สอนอย่างไร ให้เข้าใจ "ไข้หวัดใหญ่ 2009"


วิทยากรให้ความรู้ กลุ่ม อสม. >> เพื่อถ่ายทอดต่อ สู่ ชุมชน

นั่ง Search หาข้อมูลทางวิชาการ เกี่ยวกับ โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 เพื่อใช้ในการให้ความรู้ กับกลุ่มอสม. เทศบาลตำบลวิชิต คราวนี้เป็นเรื่องที่น่าดีใจอย่างหนึ่งคือ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นผู้เข้ามาติดต่อ และขอความร่วมมือ กล่าวคือ เริ่มต้นและเกิดจากความต้องการของกลุ่ม อาสาสมัครสาธารณสุขเอง โดยการติดต่อของบประมาณ จากหน่วยงานภายนอก และประสานให้ผู้เขียนเป็นผู้ถ่ายทอดข้อมูล เป็นวิทยากรให้ความรู้ >> ติดอาวุธทางปัญญาให้กับ อสม. เพื่อนำความรู้เหล่านั้นไปดูแลตนเองและครอบครัว ตลอดจนถ่ายทอด สู่ ชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลวิชิตต่อไป

ต้องยอมรับว่า ความรู้และข้อปฏิบัติตัวเบื้องต้น ณ ปัจจุบัน มีให้พบเห็นทั่วไป ผ่านทาง โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ท แผ่นพับ ใบปลิว บอร์ดนิทรรศการ ตลอดจน ข้อความผ่านโทรศัพท์ มือถือ (SMS) และล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ออกคู่มือ การป้องกันโรคไข้หวัด 2009 สำหรับประชาชน (http://www.moph.go.th/hot/moph.pdf)  แต่ในทางตรงข้าม ประชาชนกลับยังตื่นกลัว และยังปฏิเสธ การรับรู้ข้อมูลผ่านทางสื่อ เหล่านี้ เห็นที นักวิชาการ หรือผู้ทำงานเกี่ยวข้องด้านสุขภาพ อย่างเรา-เรา คงต้องหันกลับมาทบทวนดูแล้วว่า การประชาสัมพันธ์ รวมถึงการให้สุขศึกษา รูปแบบไหนที่จะเข้าถึงประชาชนและได้รับความสนใจ และนำไปปฏิบัติ ได้ในที่สุด

สำหรับงานที่ได้รับมอบหมายในครั้งนี้ ผู้เขียน คงต้องนั่งตีโจทย์สอนอย่างไร ให้เข้าใจ..  "ไข้หวัดใหญ่ 2009"  และทำความเข้าใจ  ประเด็นสำคัญ ที่จะนำและเชื่อมโยงไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตลอดจนการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่ม อสม. กลุ่มคน และแรงกำลังสำคัญของงานสาธารณสุข แทบทุกงาน

ใจความสำคัญ ก็ คงมีไม่มาก .. "หากร่างกายเราได้รับเชื้อโรคชนิดนี้แล้วจะมีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ ไอ จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อย หรือรุนแรงถึงปอดบวม แต่จากสถิตินั้นหากผู้ได้รับเชื้อมีสุขภาพที่แข็งแรงอย่างกลุ่มคนวัยกลางคนก็จะไม่อันตรายถึงเสียชีวิต แต่หากผู้ที่ได้รับเชื้อเป็นเด็ก ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยก็มีโอกาสเสียชีวิตสูง ทั้งนี้หากเราจะหลีกเลี่ยงต่อเชื้อชนิดนี้เราจะต้องหมั่นออกกำลังกาย กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ฆ่าเชื้อ เวลาไอหรือจามต้องป้องกันไม่ให้เชื้อกระจายออกไป และสุดท้ายหลีกเลี่ยงจากผู้ป่วยด้วยการอย่าสัมผัสตา ปาก และจมูก"

คิดว่า คงจะยกตัวอย่างผู้ป่วย .. ทั้งที่รักษาหาย และ ที่เสียชีวิต มาพูดคุย ในครั้งนี้ด้วย .. ช่วงนี้ก็ต้องนั่งหาข้อมูลและกรณีศึกษา ต่อไป ยอมรับว่า ห่างหายจากการเป็นวิยากรมาซักระยะ และตั้งแต่โอนย้ายมา ก็หาโอกาสเข้าไปรับข้อมูลเชิงวิชาการเหล่านี้เท่ากับตอนที่ทำงานอยู่กระทรวงสาธารณสุข จึงต้องอาศัย ครู-ข้อมูล จากอินเตอร์เน็ต และ คงต้องรบกวน พี่-พี่ ชาว gotoknow ที่พอมีสไลด์ให้ความรู้ .. และแนวทาง/กระบวนการ กิจกรรม ถ่ายทอดความรู้ทั้งในกลุ่มอสม. นักเรียน หรือประชาชนทั่วไป ให้ข้อมูลด้วยนะคะ ร่วมกันให้ความรู้ เป็น วิทยาทาน บุญรักษา ทุกท่านคะ

                                                                                                                           อรุฎา  นาคฤทธิ์

 

หมายเลขบันทึก: 283601เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2009 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาเจิมให้คนแรกเลย ...

ขอให้มีคนมาอ่านเยอะๆ

  • ขอบคุณคร๊า
  • ดูท่า จะเจิม นิ่ง แหง่ๆ ละงานนี้ 55+
  • หนึ่งกำลังใจ ที่ยังคงมอบให้อยู่ห่างๆ ครับ
  • ลองแวะไปที่นี่บ้างก็ได้นะครับ เผื่อมีอะไรดีๆ http://www.sasukphato.org/index.php
  • ขอบคุณมากนะคะ  อำนวย สุดสวาสดิ์ สำหรับกำลังใจ
  • แวะไปตามคำแนะนำ
  • สมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้วคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท