บทเรียนจากนักเรียนชาวนา บทที่ ๒.๑ : ข้าวไม่ต้องการน้ำมากอย่างที่เล่าลือกัน


เมื่อผมทำนาในระยะแรกๆ ผมเข้าใจว่า

ข้าวต้องการน้ำมาก จึงอัดน้ำใส่นาไว้ทุกครั้งที่ฝนตก

แต่ปรากฏว่า

ข้าวไม่ค่อยแตกกอ

แต่กลับกัน ข้าวนอกนาบนคันนา ที่น้ำไม่ท่วมกลับแตกกอดี

ปีนี้ ผมจึงปล่อยน้ำออกเต็มที่หลังจากจัดการหญ้าแล้ว

ปรากฏว่าข้าวแตกกอดีมาก

เมื่ออายุ ๓ เดือนได้ถึง ๖๐ ต้นต่อเมล็ด (กอละเม็ด หรือ ดำซ่อมกอละต้น)

และได้เกือบร้อยต้นเมื่อ อายุ ๓ เดิอน

แสดงว่าช่วงแรก ข้าวไม่ต้องการน้ำแช่ขังแต่อย่างใด แต่อาจจะต้องการตอนติดเมล็ด ที่ต้องการน้ำไปละลายธาตุอาหารในดินมาเลี้ยงเมล็ด

ผมเลยเพิ่งทราบว่าข้าวไม่ต้องการน้ำมากอย่างที่เกษตรกร และนักวิชาการเข้าใจกัน

ผมก็หลงเข้าใจผิดมาตั้งนาน

ถ้าเช่นนั้นเกษตรกรต้องการน้ำไปทำอะไร

ก็คงคุมไม่ให้หญ้างอก หรือแข่งกับข้าว

ถ้าเราจัดการหญ้าได้ ก็คงไม่ต้องเปลืองน้ำ เปลืองธาตุอาหาร เปลืองแรงงานในการดูแล

ผมว่าเราเก็บน้ำไว้ทำอย่างอื่น แล้วมากำจัดหญ้าแบบใช้น้ำน้อยๆดีกว่าครับ

ลองย้อนกลับไปอ่านบทที่ ๒ ครับ มีคำตอบสำหรับแต่ละคนครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 200080เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2008 04:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2012 07:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

การที่อาจารย์บอกว่าข้าวที่ปลูกนั้นต้องการน้ำน้อยแล้วการให้น้ำแก่ข้าวต้องจำกัดช่วงการให้น้ำหรือเปล่าค่ะ ถ้าหากจำกัดน้ำแล้วแร่ธาตุที่มีอยู่ในน้ำนั้นจะสามารถเปลี่ยนมาเป็นธาตุอาหารที่พืชนั้นต้องการได้อย่าง

แก้ไข... การที่อาจารย์บอกว่า ข้าวเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยแล้วการให้น้ำแกต้นข้าวนั้นจำกัดช่วงเวลาการให้น้ำหรือเปล่าค่ะ (หมายถึงว่า ให้ทุกช่วงการเจริญเติบโตหรือเปล่าค่ะ)ถ้าหากให้เป็นช่วงแล้วช่วงที่ไม่มีน้ำพืชจะสามารถที่จะเอาแร่ธาตุที่มีอยู่ในดินมาใช้ได้อย่างไรค่ะ " หรือว่าในพืชนั้นมีธาตุอาหารสำรองยามเมื่อขาด"

คุณดอกคำฝ้าย ครับ

ในระยะแรก ๆ ข้าวจะเหมือนพืชไร่อื่นๆ เจริญเติบโตได้ในดินที่มีความชื้นธรรมดา หรืออาจจะมากกว่า ก็นิดหน่อย แค่พอดินแฉะๆ ไม่ต้องมีน้ำขังก็ได้

การมีน้ำขัง กลับทำให้การแตกกอของข้าวลดลง ต้นข้าวอ่อนแอต่อโรคแมลง ผมจึงระบายน้ำออกในช่วงนี้ตลอด ให้มีน้ำพอชื้นๆเท่านั้น และหวังว่า ประมาณช่วงกันยายน-ตุลาคม จะมีน้ำมากพอที่จะขังไม่เกิน 2-3 นิ้ว ก็พอเพียงต่อการติดเมล็ดและให้ผลผลิต

นี่คือ ความหมายที่ผมบอกว่า ข้าวต้องการน้ำน้อย

แต่..ทำไม ? ชาวบ้านทั่วไปจึงใช้น้ำมากกว่านี้

ผมขอเดา.นะครับ..(เพราะคำตอบจริง จะต้องมาจากงานวิจัย) ว่า การขังน้ำปริมาณมากจะช่วยลดการแข่งขันของหญ้า ดังนั้นผมจึงกำจัดหญ้าให้หมดในครั้งเดียวเพื่อจะได้ประหยัดน้ำในระยะต่อไป ไม่ปล่อยให้หญ้ามารบกวนจนเราต้องกังวลในการจัดการน้ำแบบไม่มีวันสิ้นสุด ผมจัดการน้ำให้หญ้าตายเพียงครั้งเดียว ขณะที่ข้าวอายุไม่เกิน 1 เดือน ต่อไปปล่อยดินให้แห้งจนถึงระยะที่ข้าวออกดอก จึงจะเก็บน้ำไว้นิดหน่อย นี่คือเทคนิคครับ

สนใจ ขอเชิญที่แปลงได้ทุกวัน โทร.บอกล่วงหน้าด้วยครับ จะได้อยู่รอ

อ.แสวง ค่ะ อยากทราบเกี่ยวกัยต้นข้าว การที่ต้นข้าวในบางครั้งมีการเจริญเติบโตที่ไม่ค่อยเต็มที่เกี่ยวกับดินที่เสื่อมสภาพมากน้อยเพียงไหร่ค่ะ เพราะว่าชาวบ้านส่วนใหญ่นั้นทำนาบริเวณเดิมที่ขาดการฟื้นฟูแล้วจะมีวิธีเพิ่มแร่ธาตุในดินนั้นได้อย่างไรค่ะ(แบบคนที่ขี้เกียจ) ขอความกรุณาค่ะ

เมื่อดินเสื่อม ก็จะไม่สามารถให้ธาตุอาหารกับพืชได้ รากเจริญไม่ได้ ดินแน่นขาดอากาศและน้ำ

วิธีที่ชาวบ้านแก้แบบเฉพาะหน้าก็คือ

๑. ใส่ธาตุอาหารในรูปสารเคมี แบบตรงๆ พืชดูดทันก็ทัน ไม่ทันก็สูญหาย พืชที่ปรับตัวได้แล้วต้องดูดให้ได้มากที่สุด ที่ปรับตัวไม่ได้ก็ใช้เกินจนเป็นพิษ หรือใช้ไม่ทันเลยสูญหายมาก ประสิทธิภาพต่ำ

๒. ไถพรวนบ่อยๆ ให้ดินโปร่งแบบชั่วคราว และก็จะแน่นใหม่อีก พืชจะรากขาด แต่ก็ดีกว่าขาดอากาศ โตได้เป็นพักๆ

๓. ให้น้ำบ่อย แต่ก็จะแฉะบ้างแห้งบ้างสลับกัไป พืชก็ต้องทนให้ได้ ไม่ทนก็ถูกคัดทิ้งไป

การเกษตรที่ทำลายดินจึงมีผลทำลายพืชไปในตัว ในนามของ "การคัดเลือก" โดยธรรมชาติ

นึกเอาเองก็ได้ว่า ถ้าเป็นเราจะมีความสุขแค่ไหนกับ

๑. กินอาหารเดือนละครั้งเป็นอย่างมาก อาหารที่พอหากินได้เองก็ไม่ค่อยมี โดนทำลายหมด

๒. หายใจยาก ไปไหนก็ยาก แต่ก็มีบางวันโดนตัดจมูก ต้องรีบสร้างจมูกใหม่ ไม่งั้นตาย

๓. บางวันก็น้ำท่วม บางวันก็แห้งแล้ง ต้องทนให้ได้

พืชที่น่าสงสารเหล่านี้ ก็ยังไม่เคยโกรธคน ยังรับใช้คนเหมือนเดิม

แต่ถ้าเอาสารพิษใส่ให้ คนที่จะได้รับสารพิษก็คือคน

เช่นเดิม พืชไม่เดือดร้อนด้วยหรอก เดี๋ยวก็ตายจากไปรอคนที่กิน ที่ฉีดสารพิษแล้ว

 

แล้วถ้าเราจะใช้ระบบธรรมชาติแก้ไข ควรจะทำยังไงครับ ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป

ผมกำลังมองไปถึงโครงสร้างใหญ่ของระบบเกษตรไม่จำเพาะเจาะจงเฉพาะข้าวครับคุณครู

ไปนั่งดูดินในป่าสักพักจะเข้าใจทุกอย่างมากกว่าผมพูดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท