มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

งานแต่งงานที่เขมร


โอกาสอย่างนี้คงหาได้ไม่ง่ายในชีวิต ที่จะได้ไปเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวเขมร

             เมื่อปลายปีที่แล้ว ดิฉันได้รับเชิญจากเพื่อนชาวเขมร ให้ไปร่วมงานแต่งงานของหลานสาวและเพื่อนรักของเขา ซึ่งคู่บ่าวสาวคู่นี้ดิฉันก็รู้จักดีเพราะดิฉันเคยไปเที่ยวและพักที่บ้านเจ้าสาว ที่พนมเปญมาแล้ว ส่วนเจ้าบ่าวก็เคยมาเที่ยวเมืองไทยซึ่งดิฉันก็พาทัวร์มาแล้ว เช่นเดียวกัน  เมื่อได้รับเชิญพร้อมๆ กับขอให้ดิฉันกับเพื่อนๆ สาวไทย รวม 5 คน ช่วยจัดดอกไม้ในสไตล์ ไทยผสมกับขแมร์ ในงานนั้น  พวกเรา (ดิฉันและเพื่อน) ก็ตอบตกลงทันที เพราะโอกาสอย่างนี้คงหาได้ไม่ง่ายในชีวิต ที่จะได้ไปเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวเขมร ซึ่งมีความน่าสนใจมาก และก็อดไม่ได้ที่จะนำมาถ่ายทอดเป็นตัวอักษรพร้อมภาพประกอบ

http://gotoknow.org/file/sansanee11/wedding2.jpghttp://gotoknow.org/file/sansanee11/wedding2.jpghttp://gotoknow.org/file/boonrung/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.jpghttp://gotoknow.org/file/sansanee11/wedding1.jpghttp://gotoknow.org/file/sansanee11/wedding1.jpghttp://gotoknow.org/file/boonrung/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87.jpgWedding2

      ก่อนวันงาน 1 วัน ตอนบ่ายเจ้าบ่าวมาทำพิธีที่บ้านเจ้าสาว มีการจัดของไหว้เจ้าที่ และมีพราห์ม เป็นผู้ดำเนินการ คล้ายๆ กับการฝากเนื้อฝากตัวเจ้าบ่าวกับเจ้าที่และญาติผู้ใหญ่ของเจ้าสาว และเป็นการสอนเจ้าบ่าวเกี่ยวกับการครองเรือนด้วย

Wedding1

                            ของไหว้เจ้าที่

Wedding3

      หลังจากนั้น เป็นพิธีทางสงฆ์ นิมนต์พระสงฆ์มาสวดที่บ้านเจ้าสาวในตอนเย็น (ที่บ้านเรา พิธีทางสงฆ์ จะเป็นตอนเช้าวันแต่ง)  หลังจากนั้นคู่บ่าวสาว ก็ถ่ายภาพ ซึ่งเป็น Studio เคลื่อนที่ และนี่คือโฉมหน้าชัดๆ ของคู่บ่าวสาว  อ้อ ลืมแนะนำว่าเจ้าบ่าวชื่อ Sambath ส่วนเจ้าสาวชื่อ Malyneth

Wedding4

                     นี่ก็อีกภาพของคู่บ่าวสาว

        ตอนเช้าวันแต่ง  ขบวนขันหมากของเจ้าบ่าวก็มาถึงบ้านเจ้าสาว ที่นี่เขาทำขันหมากจริงๆ สังเกตุพานที่ผู้หญิงชุดเขียวถือ มีหมาก (พ่นสีบอร์นเงิน) จัดวางไว้รอบพาน ส่วนสินสอดทองหมั้น ก็อยู่ในภาชนะเงินที่ที่พ่อแม่เจ้าบ่าวถือ (ยืนขนาบข้างเจ้าบ่าว) ส่วนอื่นๆ ก็คล้ายบ้านเรา มีต้นกล้วย อ้อย ขนมเปี๊ยะ ผลไม้ ฯลฯ

        แล้วเจ้าสาวก็ออกมารับเจ้าบ่าว โดยมีผู้หญิงต้นแบบ (ชื่อนี้คิดเอง) จูงมืออกมา ที่ดิฉันเรียกว่าผู้หญิงต้นแบบ ก็เพราะผู้หญิงคนนี้เป็นผู้ที่มีประวัติการมีชีวิตคู่ที่ดี โดยจะเป็นพี่เลี้ยงที่คอยดูแลและอบรมเจ้าสาวเกี่ยวกับการทำหน้าที่ภรรยาที่ดี ตลอดงาน

Wedding8

        บ่าวสาวคล้องพวงมาลัยให้แก่กัน ก่อนที่เจ้าสาวจะพาเจ้าบ่าวเข้าบ้าน พร้อมขบวนขันหมาก ที่เขมรนี่ไม่กั้นประตูเงิน ประตูทองเพื่อเรียกอั้งเปาจากเจ้าบ่าวค่ะ แต่ทุกคนที่มาพร้อมขบวนขันหมากจะได้รับอั้งเปาจากฝ่ายเจ้าสาว  แปลกนะ!

Wedding9

              ชุดขันหมาก มีอะไรบ้างดูกันเอาเอง

       ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายรับส่งมอบสินสอดทองหมั้น  ค่าสินสอด 30 ล้านรีล หรือ 3 แสนบาท ส่วนทองหนักเท่าไร ลืมถามค่ะ

         คู่บ่าวสาวพร้อมเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวฝ่ายละ 4 คน นั่งประจำที่เตรียมทำพิธีต่อไป ขั้นตอนนี้ น่ารักนะ จะมีตัวตลกชายหญิงออกมา ร้องเพลงแซวบ่าวสาว และดำเนินการตามพิธีต่อไป

      ญาติผู้ใหญ่ จะมาตัดผม (ตัดหลอกๆ) บ่าวสาว แล้วให้บ่าวสาวส่องกระจก ประมาณถามว่าพอใจไม๊ ดิฉันเดาว่าพิธีนี้อาจจะเปรียบว่าการเริ่มต้นใช้ชีวิตคู่ใหม่  หลังจากนั้นผู้หญิงต้นแบบ ก็จะพาเจ้าสาวเข้าห้องหอ เพื่ออบรมเจ้าสาวเกี่ยวกับการครองเรือน

      จากนั้น ก็เป็นพิธีแปลกๆ ที่ดิฉันไม่เคยเห็น คือ จะมีการนำผ้าแพรสีแดงมาปูเป็นทางเดินสำหรับเจ้าบ่าว โดยมีก้อนหินวางไว้ 1 ก้อน เพื่อให้เจ้าบ่าวเดินข้าม แต่ก่อนที่เจ้าบ่าวจะเดินข้าม จะเห็นเพื่อนเจ้าบ่าวเอาพัดมาป้องข้างหูเจ้าบ่าวทั้ง 2 ข้าง  ดิฉันถามเพื่อนชาวเขมรว่าพิธีนี้มีความหมายว่าอย่างไร แล้วก็ผิดหวังเพราะเพื่อนบอกไม่รู้ ดิฉันและเพื่อนชาวไทยก็เลยคิดและบอกเพื่อนเขมรว่า "พัดที่ป้องข้างหูเจ้าบ่าว หมายถึง ไม่ให้เจ้าบ่าวหูเบา ส่วนก้อนหินที่ให้เจ้าบ่าวเดินข้ามนั้น หมายถึงให้เจ้าบ่าวหนักแน่น" ขำๆ

       เจ้าสาวล้างเท้าเจ้าบ่าว ก่อนเดินข้ามก้อนหิน

      แล้วก็ถึงพิธีทำน้ำมนต์ โดยพราห์ม และพ่อแม่บ่าวสาว พร้อมญาติผู้ใหญ่

      จากนั้น ก็เป็นการผูกข้อมือบ่าวสาว พิธีนี้ คล้ายกับนำพิธีรดน้ำสังข์ผสมกับพิธีบายศรีผูกแขนของทางภาคเหนือและอีสานบ้านเรา เพราะหลังจากทำน้ำมนต์แล้ว พราห์มจะนำด้ายแดงวางบนขอบขันน้ำมนต์ ผู้ที่ผูกแขนก็จะนำด้ายแดงจุ่มน้ำมนต์ก่อนแล้วนำไปผูกข้อมือบ่าวสาว ส่วนการจะให้เงินรับไหว้คู่บ่าวสาว ก็จะให้กันตอนนี้ค่ะ หลังจากนั้นเจ้าสาวก็จะพาเจ้าบ่าวเข้าห้องหอ โดยการที่เจ้าบ่าวจับชายสไบเจ้าสาวเข้าห้อง เป็นอันว่าเสร็จสิ้นพิธี

      แขกสาวชาวไทยถ่ายภาพกับคู่บ่าวสาว ที่ศูนย์วัฒนธรรมพนมเปญ สถานที่จัดงานเลี้ยงฉลองงานแต่งงาน ภาคค่ำ

       พอเจ้าสาวไปเปลี่ยนชุด (เปลี่ยนประมาณชุดที่ 10 ตั้งแต่เริ่มงาน) พวกเราก็ถือโอกาสถ่ายภาพกับเจ้าบ่าวพร้อมเพื่อเจ้าบ่าว

       อาหารโต๊ะจีนในงานเลี้ยง เริ่มด้วยออร์เดริฟ 8 อย่าง  และอาหารดีๆ มีคุณภาพอีก 8 อย่าง อาหารโต๊ะจีนที่เขมรมีมาตรฐานดีกว่าเมืองไทยอย่างไม่น่าเชื่อ  ตั้งแต่ผ้าปูโต๊ะ,เก้าอี้ ที่สะอาดดูหรูหรา โต๊ะหมุน ภาชนะทุกชิ้นบรรจุในถุงใสสะอาด และอาหารดีมากๆ

      งานเลี้ยงฉลองที่นี่ เริ่มเวลา 5 โมงเย็น กลับไม่มีพิธีการมากเหมือนบ้านเรา เพียงพิธีกรเชิญบ่าวสาวและพ่อแม่บ่าวสาวขึ้นเวที แล้วเจ้าบ่าวกล่าวขอบคุณแขก จากนั้นก็เปิดฟลอร์โดยคู่บ่าวสาว และเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาว เป็นเพลงรำวง จากนั้นก็เป็นสเต็ปสไตล์เขมรที่น่ารักมาก การเต้นรำที่นี่ไม่มีการวาดลวดลายขนาดบ้านเรา แต่จะนิยมรำวง กับเต้นสเต็ปเป็นคู่ ดิฉันก็ไม่รู้ว่าจะเรียกสเต็ปอะไร เพราะเพิ่งเคยเจอครั้งแรกที่นี่ และสาวเขมรก็พาดิฉันไปสอนเต้นด้วย สนุกดีค่ะ พวกเราชาวไทยทุกคนสนุกกับการเต้นรำเพราะที่นี่หนุ่มสาวเต้นรำสุภาพมาก  และงานเลี้ยงก็จบลงในเวลา 3 ทุ่มตรง

           และนี่ก็คืออีกประสบการณ์ดีๆ ที่นำมาฝาก แต่มีข้อมูลเพิ่มเติมว่างานแต่งงานครั้งนี้ ถือว่าเป็นงานระดับไฮโซของที่นี่ ซึ่งบางพิธีการหรือกิจกรรมบางอย่างอาจแตกต่างสำหรับงานแต่งงานของคู่อื่น  และจากการไปงานครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้ไปเที่ยวในสถานที่ยังไม่เคยมีคนไทยไปเยือนเลยอีกด้วย แล้วจะนำมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไปค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #งานแต่งงาน
หมายเลขบันทึก: 165620เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2008 18:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • สวัสดีค่ะ พี่ฮวง
  • งานไฮโซมาก มีเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวเพียบเลย เห็นแล้วอยากแต่งงานบ้าง..อิอิ
  • เอาอีกๆ นะคะ สนุกดี ชอบๆ
  • ขอบคุณค่ะ
  • ขอบใจนะจ๊ะ ที่เข้ามาเยี่ยม
  • คราวหน้าจะเล่าถึงสถานที่ท่องที่เขมรพร้อมภาพสวยๆ มาฝากอีกค่ะ
สวัสดีค่ะ....ดีจังที่เอามาโพสลงให้ดู แถมเล่าเรื่องราวได้แบบว่าเห็นภาพในงานชัดเจนมากเลยค่ะ พอดีกำลังคุยกะเพื่อนๆเกี่ยวกับเรื่องพิธีแต่งงาน ของประเทศเพื่อนบ้านเราว่าเป็นอย่างไรบ้าง......แล้วไปเที่ยวที่ไหนบ้างนะอย่าลืมมาเล่าให้ฟังอีกนะคะ อยากรู้เหมือนกันในเขมรเป็นอย่างไร จะเหมือนกับที่นึกไว้หรือเปล่า
  • ขอบใจนะจ๊ะ ที่เข้ามาเยี่ยม
  • คราวหน้าจะเล่าถึงสถานที่ท่องที่เขมรพร้อมภาพสวยๆ มาฝากอีกค่ะ

หุหุ....อิจฉาง่ะ  นี่ถ้าพี่ฮวงไม่ส่ง mail มาให้คงไม่ได้ดูแน่ๆ  เพราะ ko_ok  เข้ามาหาแล้ว บ่ เจอเลยเด้อ....มันเยอะมั่กมากมาก..แล้ว tip หน้าอย่าหนีไปอีกน้า...ชวนเจ้า ko_ok คนนี้ไปด้วย  จาไปด้วย...แงแง

หน้าอิฐฉา จิงๆ ไปขะเหมยนมาไม่ชวนไปบ้าง โกรดแล้ว แงๆๆ

เห็นภาพงามๆมาฝากแล้วน่าทึ่ง ประเพณีของเค้านะ แต่วัฒนธรรม ไทย ลาว เขมร ใกล้เคียงกัน เพราะเราซึมซับวัฒนธรรมร่วมสมัยกันอยู่ ไปใหนอีกบอกด้วยนะ

จะได้ไปเที่ยวด้วย 555

วัฒนธรรมของชาวเขมร สวยงาม ไม่แพ้งานแต่งงานของคนไทยเลย การแต่งกาย ของบ่างสาว ก็เหมือนกัน ภาพสวย น่ารักมาก

น่าดูชม ขอบคุณครับ

ดีจังค่ะที่นำมาให้ชม

พอดีจานำไปpresentอาจารย์เป็นภาษาเขมรค่ะ

แต่มีข้อสงสัยว่าพิธีแต่งงานในเขมร เรียกเปนภาษาเขมรว่าอะไรคะ

ขอความกรุณาช่วยตอบกลับมาด้วยนะคะ

จะขอบพระคุณอย่างสูง

ขอรบกวนอีก2เรื่องนะคะ

เรื่องที่1คือ ทำไมเจ้าสาวต้องล้างเท้าเจ้าบ่าวและทำไมต้องเดินข้ามก้อนหินคะ

เรื่องที่2คือ ทำไมหมากในพานต้องทาสีเงินด้วยคะ

ช่วยตอบกลับมาด้วยนะคะ

จักขอบพระคุณอย่างสูงยิ่งคะ

  • สวัสดีค่ะคุณปุ๋ยยุ๋ย
  • ไม่ทราบจริงๆ ว่าแต่งงานในภาษาเขมรออกเสียงอย่างไร ลองไปหาพจนานุกรมไทย-เขมร น่าจะได้รับคำตอบนะคะ
  • ส่วนเรื่องที่ถามเพิ่มอีก 2 เรื่อง เรื่องแรกดิฉันก็สงสัยแล้วก็ถามเพื่อชาวเขมรเหมือนกัน แต่เพื่อนก็ไม่รู้ บอกแต่ว่าเขาทำอย่างนี้มานานแล้ว  ส่วนเรื่องที่ 2 ในพานจะมีหมากสีเงินกับหมากสีทอง ก็แสดงถึงความมั่งมีเงิน-ทอง น่ะค่ะ

สวัสดีค่ะคุณมุ่ยฮวง

ขอขอบคุณมากๆนะคะสำหรับคำตอบที่ให้มา

ถือว่าการได้ข้อมูลในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อการทำรายงานมากเลยค่ะ

ขอบคุณมากจริงๆ

ปูเปื่อ เพื่อนปุ๋ยยุ่ย

คุณมุ่ยฮวงคะ แล้วในพิธีนี้ เจ้าบ่าวต้องเกาะสไบของเจ้าสาวด้วยไหมคะ พอดีจะไปทำรายงานส่งอาจารย์น่ะค่ะ ช่วยตอบด้วยนะคะ ขอบพระคุณค่ะ^^

สวัสดีค่ะ เพื่อนคุณปุ๋ยยุ่ย

เจ้าบ่าวต้องเกาะสไบเจ้าสาวเข้าห้องหอด้วยค่ะ

เหมือนงานแต่งงานของพี่ชายหนูเปี๊ยบเลยค่ะ เขาถือกันว่างานไหนเจ้าสาวเปลี่ยนชุดหลายชุด จะบ่งบอกถึงฐานะทางบ้าน ชุดเจ้าสาวที่เห็นแต่ละชุดเหมือนพี่สะใภ้หนูเด้ะเลย โทนการแต่งหน้าก็เหมือนมาก สุดยอด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท