายายหอม และปรับปรุงพระพุทธบาท ท่านอาจารย์นเรนทร์ มีความรู้ความสามารถและความชำนาญในการปั้นพระต่าง ๆ ท่านก็มาปรึกษาเจ้าคณะอำเภอว่าจะปั้นพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนา และประดับบุญญาบารมีของพระพุทธเจ้า เจ้าคณะอำเภอเห็นชอบอาจารย์นเรนทร์ จึงได้ชักชวนบอกบุญญาติโยม บริจาควัสดุ เช่น เหล็ก ปูน ทราย หิน ประกอบในการปั้นพระพุทธรูปเมื่อได้วัสดุแล้ว อาจารย์นเรนทร์ก็เป็นช่างปั้น โดยมีสามเณรเป็นผู้ช่วยปั้นพระพุทธรูปใหญ่ปางต่าง ๆ ไว้ดังนี้ พระพุทธไสยาส พระนาคปรก พระปางปาลิไลย์ พระปางมารวิชัย พระอุ้มบาตร พระสังกัจจาย ฯลฯ

พ.ศ. 2517 พระครูอเนกธรรมประสาธน์ อดีตเจ้าคณะอำเภอบำเหน็จณรงค์ ได้ประชุมคณะสงฆ์และประชาชน ปรึกษาหารือเรื่องการสร้างทางถาวร ขึ้นสู่สำนักสงฆ์พระพุทธบาทเขายายหอม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเส้นทางชั่วคราว แต่ละปีก็ย้ายเส้นทางใหม่ ที่ประชุมลงมติเห็นชอบที่จะให้มีเส้นทางถาวร โดยขอให้ทางราชการช่วยสำรวจ และดำเนินการสร้างในโอกาสต่อไป ดังนั้นเรื่องนี้พระครูอเนกธรรมประสาธน์จึงได้มอบหมายให้พระครูปราโมทย์สีลคุณ อดีตเจ้าคณะตำบลบ้านชวนเจ้าอาวาสวัดบึงชวน ได้เป็นผู้ดำเนินการเรื่องนี้ ร่วมกับญาติโยมส่วนหนึ่ง และข้าพเจ้านายวิทยา สกุลอนันท์ ผู้รวบรวมประวัติก็มีส่วนร่วมในการนี้ด้วย จากนั้นพระครูปราโมทย์สีลคุณ พร้อมด้วยญาติโยมได้ทำเรื่องราวเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ขอความอุปถัมภ์จัดช่างออกไปสำรวจเส้นทาง ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ได้สั่งให้หน่วย ร.พ.ช.ชัยภูมิไปสำรวจเส้นทางขึ้นพระพุทธบาทถาวร จากทางแยกบ้านซับใหญ่ 6 กิโลเมตรเศษ แล้วหน่วย ร.พ.ช. ยังได้นำเครื่องจักรกลมาดำเนินการบุกเบิกป่า ขุดตอ ยกคันดินเป็นถนน และจัดหาลูกรังมาลงถนนเป็นบางตอน ค่าใช้จ่ายทางคณะกรรมการวัดพระพุทธบาท ได้จัดหาเงินมาให้เป็นค่าน้ำมัน เพราะงบของทางราชการไม่มี ในการดำเนินการสร้างทางครั้งนี้ ก็นับว่าเป็นการวางรากฐานได้เท่านั้นเพราะงบของทางราชการไม่มี แต่ในปีแรก ๆ นี้ประชาชนที่ขึ้นไปบำเพ็ญกุศลในเทศกาลก็มีรถโดยสารขึ้นลงได้ นับว่าได้รับความสะดวกสบายกว่าแต่ก่อนมาก ครั้นปีต่อ ๆ มาถนนดังกล่าวก็ชำรุดสะพานไม้ข้ามลำกระจวนซึ่งสร้างมานานนับสิบ ๆ ปีแล้ว ก็ชำรุดหักพังไปตามกาลเวลา เมื่อถึงฤดูเทศกาลจัดงานประจำปีก็ต้องซ่อมแซมพอข้ามไปได้ ส่วนเส้นทางก็ขอความกรุณาจากผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ นำเครื่องจักรกลมาช่วยซ่อมพอใช้ได้ในเทศกาลเท่านั้น ทางคณะกรรมการก็ได้จัดหาเงินให้เป็นค่าน้ำมันเช่นเคยเพราะงบประมาณทางราชการไม่มีในการซ่อมเส้นทางและสะพาน ก็จะต้องกระทำอยู่อย่างนี้เป็นประจำทุกปี ดังนั้นรายได้จากการจัดงานประจำปีส่วนหนึ่งก็ต้องเจียดจ่ายมาไว้เป็นค่าน้ำมันรถที่จะมาซ่อมทางและค่าซ่อมสะพาน แต่อย่างไรก็ตามคณะกรรมการก็ยังได้นำรายได้จากการจัดงานประจำปี มาพัฒนาพระพุทธบาทแห่งนี้คือ ได้วางรากฐานโครงร่างสร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาท เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กถาวร สิ้นเงินไปแล้ว 114,826 บาท 25 สตางค์ จัดสร้างกุฎี จัดสร้างศาลา ถังน้ำ ค.ส.ล. ศาลาพัก โรงครัวถาวร ซ่อมแซมขอบบ่อน้ำหินและอย่างอื่นอีก

สำหรับเส้นทางจากทางแยกถนนซับใหญ่ ขึ้นไปยังพระพุทธบาทนี้ คณะกรรมการทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสหลายฝ่าย ได้จัดทำโครงการสร้างถนนและสะพานถาวรขึ้นไปยังพระพุทธบาท มีความยาว 6 ก.ม. 325 ม. ส่งเสนอจังหวัดชัยภูมิเพื่อของบประมาณจัดสร้างต่อไป และยังได้รับความอุปถัมภ์จากคณะพลังธรรมกรุงเทพฯ ได้ช่วยติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ในการจัดหางบประมาณสร้างทางและสะพานถาวรอีกส่วนหนึ่งด้วย พ.ศ. 2529 ทางราชการได้อนุมัติเงินงบประมาณ 3,869,100 บาท ตามโครงการแผนพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ ให้ก่อสร้างที่ ชย. 12090 จากบ้านซับใหญ่ถึงพระพุทธบาทเขายายหอม และสร้างสะพาน ค.ส.ล. ข้ามลำกระจวนอยู่ในระหว่างเส้นทางนี้อีก 1 แห่งด้วย ซึ่งทางจังหวัดชัยภูมิได้มอบหมายให้หน่วยงานราชการเร่งรัดพัฒนาชนบท จังหวัดชัยภูมิ (ร.พ.ช.) รับไปดำเนินการต่อไป ทางหน่วย ร.พ.ช. จังหวัดชัยภูมิก็ได้ลงมือดำเนินการสร้างทางตามโครงการนี้ โดย ร.พ.ช. จังหวัดชัยภูมิเป็นผู้ควบคุมดูแล การก่อสร้างได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วในปี 2529 พระภิกษุสามเณร ชีพราหมณ์ อุบาสก อุบาสิกา และพุทธศาสนิกชนผู้ไปแสวงบุญ ก็ได้ใช้ยวดยานพาหนะขึ้นลงได้สะดวกสบายมาก นอกจากนี้ประชาชนตามหมู่บ้านต่าง ๆ ก็ยังได้ใช้ประโยชน์ของเส้นทางนี้ไปประกอบอาชีพ และใช้พาหนะขน

ผลิตผลออกสู่ตลาดเพื่อจำหน่ายขายได้ราคาดีตลอดปี

พ.ศ. 2529 พระราชมงคลมุนี เจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิผู้อุปถัมภ์พระพุทธบาทเขายายหอมได้มีหนังสือแจ้งไปยังกรมศิลปากร ขอให้สำรวจตรวจสอบพระพุทธบาทเขายายหอม เพื่อรับขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ ทางราชการกรมศิลปากรได้สั่งให้

ศิลปากรหน่วยที่ 6 พิมาย ซึ่งอยู่ที่อำเภอพิมายจังหวัดนครราชสีมา และเจ้าหน้าที่ได้มาสำรวจตรวจสอบรอยพระพุทธบาทเขายายหอมครั้งที่หนึ่งเมื่อเดือน มกราคม 2530

ครั้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2530 เจ้าหน้าที่ศิลปากร หน่วยที่ 6 พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้มาสำรวจตรวจสอบรอยพระพุทธบาทเขายายหอมเป็นครั้งที่สอง โดยการนำสำรวจของพระราชมงคลมุนี เจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ พระครูปราโมทย์สีลคุณ รองเจ้าคณะอำเภอบำเหน็จณรงค์ พระครูพินิจสมณวัตร เจ้าคณะตำบลบ้านชวน ร่วมด้วยนายวิรุฬ กากแก้ว ศึกษาธิการจังหวัดชัยภูมิ นายวิทยา สกุลอนันท์ นายสูตร ซีกพุดซา นายประสิทธิ์ พันชนะ คุณลั่นทม คูณขุนทด และผู้อาวุโสอีกหลายท่าน ที่ให้ข้อมูลในการสำรวจตรวจสอบพระพุทธบาทเขายายหอม เพื่อประกอบการพิจารณาขอขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุต่อไป

คณะกรรมการพระพุทธบาทเขายายหอม ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส ได้ประชุมลงมติเป็นเอกฉันท์ให้จัดมีงานมนัสการพระพุทธบาทเป็นประจำปีโดยกำหนดในวันขึ้น 11 ค่ำถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 รวม 5 วัน 5 คืน ของทุกปี

อนึ่งการเปิดบำเพ็ญกุศลนมัสการปิดทองพระพุทธบาทนั้น เปิดตลอดปีทุกวัน ทั้งนี้เพราะเส้นทางขึ้นลงวัดพระพุทธบาทเขายายหอม สะดวกสบายตลอดทุกฤดูกาล

คณะกรรมการพระพุทธบาทเขายายหอม ใคร่ขอกราบเรียนให้ทุกท่านทราบว่า รอยพระพุทธบาทเขายายหอมแห่งนี้ ตามที่คณะได้ค้นพบเห็นเป็นครั้งแรก หินริมฝั่งของฝ่าพระบาทจะมีการแตกหักบ้าง และในรอยจะมีร้าวบางแห่งเพราะสันนิษฐานว่าถูกไฟเผาและทุบตี เพราะหินสีแดงเหมือนถูกไฟเผา ครั้นต่อมากรรมการชุดแรก จึงได้ทำการบูรณะโดยใช้ปูนซีเมนต์ไปต่อเติมเสริมตรงที่แตกหักและอุดรูรอยร้าวต่าง ๆ แต่ยังคงรูปเดิมทุกประการ ในการบูรณะครั้งนี้กรรมการก็มีเจตนาดี เพื่อจะบูรณะให้รอยพระพุทธบาทอยู่ในสภาพครบบริบูรณ์ไม่แตกร้าว แต่ยังคงรูปเดิมอยู่ทุกประการ ตามที่ได้พบเห็นได้กล่าวมาแล้วตอนต้นจึงเรียนมายังพุทธศาสนิกชนได้โปรดทราบ และเข้าใจตามที่เรียนชี้แจงนี้ด้วย

หมายเหตุ ในการรวบรวมประวัติและลำดับเรื่องราวพระพุทธบาทเขายายหอมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พุทธศาสนิกชนและอนุชนรุ่นหลังได้ทราบประวัติความเป็นมาไว้บ้าง ในการรวบรวมประวัติและความเป็นมา หากขาดตกบกพร่องผู้รวบรวมขออภัยด้วย และได้โปรดกรุณาบอกเล่ากระผมผู้รวบรวมและคณะกรรมการได้ทราบก็จะเป็นมหากุศลอย่างยิ่ง เพื่อจะได้นำมาเรียบเรียงเป็นประวัติเพิ่มเติมต่อไป อนึ่งในการรวบรวมประวัติและความเป็นมาของพระพุทธบาทเขายายหอมจะสำเร็จได้ ก็เพราะได้รับความกรุณาจากผู้ค้นพบพระพุทธบาททั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาสและผู้สูงอายุบอกเล่า นอกจากนี้ยังได้หลักฐานจากสมุดบันทึกเรื่องราวพระพุทธบาทเขายายหอม ของนายชม ประภาสโนบล อดีตกำนันตำบลบ้านชวนอีกด้วย กระผมนายวิทยา สกุลอนันท์ ผู้รวบรวมขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ให้ความร่วมมือ ในการรวบรวมประวัติและเรื่องราว

ของพระพุทธบาทเขายายหอมเป็นอย่างดี

……………………………………………………….

บนลานพระพุทธบาทเขายายหอม

ซึ่งมีบริเวณประมาณ 1000 ไร่ มีวัตถุโบราณตามธรรมชาติดังนี้

1. รอยพระพุทธบาท 2. ธรรมาสน์ 3. แท่นบรรทม

4. แท่นฉันท์ภัตตาหาร 5. แท่นพับสังฆาฏิ 6. เว็จกุฎี

7. เครื่องตั้ง 8. เรือสำเภา 2 ลำ 9. เจดีย์หินแปดหมื่นสี่พัน

10. รอยพรานบุญ 11. บ่อพรานล้างเนื้อ 12. บ่อล้างมือ

13. บ่อน้ำดอกเห็ด 14. เต่าหิน 15. รอยราชสีห์

16. บ่อน้ำหิน 17. บ่อน้ำพุทธมนต์ 18. สิงโต

19. แท่นพระ 20. บ่อน้ำทิพย์ 21. รอยช้างเล่น

22. เสื่อเงินเสื่อทอง 23. สุสานยายเหม็น 24. ปล่องพญานาค

25. น้ำตก 26. กรดพระศาสดา 27. ถ้ำหินรู

28. ถ้ำพระ 29. ถ้ำเพิง 30. ถ้ำเทวดา

31. ถ้ำสามพี่น้อง 32. ถ้ำเศรษฐี 33. ถ้ำกบ

34. ถ้ำฤษี 35. ถ้ำกระบอก 36. ถ้ำพญานาค

37. ถ้ำคชสาร 38. ถ้ำอาริยะ 39. ถ้ำมหาสนุก

40. ไทรงาม 41. ปราสาทสามพี่น้อง 42. พระสถูปเจดีย์

รักแม่มากนะค่ะ

ถึงจะเงียบหายไปนาน ไม่ติดต่อพี่สาว แต่พี่และครอบครัวก็ยังอยู่ในความทรงจำของน้องสาวคนนี้เสมอ

ได้รู้จักกับพี่ทำให้เกิดสิ่งที่ดีๆในอีกมุมมองหนึ่งที่หลายคนยังอาจค้นหาอยู่ และอยากจะขอโทษจากใจจริง

และเสียใจอย่า่งสุดซึ้งกับการสูญเสียของพี่ แต่น้องสาวคนนี้จะยังคอยเป็นกำลังใจให้พี่และครอบครัวก้าวเดินต่อไป

อย่างแข็งแกร่งส่วนน้องสาวก็ยังจะต้องต่อสู้ชะตาชีวิตที่เราเป็นคนกำหนดเองสุดท้ายมันจะจบลงแบบไหนน้องสาวคนนี้

ก็ต้องยอมรับในโชคชะตาที่เราบางครั้งอาจจะกำหนดเองไม่ได้เลย..........

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท