บทเรียนนักเรียนชาวนาบทที่ ๑๑ ข้อดีข้อเสียของการเลี้ยงปลาในนาข้าว


การเลี้ยงปลา เป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญในการดูแลน้ำ บ่อน้ำ คุณภาพน้ำ และลักษณะน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา เรียกได้ว่า มีอะไรได้ทดลอง เรียนรู้มากมาย

หลังจากทำนามาเป็นปีที่ ๔ ผมเริ่มจับประเด็นการเลี้ยงปลาในนาข้าวได้ชัดเจนมากขึ้น และพอจะสรุปประเด็นสำคัญได้เป็นลำดับดังนี้

1.    ในระยะแรกๆ การเลี้ยงปลา เป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญในการดูแลน้ำ บ่อน้ำ คุณภาพน้ำ และลักษณะน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา เรียกได้ว่า มีอะไรได้ทดลอง เรียนรู้มากมาย ตั้งแต่ ความพยายามจะทำน้ำให้ใส ตามหลักการของกรมประมง (ที่ผมพบว่า ไม่จำเป็นเลย เพราะ น้ำขุ่น ทำให้หญ้าตายเร็ว คุมหญ้าได้ง่าย ดีกว่าน้ำใสมากมาย)

2.    นอกจากความพยายามทำน้ำให้ใส ก็ยังหาวิธีลดโอกาสขโมย โดยใส่กิ่งไม้ ขอนไม้ จนเต็มร่องน้ำ ที่ช่วยให้เป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับผืนนาทางอ้อม

3.    หลังจากนั้น ก็พยายามหาอาหารปลา ที่ไม่ต้องซื้อ ที่พอดีคิดออกว่าน่าจะใช้เศษผลไม้ และขี้วัวจากโรงงานฆ่าสัตว์ ที่ทำให้มีโอกาสเพิ่มอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารพืชอีกทางหนึ่ง

4.    ด้วยความที่ทำเป็นครั้งแรก ก็ต้องพยายามไปนา เพื่อลดการขโมย ทำให้ได้ไปนาบ่อยๆ ทุกวัน

5.   การมีบ่อปลาในนา ทำให้มีปลาธรรมชาติเข้ามาขยายพันธุ์ในนา โดยเฉพาะปลาช่อน ปลาหมอ ที่เป็นปลาไม่อยู่กับที่ เมื่อน้ำมากก็จะออกไป น้ำน้อยก็จะเข้ามา เลยเป็นแหล่งอาหารได้ตลอดทั้งปี โดยไม่ต้องจับปลาในนา

6.   เมื่อมีปลามาก ขังน้ำทีไร น้ำจะขุ่นทุกที ที่เป็นเทคนิคสำคัญที่ผมใช้ลดประชากรหญ้า ชาวบ้านชอบถามว่าทำอย่างไร ก็ปลานี่แหละ ทั้งกินหญ้า และ ทำน้ำให้ขุ่น กันหญ้างอก หรือลดการเจริญของหญ้า

7.    ปลาในนาจะกินเปลือกผลไม้ และทำให้กระจายทั่วนา โดยไม่ต้องไปหว่านเอง ข้าวก็งามทั้งแปลง

8.    ปลาเปคูแดง จะช่วยกินหอยเชอรี่ ที่เกาะตามต้นข้าวในระยะน้ำมาก และตามริมฝั่งเมื่อน้ำลด

9.   เมื่อมีฝนตกหนักแต่ละครั้ง ผมจะต้องรีบไปดูปลา และน้ำในนา ที่ทำให้ไปนาบ่อยขึ้น ดูแลนาได้ดีกว่า

10.  การดักปลา ต้องทำคันนาอย่างดี ทำให้ผมได้เรียนรู้เทคนิคการปั้นคันนา และการดักปลาโดยวิธีต่างๆ

11.เมื่อน้ำลด ผมจะกักน้ำไว้ในบ่อ แล้วค่อยๆปล่อยออก ที่ทำให้ปลากลับเข้ามาในบ่อ และติดกับดักได้ทุกวัน

แต่ข้อเสียที่สำคัญ

ก็คือ

ปลาตะเพียน และปลากินพืชอื่นๆ จะกินต้นข้าวอ่อน รวงข้าว ถ้ามีน้ำแช่ขังมากเกินไป

ที่จำเป็นต้องระวังการขังน้ำให้พอดี ที่ปลาจะกินข้าวไม่ได้ในช่วงต้นอ่อน แต่พอต้นข้าวแก่แล้ว ไม่มีปัญหาอะไร

ดังนั้น ข้อเสียดังกล่าว จึงอาจเป็นข้ออ้างให้ชาวนาที่ไม่อยากเรียนรู้ ไม่ชอบการเลี้ยงปลา

แต่ผมคิดว่า ประโยชน์มีมากกว่าข้อเสีย

และข้อเสีย ก็จัดการได้โดยการระวังระดับน้ำ ในช่วงข้าวต้นยังอ่อน อย่าให้มากเกินไป

นี่คือ บทเรียนจากการเลี้ยงปลาในนาข้าวมา ๔ ปี ครับ

หมายเลขบันทึก: 278584เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2009 01:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 03:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
  • สวัสดีครับอาจารย์แสวง
  • ขอบพระคุณมากครับสำหรับสรุปบทเรียนข้อดี-ข้อเสียของการเลี้ยงปลาในนาข้าว
  • อาจารย์สบายดีนะครับ

 

ขอบคุณครับ

ผมสบายดีครับ และเป็นชาวนาแบบพึ่งตนเองครับ

เหนื่อยหน่อย แต่ก็ได้ความรู้มากเลยครับ

ไม่ทำไม่รู้ครับ

  • ตามมาเรียนรู้ครับ
  • เลี้ยงแต่ปลา
  • ยังไม่ได้ทำนา
  • แต่ได้ความรู้จากอาจารย์แล้ว
  • ขอเอาไปทำต่อนะครับ

คงไม่ใช่ข้อเสียนะครับ เพียงแต่เป็นข้อควรระวังในการเลี้ยงปลาตะเพียน เพราะในช่วงที่ข้าวออกรวง และเมื่อข้าวสุกแก่รวงข้าวก็จะโน้มลงมาใกล้ระดับน้ำ จึงเป็นเหตุให้ปลากระโดดกินเมล็ดข้าวจากรวงที่โน้มลงมาครับ ทำให้เกิดความเสียหาย

ดังนั้น...จากเป็นแนวทางที่ผมจัดการความรู้ตรงนี้ก็คือ ผมจะลดลดระดับน้ำลง เพื่อไม่ให้ปลากระโดกินข้าวได้ครับ

สวัสดี ครับ อาจารย์

มาแสดง ความชื่นชม ข้อคิด ข้อเขียน มุมมองการใช้ชีวิต ของอาจารย์ ....และบันทึกที่เข้ามาอ่าน ทีไร ก็อดชื่นชม ไม่ได้ ทุกครั้ง ไป

 

ปล. ไม่เคยฝากร่องรอย ไว้ในบันทึกของ อาจารย์ เลย ครับ

วันนี้ มาเก็บสัมภาระ ที่สำนักงาน มีเวลา เลยถือโอกาส

ขอบพระคุณมาก ครับ

 

เรียนท่านอาจารย์แสวงที่เคารพ

   ตามมาอ่านวิชาจากนักปฏิบัติที่ควบคู่กับวิชาการ เพื่อเปิดมุมมองครับผม

นิสิต

 

  • ขอความรู้เกี่ยวกับปลาเปคูแดง ด้วยครับ ท่านอาจารย์

ปลาเปคูแดงกินทุกอย่างครับ

ที่สำคัยกินหอยเชอรรี่ให้เรามีปัญหาน้อยลงครับ

ลองสืบค้นในอินเทอรเนต จะได้รายละเอียดครับ

ปีนี้แย่แล้วครับอาจารย์จัดการความรู้เรื่องข้าวผิดพลาด

ดำนาแล้ว 2 สัปดาห์ออกรวงเลย ทันใจจริงๆ เพราะตอนตกกล้าลืมนึกไปว่าเป็นข้าวพันธ์เบา

มันอยู่ช่วงเป็นต้นกล้านานไปหน่อย พอเอามาดำครบอายุออกรวงพอดี ออกดอกเลย

แต่ก็ได้ความรู้เพิ่มเติมจากข้อผิดพลาดตรงนี้ก็คือว่า "ยู เร กา" ผมได้ข้าวพันธ์ใหม่ที่จะทำนา 4 ครั้งต่อปีแล้ว

ด้วยความเคารพ

ไม่เป็นไรหรอก

ชีวิตคือการเดินทาง

การเดินทางที่ดีคือการเรียนรู้

และโดยรวมเป็นชีวิตแห่งการเรียนรู้

แล้วเราจะรู้ซึ้งในคุณค่าของภูมิปัญญา และ บรรพบุรุษ ที่สร้างสรรสังคมให้เราได้ดีจนถึงปัจจุบัน

ไม่พลาดเลย เราจะคิดว่าทุกอย่าง่ายไปหมด

และไม่รู้ค่าของความรู้ครับ

 

ผมต้องขอโทษด้วยครับ

ที่ปล่อยปลาตะเพียน ลงไปในนาอาจารย์ :) กัดกินต้นข้าวอ่อนๆจนหมด ...

โทษทัณฑ์ครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก..แต่ก็ได้ประสบการณ์ นะครับ

แหม ว่ายังกับหนังกำลังภายใน

ผมเป็นคนนำปลามาเอง ท่านช่วยปล่อยก็ดีแล้ว

จะไปโทษได้อย่างไร

ผมไม่กล้าถ่ายความผิดพลาดนี้ไปหรอกครับ

แต่ผมก็จะจับออก หน้าแล้งนี้แหละ

ปีหน้าจะได้ลดปัญหาลงครับ

ผมเลี้ยงปลาในบ่อ..ใช้หัวอาหารเลี้ยงปลา นานเข้าน้ำเน่าเหม็น มีฝ้าเขียวๆเต็มผิวน้ำ หาทางแก้ไขอยู่นาน สุดท้ายจุดใต้ตำตอ..ให้เด็กไปขนผักตบชวามาใส่บ่อ ประมาณ 2 สัปดาห์ฝ้าเขียวเหม็นๆหายไป น้ำใสขึ้น เลยได้อิอิ ง่ายๆด้วยผักตบชะวาที่วิเศษมากๆนี่เอง

ผมดึงเป็นปุ๋ยหมดแล้วครับ

กำลังรอรอบต่อไปครับ

ผมได้ทดเลี้ยงปีแรกครับ ได้ผลดีครับปลานิลกับปลาตะเพียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท