ผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบที่ 9 ตัวบ่งชี้ที่ 9.3 : คณะสหเวชฯ มน.


ตัวบ่งชี้ที่ 9.3 ระดับความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

เกณฑ์มาตรฐาน :  ระดับ

  1. มีการดำเนินการตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ และสถาบันอย่างต่อเนื่อง
  2. มีการปรับปรุงระบบประกันคุณภาพภายในโดยสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของสถาบัน
  3. มีการรายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนภายในเวลาที่กำหนด
  4. มีการนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานของหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง
  5. มีนวัตกรรมด้านการประกันคุณภาพที่หน่วยงานพัฒนาขึ้น หรือมีการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อการเป็นแหล่งอ้างอิงให้กับหน่วยงานและสถาบันอื่น ๆ

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน 1 

คะแนน 2 

คะแนน 3 

มีการดำเนินการไม่ครบ 5 ข้อแรก  มีการดำเนินการ 5-6 ข้อ มีการดำเนินการครบทุกข้อ 

การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแลดัชนี:  รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ เบอร์โทรภายใน: 6230  E-mail :  [email protected]
ผู้เก็บรวมรวบข้อมูล: มณีรัตน์
ชาติรังสรรค์
เบอร์โทรภายใน :  6235  E-mail :  

[email protected]

 

ค่าเป้าหมาย  : มีการดำเนินการถึงระดับที่ 5 

ผลการดำเนินงาน

  1. คณะสหเวชศาสตร์มีการดำเนินการตามระบบและกลไกในการประกันคุณภาพภายในระดับคณะอย่างต่อเนื่องโดยรองคณบดีที่ดูแลงานด้านประกันคุณภาพการศึกษามีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และคณบดีเป็นคณะกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมประชุม KM workshop เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง       (หลักฐาน1: คำสั่งแต่งตั้งกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา (ที่647/2550))  (หลักฐาน 2 : คำสั่งแต่งตั้งกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา (ที่648/2550))  (หลักฐาน 3 : บันทึกของ ผศ.ดร. วิบูลย์ วัฒนาธร  เรื่องโครงการ “KM Workshop เพื่อพัฒนางานวิจัยและคุณภาพการศึกษา  ครั้งที่ 1”) (หลักฐาน 4: บันทึกของ รศ.มาลินี ธนารุณ เรื่อง “เผยเคล็ดวิชาจัด KM Workshopขนานแท้ 1”) (หลักฐาน5 : บันทึกของ รศ.มาลินี ธนารุณ เรื่อง “เผยเคล็ดวิชาจัด KM Workshopขนานแท้ 2”(หลักฐาน 6 : บันทึกของ รศ.มาลินี ธนารุณ เรื่อง “เผยเคล็ดวิชาจัด KM Workshopขนานแท้ 3” (หลักฐาน 7 : บันทึกของ รศ.มาลินี ธนารุณ เรื่อง “เผยเคล็ดวิชาจัด KM Workshopขนานแท้ 4”(หลักฐาน 8 :บันทึกของอาจารย์ศุภวิทู สุขเพ็ง เรื่อง AAR: KM Workshop เพื่อพัฒนางานวิจัยและคุณภาพการศึกษา (หลักฐาน 9 :บันทึกของ คุณรัตน์ทวี อ่อนดีกุล เรื่อง”รายงานสด : KM Workshop พัฒนาคุณภาพการศึกษา มน. ครั้งที่ 3 ”  )
  2. คณะสหเวชศาสตร์มีการปรับปรุงระบบประกันคุณภาพภายในให้เป็นไปตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัดของสมศ.  ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของมหาวิทยาลัยกลุ่มผลิตบัณฑิตและวิจัย โดยอาศัยข้อมูลผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาจากการประชุมKM workshop เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (หลักฐาน 10 : บันทึกของ คุณเจนจิต รังคะอุไรเรื่อง “QAKM ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร มน.”)   นำมาปรับปรุงระบบการประกันคุณภาพภายในของคณะ ฯ เช่นการสร้างตารางข้อมูลพื้นฐานสำหรับเก็บข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา และกำหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจนเพื่อให้ตรวจสอบง่าย  (หลักฐาน 11 : ตารางข้อมูลพื้นฐานสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา 2549 )  (หลักฐาน 12 : ตารางข้อมูลพื้นฐานสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา 2549รายชื่อผู้กำกับดูแลดัชนีชี้วัดและตัวบ่งชี้คุณภาพของสมศ. )
  3. คณะมีการจัดทำ SAR/CAR  ของคณะเป็นประจำทุกปี  และมีการรายงานผลการประกันคุณภาพในต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  และสาธารณชน  โดยผ่านทางเวบไซด์ของคณะฯ     (ลักฐาน 13: รายงานผลการประเมินคุณภาพภายใน คณะฯ ประจำปี พ.ศ.2545 – 2548 และสัมภาษณ์ผู้บริหารและบุคลากร)
  4. คณะนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานของหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง เช่น  การปรับแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปีโดยรองคณบดีในแต่ละฝ่าย  ซึ่งกำกับดูแลตัวบ่งชี้/ดัชนีชี้วัดคุณภาพการศึกษาแต่ละด้านจะรับไปพิจารณาปรับปรุงแล้วนำเสนอผ่านที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะต่อไป เป็นกิจวัตรประจำทุกปี  (หลักฐาน 14 : (สัมภาษณ์ผู้บริหาร / บุคลากร)) 
  5. บุคลากรภายในคณะฯใช้ BLOG เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้เพื่อการสื่อสารภายในองค์กร  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ บูรณาการการทำงานส่วนต่างๆ  จัดเก็บข้อมูลและรายการหลักฐานอ้างอิงด้านการประกันคุณภาพการศึกษา  ถือเป็นนวัตกรรมการทำงานภายในคณะ    (หลักฐาน 15 :AHS-Planet )

 

 

 

ผลการประเมินตนเอง (อิงเกณฑ์ สกอ.) 

 ผลการประเมินตนเองปีที่แล้ว : - ผลการประเมินตนเองครั้งนี้ :  3   เป้าหมายปีต่อไป :  3

TOWS Analysis : ภาวะคุกคาม  -
  โอกาส • มหาวิทยาลัยมีการจัดประชุมแก่หน่วยงานระดับคณะ และสำนัก เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
• มหาวิทยาลัยนเรศวร มีวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่มีจุดเน้นด้านการวิจัยโดยเลือกอยู่ในกลุ่มสถาบันการผลิตบัณฑิตและการวิจัย ทำให้คณะวิชามีทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน
  จุดอ่อน -
  จุดแข็ง • บุคลากรส่วนใหญ่ของคณะฯ และทุกหน่วยงานย่อย มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนางานด้านประกันคุณภาพให้ได้มาตรฐานและพร้อมรับการตรวจประเมิน
• บุคลากรภายในคณะมีจิตสำนึกเรื่องคุณภาพและดำเนินงานด้านประกันคุณภาพจนเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน

โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป :

ส่งเสริมให้นิสิตทำกิจกรรมต่างๆ โดยนำความรู้และทักษะด้านการประกันคุณภาพไปประยุกต์ใช้

 


ผลการประเมินตรวจสอบ  (กรุณาบันทึกในความคิดเห็นโดย copy ข้อความข้างใต้ไปวาง)

การบรรลุเป้าหมาย 

ค่าเป้าหมาย  มีการดำเนินการถึงระดับที่ 5   
การบรรลุเป้าหมาย  บรรลุ:  ไม่บรรลุ:                   

 ผลการประเมินตรวจสอบปีที่แล้ว : - ผลการประเมินตรวจสอบครั้งนี้ : ?   เป้าหมายปีต่อไป : ?

ข้อสังเกต/เสนอแนะ :  (กรุณาบันทึกในความคิดเห็น)

-

-

 

หมายเลขบันทึก: 129804เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 07:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผลการประเมินตรวจสอบ  ได้ผลการดำเนินการระดับความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เท่ากับ ระดับ 5

การบรรลุเป้าหมาย 

ค่าเป้าหมาย  มีการดำเนินการถึงระดับที่ 5   
การบรรลุเป้าหมาย  บรรลุ: ü ไม่บรรลุ:                   

 ผลการประเมินตรวจสอบปีที่แล้ว : - ผลการประเมินตรวจสอบครั้งนี้ : 3   เป้าหมายปีต่อไป : -

ข้อสังเกต/เสนอแนะ

-หลักฐานในเรื่องการนำผลประเมินไปปรับปรุงยังไม่ชัดเจน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท