บทเรียนจากนักเรียนชาวนา บทที่ ๒ : การจัดการน้ำในนา


เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้น้ำเกินความจำเป็น และมักเรียกร้องขอให้มีน้ำ โดยไม่จำเป็นต้องขอกันมากมาย หน่วยราชการที่ไม่รู้เรื่อง ก็พลอยเต้นแร้งเต้นกา ตามคำขอที่ปราศจากการใช้ความรู้ จึงทำให้การแก้ไขปัญหาไม่มีวันสิ้นสุด

 

          ผมคิดว่า คนส่วนใหญ่คงเข้าใจว่า

 

การทำนาต้องเริ่มต้นด้วยการมีน้ำ

 

ซึ่งเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป ซึ่งเป็นทั้งความจริงและความรู้สึก ทำให้เกษตรกรบางส่วนเรียกร้องหรือรอให้มีน้ำ จึงจะเริ่มทำนา

 

แม้กระทั่งมีบางคนรอให้ฝนตกน้ำท่วมนา แล้วจึงไปเริ่มทำนา

 

ซึ่งในสภาพความเป็นจริง การดำเนินการเช่นนั้น จะทำให้เสียโอกาสและศักยภาพการใช้น้ำในการทำนาเป็นอย่างมาก

 

ทั้งนี้เพราะการเจริญเติบโตของข้าวในช่วงแรกไม่จำเป็นต้องมีน้ำก็ได้

Oa380

แปลงกล้าในเขตแห้งแล้ง

เจริญเติบโตได้โดยไม่มีน้ำ

 

เราจึงสามารถเริ่มการทำนาได้ตั้งแต่ระยะที่ยังไม่มีน้ำ

Oa398

เกษตรกรทำนาในเขตแห้งแล้ง

ดำนาในที่ไม่มีน้ำ โดยใช้กาหยอดน้ำในหลุมที่ใช้ไม้สัก

แล้วปลูกกล้าลงในหลุมกลบ "รอฝน"

ที่อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

ภาพถ่ายเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เวลา ๙:๐๕ น.

Oa392 

เช่น การหว่านข้าวในสภาพแห้ง เมื่อมีฝนโปรยมา หรือแม้กระทั่งมีความชื้นในดินเล็กน้อย ข้าวก็งอกได้

 

พอมีน้ำในระยะต่อมาก็เจริญเติบโตจนให้ผลผลิตได้

 

ซึ่งพบว่า ในสภาพแบบนี้จะใช้น้ำจำนวนน้อยมาก

 

อันเนื่องมาจาก

 

1.  ต้นข้าวมีเวลานานในการรวบรวมธาตุอาหาร

2.  ไม่ต้องมีน้ำมาละลายธาตุอาหารมาก ๆ ก็เจริญเติบโตได้ โดยเฉพาะในระยะแรก ๆ

3.  เมื่อถึงระยะการให้ผลผลิต ข้าวบางพันธุ์อาจจำเป็นต้องมีน้ำ เพื่อทำให้ผลผลิตสมบูรณ์ เต็มเม็ดเต็มหน่วย

 

จากประสบการณ์การเริ่มทำนาของผม ในระยะ ๓-๔ ปีที่ผ่านมา พบว่า

 

ความจำเป็นในการมีน้ำในนานั้น ไม่มากเหมือนคนทั่วไปคิด

 

แต่การมีน้ำนั้น

 

ทำให้การจัดการวัชพืช หรือคุมหญ้าในนาทำได้ง่ายขึ้น

 

 แต่ไม่ได้หมายความว่า ถ้าไม่มีน้ำจะควบคุมวัชพืชไม่ได้ ซึ่งก็พบว่า มีวิธีอื่นๆ อีกมากมาย ที่สามารถควบคุมวัชพืชได้

 

เช่น การปล่อยให้ฟางคลุมไว้ในนา ในกรณีที่มีฟางมากพอ

 

หรือ ไถกลบฟางหลังการเก็บเกี่ยว

 

ก็จะทำให้ดินภาคอีสานส่วนใหญ่ที่เป็นดินทราย มีความร่วน โปร่งที่ผิวหน้าดิน วัชพืชไม่งอก และเก็บรักษาความชื้นไว้ในดินได้อีกทางหนึ่ง

 

จนสามารถใช้ความชื้นดังกล่าวในการปลูกพืชสดบำรุงดิน หรือถ้าหว่านข้าวลงไปก่อนการไถก็จะทำให้เป็นนาในปีต่อไปได้โดยไม่ต้องทำอะไร แต่อาจต้องมีการดูแล ถอนวัชพืชอีกเล็กน้อย

 

          ในบางกรณีอาจใช้นาดำเป็นตัวควบคุมวัชพืช โดยปล่อยให้วัชพืชขึ้นตามสบาย แล้วใช้วิธีไถกลบเมื่อมีน้ำก่อนการปักดำ ก็จะทำให้เป็นปุ๋ยพืชสดให้กับข้าวได้อย่างสบาย

 

เช่น ในกรณีของนาของพ่อวิจิตร บุญสูง ประธานเครือข่ายข้าวอินทรีย์ จังหวัดยโสธร ได้ปล่อยให้วัชพืชขึ้นสูงเมตรกว่า ท่านบอกว่า วัชพืช สูง ข้าวยิ่งงาม     วิธีปฏิบัติเช่นนี้ พบกันในกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์ ของจังหวัดยโสธรโดยทั่วไป

 

          การกำจัดวัชพืช โดยวิธีอื่นๆ ได้แก่

1.   การใช้แรงงานคนถอน หรือดาย ในขณะที่ดินแห้ง หรือมีความชื้นเล็กน้อย

2.   ถ้ามีน้ำ โดยเฉพาะน้ำขุ่น ๆ จากฝนตกใหม่ ๆ หรือน้ำระบายขุ่น ๆ มาจากที่อื่น ก็สามารถทดน้ำเข้านาให้ท่วมวัชพืช ประมาณ ๕-๖ วัน วัชพืชส่วนใหญ่ก็จะตาย คงเหลือแต่ข้าวที่สามารถเจริญเติบโตได้ โดยไม่ต้องกำจัดวัชพืช ซึ่งเป็นการลดสารเคมีได้อีกทางหนึ่ง

 

          สำหรับความต้องการน้ำของข้าว ที่ผมเพิ่งพบในช่วงที่ผมมาทำนาเองนั้น ผมทราบว่า การมีน้ำจำนวนน้อย หรือเพียงความชื้นในดินเล็กน้อย จะช่วยให้ข้าวแตกกอ ได้ดีกว่ามีน้ำขังด้วยซ้ำ เพียงแต่ว่าการมีน้ำจำนวนน้อย ทำให้วัชพืชอื่น ๆ เจริญเติบโตได้ดี ที่อาจจะมาแข่งขันกับข้าว

 

จึงทำให้เกษตรกรจำนวนมากคิดว่า

 

การปลูกข้าวจำเป็นต้องใช้น้ำมาก

 

บางครั้งที่การใช้น้ำมากส่วนใหญ่นั้น เป็นการควบคุมวัชพืช ซึ่งถ้ามีการควบคุมวัชพืชโดยวิธีอื่น ปริมาณการใช้น้ำในนาจะน้อยมาก ก็ได้ผลผลิตดี

 

 

          นี่คือ สิ่งที่ผมค้นพบจากการทำนาด้วยตนเอง ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปปรับเปลี่ยน ประยุกต์ใช้ แผนการดำเนินงาน เรื่องการจัดการน้ำในการทำนา ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด และคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ใช้ความรู้ในการจัดการวัชพืชมากกว่าที่จะใช้น้ำซึ่งมีอยู่ปริมาณไม่มากนัก ก็จะทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยเฉพาะทรัพยากรน้ำ ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด แต่ทรัพยากรความรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

 

          ผมจึงขอสรุปสั้น  ว่า

 

เราหันมาใช้ความรู้เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดดีกว่าใช้น้ำทรัพยากรอื่น ๆ อย่างฟุ่มเฟือย เพราะความรู้ไม่พอใช้กันดีกว่าครับ

 

          ผมมีชุดความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำอื่นๆ ที่จะมานำเสนอในระยะต่อไป โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดศัตรูพืช อื่น ๆ การเลี้ยงปลา การลด การทำลายของโรคแมลง ซึ่งจะมานำเสนอในระยะต่อ ๆ ไป

 

          จึงขอสรุป ณ วันนี้ สั้น ๆ ว่า

 

เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้น้ำเกินความจำเป็น และมักเรียกร้องขอให้มีน้ำ โดยไม่จำเป็นต้องขอกันมากมาย หน่วยราชการที่ไม่รู้เรื่อง ก็พลอยเต้นแร้งเต้นกา ตามคำขอที่ปราศจากการใช้ความรู้ จึงทำให้การแก้ไขปัญหาไม่มีวันสิ้นสุด

 

          ผมจึงขอให้เรามาลองทบทวนกันในมุมนี้ดีไหมครับ เราจะได้ใช้ทรัพยากรน้ำ ในการผลิตการเกษตรต่างๆที่คุ้มค่ากว่าเดิม

 

          ท่านว่า ดีไหม ครับ  ขอบคุณครับ...

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 195507เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2008 17:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • สวัสดีครับ...
  • ผมอยู่สุพรรณฯ ... เติบโตมาจากท้องทุ่งนา
  • ผมยินดี และดีใจมากที่ได้รับความรู้อันนี้
  • ซึ่งการทำนาส่วนใหญ่ จะเป็นเหมือนวิธีการสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ...ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง เพราะไม่เคยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้...
  • ผมคิดว่าถ้าชาวนาทุกคนได้รับความรู้นี้ ก็จะพัฒนาการเกษตรของเราไปได้อย่างดีในอนาคต
  • ผมคนหนึ่งที่คิดว่าจะต้องกลับไปอยู่กับท้องทุ่งในอนาคต
  • ขอบคุณครับ

- ดีครับอาจารย์ ผมเห็นด้วยครับ พื้นที่ที่ผมอยู่เป็นดินทรายจัด (80 % sand) ผมควรจะจัดการน้ำอย่างไรครับอาจารย์

- ผมประสบกับตัวเองเลยครับ มี 3 วันติดต่อกันน้ำไม่ไหล หรือจะไหลบ้างเป็นเวลา ผมมีถังเล็ก ที่บรรจุบัน ประมาณ 20 ลิตร กับการอาบน้ำ ใน 1 วัน พบว่า อาบพอครับ จากที่เคยใช้น้ำในการอาบ 1 ถัง ต่อครั้ง เมื่อสถานการณ์มันบังครับ 1 ถัง ต้องบริหารน้ำให้เพียงพอต่อการอาบ 1 วัน และผมก็ทำได้ครับ มาทำงานอย่างสบาย เหมือนกับการอาบ 1 ถัง/ครั้ง ตอนนี้ผมใช้ 1 ถัง ต่อการอาบ 2 ครั้งครับ แล้วจะทำให้ดีกว่านี้ต่อไป (แบบว่าต้องค่อยๆ เปลี่ยนชีวิตตัวเองด้วย เดี่ยวร่างกายตกใจ อิ อิ อิ)

- ผมว่าคนเราจะไม่ค่อยเห็นคุณค่ากับสิ่งที่ตัวเองมีอย่างเหลือเฟือ แต่จะเห็นคุณค่ามหาศาลเมื่อขัดสนในสิ่งนั้น

- ขอบคุณครับอาจารย์ ที่ตอกย้ำให้ผมได้คิดเรื่องน้ำมากขึ้น

  • ธุค่า...ลุงแหวงขา
  • ขอกอดดดดดดดดหน่อยนะค่ะ...คิดถึงค่ะ
  • จะชวนลุงแหวงไปเที่ยวที่นี่ด้วยค่ะ..
  • http://lanpanya.net

อ่านบันทึกนี้แล้วตะลึงครับ เป็นความรู้ที่ผมไม่เคยคิดว่าเป็นไปได้มาก่อนเลยครับ เพราะแถวทางใต้นั้นกว่าจะเริ่มการทำนาก็รอฝนจนน้ำเต็มท้องนาแล้วครับ

ที่จริงแล้วความรู้ในบันทึกนี้มีคุณค่าระดับนานาชาติทีเดียวครับ เพราะยังมีอีกหลายพื้นที่ในโลกที่ถือว่าเป็นพื้นที่ปลูกข้าวไม่ได้ครับ ผมนึกถึงหลายๆ ประเทศในอาฟริกาที่ต้องนำเข้าข้าวปริมาณมากครับ

  • ท่านแสวงที่รัก
  • อ่านบทความของท่านเรื่องการจัดการน้ำและเรื่องของการทำนาด้วยตัวเองหลายตอน
  • กลับย้อนมาดูที่ตนเอง ลงมายืนมองสวนหญ้าญี่ปุ่นงดงามที่บ้าน  งดงามเพราะนกจ้างเขาหมด ตั้งแต่ ตัด ตกแต่ง พรวนดิน ให้ปุ๋ย บางครั้งเดิน ๆ ไป เอ๊ะให้นึกแปลกในว่าทำไมพื้นดินมันแข็งและเหมือนมีตะไคร่เป็นเมือกสีเขียว ๆ เต็มบริเวณไปหมด ก็จ้าง(อีกนั่นแหละ) ให้เขามาจัดการให้ 
  • รู้สึก อาย ท่านแสวงนัก วันนี้เวลาว่างช่วงเย็นจะลงไปเดินและจะเอาพลั่วไปพรวนดินให้ต้นไม้เขาบ้าง
  • เย็นนี้ จะยิ้มและจะคุยกับต้นไม้ทุกต้นค่ะ ท่านแสวง

ขอบคุณครับท่านพันธมิตร นักจัดการความรู้ทั้งหลาย

ผมคิดว่านี่คือ

KM ธรรมชาติ

ที่ผมพยายามจะสื่อมานานกว่า ๒ ปี ตามอายุของ gotoknow

การปฏิบัติจริง จะทำให้ได้ของจริง ของใหม่ และไม่มีวันสิ้นสุด

ทรัพยากรอาจมีอยู่เท่าเดิม แต่ความรู้เกิดใหม่ได้ทุกวัน

การแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องใช้ความรู้ใหม่ๆ ที่อิงกับความจริงของธรรมชาติครับ

รูปเหล่านี้ (มีอีกมากครับ) ผมจะไปนำเสนอที่ประเทศเอธิโอเปีย ในการประชุมน้ำโลก ปลายปีนี้ครับ

ขอบคุณมากครับ ที่ให้แนวคิดและกำลังใจ

 

  • ขอบคุณครับท่าน ดร. แสวง  มีอาจมีโอกาสไปทำนา  เพราะใกล้ชิดข้าวมาตลอดเกือบทั้งชีวิต  จะนำไปความรู้นี้ไปเผยแผ่ให้มากที่สุด  ต้องขออนุญาตท่านด้วยนะครับ

ด้วยความยินดีครับ

ถ้าผมจะเป็นประโยชนืกับสังคม ผมทุ่มสุดตัวครับ

มาอ่าน เพิ่งทราบเหมือนกันค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์แสวง

จริงๆแล้วผมว่าพวกเราน่าจะเรียกว่า "คุณครูแสวง" เพราะคำว่าคุณครูฟังดูแล้วมีคุณค่าและใกล้ชิดกว่า อาจารย์

ผมข้องใจนิดหนึ่งครับมีคำถามดังนี้

1. คุณครูพยายามที่จะไม่ดำ ไม่ไถนา แต่ในบันทึกฉบับนี้ คุณครูพูดถึงเรื่องการไถเพื่อกำจัดวัชพืช ก็เลย งงๆ ครับ รบวนคุณครูขยายความตรงนี้หน่อยครับ

ก็เป็นทางเลือก ที่ผมไม่ได้ทำไงครับ

แต่ผมเรียนจากคนอื่น ที่เขายังไถอยู่ครับ

เผื่อไว้ให้เลือกครับ

นาผมไม่ไถครับ

อยู่ทางใต้ เคยเห็นญาติทำนา หว่านกล้าแห้งนั้นพอไหว แต่ทำไมเขาจึงต้องการน้ำมากเวลาถอนกล้า เพราะถ้ามีดินติดรากขึ้นมามากเป็นก้อนใหญ่ เขาต้องฟาดกับเท้า เอาดินอก แล้วเขย่าล้างในน้ำ แต่การปลูกแบบแทงหลุมแล้วต้องเอาน้ำใส่กาหยอดทีละหลุมนี่ ชาวบ้านที่ทำเขารู้สึกว่ามันลำบาก เสียเวลา ทำได้ช้า ถ้าชาวนามีนา 20 ไร่ แล้วทำแบบหยอดน้ำทีละหลุม ตลอดฤดูจะทำได้กี่ไร่กัน วิธีนี้เหมาะกับคนที่มีอาชีพอื่นเป้นหลัก แล้วมาทำนาเป็นงานอดิเรก หรืองานวิจัยทดลอง

เหมาะกับ

  • คนจนที่มีแรงงาน
  • ในเขตแห้งแล้ง และ
  • ต้องการปลูกข้าวไว้บริโภคเองครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท