การวัดสถานะภาพทางสุขภาพ(General Health Measurement)


              บันทึกนี้   เป็นบทสรุปที่เก็บไว้สมัยเรียน ระดับบัณฑิตศึกษา ที่ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับอาจารย์  รำไพ สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา (ปัจจุบัน อาจารย์ เกษียณอายุราชการไปหลายปีแล้ว) ได้สรุปประเด็นจากการอ่านหนังสือ “Measuring Health A Guide to Rating Scales and Questionaires” ซึ่งเห็นว่าบทสรุปนี้น่าจะมีประโยชน์แก่ผู้สนใจ และหากเห็นว่ามีประโยชน์ สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวนี้ไปประยุกต์ใช้กับงานทางด้านสาธารณสุขได้   ผู้เขียนมีความรู้สึกยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง

               คำว่า “สุขภาพ” เมื่อมองโดยรวมแล้ว มีความหมายที่ค่อนข้างกว้างมาก  กล่าวคือ ถ้าจะให้คำจำกัดความของ สุขภาพ(Health) ก็คือ สภาวะของบุคคลหรือชุมชน ทางด้านร่างกาย  จิตใจ สังคมรวมถึง การกินดีอยู่ดี  โดยไม่คิดเฉพาะ การปลอดจากโรค เท่านั้น

               ซึ่งจะเห็นได้ว่า การที่จะวัดสถานะภาพทางสุขภาพนั้น จะต้องรวมทั้งตัวบุคคลและชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่ด้วย  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

 1. กำหนดขอบเขตประชากร

                ขึ้นอยู่กับตัวผู้ศึกษาเองว่า  ต้องการที่จะวัดสถานะภาพทางสุขภาพของบุคคล ซึ่งรวมไปถึงชุมชนนั้น มีขอบเขตกว้างแค่ไหน  ซึ่งอาจจะมีขอบเขตแค่หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด หรือระดับประเทศก็ได้

 2.กำหนดตัวแปร

                 เมื่อได้ขอบเขตของประชากรที่จะดำเนินการวัดสถานะภาพทางสุขภาพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ขั้นตอนต่อไปคือการกำหนดตัวแปร  ซึ่งตัวแปรที่ต้องการศึกษาเพื่อวัดสถานะทางสุขภาพนั้น เป็นเรื่องสำคัญ  ตัวแปรเหล่านี้ทำให้ทราบถึงสภาวะสุขภาพได้เป็นอย่างดี  ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วย  การหย่อนสมรรถภาพ  การตาย  ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ  ภาวะโภชนาการ สิ่งแวดล้อม  สุขาภิบาล  เศรษฐกิจ ฯลฯ ซึ่งผู้ศึกษาจะต้องกำหนดตัวแปรเหล่านี้ขึ้นมา  เพื่อเชื่อมโยง ตัวแปรนี้ไปสู่ภาวะสุขภาพของบุคคลหรือชุมชน ที่ผู้ศึกษาต้องการ

 3. ดำเนินการทำแบบสอบถาม

               แบบสอบถามนี้เป็นหนึ่งในหลาย ๆ เครื่องมือวัดสถานะทางสุขภาพ  ซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการวัดและประเมินผล  การที่จะวัดและประเมินผลสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นจำเป็นต้องหาข้อมูลเหล่านั้นมาวัด(Measurement)  จากข้อมูลที่ได้ นำมาวิเคราะห์ พิจารณา และประเมินผลออกมา ตามวัตถุประสงค์(Objective)ที่ได้ตั้งเอาไว้  เพราะฉะนั้นถือได้ว่าการวัดเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเพื่อทำให้สามารถทราบได้ว่า  การประเมินผลเป็นไปอย่างถูกต้อง มิได้ปรุงแต่งหรือสมมุติขึ้นมา  แบบสอบถามนี้ เป็นหนึ่งในหลาย ๆ เครื่องมือวัดสถานะทางสุขภาพ  ดังตัวอย่าง ดังนี้

                - การทดสอบ(Tests)    -    การตรวจสอบ(Check List) -   การสัมภาษณ์(Interview)             

การสังเกต(Observation)  -    การศึกษารายบุคคล (Case Study)   -    มาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale)

                แบบสอบถามนี้จะเป็นเครื่องมือที่สร้างขึ้น เพื่อวัดความจริงหรือความคิดเห็นที่ต้องการ    การสร้างแบบสอบถามนั้น ผู้ทำการศึกษาจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน คือ

        -   what จะวัดอะไร -  who จะวัดจากใคร where สิ่งที่จะวัดอยู่ไหน     when  สิ่งที่จะวัดนั้นเกิดขึ้นเมื่อไร why ทำไมต้องวัดสิ่งนั้น  -  how วัดอย่างไร

               ผู้สร้างแบบสอบถามจะต้องมีความรู้ในเนื้อหาสาระที่จะถาม  ซึ่งจะต้อง ทบทวนวรรณกรรม(Review Literature)และข้อคำถามของแบบสอบถาม สามารถตอบคำถามได้ว่า “จะวัดอะไร” ได้อย่างชัดเจน

 ขั้นตอนในการสร้างแบบสอบถาม  มีดังนี้

              1.กำหนดวัตถุประสงค์ของแบบสอบถาม    2.กำหนดหมวดหรือประเด็นหลักของแบบสอบถาม

              3.แจกแจงประเด็นหลักเป็นประเด็นย่อย    4.กำหนดจำนวนข้อคำถาม

              5.กำหนดประเภทของคำถาม( เช่น ความรู้ ทัศนคติ หรือการปฏิบัติต่าง ๆ)

              6.กำหนดรูปแบบของคำถาม (แบบเลือกตอบ ,คำถามเติมคำ ,ถูก-ผิด ,ประมาณค่า ,จัดอันดับ หรืออื่น ๆ)

              7. ตรวจสอบความสอดคล้อง        8.จัดทำแบบสอบถามฉบับร่าง  9.ทดลองใช้ แก้ไข และจัดพิมพ์

               จากแบบสอบถามนี้เอง  สามารถคาดคะเน  สถานภาพทางสุขภาพของบุคคล ชุมชน ที่พวกเขาเหล่านั้นอาศัยอยู่ โดยวิธีการคาดคะเนสุขภาพ วัดสุขภาพออกมาเป็นค่าตัวเลข  และรวมค่าตัวเลขที่ได้เป็นคะแนนทั้งหมดออกมา  คะแนนรวมนี้เอง ที่จะจัดทำเป็น ดัชนีสุขภาพ

 

4. ดัชนีสุขภาพ(Health Index)

             ดัชนีสุขภาพนี้ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยประเมินผลว่า สภาวะสุขภาพของประชาชน ชุมชน ฯลฯ นั้นเป็นอย่างไร  จากผลการทำดัชนีสุขภาพ สามารถทำให้ทราบถึง แนวโน้มสุขภาพโดยทั่วไปของกลุ่มคน, ชุมชน, ตัวบุคคลที่ศึกษานั้นว่ามีภาวะสุขภาพไปทางใด บวกหรือลบ(positive health or negative health) และทำให้ทราบได้ว่าปัญหานั้นได้รับการแก้ไขไปแล้วมากน้อยเพียงใด

คุณสมบัติของดัชนีสุขภาพที่ดี จะต้องมี

             1.Validity(ความตรง) ตรงกับสิ่งที่ต้องการวัด  ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการ และ ข้อมูลที่นำมาวัดต้องตรงตามวัตถุประสงค์ ครอบคลุมเนื้อหา

             2.Reliability(ความเที่ยง) มาตราวัดหรือแบบสอบถามจะมีความเที่ยงสูง ถ้าใช้วัดสิ่งเดียวกันกี่ครั้งก็ตาม ได้ผลการวัดเท่ากัน

             3.Sensitivity(ความไว)ซึ่งในทางสุขภาพแล้ว  การที่คนป่วยแล้วพบว่าป่วยจริงนั้น  ถือได้ว่าดัชนีสุขภาพนี้เป็นความไวของเครื่องมือที่พบว่า  คนป่วยนั้นป่วยจริง

             4.Specificity(ความชี้เฉพาะเจาะจง) จะต้องชัดเจนว่า หากไม่ป่วยต้องพบว่าไม่ป่วยจริง

             จากบทสรุปของการอ่านพบว่า  เครื่องมือที่จะนำมาวัดสถานะภาพทางสุขภาพ(General Health Measurement) มีอยู่ 4 ตัว ประกอบไปด้วย

              1. The general well-being Schedule (GWB)       เป็นเครื่องมือวัดภาวะความสมบูรณ์ทางด้านจิตใจ ประกอบไปด้วย 6 หมวด  ได้แก่  ความวิตกกังวล(anxiety) ความซึมเศร้า(depression) สุขภาพทั่วไป(general health) สุขภาพจิตทาด้านบวก(positive well-being) การควบคุมตนเอง(self-control) และความรู้สึกที่มีชีวิตชีวา(vitility) สร้างโดย Harold J Dupuy ปี 1977

               2. The Quality of life Index เป็นเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิต  โดยวัดความสมบูรณ์ของสภาพโดยทั่วไปของคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง และโรคเรื้อรังอื่น ๆ  เพื่อประเมินผลการรักษาว่าเป็นอย่างไร  ประกอบไปด้วย หมวดต่าง ๆ 5 หมวด ได้แก่ กิจกรรมในด้านการประกอบอาชีพ(activity level) ภารกิจในชีวิตประจำวัน(activity of daily living) ความรู้สึกเกี่ยวกับการมีสุขภาพที่ดี(feeling of healthiness) การสนับสนุนทางด้านสังคม(quality of social support)และสภาพจิตใจ(psychological  outlook) สร้างโดย W.O. spitze ปี 1980

             3. The Multilevel Assessment Instrument เป็นเครื่องมือวัดสุขภาพโดยทั่วไป ของกลุ่มคนสูงอายุในชุมชน  ประกอบไปด้วยหมวดต่าง ๆ 7 หมวด  ได้แก่  หมวดสุขภาพร่างกาย(Physical health) หมวดความรู้สติปัญญา (Cognition) หมวดกิจวัตรประจำวัน (Activities of daily living) หมวดการใช้เวลา(Time use) หมวดความสัมพันธ์กับสังคมและการมีส่วนร่วม(Social relations and interactions) หมวดการปรับตัว(Personal) สร้างโดย M. Powell Lawton ปี 1982

             4.The Comprehensive Assessment and Referral Evaluation เป็นเครื่องมือที่ใช้ศึกษาปัญหาสุขภาพและปัญหาทางด้านสังคม โดยเครื่องมือนี้มี 2 ส่วน คือ CORE-CARE และ SHORT-CARE  ในที่นี้กล่าวเฉพาะส่วนของ CORE-CARE มีอยู่ 4 หมวดด้วยกันคือ ปัญหาทางด้านจิตใจ(Psychiatric problem) ปัญหาทางด้านร่างกาย(Physical problem) ความต้องการทางด้านบริการ(Service needs) และปัญหาทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม(Environment Social problem) สร้างโดย Burry Gurland ปี 1977

              จากการสรุปสาระสำคัญ  การวัดสถานะภาพทางสุขภาพ(General Health Measurement) นำสิ่งที่ได้จากการสรุป ประเด็นในครั้งนี้ มาจัดทำเป็นแบบสอบถามขึ้นมา  เพื่อวัดสถานะภาพทางสุขภาพในการของประชาชนโดยมีโครงสร้างของประชากรในกลุ่มอายุ 65ปีขึ้นไป(ผู้สูงอายุ) จากเครื่องมือวัดสุขภาพ “The Multilevel Assessment Instrument (MAI)” ประกอบไปด้วย ตัวแปร 7 ตัว ดังนี้

               1. สุขภาพร่างกาย ประกอบด้วย การประเมินสุขภาพด้วยตนเอง(Self –rated health)การใช้บริการทางด้านสาธารณสุข(Use of health service) สภาวะสุขภาพ(Health condition) การเคลื่อนไหวร่างกาย(Mobility) และการใช้เครื่องช่วยต่างๆ(Use of aids,prostheses  etc.)

               2. ความรู้/สติปัญญา  ประกอบด้วย สภาพจิตใจ(Mental status) และลักษณะที่แสดงถึงการมีความรู้/สติปัญญา(Cognitive symptoms)

               3. กิจกรรมในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย IADL scale(Instrumental Activities of Daily Living) และกิจกรรมส่วนตัว(Personal Self-Maintenance Activities)

               4. การใช้เวลา   ประกอบด้วย กิจกรรมทางสังคม กีฬา และงานอดิเรก(Social activities ,Sport and Hobbies)

                5. สัมพันธภาพและปฏิกิริยาสังคม  ประกอบด้วย ครอบครัว(Family)และเพื่อน(Friends)

                 6. การปรับตัว  ประกอบด้วย  ขวัญ(Morale) อาการทางจิต(Psychiatric symptoms)

                 7. การรับรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย  คุณภาพของบ้าน,ที่อยู่อาศัย(Housing quality) คุณภาพของเพื่อนบ้าน(Neighborhood quality) และความปลอดภัยส่วนตัว(Personal security)

                    

แบบสอบถาม

1. หมวดที่1-3 เป็นข้อมูลด้านประชากร ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ ให้ถามหัวหน้าครอบครัวหรือตัวแทน

2. หมวดที่4-10 เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานภาพทางสุขภาพของผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป ให้สัมภาษณ์ผู้สูงอายุในครอบครัวทุกคน(กรณีที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่สามารถตอบได้ให้ถามคู่สมรสหรือบุคคลในครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์)

ชื่อผู้เก็บข้อมูล................................วัน/เดือน/ปี ที่สำรวจ...........................

ผู้ให้ข้อมูลหมวดที่1-3……..................ผู้ให้ข้อมูลหมวดที่4-10…….......................

บ้านเลขที่......หมู่ที่........ตำบล..................อำเภอ...................จังหวัด.............

หมวดที่1 ข้อมูลด้านประชากร

ลำดับที่   ชื่อ-สกุล   เพศ   อายุ   เชื้อชาติ   ศาสนา   ความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ   การศึกษา   อาชีพ   รายได้

…….      ………...       ….      ….    …….    …….      ......……………………   ………   ……       …….

หมวดที่2 ข้อมูลด้านสังคม บันทึกข้อมูลของผู้ที่ อายุ 15 ปีขึ้นไป

1.อ่านเขียนภาษาไทยได้หรือไม่

           (1) ไม่ได้           (2) อ่านได้อย่างเดียว           (3) อ่านและเขียนได้

2. เป็นสมาชิกของกลุ่มต่าง ๆ หรือไม่

    สหกรณ์การเกษตร   (1) เป็น  (2) ไม่เป็น   ลูกเสือชาวบ้าน     (1) เป็น  (2) ไม่เป็น

    ไทยอาสาป้องกันชาติ   (1) เป็น   (2) ไม่เป็น    อื่น ๆ ระบุ …………………………

 หมวดที่ 3 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

         รายได้รวมของครอบครัว/ปี……....…บาททรัพย์สินที่ครอบครอง ที่ดิน(ขนาด)..................บ้าน(ขนาด).............

         เครื่องยนต์ต่าง ๆ (ระบุ)................เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ (ระบุ).............ยานพาหนะต่าง ๆ (ระบุ).............. อื่น ๆ (ระบุ).....................

         ครอบครัวมีรายจ่ายเฉลี่ยในปีที่ผ่านมาเท่าใด

               1.1 เพื่อประกอบอาชีพ ค่าเช่าที่ดิน.......................อุปกรณ์ ...............ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ....................อาหารสัตว์ ................................อื่น ๆ (ระบุ) ........................รวม.................................บาท

               1.2  เพื่อยังชีพ   อาหาร ..................ยารักษาโรค........................เครื่องใช้........................อื่น ๆ (ระบุ) ...................รวม.............................บาท

 หมวดที่ 4 หมวดสุขภาพร่างกาย

1.ท่านกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของท่านเพียงใด

                   ไม่กังวลเลย  1          2          3          4            5 กังวลมาก

2.ท่านได้ถูกรบกวนโดยการเจ็บป่วย ความผิดปกติของร่างกาย ความเจ็บปวด หรือความกลัว เกี่ยวกับสุขภาพของท่านหรือไม่

                    ตลอดเวลา  1          2          3          4            5 ไม่เคยเลย

3.ท่านใช้เครื่องช่วยต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือตัวเองมากน้อยเพียงใด

                    ตลอดเวลา  1          2          3          4            5 ไม่เคยเลย

4. การ

หมายเลขบันทึก: 319150เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2009 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2014 00:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

แปลกดี ทำไมบันทึกคุณหนุ่มเกาหลี มีตัวขีดๆ อยู่ตรงข้อความด้านล่างทั้งหมดเลยหนอ

ขอบคุณค่ะ...อ่านแล้วได้ประโยชน์ค่ะ..

สวัสดี ครับ คุณ poo

บันทึกฉบับนี้ เป็นบันทึกที่ยาวที่สุด ตั้งแต่เขียนบันทึก

คือ มีจำนวน 10 หน้า  สรุปเฉพาะสาระสำคัญ

แบบสอบถามที่สร้างขึ้นครั้งนี้

 

 

เมื่อพิจารณา ในหมวดที่วัดทัศนคติ พบว่ามีจำนวนข้อคำถามที่เป็น negative และ positive ใกล้เคียงกัน และลักษณะของข้อคำถามแบบนี้ มีการใช้มาตรวัดค่อนข้างสะดวก และความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม มีค่อนข้างสูง เนื่องจากได้สรุปรวบรวมมาจาก "Measuring Health A Guide to Rating Scales and Questionaires" ที่ผ่านการทดสอบค่า Realiability และ Validity มาแล้ว ....

หากเห็นว่า..มีประโยชน์ต่องานทางด้านสาธารณสุข ก็สามารถนำไปดัดแปลงและประยุกต์ใช้ได้ ครับ

ที่เห็นเป็นเส้น...ผมเดาว่า น่าจะเป็นเรื่องของ ปริมาณบรรทัดที่อยู่ในบันทึกนี้... มีมาก เกินไปก็ได้

แต่ก็สามารถสรุปลงให้อยู่ในบันทึกเดียวกันได้แล้ว ....ลองอ่านโดยรวมดูนะครับ

ขอบคุณ ครับ 

 

บันทึกได้สาระมากมาย

แต่ครู ป.1 ว่าไม่ต้องสอบถาม

ก็รู้ว่าทุกวันนี้ เรารู้สึกอย่างไรกับชีวิต

..แต่อนาคตคงไม่รู้..แบบไม่รู้ชะตา

สวัสดีค่ะคุณแสงแห่งความดี

แวะมาอ่านไปรอบหนึ่งแล้วค่ะ แต่ยังไม่มีประเด็นจะคอมเม้นท์...อ่านแล้วยิ้ม ๆ แล้วก็ไป.....

พอดีคนไม่มีรากทำดุษฏีนิพนธ์โดยใช้วิจัยเชิงคุณภาพ ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องที่คุณแสงแห่งความดีนำมาบันทึกไว้  แต่คิดว่าหากผู้ที่ทำวิจัยในเชิงปริมาณ น่าจะได้ประโยชน์จากบันทึกนี้มากค่ะ

ขอบคุณนะคะ

ระลึกถึงค่ะ

(^___^)

แวะมาเพิ่มสุขภาวะที่ดีค่ะ

(^___^)

ผมตั้งใจอ่านมากเลยขอรับ..บันทึกนี้...มีประโยชน์มากๆๆๆๆๆๆ

ได้เห็นภาพนี้ ชุดสาวงามสวยจังค่ะ เดินขบวนเนื่องในงาน ... อะไรคะ

เห็นข้อความกีฬา แต่ไม่แน่ใจ ... มีความสุขกับการงานวันนี้ค่ะ

สวัสดีครับคุณแสงแห่งความดี

ตามมาจากบันทึกคุณคนไม่มีรากครับ

งานคงยุ่ง ๆ เวลาที่น้อยลง อาจทำให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ว่าไหมครับ

รักษาสุขภาพนะครับ เห็นระยะนี้คนป่วยด้วยไข้หวัดกันมากมายเลย

ระลึกถึงครับ

มีประโยชน์ที่สุด..ปีนี้จะไปตรวจสุขภาพประจำปีเหมือนเคยค่ะ

                    

 

 

สวัสดีค่ะคุณแสงแห่งความดี

เป็นบันทึกที่เป็นประโยชน์มาก  โดยเฉพาะสภาวการณ์ในปัจจุบันผู้คนควรให้ความสำคัญกับสุขภาพให้มากขึ้น ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต

- แบบสอบถามที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการวัดสถานะทางสุขภาพ ที่ผ่านการหาค่าความตรง ความเที่ยง ฯลฯ แล้ว ถ้านำไปประยุกต์ใช้จะเกิดประโยชน์มากทีเดียวค่ะ... ขอบคุณบันทึกอันทรงคุณค่านี้  คงจะต้องขออนุญาตนำไปใช้ ในนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพิ่มขึ้นจากแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ ของกรมสุขภาพจิตแล้วล่ะค่ะ...

- ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

- ระลึกถึงเสมอ

 

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณนะคะที่แวะไปเยี่ยมกัน

ถือโอกาสนี้สวัสดีปีใหม่ด้วยเลยนะคะ

และขอบคุณสำหรับเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณแสง...

แวะมาส่งความสุข  ค่ะ ทานข้าวกลางวันหรือยังคะ...

ตบท้ายด้วยกาแฟสักถ้วยนะคะ  บ่ายๆ จะได้สดชื่นค่ะ

 

* อ้อ!  อยากบอกคุณแสง ว่า ภาพประจำบล็อกนี้  P

ดูสดชื่นสบายๆ  ไม่ต้องเปลี่ยนคะนะ ครูใจดีเชื่อหลาย ๆ ท่านก็ชอบภาพนี้เช่นกันค่ะ

* ระลึกถึงค่ะ

 

เอาภาพสวยๆมาฝากขอรับ

สวัสดีครับท่านแสงแห่งความดี

เป็นงานแบบอย่างงานวิจัยที่ทำให้ผมได้เรียนรู้มากขึ้น

คงรอสอบถามท่านเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล

อยากสอบถามแลกเปลี่ยนท่าน ครูที่โรงเรียนทำผลงานทางวิชาการ เรื่องการพัฒนานักเรียนให้เกิดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดบใช้ชุดฝึก โรง.........ชั้น................

กรรมการเม้นท์มาว่า ตัวแปรต้น ตัวแปรตามไม่ถูกต้อง

เดิม ครูบอกว่า ตัวแปรต้น คือตำแหน่ง นักเรียน

ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพของชุดฝึก

ผมเสนอแนะว่าตัวแปรต้น คือนักเรียน

ตัวแปรตาม คือ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสคร์

ท่านเสนอแนะด้วยครับจะได้ช่วยครูเขาแก้ไขผลงานครับ

เป็นกุศลช่วยคนก้าวหน้าครับ ขอบคุณครับ

  • สวัสดีค่ะน้องแสงแห่งความดี P พี่แจ๋วมาขอบคุณที่น้องได้ไปเยี่ยมพี่ที่บันทึกมาค่ะ
  • และมาบอกว่าพี่แจ๋วบอกแม่พี่แจ๋วว่ามีคนชมว่าแม่น่ารัก
  • แม่ยิ้มแป้นเลย
  • แม่พี่แจ๋วปีนี้ 72 แล้วค่ะ...แต่ยังแข็งแรง สุขภาพจิตดี
  • และเป็นโชคดีของแม่ค่ะ ลูก ๆ ไม่ค่อยขัดใจ
  • อยากได้อะไร ถ้าพอหาได้ ลูก ๆ ก็จะช่วยกันหามาให้
  • คราวที่จตุคามฟีเวอร์ แม่อยากหามาห้อยคอมาก
  • ลูกหามาให้เท่าใด ก็ไม่พอใจ อยากได้องค์ใหญ่ ๆ
  • วันหลังจะถ่ายรูปองค์ที่แม่พอใจมาให้ดูค่ะ
  • ความสุขของแม่ค่ะ
  • มาขอบคุณก่อนค่ะ เดี๋ยวจะกลับมาอ่านบันทึกและทำแบบสอบถามอย่างละเอียดอีกครั้งค่ะ 
  • น้องสบายดีนะคะ
  • รูปใหม่ดูดีจัง...เหมือนนักวิชาการทีเดียว
  • คิดถึงเสมอ

คำว่าสุขภาพ เป็นเรื่องละเอียด ลุ่มลึกไปถึงความสุขมางใจด้วย

ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาถามข่าวคราว สบายดีนะค่ะ
  • ขอบคุณสาระดี ๆ ที่นำมาบอกกล่าวค่ะ
  • มีความสุขกับทุก ๆ วันนะค่ะ

 

* น่าสนใจมากค่ะ..ขอบคุณที่นำมาแบ่งปัน..

*ขอบคุณมากค่ะ  สำหรับพรปีใหม่ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ..พี่ใหญ่ขอส่งความสุขทุกประการที่ปรารถนาค่ะ..

สวัสดีค่ะ

  • เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สร้างสรรค์
  • ที่สรรสร้างจากคนดีดีคนหนึ่ง
  • ขอชื่นชมในความมีน้ำใจที่นำมาแบ่งปัน
  • ขอบคุณค่ะ คุณแสง....

มาเยี่ยมค่ะ

ได้ความรู้มากขึ้น

ลืมๆงานวิจัยที่เคยอ่านทำให้หวนกลับมาดูตัวชี้วัดของตัวเอง

ขณะนี้ก็ไม่ค่อยรำคาญคนที่พูดหรือทำไม่ถูกใจเรา แสดงว่าสุขภาพจิตเราคงดีขึ้นค่ะ

แต่สุขภาพกายก็เป็นไปตามธรรมชาติค่ะ เกิด แก่ เจ็บ ตาย

ขอให้มีความสุขกับชีวิตและงานตลอดปี 2553 นะคะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะ

..................

ขอให้ สุขสบายทั้งใจ กาย นะคะ

..................

แวะมาทักทายด้วยความระลึกถึงค่ะ

แวะมารื้อฟื้น แต่ก็จำไม่ค่อยได้แล้วค่ะ เคยเรียนวิจัยมาเกือบทุกวิธี ยอมรับว่ายากมาก ยังคงว่าจบมาได้อย่างไร แต่สรุปแล้วว่าไม่ค่อยได้ใช้ ก็คืนสู่สามัญทันทีค่ะ วันใด จะต้องนำกลับมาใช้ จะขอมารื้อฟื้นอย่างตั้งใจอีกครั้งค่ะ ระลึกถึงไม่เสื่อมคลายค่ะ

ขอบคุณ สำหรับข้อมูลที่ละเอียดมากเลยครับ

ผมคิดว่า ขึ้นกับวัตถุประสงค์ของผู้ประเมินด้วยนะครับ เช่น ถ้าเป็นการคัดกรองในประชากรมากๆ แบบสอบถามที่มีรายละเอียดมาก ก็จะทำไมไหว

เเช่น วลาผมอยากประเมินคุณภาพชีวิตคนไข้ของผมทุกราย ก็พยายามเลือกอันที่มีข้อคำถามไม่มาก ใช้เวลาไม่มากนัก  แต่ถ้าสนใจกลุ่มเฉพาะไม่กี่คน ผมก็จะใช้แบบละเอียดซึึ่งมีความไว และให้ข้อมูลมากกว่า

แวะมาเยี่ยมค่ะ ได้ความรู้กลับไปเพียบบบ...

สวัสดี ครับ คุณครูอ้อยเล็ก

เป็นบันทึกจาก บทเรียนทางการศึกษา ที่ผมอยากเผยแพร่ ครับ

ขอบคุณ...คุณครูอ้อยเล็กนะครับ

 

มาอ่านบันทึกมาศึกศึกษา ภาวะสุขภาพ และทำให้ได้รับความรู้เพิ่ม

ขอบคุณมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท