ผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบที่ 9 ตัวบ่งชี้ที่ 9.1 : คณะสหเวชฯ มน.


องค์ประกอบที่ 9  การประกันคุณภาพและการพัฒนาองค์กร

ตัวบ่งชี้ที่ 9.1 มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา

เกณฑ์มาตรฐาน :  ระดับ

  1. มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมกับระดับการพัฒนาของสถาบัน
  2. มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพจากคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของสถาบัน ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคีทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
  3. มีการกำหนดมาตรฐานตัวบ่งชี้ และเกณฑ์คุณภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานการอุดมศึกษา และมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับการประเมินคุณภาพภายนอก
  4. มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพที่ครบถ้วน ทั้งการควบคุมคุณภาพ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ (อย่างน้อย 3 ปีนับรวมปีที่มีการติดตาม)
  5. มีการนำผลการประกันคุณภาพมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงาน
  6. มีระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศที่สนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาและใช้ร่วมกันทั้งระดับบุคคล ภาควิชา คณะ และสถาบัน
  7. มีระบบส่งเสริมการสร้างเครือข่ายด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสถาบัน

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน 1 

คะแนน 2 

คะแนน 3 

มีการดำเนินการไม่ครบ 5 ข้อแรก  มีการดำเนินการ 5-6 ข้อ มีการดำเนินการครบทุกข้อ 

การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแลดัชนี:  รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ เบอร์โทรภายใน: 6230  E-mail :  [email protected]
ผู้เก็บรวมรวบข้อมูล: มณีรัตน์
ชาติรังสรรค์
เบอร์โทรภายใน :  6235  E-mail :  

[email protected]

ค่าเป้าหมาย  : มีการดำเนินการถึงระดับที่ 7 

ผลการดำเนินงาน

  1. คณะสหเวชศาสตร์มีระบบและกลไกในการประกันคุณภาพเป็นระบบเดียวกับมหาวิทยาลัย และมีการบรรจุโครงการด้านการประกันคุณภาพการศึกษาลงในแผนปฏิบัติการประจำปี(หลักฐาน 1 : แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 หน้า 97-98)  ซึ่งมีคณบดี รองคณบดี คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา และคณะกรรมการโครงการพัฒนา 5 ส.อย่างยั่งยืน ทำหน้าที่ในการดำเนินการ  และมีการเก็บหลักฐานการประกันคุณภาพการศึกษาตามดัชนีและตัวบ่งชี้โดยอาศัยตารางข้อมูลพื้นฐานสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษา  ประจำปี พ.ศ. 2549 ที่ทางคณะฯ ได้ออกแบบขึ้น    (หลักฐาน2: คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพ การศึกษาคณะสหเวชศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2549 (ที่036/2550) )  (หลักฐาน3: คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินโครงการพัฒนา 5ส.อย่างยั่งยืนคณะสหเวชศาสตร์ (ที่001/2550))  (หลักฐาน 4 : ตารางข้อมูลพื้นฐานสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษา  ประจำปี พ.ศ. 2549)
  2. คณะมีการกำหนดนโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และให้ความสำคัญการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีการประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะอย่างต่อเนื่อง โดยบุคลากรของคณะมีส่วนร่วม นอกจากนี้ ยังได้มีการเข้าร่วมอบรมสัมมนาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษากับมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน  (หลักฐาน5 : นโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะ)  (หลักฐาน 6 : ภาพกิจกรรมสัมมนาการประกันคุณภาพการศึกษา ครั้งที่ 6 และกิจกรรมการจัดการความรู้ ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2550  ณ จังหวัดชลบุรี)
  3. คณะสหเวชศาสตร์ มีการกำหนดมาตรฐานและตัวบ่งชี้ของคณะและมหาวิทยาลัย ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่จัดอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัย   (หลักฐาน 7: แผนยุทธ์ศาสตร์ คณะสหเวชสาสตร์  2549-2553)
  4. คณะสหเวชศาสตร์ มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพที่สมบูรณ์ประกอบด้วย การพัฒนาคุณภาพ การตรวจติดตามคุณภาพ และการประเมินคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี  ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545 จนถึงปัจจุบัน    (หลักฐาน 8 : รายงานผลประเมินคุณภาพภายในคณะสหเวชศาสตร์ประจำปี พ.ศ. 2545 - 2548)  (หลักฐาน 9 : แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 หน้า 97-98)  (หลักฐาน 10 : คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตรวจติดตามและประเมินคุณภาพภายในหน่วยงานย่อย คณะสหเวชศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2549 (ที่ 44/2549))  (หลักฐาน 11 :คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตรวจติดตามและประเมินคุณภาพภายใน คณะสหเวชศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2549 (ที่ 1270/2549) )
  5. คณะสหเวชศาสตร์มีระบบและกลไกในการประกันคุณภาพเป็นระบบเดียวกับมหาวิทยาลัย และมีการบรรจุโครงการด้านการประกันคุณภาพการศึกษาลงในแผนปฏิบัติการประจำปี  ซึ่งมีคณบดี รองคณบดี คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา และคณะกรรมการโครงการพัฒนา 5 ส.อย่างยั่งยืน ทำหน้าที่ในการดำเนินการ  และมีการเก็บหลักฐานการประกันคุณภาพการศึกษาตามดัชนีและตัวบ่งชี้โดยอาศัยตารางข้อมูลพื้นฐานสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษา  ประจำปี พ.ศ. 2549 ที่ทางคณะฯ ได้ออกแบบขึ้น  (หลักฐาน12: คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพ การศึกษาคณะสหเวชศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2549 (ที่036/2550))  (หลักฐาน 13 : ภาพกิจกรรมการตรวจประเมินหน่วยงานย่อยภาควิชาเทคนิคการแพทย์) (หลักฐาน 14: ภาพกิจกรรมการตรวจประเมินหน่วยงานย่อยภาควิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก) (หลักฐาน 15 : ภาพกิจกรรมการตรวจประเมินหน่วยงานย่อยภาควิชารังสีเทคนิค) (หลักฐาน 16: ภาพกิจกรรมการตรวจประเมินหน่วยงานย่อยสำนักงานเลขานุการ ) (หลักฐาน 17: ภาพกิจกรรมการตรวจประเมินหน่วยงานย่อยภาควิชากายภาพบำบัด) คณะมีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษามาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานของคณะ เช่นการปรับแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี และการกำหนดเป้าหมายของตัวบ่งชี้ ห้สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา พร้อมรับการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก   (หลักฐาน18: การสัมภาษณ์บุคลากร) 
  6. คณะมีระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศ(MIS ของคณะ) ที่สนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาและสามารถใช้ร่วมกันได้สำหรับบุคลากรทุกระดับ และยังอำนวยความสะดวกในการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับภาควิชาและคณะอีกด้วย   (หลักฐาน 19 : ระบบ MIS ของคณะสหเวชศาสตร์) 
  7. คณะมีการการสร้างเครือข่ายด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับมหาวิทยาลัยโดยมีการเข้าร่วมอบรมและสัมมนาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปีการศึกษา 2549 นี้ ยังได้มีการจัดทำรายงานการประเมินตนเองผ่าน Blog ของ gotoknow เพื่อเสนอต่อมหาวิทยาลัย และให้ประชาคมภายนอกได้รับทราบผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะ และได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้  (หลักฐาน 20 : รายงานการประเมินตนเองผ่าน blog )

    ผลการประเมินตนเอง (อิงเกณฑ์ สกอ.) 

 ผลการประเมินตนเองปีที่แล้ว : - ผลการประเมินตนเองครั้งนี้ :  3   เป้าหมายปีต่อไป :  3

TOWS Analysis : ภาวะคุกคาม  -
  โอกาส • มหาวิทยาลัยมีระบบประกันคุณภาพที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง
• มหาวิทยาลัยมีการจัดอบรมสัมมนาด้านการประกันคุณภาพการศึกษาบ่อยครั้งและต่อเนื่องเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน
• สกอ. มีเกณฑ์การประเมินผลคุณภาพการศึกษาที่ชัดเจนทำให้คณะสามารถกำหนดดัชนีชี้วัดคุณภาพลงในแผนยุทธศาสตร์ได้ตรงเป้าหมาย
  จุดอ่อน -
  จุดแข็ง • คณะฯ ได้มีการพัฒนาระบบประกันคุณภาพให้สอดคล้องกับมหาวิทยาลัย และการประเมินจากภายนอกอยู่ตลอดเวลา
• คณะใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกด้านให้เนียนในเนื้องาน

โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป :

  1. หลังกิจกรรมประเมินตรวจสอบคุณภาพประจำปีนี้เสร็จสิ้น  จัดให้มีการประชุม เพื่อกำหนดนโยบาย / กลยุทธ์ / มาตรการ / ค่าเป้าหมาย  ให้ครอบคลุมตัวบ่งชี้คุณภาพ ที่กำหนดโดย  สกอ.  และ กพร.  ทุกตัว  เป็นแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2551  โดยให้บุคลากรทุกคนของคณะมีส่วนร่วมในการกำหนด และตัดสินใจ
  2. พัฒนาระบบฐานข้อมูลของคณะฯให้สอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น


ผลการประเมินตรวจสอบ  (กรุณาบันทึกในความคิดเห็นโดย copy ข้อความข้างใต้ไปวาง)

การบรรลุเป้าหมาย 

ค่าเป้าหมาย  มีการดำเนินการถึงระดับที่ 7   
การบรรลุเป้าหมาย  บรรลุ:  ไม่บรรลุ:                   

 ผลการประเมินตรวจสอบปีที่แล้ว : 3 ผลการประเมินตรวจสอบครั้งนี้ : ?   เป้าหมายปีต่อไป : ?

ข้อสังเกต/เสนอแนะ :  (กรุณาบันทึกในความคิดเห็น)

หมายเลขบันทึก: 129798เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 07:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผลการประเมินตรวจสอบ  ได้ผลการดำเนินการระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา เท่ากับระดับ 7

การบรรลุเป้าหมาย 

ค่าเป้าหมาย  มีการดำเนินการถึงระดับที่ 7   
การบรรลุเป้าหมาย  บรรลุ: ü ไม่บรรลุ:                   

 ผลการประเมินตรวจสอบปีที่แล้ว : 3 ผลการประเมินตรวจสอบครั้งนี้ : 3   เป้าหมายปีต่อไป : -

ข้อสังเกต/เสนอแนะ

เกณฑ์ใน SAR ไม่ตรงกับเกณฑ์ในหนังสือ, หลักฐานที่เป็นการสัมภาษณ์ควรใช้เป็นรูปภาพในการจัดกิจกรรมที่จัดขึ้นจากการปรับปรุง  จากการประเมิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท