“พหุปัญญา” กับการพัฒนาการศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น


คำว่า “พหุปัญญา” ทางหลักวิชาการ จึงแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับ พหุปัญญาตัวบุคคล กล่าวคือ ในทางวิชาการเป็นการกำหนดประเภทต่างๆ ของความสามารถ แต่ในทางสังคม เป็นคำอธิบายของความสามารถของบุคคลที่มีหลากหลายในคนๆ เดียวกัน

 

หลักการของพหุปัญญา คือ หลักทางวิชาการที่พยายามจะอธิบายความแตกต่างด้านความสามารถในการทำกิจกรรมของคนประเภทต่างๆ ที่โดยหลักใหญ่แล้วจะแบ่งออกเป็น ๘ กลุ่มด้วยกัน ทั้ง ๆ ที่ในโลกแห่งความเป็นจริงจะไม่มีกลุ่มของหลักการที่แบ่งกันอย่างเด็ดขาด จึงมักมีความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่อาจแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีกมากมาย

 

และสำหรับในแต่ละกลุ่มของพหุปัญญา ก็ยังสามารถแบ่งเป็นกลุ่มตามระดับรายละเอียดของแต่ละเรื่องได้อีก เช่น ความสามารถทางกีฬา ที่อาจแบ่งออกเป็นความสามารถได้หลายร้อยประเภท ทำให้มีการกำหนดประเภทกีฬา ที่แข่งขันกันในระดับโลกได้อย่างมากมาย สาขาอื่นๆ เช่น ดนตรีและกิจกรรมเข้าจังหวะ ก็สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายร้อยประเภท เช่นเดียวกัน

 

การแบ่งลักษณะต่างๆ เหล่านี้ เป็นเพียงการกำหนดประเภทของพหุปัญญา ทั้งในแนวระนาบ และแนวดิ่ง โดยหลักของการกำหนดประเภทตามหลักการทางวิชาการ เท่านั้น

 

แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง คนๆ หนึ่ง จะมีความสามารถหลาย ๆ ด้านที่เรียกว่า มีความสามารถหลายทาง ในนามของ พหุปัญญา ที่มีความหลากหลายของปัญญาสายต่างๆ ในบุคคลคนเดียวกัน

 

ดังนั้น คำว่า พหุปัญญา ทางหลักวิชาการ จึงแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับ พหุปัญญาตัวบุคคล กล่าวคือ  ในทางวิชาการเป็นการกำหนดประเภทต่างๆ ของความสามารถ แต่ในทางสังคม เป็นคำอธิบายของความสามารถของบุคคลที่มีหลากหลายในคนๆ เดียวกัน

 

ในประเด็นที่สอง นี้ ความหลากหลายของความสามารถในบุคคล ก็อาจแตกต่างกันไป ตั้งแต่ คนที่เก่งมาก ๆ อาจจะรู้และสามารถทำในสิ่งที่ครอบคลุมทั้ง ๘ ประเภทใหญ่ๆ ของพหุปัญญา ในขณะที่คนบางคน อาจจะมีความสามารถด้อยลงมาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือสามารถเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ด้านอื่น อาจจะมีความสามารถน้อยมาก หรือทำแทบไม่ได้เลย

 

ในขณะเดียวกัน อาจจะมีบางคนที่มีความสามารถหลากหลาย แต่ไม่สูงนัก ที่มีลักษณะทางสังคม เรียกว่า เก่งเหมือนเป็ด ที่ เดินได้ วิ่งได้ บินได้ ว่ายน้ำได้ ดำน้ำได้ แต่ไม่เก่งซักอย่าง แต่อาจจะมีบางคนที่ แม้จะเก่งเหมือนเป็ด แต่ก็มีมุมใดมุมหนึ่งที่เก่งเป็นพิเศษ ทั้ง ๒ ประเด็นนี้ ก็เป็นลักษณะของพหุปัญญาที่แตกต่างกัน

 

ดังนั้น เราจึงมีความจำเป็นต้อง พยายามที่จะเข้าใจคนในมุมมองของ พหุปัญญา โดยการสังเกต โดยการทำตัวสนิทสนม ใกล้ชิด และทดลองให้ทำงานบางอย่างที่สะท้อนพหุปัญญาของบุคคลคนนั้น แต่ต้องไม่ลืมว่า คนๆนั้น มิใช่เก่งหรือรู้เพียงด้านเดียว แต่อาจจะรู้อีกหลายๆ ด้าน ที่ต้องการ การสังเกต และทดสอบต่อ ๆ ไป

 

ในทางปฏิบัติของระบบการประเมินผล เรามักจะพิจารณาความสามารถเฉพาะด้านเป็นหลัก ทำให้เกิดผิดพลาดในกระบวนการประเมิน โดยเฉพาะการวัดผลการเรียนรู้  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พหุปัญญา  ยังสะท้อนถึงความสามารถและวิธีการเรียนรู้ ว่า บุคคลต่างๆ มีวิธีการเรียนรู้ในรูปแบบใด ที่อาจจำเป็นต้องมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบุคคลกลุ่มนั้นๆ

 

ในระบบการศึกษาปัจจุบัน เรามักจะมองข้ามความสามารถเชิง พหุปัญญา ที่มักจะประเมินเพียงด้านใดด้านหนึ่ง เป็นหลัก ยิ่งกว่านั้น ยังอาจจัดกระบวนการเรียนรู้ก่อนการทดสอบเพียงรูปแบบเดียว ทำให้บุคคลที่มีลักษณะความสามารถไม่ตรงกับวิธีการที่ใช้ ไม่สามารถจะผ่านเกณฑ์การประเมินได้ ที่อาจจะเรียกว่า เป็นผู้ไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ทั้งๆ ที่วิธีการจัดการเรียนรู้ และวิธีการประเมิน เป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมกับคนกลุ่มนั้นๆ

 

สถานการณ์ดังกล่าวนี้ จะเกิดขึ้นในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ไม่มีการแบ่งกลุ่มของผู้เรียน แต่จะอาศัยกลุ่มตามชุมชน เช่น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หนึ่ง จะส่งลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเดียวกัน โดยไม่มีการแบ่งประเภทของผู้เรียน แม้จะมีการแบ่งในระยะต่อ ๆ มา หลังจากการประเมินผล ก็มักจะอาศัยเกณฑ์การประเมินจากการสอบวัดความจำเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผู้ที่มีความสามารถด้านอื่นๆ ถูกคัดไปรวมกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ว่า เป็นผู้ไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และเปิดโอกาสให้กับเฉพาะผู้ที่สามารถปรับตัวได้ในการพัฒนาต่อไป

 

ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้ที่ สอบตก จึงมักถูกตราหน้า และกลายเป็นปัญหาสังคมในระยะต่อ ๆ มา ทั้ง ๆ ที่เขาอาจจะมีความสามารถในเรื่องอื่นๆ ที่ไม่มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ และไม่มีการประเมินผล ในมุมมองเหล่านั้น

 

ประเด็นการ สอบตก นี้ เป็นปัญหาใหญ่ของสังคม และผู้สอนทั้งหลายจะถูกบีบ บังคับ ไม่ให้รายงานว่า มีผู้สอบตก เพราะไม่ต้องการให้เสียชื่อสถาบันการศึกษา จึงมีการช่วยกันอย่างผิดวิธี คือ ทำอะไรมาก็พยายามให้คะแนนเพื่อให้สอบผ่าน โดยไม่มีความสามารถที่แท้จริง ที่ควรผ่านการประเมิน

 

ดังนั้น ข้อเสนอที่สำคัญ ก็คือ การนำหลักการของ พหุปัญญา มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ การจัดกลุ่มการเรียน  การติดตามประเมินผล ทั้งนี้ เนื่องมาจากความจำเป็นของสังคม ที่ต้องการคนที่มีความสามารถหลากหลาย เพื่อการพัฒนาประเทศ มิใช่เพื่อต้องการคนที่มีความรู้ทางวิชาการด้านใดด้านหนึ่ง หรือแบบใดแบบหนึ่งเพียงอย่างเดียว

 

ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันมีการวางแผนการศึกษาที่สนับสนุนการศึกษาระดับอุดมศึกษามากมาย แต่ขาดการสนับสนุนระดับช่างฝีมือ หรืออาชีวศึกษา ที่ทำให้ระบบโครงสร้างแรงงานของสังคมไทย ไม่ค่อยตอบสนองกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ

 

ประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ควรได้รับการพัฒนา ที่เริ่มต้นจาก  การใช้ พหุปัญญา เพื่อการพัฒนาประชากร และแรงงานในสาขาต่างๆ

 

ข้อเสนอที่อาจจำเป็นต้องทำ ก็คือ การพัฒนาการศึกษาตามหลักของ พหุปัญญา โดยใช้หลักการของหลักสูตรท้องถิ่น ที่สามารถพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ผ่านชุดความรู้หรือวิธีปฏิบัติที่ทำอยู่แล้วในท้องถิ่น ที่เชื่อว่าน่าจะได้ผลอย่างน้อย ๓ ประการ คือ

 

๑.   ผู้เรียนสามารถเข้าใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเองได้ง่ายกว่าการเรียนเรื่องที่ตนไม่เคยได้ยินมาก่อน ทำให้มีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

๒.   ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้กับชีวิต และครอบครัวของตนเองได้โดยตรง

๓.   เป็นการพัฒนา และสนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสมกับระบบทรัพยากรและสังคมในแต่ละท้องที่

 

จากประโยชน์ทั้ง ๓ ประการ ดังกล่าวข้างต้น ทำให้มีความพยายามที่จะจัดให้มีหลักสูตรท้องถิ่นในทุกสถาบันการศึกษา แต่หลักการของหลักสูตรท้องถิ่นทั้งหมด จำเป็นต้องพัฒนาไปสู่กระบวนการเรียนรู้ที่สามารถเทียบกันได้ในแต่ละพื้นที่ โดยอาศัยเป้าหมายของการเรียนรู้ที่เหนือกว่าความรู้ในแต่ละท้องถิ่น ก็คือ ความเข้าใจในแก่นสารของสาระการเรียนรู้ของแต่ละวิชา โดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นเป็นเครื่องมือ

 

ประเด็นนี้ เป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่ง ที่ผู้สอนหลายท่านอาจจะไม่เข้าใจ จึงเพียงใช้หลักสูตรท้องถิ่นในการสอนให้ผ่าน ๆ ไปเท่านั้น มิได้เน้นแก่นสารของสาระการเรียนรู้ ของแต่ละวิชาที่ควรจะมี โดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นเป็นเครื่องมือ

 

สาเหตุที่สำคัญของเรื่องนี้ ก็อาจมาจาก การขาดความเชื่อมโยงของสังคมรอบ ๆ โรงเรียน และกิจกรรมในโรงเรียน หรือ สภาวะสังคมที่เปลี่ยนไป ที่ทำให้ผู้สอน และชุมชนรอบๆ โรงเรียนแปลกแยกออกจากกัน แตกต่างจากในอดีต ที่ผู้สอนและโรงเรียน มีความเชื่อมโยงกับชุมชนอย่างแน่นแฟ้น

 

ฉะนั้น แนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น จึงจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมโยง ระหว่าง ผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าด้วยกัน อย่างเป็นเนื้อเดียวกัน

 

ภายใต้หลักการนี้ จึงจำเป็นต้องมีความพยายามเข้าใจเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักการของ พหุปัญญา ที่สนับสนุนให้มีความหลากหลายของวิธีการประเมินผล

 

ดังนั้น พหุปัญญา จึงควรนำมาใช้เป็นหลักการพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาการศึกษา โดยอาศัยหลักสูตรท้องถิ่นเป็นเครื่องมือนำทาง แต่เป้าหมายสุดท้าย ก็คือ การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ของคนที่มีความแตกต่างกัน ในเชิงความรู้ความสามารถนั่นเอง

 

นี่เป็นแนวคิด และ หลักการที่ได้มาจากกระบวนการวิเคราะห์ พหุปัญญา และ หลักสูตรท้องถิ่น ที่ควรจะเชื่อมโยงและนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการสนับสนุนการพัฒนาครู พันธุ์ใหม่ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทร์เกษม และสถาบันอื่นๆ

 

จึงเรียนมาด้วยความเคารพ

หมายเลขบันทึก: 171350เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2008 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • ตามมารับทราบด้วยความเคารพ + รัก
  • เห็นด้วย และเราก็พิสูจน์กันอยู่อย่างต่อเนื่อง ว่าภายใต้หลักการอันนี้  ดนที่เข้าใจและนำไปใช้จริง  จะได้รับประโยชน์มาก สามารถดูดซับ ปัญญาจากกันและกันอย่างไม่รู้เบื่อ
  • บางครั้งอยู่ถึงตีสอง ตีสามก็ยังมีครับ และมีแนวโน้มว่าจะเป็นอีกเมื่อโอกาสอำนวย
  • ขอบคุณครับ .. กัดไม่ปล่อยเลยนิ ... อิ อิ อิ

ครับ

  • หวังว่านักศึกษาจะได้ใช้ประโยชน์นะครับ
  • ผมก็เพิ่งนึกหัวข้อที่จะพูดออกตอนจับไมค์นั่นแหละครับ
  • เกือบรับลูกไม่ทัน เพราะท่านพิธีกรก็เลียนแบบครูบาสุทธินันท์ ที่ไม่เคยเตือน หรือบอกอะไรล่วงหน้า
  • ใช้วิธี โยนไมค์ให้แล้วไปคิดเอาเองว่าควรจะพูดอะไร
  • ถ้าไม่พร้อมเดี๋ยวนั้นก็ตกม้าตายไปเลย อิอิ
  • อดฟังอาจารย์พูด
  • ดีที่ได้อ่านครับ
  • อาจารย์คิดว่า พหุปัญญา ในบางกรณี
  • นักศึกษาเราก็มี
  • แต่ไม่ค่อยได้ใช้ไหมครับ
  • เพราะบ้านเราตัดสินกันที่ข้อสอบอย่างเดียว

เรียน  ท่านอาจารย์ครับ

  • อยากให้ท่านช่วยวิจารณ์ทฤษฎี 2 สูง ของท่านประธาน CP ด้วยครับ เพราะเกี่ยวข้องกับการเกษตรตรง ๆ ครับ

ช่วยส่ง link มาให้ด้วยครับ

เพราะ เรื่องนี้ผมไม่ได้ติดตามมาก่อนครับ

ทฤษฎี 2 สูง ที่นี่ครับ

http://www.biothai.net/news/view.php?id=5453

จากการการตามเข้าไปอ่านเรื่อง ๒ สูง

ผมว่าเป็นการมองที่จะทำให้เงินเป็นตัวขับเคลื่อนระบบ 

ที่จะทำได้นั้นต้องมีคนที่ใช้เงินเป็ไม่ใช่ ถูกเงินใช้จนหัวปั่น ดังอยู่ในปัจจุบัน

คนที่ใช้เงินไม่เป็น ความรู้ไม่พอที่จะใช้เงิน

ยิ่งมีมากยิ่งทุกข์มาก

เหมือนกองทุนหมู่บ้าน กองทุนเงินล้าน

เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด ครับ

เรื่องนี้ก็คล้ายกับงานวิจัย ที่ว่ามีถ้างบประมาณน้อย

แต่...ถ้ามีงบมากจะดีกว่านี้ หรือจะเละกว่านี้

มองชัดๆ แล้วจะเช้าใจ

จึงสรุปว่า

ผมเห็นด้วยเพียงครึ่งเดียว

และถ้าอยากเป็นคนแบบ "ครึ่งผีครึ่งคน" และอยู่ในสังคมได้ ก็เชิญเลยครับ

ผมมีน้องชายสองคน คนโตอายุ 14 ปี เรียนอยู่ชั้น ประถม 6 คนเล็ก 12 ปี เรียนชั้น ประถม 5 น้องของผมทั้งสองคนนี้ มีปัญญาในเรื่องการจดจำตัวหนังสือ ที่ยิ่งกว่านั้นคนโตมีปัญหาการรับฟังคำสื่อสาร โดยมีอาการค่อนข้างเชื่องช้าในการเข้าใจ สอบถามมารดาแล้ว พบว่าน้องคนโตนี้เคยตกจากที่สูงตอนเด็กหลายครั้ง และมีการเจ็บป่วยตอนเด็กอยู่หลายครั้ง

ส่วนคนเล็กไม่พบประวัติการตกจากที่สูงแต่อาจมีปัญหาการถูกพรากจากมารดาไปอยู่กับยายบ้าง แต่ก้เป็นเวลาสั้น ตนที่แม่ตั้งครรภ์น้องทั้งสองคนนั้น มีโรคประจำโตเกี่ยวกับโลกหัวใจโต ตกใจง่ายและโรคอ่อนเพลียง่าย ผมได้สังเกตเห็นว่าน้องได้รับการเลี้ยงดูมาแบบไม่ถูกวิธีหลายประการ

มารดาชอบใช้อารมณ์กับลูกๆและสามี

เด็กถูกปกป้องจากแม่มากเกินไป ไม่มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเอง

พ่อของน้องทั้งสองคนเป็นคนที่ไม่มีเกียรติในสังคม

การเรียนการสอนในโรงเรียนนั้นน้องๆไม่สนใจ

แม่ก็ไม่ได้สนใจที่จะส่งเสริมการศึกษาของน้องๆ

เมื่อเด้กไม่สนใจแม่ซึ่งไม่เคยเรียนมาก่อนก็มักจะอ้างว่า

ตนเองเป็นคนโง่ไม่เคยเรียนหนังสือ ไม่สามารถสอนลูกได้

ส่วนพ่อของน้องก็ไม่เคยสำเร็จการศึกษาใดๆ ทั้งๆที่มีโอกาสพอสมควร เพราะเป็นคนไม่กระตือรือล้นในการสร้างเนื้อสร้างตัว ระหว่างที่น้องๆสองคนอาศัยอยู่กับครอบครัวของมารดานั้น น้องๆได้เกเรไม่เอาการไม่เอางาน ทุกอย่างปล่อยให้พี่สาวที่มีอายุมากกว่าเพียงแค่ 2 ปีรับผิดชอบ เพราะเป็นลูกของมารดากับผู้ชายอื่น

มีความแตกต่างระหว่างพี่สาวและน้องชายทั้งสองอย่างมาก

พี่สาวต้องรับผิดชอบการงานตั้งแต่ยังเด็ก แต่ยังสนใจเรียนอย่างมากและมีความสามารถหลายด้าน ยกเว้นการควบคุมอารมณ์ที่ยังคงไม่ค่อยมั่นคงตามอายุที่เป็นเด็กวัยรุ่น อายุ 16 ปี ทั้งๆที่ร่างกายของพี่สาวมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

ซึ่งอยู่ระหว่างการรักษา ปัจจุบันดีขึ้นมาก มีความรู้ความเข้าใจในชีวิตมากกว่าน้องชายที่มีอายุห่างกันแค่สองปีอย่างผิดสัง้กต

ผมจึงเข้าใจว่าเพราะขาดการศึกษา

ต่อมาในปี ค.ศ.2001 พ่อของน้องเสียชีวิตลง ผมได้ไปเยี่ยมครอบครัวของแม่

เห็นว่าน้องสาวเป็นผู้ที่ใฝ่เรียนแต่ขาดโอกาส จึงได้วางแผนใก้น้องสาวได้ไปอาศัยในหอพักเพื่อเรียนหนังสือในเมือง มารดาไม่ยอมอ้างว่าไม่มีใครช่วยงานบ้าน ผมจึงได้ต่อรองว่าถ้าให้น้องไปเรียนผมจะส่งเสียเองและจะจ่ายเงินให้ครอบครัวของแม่เดือนละ 500 บาท ตอนแรกแม่ก็ยังไม่ยอม ต่อมา ค.ศ.2002 สามีของแม่ที่เป็นพ่อของน้องชายเสียชีวิต ผมเห้นใจมารดาว่าคงเปล่าเปลี่ยว จึงได้ยุติข้อเสนอนี้ไป เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 7-8 เดือน น้องก็เรียนจบประถม 6 ที่หมู่บ้านบนดอยนั้นเอง ผมเห็นว่าอนาคตของเด้กผู้หญิงถ้าไม่ได้เรียนจะเป็นอันตรายอย่างมาก จึงได้เรียนประชุมเครือญาติเพื่อช่วยพิจารณาเรื่องนี้ และเสนอข้อตกลงเรื่องการส่งเสียน้องและการจ่ายค่าเลี้ยงดูครอบครัวของแม่ แม่จึงยินยอม

ในเบื้องแรกแม่และญาติๆให้น้องสาวไปอยู่กับน้าสาวแล้วไปเรียน ผลการเรียนของน้องอ่อนๆมากๆเมื่อเทียบกับเด็กในเมือง ผมจึงสงสารน้อง เข้าใจว่าเพราะไม่มีเวลาอ่านหนังสือเพียงพอและต้องช่วยงานบ้านหนักเกินไปจึงได้หาทางย้ายน้องไปอยู่หอพักที่ผมมีสายสัมพันธ์แห่งหนึ่ง

เวลาผ่านไปไม่นานน้องมีผลการเรียนดีขึ้น เริ่มมีความใฝ่ฝันที่ชัดเจนขึ้นและเอาใจใส่

เริ่มกล้าคิดกล้าแสดงออกและมีหลักการในชีวิตมากขึ้น มีความเป็นผู้ใหญ่เกินวัย

ตอนนี้น้องสาวคนนี้พ้นสภาพที่น่าเป็นห่วงไปแล้ว

แต่เรื่องของน้องชายสองคนนี้ก็ยังเป็นปัยหา

ผมได้กลับไปเยี่ยมม่อีกครั้ง เห็นว่าโรงเรียนไม่สามารถสอนให้เด็กสองคนนี้ได้

เพราะมีเวลาเรียนน้อยและครูไม่พอ

จึงต่อรองให้น้องชายไปเรียนในเมือง แม่ก็ยินยอม

ต่อมาได้ไปเรียนอยู่ที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์แห่งหนึ่ง

อยู่ในหอพัก ในปีแรกที่เข้าเรียน อายุของน้องชาย คนโต 11 ปี

คนชายคนเล็ก 9 ขวบ ต่างก็เข้าเรียนชั้น ประถมสอง ด้วยกัน

แต่ต่อมาครูพบว่าเด็กเรียนอ่อนมาก

ไม่สามารถเรียนรู้พญัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และตัวเลขได้

จนครูได้ย้ายให้น้องคนเล้กไปเรียนประถมหนึ่ง น้องชายคนโตเรียนประถม 2 ตลอดเวลาหลายปีผลการเรียนก็ไม่ดีขึ้น ทางครูจึงจัดให้เป็นเด็กพิเศษ ให้เลื่อนชั้นไปตามเพื่อนแต่แท้ที่จริงไม่สามารถเรียนรู้ได้ทันเพื่อนๆ

ปีนี้น้องชายคนโตกำลังขึ้นชั้น ประถม 6 ซึ่งทางโรงเรียนเสนอให้เอาออกจากโรงเรียน ผมจึงต้องหาทางให้น้องได้พัฒนาชีวิตต่อไปแต่อยู่นอกระบบการศึกษาไทยที่เน้นระบบท่องจำนี้

ผมยังไม่พบว่ามีสถาบันแห่งใดที่จะสามารถนำน้องไปอบรมต่อได้ จึงขอฝากเรื่องผู้มีพัฒนาการณ์ช้านี้ไว้นะครับ

ผู้มีพระคุณสามารถติดต่อผมได้ที่ อีกเมลล์นะครับ

[email protected]

นี่แหละระบบการศึกษาไทย

ผมคิดว่าอีกนานครับ ทุกคนมีปัญหา แม้แต่ครูเองก็ยังมีปัญหาหลายเรื่อง แล้วจะอุ้มใครได้

เมื่อไม่พร้อม ยิ่งอุ้มยิ่งลำบากทั้งครูและผู้เรียนเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท