การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีในคลินิกยาต้านไวรัส


เรื่องเล่า                จากกลุ่มเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลเกาะช้าง

Topic                    การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีในคลินิกยาต้านไวรัส

                กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลเกาะช้าง เป็นหน่วยงานหนึ่งในโรงพยาบาลเกาะช้าง รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับ งานส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรค และรับผิดชอบคลินิกยาต้านไวรัสในกลุ่มผู้ติดเชื้อ

                ในที่นี้จะกล่าวถึง การให้บริการที่คลินิกยาต้านไวรัส ที่ให้บริการยาต้านไวรัสกับผู้ติดเชื้อที่เข้ามารับบริการตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลเกาะช้าง

การให้บริการของคลินิกยาต้านไวรัส จะมีชมรมเอราวัณเลิฟเฟรนด์ ที่จะคอยให้การสนับสนุนดูแลกลุ่มผู้ติดเชื้อในเขตพื้นที่ของอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด

                จากการปฏิบัติงานที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่เข้าเกณฑ์ได้รับยาต้านไวรัสยอดสะสมทั้งสิ้น 22 ราย เป็นคนไทยจำนวน 16 ราย เป็นต่างชาติจำนวน  6  ราย  ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะเป็นคนนอกพื้นที่ เข้ามารับจ้างทำงานในพื้นที่ของอำเภอเกาะช้าง ส่วนคนในพื้นที่จะทำอาชีพทำสวนและทำประมง

                เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจำนวน  1 ราย สาเหตุมาจากภาวะแทรกซ้อน ซึ่งเป็นแรงงานที่มาจากทางภาคเหนือเข้ามาทำงานในพื้นที่ของอำเภอเกาะช้าง ซึ่งอยู่ระหว่างรอการพิสูจน์สิทธิ์

                การให้บริการของคลินิกยาต้านไวรัส จะเป็นการเปิดให้บริการทุกวันพุธ สัปดาห์ที่ 2 ของทุกเดือน ให้บริการ

-          ให้คำปรึกษาทางด้านสุขภาพ

-         ให้การตรวจสุขภาพ

-         ส่งเสริมการรับประทานยาต้านไวรัสให้ครบถ้วน ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

-         ติดตาม Adherenc ในการรับประทานยาต้านไวรัส

-         ให้ความรู้

-         ส่งเสริมการดูแลตนเอง

กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลเกาะช้างจึงได้จัดตั้งคลินิกพิเศษนี้ขึ้นมา สำหรับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์โดยเฉพาะ เปิดให้บริการทุกวันพุธ เวลา 08.30-16.30 น. ในช่วงเช้าจะเป็นผู้ป่วยรายใหม่ ส่วนภาคบ่ายจะเป็นกลุ่มผู้ติดเชื้อรายเก่ามีมารับบริการยาต้านไวรัสต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน

                กลุ่มชมรมเอราวัณเลิฟเฟรนด์ เป็นกลุ่มโรงพยาบาลจิตอาสา ที่คอยให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์และการปฏิบัติตัว ด้วยกันเอง ซึ่งจะทำให้การดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ตลอดจนถึงช่วยกระบวนการกลุ่มในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดูแลผู้ที่รับยาต้านไวรัสด้วยกันอีกด้วย 

                ทางกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเครือข่ายผู้ติดเชื้อของจังหวัด (ชมรมตราดสีทอง) และมูลนิธิรักษ์ไทย เครือข่าย NFA  มาช่วยในการจัดกิจกรรมต่างๆในวันที่คลินิกให้บริการ

ยกตัวอย่าง

                นายสวี (นามสมติ)  เป็นชายไทย วันทำงานงาน อายุ  36   ปี  อาชีพ ประมง  การศึกษา ประถามศึกษาปีที่6 รายได้ 15,000 บาท/เดือน สถานภาพ โสด

                รับบริการครั้งแรก เมื่อปี 2545 ด้วยอาการ มีไข้ เป็นๆหายๆ ถ่ายเหลว ไอแห้งๆ ไม่มีแรงๆ ประมาณ 3 เดือน ก่อนมา  น้ำหนัก 70 กิโลกรัม  พบแพทย์ครั้งแรก สั่ง Admit และ Refer รพ.ตราด ผลการรักษาครั้งนั้นพบ HIV+TB-lung

                รพ.ตราด ส่งกลับมาดูแลรักษาต่อ ได้รับยา TB ต่อ  และส่งเข้าคลินิกยาต้านไวรัส ARV

                ช่วงนั้นคนไข้   ผอมแห้ง อ่อนเพลีย น้ำหนักน้อย ไม่ค่อยมีแรง ญาติไม่มาเยี่ยม สภาพจิตใจของคนไข้ ย่ำแย่มากๆ  คนไข้คิดว่า “จะอยู่ไปทำไม อยู่ไปใครๆก็ไม่รัก” “อยู่ไปก็คงไม่รอด หมอไม่ต้องช่วยหลอก  อีกไม่กี่เดือนก็ตายแล้ว” 

                พยาบาลให้คำปรึกษา ก็ได้ให้กำลังใจ ให้คำแนะนำ ประคับประคอง จนสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น  พร้อมเริ่มยาต้านไวรัส (CD4 = 180)

                2 ปีแรก ผู้ป่วย ยังไม่ยอดเปิดเผยตัว เพราะกลัวคนอื่นรู้เพิ่มมากขึ้น คิดว่าจะอยู่ในสังคมลำบาก  พยาบาลให้คำปรึกษา ก็ได้ให้คำปรึกาเกี่ยวกับสิทธิ์ต่างๆที่คนไข้สมควรจะได้รับ ถ้าหากเปิดเผยตัว และทำคุณประโยชน์ให้สังคม   ผู้ป่วยก็ยังลังเลอยู่นานเพราะกลัวว่าจะมีแต่คนรังเกียจ ทำประมงไม่ได้ กลัวไม่มีใครมาซื้อปลา

                หลังจากได้ให้คำปรึกษาไปได้ซักระยะหนึ่ง ประมาณ 4 เดือนได้ และในช่วงนี้ก็เริ่มจัดตั้งชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนในปลายปี 2550 โดยใช้ชื่อว่า ชมรมเอราวัณเลิฟเฟรนด์ มีหน้าที่คอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อHIVที่มารับยาต้านที่คลินิกยาต้านไวรัส โดยมีพี่เลี้ยงจากชมรมตราดสีทองมาร่วมดำเนินการในการจัดตั้ง

                ช่วงนี้ผู้ป่วยได้มองเห็นถึงประโยชน์ของกลุ่มชมรมเอราวัณเลิฟเฟรนดืที่จัดตั้งขึ้น และจากการพูดชังจูงของชมรมตราดสีทอง ผู้ป่วยจึงยอมตัดสินใจเปิดเผยตัวเมื่อปี 2551  สาเหตุเพราะว่า อยากช่วยเหลือผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ระบบการรักษา และจะคอยให้กำลังใจ เพราะว่าเห็นแบบอย่างจากชมรมตราดสีทอง และเป็นการสร้างเครื่อข่ายต่อไป

                หลังจากนั้นผู้ป่วยก็ได้รับการช่วยเหลือในเรื่องค่าครองชีพจากเทศบาลเป็นประจำทุกเดือน เป็นแกนนำกลุ่มผู้ติดเชื้อในการดูแลตนเองต่อไป

หมายเลขบันทึก: 354751เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2010 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2013 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
โครงการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ HIV

โครงการ “เติมพลังสร้างชีวิตใหม่”  เพื่อค้นหาผู้ได้รับเชื้อเอชไอวีระยะเริ่มแรก  ที่ยังไม่ได้รับยาต้านเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อรับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภุมิคุ้มกันฟรี  ในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงได้แม้จะเป็นผู้ติดเชื้อ

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ

1.               เป็นผู้เพิ่งตรวจพบว่าติดเชื้อ

2.               ยังไม่มีสิทธิ์รับยาต้านจากรัฐบาล (CD4 สูงกว่า 350 ,  VL สูง)

3.               ยังไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดใดๆ สำหรับต้านเชื้อ

สิ่งที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับ

1.               ฟรี  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม  สำหรับดูแลสุขภาพภูมิคุ้มกันบกพร่อง “LIV ติดต่อกันเป็นระยะเวลา  3 เดือน

2.               ฟรี  ค่าตรวจเลือดเพื่อหาค่า CD4 และ VL โดยผู้ชำนาญการ  พร้อมทั้งให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการ

สนใจเข้าร่วมโครงการสอบถามเพิ่มเติมได้ที่  โทร  088- 858-8088  หรือ  www.learntoliv.com 

หรือ  http://www.youtube.com/results?nfpr=1&search_query=learntoliv

 

 

ประสบการณ์ผู้ติดเชื้อ HIV-ตอนที่ 1

§คุณเอ  ผู้ติดเชื้อฉวยโอกาส ( เชื้อราขึ้นสมอง )

          ติดเชื้อมาจากสามี  สามีป่วยแล้วก็เสียชีวิตไปเมื่อปี  2532  ตอนนั้นไม่ทราบว่าสามีมีเชื้อ แล้วก้ไม่มีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับโรคนี้เลย  อาการเริ่มแรกตอนนั้น  คือ ไม่สบาย  ปวดหัวอย่างรุนแรง  ทรมานมาก ต้องนอนทั้งวัน  ไม่สามารถที่จะไปหยิบไปจับทำอะไรได้เลย  ทานอาหารได้น้อยมาก  น้ำหนักเริ่มลดลง  จนสุดท้ายก็ตัดสินใจไปตรวจจนตรวจพบว่า เชื้อราขึ้นสมอง  ซึ่งเป็นเชื้อฉวยโอกาสที่เกิดจาก ภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง  ตอนนั้น  รู้สึกเสียใจและกลุ้มใจมาก คิดว่าชีวิตเราความมั่นคงในชีวิตเราคงหายไปแล้ว  คิดมากว่าชาวบ้านเค้าจะพากันรังเกียจ  แม้แต่คนที่บ้านเองพอเค้ารู้ว่าเราติเชื้อ เค้าก็จะมีการแบ่ง  จาน    ชาม  ของใช้ไม่ให้ใช้ด้วย  ไม่สมารถไปทำกิจกรรมในชุมชนของตัวเอง หรือที่ไหนได้ ตัวเองก็ไม่กล้าที่จะออกไปข้างนอก  ถ้าเราจะไปนั่งร่วมกับเค้าเค้าก็จะเดินหนีไป   เวลาจะกินเค้าก็ไม่กินด้วย    เสียใจมาก เคยคิดจะฆ่าตัวตาย  คิดว่าทุกคนก็ต่างพากันรังเกียจ แล้วเราจะอยู่ไปทำไม  แต่พอมองเห็นลุกแล้วคิดได้ว่า ถ้าเกิดเราตายไปแล้วใครจะมาดูแลเค้า รักเค้าได้เท่าเรา  ก็เลยสู้ต่อ  แต่พอมาได้รับ   อาหารเสริม LIV  ก็รู้สึกนอนหลับยาวขึ้น หลับได้สนิทขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น  หลังจากทีทาน   LIV   ไปได้  2-3  อาทิตย์    น้ำหนักก็เพิ่มขึ้นมา    2  ก.ก      (จาก  45 เป็น  47 ก.ก )  มีคนมาทักว่าไปทำอะไรมา  หน้าตาดูสดใสขึ้น  หลังจากทาน  LIV  แล้วไม่เคยป่วย หวัดก็ไม่เคยเป็นอีกเลย     ไม่ได้แค่ดูแลตัวเองได้ยังสามารถดูแลแม่ที่    อายุมากแล้วก็มีโรคประจำตัวด้วย  คุณภาพชีวิตดีขึ้นมาก    จะเดินทางไปไหนก็ไปด้วยตัวเองได้  ไม่ต้องรบกวน หรือ เป็นภาระของใคร  ก็อยากฝากไปถึงคนที่มีเชื้อ อยากให้ได้รับ  อาหารเสริม LIV จะได้มีสุขภาพทีแข็งแรงขึ้น   จะได้ไปทำงานตามที่เราต้องการได้

ดูบทสัมภาษณ์ได้จาก www.learntoliv.com (ตอนที่ 12)

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 088-858-8088 หรือ 02-381-7788

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท