บทเรียนจากนักเรียนชาวนา บทที่ ๘ การทำนาแบบไม่ดำ ไม่หว่าน แต่ทำให้ข้าวเกิดขึ้นใหม่ได้เอง


นอกจากเมล็ดข้าวจะร่วงและงอกเองได้แล้ว ยังมีลูกข้าวเกิดขึ้น ที่ผลิตเมล็ดใหม่ได้อย่างมากมาย แล้วจะหว่านไปทำไม

หลายท่านที่ติดตามการเรียนวิธีการทำนาแบบประหยัดของผม ก็คงทราบดีว่า ผมมีเป้าหมายอะไร ในการทำนาแบบนี้

ในช่วงที่ผ่านมา คนชอบถามผมว่า ถ้าไม่หว่าน แล้วจะมีเมล็ดข้าวที่ไหนมางอกเป็นต้นข้าวใหม่

ผมจึงกลับมาคิด และทำไป สังเกตไปจึงได้ข้อสรุปแหล่งที่มาของเมล็ดข้าว ดังนี้

แหล่งแรก เมล็ดข้าวที่ติดมากับฟางที่นำมาคลุม ก็มีมากมายเกินพอ ไม่หว่านอีกก็ได้อยู่แล้ว

แหล่งที่สอง เมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในระหว่างการเก็บเกี่ยว ก็มีอีกไม่น้อย

แหล่งที่สาม รวงข้าวที่หลุดรอดจากการเก็บเกี่ยวก็มากพอสมควร เพราะนาผมไม่ได้เก็บข้าวเรี่ยเหมือนในอดึต

แหล่งที่สี่ ในบริเวณหรือจุดที่ดินชื้นก็มีลูกข้าวงอกมาแล้วติดเมล็ดอีกมากมาย ให้เมล็ดเหลือเฟือ

แหล่งที่ห้า (ถ้าจำเป็น) ก็อาจหว่านเสริมสักเล็กน้อย หลังการสังเกตการงอก

แหล่งทีหก (ถ้าจำเป็น) ก็อาจถอนแยกมาดำซ่อมในจุดที่ข้าวห่างเกิน ๕๐ ซม

(แต่แหล่งที่ห้า และหก ส่วนใหญ่แล้ว มักไม่จำเป็นต้องทำ)

ดังนั้น นอกจากเมล็ดข้าวจะติดมา ร่วง และงอกเองได้แล้ว ยังมีลูกข้าวเกิดขึ้น ที่ผลิตเมล็ดใหม่ได้อย่างมากมาย แล้วจะหว่านไปทำไม ผมก็ยังสงสัยจริงๆครับ

อยู่เฉยๆ ไม่สบายกว่าหรือครับ

หมายเลขบันทึก: 248515เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2009 00:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีครับ อาจารย์ ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • ปัจจุบันนั้นชาวนาทำนาแบบทุนนิยม
  • นายผลผลิตแล้วบางเจ้าก็ขาดทุน มีกำไรไม่สามารถดำรงชีพได้
  • เป็นเพราะต้นทุนมากเกินไป
  • ข้อแก้ไขเกษตรอินทรีย์อย่างที่อาจารย์ว่านั้นน่าจะแก้ไขปัญหาได้
  • ปัจจุบันเกษตรหลงทางแล้วครับทำนาใช้ทุนอย่างเดียว ที่นากำลังถูก ธกสํ. เร่งรัดหนี้สิน กู้นายทุนใช้หนี้ ธกส.สุดท้ายขายที่นา

สวัสดีค่ะ อ.แสวง แวะเอาดอกศรีตรังมาฝาก เพราะมันใกล้ร่วงแล้วค่ะ

เป็นไปตามธรรมชาติค่ะ

นึกสภาพว่าพื้นที่ทำเกษตรของไทยตกเป็นของนายทุน70% แล้วก็ต้องออกที่ สปก.ให้กับเกษตรกรใหม่ แล้วก็ต้องตกไปเป็นของนายทุนอีกใน 10 ปีข้างหน้าเนื่องจากเราตกอยู่ในวังวนเดิมๆ ก็ปวดหัวแล้วครับ

ถึงเวลาแล้วที่ลูกหลานเกษตรกรต้องกลับสู่บ้านของตัวเอง กลับสู่วิถีดังเดิมของบรรพบุรุษตัวเอง โดยถือโอกาสที่ทุนนิยมกำลังเสื่อมถอย ปลดแอกให้กับตัวเองและครอบครัว เถอะครับ

เราต้องมีความรู้ให้พอใช้ครับ

หลับหูหลับตาทำ ไปไม่รอดแน่นอน

บางคนที่ผมไปสะกิดให้ตื่น กลับพูดต่อว่าเชิงประชดใส่ผมอีกนะครับ

น่าสงสารจริงๆ

ใครพอมีแรง ช่วยกันหน่อยครับ

ตอนนี้ประเทศไทยได้โอกาสดีที่จะได้เรียนรู้การแก้ปัญหาให้ชาวนามากขึ้นในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมพื้นที่ด้วยควายไทย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปุ๋ยชีวภาพ หรือรูปแบบการทำนาดังที่ท่านอาจารย์ ดร.แสวง และหลายๆท่านได้นำเสนอ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ให้เข้าใจจึงจะทำแล้วได้ผล หากทำอย่างไม่เข้าใจก็จะคิดว่าวิธีการดังกล่าวไม่ได้เรื่อง แต่จริงๆแล้วต้องอาศัยความเข้าใจตัวตนซึ่งต้องใช้เวลาและความตั้งใจที่จะทำเพื่อพัฒนางานของตนให้มีต้นทุนต่ำผลผลิตมีคุณภาพผู้ปฏิบัติมีความสุขและปลอดภัย จึงจะนำไปสู่ความสำเร็จจริงหรือเปล่าครับ

ที่ผ่านมาเป็นครูที่ทำให้เราทราบกันดีแล้วว่าได้ผลผลิตปริมาณมากทันใจแต่ผลเสียที่ตามมาก็มีมากมายเช่นกัน

เห็นด้วยกับคำกล่าวของท่านอาจารย์ ที่ว่า "ใครพอมีแรง ช่วยกันหน่อยครับ"

ไทยไม่ช่วยไทยแล้วใครจะมาช่วยเราครับ เขาก็ต้องช่วยตัวเขาเองก่อน

หากเราช่วยตัวเองได้เมื่อไหร่เราก็จะสามารถช่วยได้ทั้งโลกเลยจริงหรือเปล่าครับ เนื่องจากทั่วโลกโลกกำลังจะเข้าสู่ภาวะวิกฤตทางสภาพอากาศซึ่งมีผลต่อผลผลิตด้านอาหารและด้านอื่นๆที่จะส่งผลต่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต แล้วใยมนุษย์ยังจะคิดทำร้ายกันเอง

เห็นด้วยกับอาจารย์อย่างยิ่งครับ? ผมทดลองมา 2 ปี ครับ... เนื่องจากปีก่อนโน้น...ผมใช้รถเกี่ยวข้าว....มันสุดยอดมากครับ...ข้าว 1 ไร่ ทิ้งไป 2 กระสอบป่านครับ...ไม่รู้จะเก็บอย่างไร...ผมลองไถกลบดู..อาจารย์ครับ..ไม่ต้องหว่านครับ...ฝนมา..ข้าวมันขึ้นใหม่งามกว่าเดิมอีก...ปีนี้เช่นกัน..ฝนมามันขึ้นแล้วครับ...ลดค่าใช้จ่ายเยอะครับ...ฝากอาจารย์ตะโกนดังๆบอกพี่น้องชาวอีสานบ้างน่ะครับ...

ดีมากครับ ผมก็ว่างั้นแหละครับ

ชาวนาทำนาแบบ "ทำตามๆกันมา" นานเกินไปหน่อยแล้ว

เราลองหันมาทำนาแบบ "ใช้ความรู้" กันหน่อยดีไหมครับ

และคนที่มีความรู้เกี่ยวกับที่นาดีที่สุด

ก็คือ "เจ้าของนา" นั่นเอง

อย่าไปหวังพึ่งคนอื่นเลย มีแต่ความรู้ไม่ตรงกับพื้นที่ของที่มี และมักใช้ไม่ได้

มาเรียนรู้เองดีกว่าครับ

แน่นอนกว่า

เห็นด้วยกับคุณครูแสวงที่บอกว่า ทำตามๆกันมา ไม่ได้ใช้ความรู้ในการจัดการ

ผมอยากจะเพิ่มคำว่า เลิกเถอะครับการทำเกษตรแบบจุดธูปขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พุทธศาสนาสอนให้ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เท่านั้นครับ

เดี๋ยวนี้ชาวนาเริ่มจะปั้นคันนาไม่ค่อยเป็นแล้ว

นาจำนวนหนึ่งที่ผมเห็น ก็คือ

คันนาสูงเท่าๆกับพื้นนา หรืออย่างมากก็คืบเดียว

กักน้ำก็ไม่ได้ กันน้ำท่วมก็ไม่ได้

ใช้แค่เป็นแนวกันเขต

มักง่ายอย่างนี้ จะเจริญได้อย่างไร

จริงไหมครับ

สวัสดีค่ะ

นี่เป็นครั้งแรกที่หลงเข้ามาอ่านจากการเสิร์ชหาค่าจ้างเฉลี่ยของคนงานทำสวนค่ะ กำลังจะต้องทำสวนกล้วยโดยที่แทบจะไม่มีความรู้พื้นฐานอะไรเลยค่ะคลิ๊กไปคลิ๊กมาเลยได้เข้ามาบล็อคอาจารย์เฉยเลยนับว่าเป็นโอกาสอันดีมากที่ได้เจอแหล่งความรู้ขนาดใหญ่ในเรื่องใหม่ๆที่ตัวเองไม่เคยได้รู้

อ่านแล้วรู้สึกว่าการทำนาแบบใช้ความรู้นี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเช่นกันนะคะที่บ้านก็มีที่นาอยู่ประมาณสี่สิบกว่าไร่แต่ก็ให้เค้าเช่าเก็บค่าเช่าคิดแค่ปีละครั้งแต่เห็นเค้าทำปีหนึ่งสามครั้งค่ะ ก่อนหน้านี้ไม่เคยสนใจเรื่องการทำนาเลยนะคะแต่พอมาอ่านบล็อคของอาจารย์แล้วกลับรู้สึกว่าการทำนาเป็นสิ่งที่น่าสนใจและน่าทดลองมาก อย่างไรขออนุญาตแอบๆอ่านแอบศึกษาขอความรู้จากบล็อคของอาจารย์และขออนุญาตฝากตัวเป็นศิษย์ด้วยคนนะคะ

ด้วยความยินดีครับ

ทำนาสนุกจริงๆนะครับ

ตอนนี้ผมยอมรับว่ามี ๒ อาชีพครับ

หวัดดีค่ะ อาจารย์ น่าสนใจนะค่ะ ไม่ต้องหว่านเพิ่มอีก ปีนี้จะลองใช้วิธีของอาจารย์ดูค่ะ หรืออาจจะหว่านเพิ่มนิดหน่อย ยังไงจะรายงานผลให้อาจารย์ทราบนะค่ะ จะลองทำดูค่ะ

หวัดดีค่ะ

ครับ

ใช้ความรู้สนุกอย่างนี้แหละครับ เพราะมันจะต่อยอดไปเรื่อยๆ ครับ

ผมตามมาอ่านเก็บความรู้ แต่ไม่แน่ใจว่าถ้าถามในกระทู้เก่านี้อาจารย์จะตอบเพิ่มเติม

ให้หรือเปล่านะครับ

ผมสงสัยเรื่องลูกข้าวครับ

คือ การทำนาปี น่าจะเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นเดือน พย.- ธค ของแต่ละปี

แล้วจะไปเริีม ดำ หรือ หว่าน กันอีกในช่วง พค-กค ของปีถัดไป

แต่ลูกข้าวที่เกิดขึ้นใหม่นี้ เป็นการปลูกข้าวนาปี หรือ นาปรังครับ

ถ้าเป็นข้าวนาปรังผมพอนึกภาพออกครับ แต่ถ้าเป็นข้าวนาปีแล้วละก็

เราจะปล่อยให้ลูกข้าวเติบโตไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ มค. กพ ไปเรื่อยๆ เลยหรือครับ

แล้วเราต้องไปหว่านเพิ่มในเดือนไหนครับ

ขอบคุณครับ

เกิดตอนไหนมันก็ร่วงลงนาอยู่ดี

ขอให้มีความชื้นเท่านั้น ถ้าไม่มีก็ต้องพึ่งข้าวร่วง ข้าวเรี่ยครับ

นี่เป็นแค่แนวคิด การปฏิบัติต้องสังเกตและดูแลดีๆ จะได้ไม่ต้องหว่านใหม่

แต่ลูกข้าวที่กำลังติดรวงของผม โดนปลากินหมดตอนสงกรานต์ที่ฝนตกน้ำท่วมนาผม ผมก็เลยต้องหว่านเสริมมากหน่อยครับ

ตอนนี้งอกงามเต็มแปลงแล้วครับ

สวัสดีครับอาจารย์

ผมกับแฟนก็กำลังจะลาออกจากงาน กลับไปเป็นเกษตรกรที่บ้านเกิด จ.พิจิตร ครับ

รู้สึกกดดันเหมือนกันครับ เพราะพี่ น้อง ฝั่งภรรยา ไม่อยากให้ลาออก เพราะว่าเสียดายเงินเดือน แต่ผมกับแฟนมีความคิดเหมือนกันคือ ต้องการไปทำให้สำเร็จตามแนวพระราชดำรัสของในหลวง เพื่อเป็นแบบอย่าง และจะได้สอนคนอื่นต่อไป เพราะชาวนาแถวบ้านคิดไม่ค่อยเป็น จะเชื่อก็ต่อเมื่อเราทำให้เห็น หลังจากนั้นพวกเขาก็จะเรียนแบบเราทุกอย่าง และพร้อมทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองได้ผลประโยชน์มากที่สุด ไม่สนใจว่าคนอื่นจะเป็นอย่างไร นี้แหละครับคนแถวบ้านผม ไม่รู้ว่าผมจะสามารถจับมารวมกลุ่มกันได้หรือเปล่า

ทำไมผมถึงอยากเป็นชาวนา? ผมถามตัวเองเพื่อต้องการตั้งวัตถุประสงค์ และจะได้เดินไปสู่ความสำเร็จได้ โดยไม่ต้องเดินอ้อมไปที่อื่น อาจจะหลงทางได้

อาชีพชาวนาของพ่อและแม่เป็นอาชีพที่วิเศษที่สุดแล้ว ไม่ต้องขอใครกิน พึ่งตนเอง ไม่มีใครมาไล่เราออก ไม่ต้องกลัวเจ้ง เพราะเราไม่ได้ทำเพื่อการค้า เราทำเพื่อมีกินมีใช้ เหลือก็แบ่งปัน

ผมเคยคิดว่าถ้าผมยังคงทำงานบริษัทเอกชนอยู่ ผมจะบอกลูกว่า"ครอบครับผมทำอาชีพอะไร" อาชีพรับจ้างหรือ? ผมว่ามันไม่น่าจะเรียกเป็นอาชีพได้เลย ดูมันไม่มีศักดิ์ศรีเอาเสียเลย เราจะทำอะไรอย่างที่เราคิดก็ไม่ได้ ถ้าผู้จัดการไม่เห็นด้วย บางที่เขาก็ทำงานตามชื่อตำแหน่ง คือ จัดการทุกอย่างโดยไม่ให้เราคิดอะไรเพิ่ม มาทำงานเอาแค่แรงมาก็พอ สมองไม่ต้อง

หลังจากผมได้อ่านบทความของ อาจารย์ เรื่อง ลูกชาวนา กลับมาทำนา เพื่อสอนชาวนา ให้เป็นชาวนา ทำให้ผมมีกำลังใจขึ้นเยอะเลยครับ

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ก็คือ ตอนนี้ที่บ้าน มีคนทำนาเป็นและกำลังทำอยู่ในปัจจุบันมีแค่ 4 คน ทุกคน อายุสูงกว่า 50 ปีทั้งหมด คนเหล่านี้จะอยู่ได้อีกกี่ปี ถ้ายังทำนาแบบใช้สารเคมีอยู่ ผู้สืบทอดเชื่อสายก็ถูกส่งไปเป็นลูกจ้างหมด ทำนาไม่เป็นแน่นอน อย่างมากก็กลับมาขายที่ แล้วตอนนี้น้ำมัน,ปุ๋ย ก็แพง แล้วชาวนาแถวบ้านผมจะคิดวิธีลดต้นทุนเป็นหรือ?

ตอนนี้ผมแจ้งหัวหน้าเรื่องการวางแผนลาออกของผมแล้วครับ เพื่อเป็นการยืนยันความต้องการของตัวเอง

สู้ๆๆครับอาจารย์

ขอคารวะในการตัดสินใจที่ถูกต้อง และเด็ดเดี่ยว

ถ้าท่านเรียนไปเรื่อยๆ จะสำเร็จเมือนคุณหมอบุญจันทร์ ที่ปราจีนบุรี

ท่านใช้มุนน้อย ทำแบบพอเพียงไปเรื่อยๆ แล้วในที่สุดก็โต

ปัจจุบันท่านมีรายได้ประมาณเดือนละ แปดหมื่นบาทจากพื้นที่ ๖ไร่ และก็ยังทำแบบพอเพียงอยู่เช่นเดิม

ถ้าม๊โอกาสอยากให้ไปแลกเปลี่ยน จะมีกำลังใจ และแนวทางที่ดีอีกมากเลยครับ

ของผมทำเพื่อคนอื่นซะมาก เลยไม่ค่อยชัดในตัวเองเท่าไหร่

เพราะใช้สมมติฐานของคนอื่น เพื่อให้คนอื่นทำตามได้

การทำเพื่อตัวเอง จะชัดเจนกว่ามากครับ

ขอให้โชคดีนะครับ อย่างไรอย่าลืมส่งข่าวบ้างนะครับ

บอกที่ตั้งแปลงยิ่งดี ผ่านไปจะไปเยี่ยมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท