อะไรคือขีดจำกัดของการจัดการความรู้


ปัญหาและขีดจำกัดของการพัฒนา ทั้งระดับส่วนตัว ครอบครัว ชุมชน สังคมที่มีอยู่ และน่าจะแก้ไขได้โดยการจัดการความรู้ กลับยังอยู่คงเดิม ไปตามครรลองเดิมๆ แทบไม่มีใครคิดจะแก้ไข

ตั้งแต่ผมเริ่มรู้จักคำว่า “การจัดการความรู้” เมื่อเริ่มก่อตั้ง สคส. ผมก็เริ่มจัดระบบการจัดการความรู้ของตัวเองมากขึ้นกว่าเดิมอีก “เล็กน้อย”

ที่ผมใช้คำว่า “เล็กน้อย” เพราะว่าผมไม่รู้สึกว่าได้เปลี่ยนแปลงอะไรมาก

นอกจากการคิดถึงคำว่า “จัดการความรู้” นี้ ใช้หลักการ วิธีการในการดำรงชีวิตและการทำงานมากขึ้นกว่าเดิมที่เคยเป็นมา โดยทำอย่างเป็น “ระบบ” มากขึ้นกว่าเดิม แต่ระบบคิดและการทำงาน “ส่วนใหญ่” ก็ยังคงเดิม

และ ณ วันนี้ ผมยังคิดว่า “การจัดการความรู้” ทำให้ระบบคิดและการดำรงชีวิตของผม “เป็นระบบ” (Systematic) มากขึ้น

ผมได้พัฒนาตัวเองอย่างเป็นระบบมากขึ้นในด้าน

·        การสอน

·        การวิจัย

·        การทำงานเพื่อสังคม

·        การพัฒนาชีวิตและครอบครัว

·        การทำความเข้าใจตัวเอง และผู้อื่น

·        การเข้าใจโลก เข้าใจธรรม และการอยู่ร่วมกันในสังคมทุกระดับ

แต่ผมกลับมางง และไม่เข้าใจว่า เมื่อเราอยู่ในยุคการจัดการความรู้กันทั้งโลกแล้ว ทำไมเรายังไม่ค่อยใช้ให้เกิดประโยชน์มากกว่าที่เป็นอยู่ (รวมทั้งตัวผมเอง ก็ยังใช้น้อยมาก)

ที่ทำให้พบว่า ปัญหาและขีดจำกัดของการพัฒนา ทั้งระดับส่วนตัว ครอบครัว ชุมชน สังคมที่มีอยู่ และน่าจะแก้ไขได้โดยการจัดการความรู้ กลับยังอยู่คงเดิม ไปตามครรลองเดิมๆ แทบไม่มีใครคิดจะแก้ไข

ตัวอย่างง่ายๆ แบบหญ้าปากคอก ที่เห็นๆ ในวงวิชาการที่ผมทำงานอยู่ ก็ยังเน้นการผลิตกระดาษเปื้อนหมึกแข่งกัน ตั้งแต่ระดับองค์กร ระดับประเทศ จนถึงระดับโลก โดยไม่ค่อยให้ความสนใจว่า ใครได้ ใครเสียอะไรมากมาย ขอเพียงทำตาม “หน้าที่” ตามความรู้สึกของตนเองและสังคมรอบข้างก็พอแล้ว ผลกระทบจะเกิดกับใครในเรื่องอะไร ดีร้ายอย่างไรนั้น ค่อยไปว่าทีหลัง หรือไม่ก็ปัดภาระแบบ “ธุระไม่ใช่” ไปเสียเลย

พอผมไปลองใช้และพัฒนาความรู้ในการทำนาแบบพึ่งตนเอง ก็พบว่า หาชาวนาตัวจริงแทบไม่เห็น มีแต่คนปลูกข้าวขายไปเรื่อยๆ แบบรอขายที่ให้นายทุนเพื่อล้างหนี้ที่สะสมมาในระบบการ “พัฒนา”

แม้แต่ตัวอย่างที่ง่ายกว่านั้นในการเข้ามาศึกษาในระบบ “ตลาดพระเครื่อง” ก็พบว่าคนจำนวนมากสะสม “วัตถุ” แบบหลับหูหลับตา ใครว่าอะไรก็เชื่อและวิ่งตามไปหมด โดยไม่ค่อยคิดว่าความจริงคืออะไร ใครว่าพระเครื่ององค์ไหนราคาเท่าไหร่ก็เชื่อตามนั้น โดยแทบไม่เคยสืบเสาะว่าความจริง หรือราคาจริงๆ ในชีวิตจริงเป็นเท่าไหร่ ทำให้หลงไปจ่ายเงินเป็นพัน หมื่น แสน หรือล้านบาท กับพระเครื่องที่สามารถหาได้ในหลักร้อย และหลักสิบบาท (ถ้ามีการจัดการความรู้)

หรือที่ร้ายกว่านั้นในวงการศึกษาที่มีการขอตำแหน่งของครู เพื่อขึ้นเงินเดือนให้กับตัวเอง ก็ทำ “ผลงาน” ส่งขอแบบ “จ้างเขาทำบ้าง ลอกของคนอื่นบ้าง” ส่งๆกันไปเพื่อขอตำแหน่ง ทางกรรมการจำนวนหนึ่งก็ตรวจๆ ส่งๆ ให้ผ่านกันไปโดยมองในเชิง “ช่วยเหลือกัน” ที่อาจไม่คิดเลยว่าการทำเช่นนั้น ใครได้ ใครเสียอะไร สังคมโดยรวมได้อะไร เด็กของชาติ ลูกหลานของไทยจะได้ประโยชน์อะไร และประเทศไทยจะพัฒนาการศึกษาต่อไปอย่างไร

ทั้งทั้งที่เราน่าจะทำได้ดีกว่านี้ ถ้าเรา “จัดการความรู้” ในระบบการทำงานดังกล่าวข้างต้น

ผมจึงใช้ความคิดค่อนข้างมาก ว่าทำไมเราจึงทำและอยู่กันแบบนี้

ขีดจำกัดต่างๆคืออะไร

ที่คิดออกมาดังๆ ก็พอจะได้ ดังนี้

·        เวลา ในการดำรงชีวิต การทำงาน

o   ที่ทุกคนก็ทำเต็มที่ แบบตัวเป็นเกลียว จึงไม่มีเวลาคิดในการแก้ไขพัฒนาตัวเอง

·        เป้าหมายและความสนใจในการพัฒนาชีวิตของตัวเอง ครอบครัว การงาน ชุมชน และสังคม

o   ที่มักเน้นตัวเองเป็นหลัก มองแค่หน้าบ้านตัวเอง ทำแบบ “เสร็จๆ” ใครจะเสียหายอย่างไร หรือแม้ตัวเองจะเสียหายในอนาคตอย่างไร ค่อยว่ากันทีหลัง

·        ความรู้ ความเข้าใจ การเข้าถึงความรู้ และความสามารถในการใช้ความรู้ มีอยู่อย่างจำกัด

o   ที่อาจมาจากเวลาที่เหลือ ความคิดที่เหลือ และพื้นที่สมองที่เหลือ

·        ทรัพยากร โอกาสของคนเหล่านั้น

o   ที่บางคนบอกว่าเข้าไม่ถึง

o   ที่ไม่ทราบว่าจริงแค่ไหน

·       เวรกรรม

o   เพราะพอคิดอะไรไม่ออกก็โยนประเด็นต่างๆลงมาในประเด็นนี้

ผมคิดได้แค่นี้ครับ

ที่ยังไม่ใช่ทางแก้ไขหรือทางออกแต่อย่างใดทั้งสิ้น

แต่ผมคิดว่าถ้าไม่มีทางแก้ไข ก็ก็ทราบจะบ่นไปให้ได้อะไร

ผมจึงบ่นมาเพื่อหาแนวร่วมมาเพื่อเสนอแนวทางแก้ไขร่วมกันครับ

ผมและเราทุกคนทำแบบคนเดียวคงแก้อะไรไม่ได้มาก

แต่ถ้าทำแบบเป็นกลุ่ม องค์กร น่าจะมีพลัง และมีทางออกที่ชัดเจนมากกว่านี้

ถ้าเป็นอย่างปัจจุบัน ยิ่งแก้ยิ่งตัน

เรามีทางแก้ที่ชัดเจน และน่าจะได้ผลบ้างไหมครับ

ผมว่าแค่ “ทำตัวเอง” ให้ดีที่สุดยังไม่น่าจะพอครับ

อยากฟังแนวทางที่ดีกว่านี้ครับ

ผมจะได้นำมาวิพากษ์ และนำไปปรับใช้ในการทำงานจริงกับสถาบันและชุมชนต่างๆ ที่กำลัง “จัดการความรู้” เพื่อการพึ่งตนเองอยู่ครับ

หมายเลขบันทึก: 285196เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2009 06:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 23:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

แต่ละคนทำดีและช่วยคนที่อยู่รอบข้างด้วย ก็ช่วยได้ค่ะ

นี่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีครับ

ขอบคุณครับ

แวะมาทักทาย

ถ้าพูดแบบธรรมชาติ..ความสุขคือการไม่สุข..ขอรับ

การนำเสนอเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเข้าใจก่อนใช่ใหมขอรับอาจารย์

 

สวัสดีครับ

มารับข้อคิดดีๆ ในวันอาทิตย์ ครับ

ปัญหาใหญ่ที่ผมเจอข้อหนึ่งก็คือการพูดให้คนหูหนวกฟังครับ

โดยเฉพาะที่หนวกด้วย อวิชชา และ มิจฉาทิฐิ

ที่ต้องมีวิธีการ "พิเศษ" ที่ต้องพัฒนาอีกมาก

ยาก แต่ก็เป็นไปได้ครับ

เรียนท่านอาจารย์แสวงที่เคารพ (กระผมก๊อปมาจากที่แสดงความเห็นในบันทึกของอาจารย์หมอ) ข้างล่าง

เรียนท่านอาจารย์หมอที่เคารพ

    กระผมได้อ่านบันทึกของท่านอาจารย์หมอก็ย้อนคิดถึงความเป็นคนดื้อในวัยเด็กของชีวิตกระผมบางส่วน ขอร่วมแสดงความคิดเห็นในบล๊อกดังนี้ครับผม ตราบที่สังคมมนุษย์ไม่ยกระดับทางจิตวิญญาณ ให้มีสติปัญญาที่อิสระมากขึ้น กระผมก็มองว่าการพัฒนาทางวัตถุไปมากเท่าไหร่ ทำให้เราไหลไปตามกระแสกิเลสได้ง่ายเท่านั้น ความเร่งรีบของระบบแต่ไม่รู้เท่าทัน เท่ากับเพิ่มการบีบรัด/กดดันลงไปในระดับจิต สภาวะจิตที่ยังไม่พัฒนาขึ้นจะทำให้เราตอบสนองต่อความยากที่เป็นไปแบบพื้นฐานต่ออัตตาตัวเอง จึงมีความหลงผิดได้ง่าย และไหลไปตามแรงของวิบากกรรม จึงสร้างระบบต่างๆเพื่อตอบสนองไปต่ออัตตาตัวเองในระดับวัตถุธาตุและระดับจิตใจ โดยการสร้างขึ้นนั้น มองมิติที่คับแคบๆ สั้นๆ ไม่เชื่อมโยง ทำเพียงเพื่อตอบสนองตัวความอยากตัวเองเป็นหลักโดยฐานของสภาวะจิตแบบธรรมดาๆ กระผมไม่ได้หมายถึงว่าระบบที่สร้างมาในโลกไม่ดี เลวร้ายไปหมด เพียงแต่มนุษย์ไม่ได้มีสติและปัญญาที่อิสระมากพอ ที่จะกรองหรือตรองสิ่งต่างๆ ให้ไปตามสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่อย่างเชื่อมโยงเป็นระบบ มันจึงเหมือนกับดักชีวิต สร้างความหลงผิดได้ง่ายมากครับผม ที่ผ่านมาสังคมขัดแย้งเพราะไปมองเชิงเทคนิคและวิธีการเป็นหลัก แต่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เพื่อยกระดับของปัญญาที่มีมุมมองที่เห็นปัญหาและทำให้ดีเพื่อมวลมนุษยชาติและสรรพสิ่งร่วมโลก กระผมมองว่าแท้จริงแล้วสังคมวุ่นวาย ก็ล้วนมาจากการมุ่งเอาชนะ/เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง เน้นแก้ไขในเชิงเทคนิควิธีการมากกว่า แต่ไม่ได้มองที่คุณค่าและหัวใจความเป็นมนุษย์ (ขาดการพัฒนาทางจิตวิญญาณ) การยึดมั่นถือมั่น ที่มีอัตตาสูง การมีสภาวะจิตวิญญาณที่ยังไม่ได้ขัดเกลา ก็ล้วนทำเพื่อสร้างความมั่นคง และความปลอดภัยที่มีฐานมาจากความต้องการในระดับจิตแบบพื้นๆ การที่เราไม่เคยพบความสุขแบบง่ายๆ ที่ราคาถูก ที่มีความเย็นของใจ ที่เกิดจากการปล่อยวางได้มาก เห็นสิ่งต่างๆตามที่มันเป็น เห็นถึงความไม่เที่ยง การแบ่งปัน หรือเห็นถึงคุณค่าของการเคารพในเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน หากไม่มีการสัมผัสถึงสภาวะการที่มีสติปัญญาที่อิสระต่อโลกในระดับหนึ่ง การรู้เท่าทันมายาจิตได้บ้างนั้น เท่ากับเรายึดมั่นถือมั่นและตอบสนองตอบความอยากเป็นหลักไม่ว่าจะเป็น รัก โลภ โกรธ หลง  โทสะ โมหะ  ความอาฆาตพยาบาทต่างๆ หรือ มายาต่างๆ กระผมทราบเพียงว่า สภาวะการที่มีสติปัญญาที่อิสระต่อโลกในระดับหนึ่ง เป็นความสุขอย่างอัศจรรย์พอสมควร ไม่รู้สึกร้อนใจ สงบมากขึ้น มีความละเมียด กระผมมองว่า เราต้องพัฒนามนุษย์ทางจิตวิญญาณด้วย เพราะหากพัฒนาเพียงแต่วัตถุมากๆ จิตใจเราก็ล้อไปกระแสธารแห่งกิเลสนั้น  มันจึงเหมือนสร้างกับดักชีวิตไปด้วย แต่หากเรามีปัญญาที่อิสระพอ และรู้ถึงความพอประมาณชีวิต มนุษย์ก็จะสามารถออกจากอวิชชาในระดับโลกียะได้ครับผม ดังที่กระผมเคยแสดงความเห็นไปว่า กระผมมองว่า หากคนเราไม่มีหัวใจเมตตาแห่งความเป็นมนุษย์ ฟังเสียงหัวใจผู้อื่นบ้าง และเป็นผู้มั่งมีที่แบ่งปัน มีเมตตา จะศึกษาทางโลกเท่าไหร่ก็ตาม เมื่อหลงอยู่ในกระแสแห่งกิเลสและอวิชชาเช่นนี้ก็หาทางสนองความอยากตัวเองแบบไม่สนใจผลลัพธ์อื่นๆ กระผมก็ขอกล่าวตามท่านพุทธทาสสอนว่า ศีลธรรมไม่มาโลกาจะวินาศ ยังเห็นเหมือนเดิมครับผม

เรียนแสดงความเห็นด้วยความเคารพครับผม

เรียนท่านอาจารย์แสวงที่เคารพ (กระผมก๊อปมาจากที่แสดงความเห็นในบันทึกของอาจารย์หมอ) ข้างล่าง

เรียนท่านอาจารย์หมอที่เคารพ

    กระผมได้อ่านบันทึกของท่านอาจารย์หมอก็ย้อนคิดถึงความเป็นคนดื้อในวัยเด็กของชีวิตกระผมบางส่วน ขอร่วมแสดงความคิดเห็นในบล๊อกดังนี้ครับผม ตราบที่สังคมมนุษย์ไม่ยกระดับทางจิตวิญญาณ ให้มีสติปัญญาที่อิสระมากขึ้น กระผมก็มองว่าการพัฒนาทางวัตถุไปมากเท่าไหร่ ทำให้เราไหลไปตามกระแสกิเลสได้ง่ายเท่านั้น ความเร่งรีบของระบบแต่ไม่รู้เท่าทัน เท่ากับเพิ่มการบีบรัด/กดดันลงไปในระดับจิต สภาวะจิตที่ยังไม่พัฒนาขึ้นจะทำให้เราตอบสนองต่อความยากที่เป็นไปแบบพื้นฐานต่ออัตตาตัวเอง จึงมีความหลงผิดได้ง่าย และไหลไปตามแรงของวิบากกรรม จึงสร้างระบบต่างๆเพื่อตอบสนองไปต่ออัตตาตัวเองในระดับวัตถุธาตุและระดับจิตใจ โดยการสร้างขึ้นนั้น มองมิติที่คับแคบๆ สั้นๆ ไม่เชื่อมโยง ทำเพียงเพื่อตอบสนองตัวความอยากตัวเองเป็นหลักโดยฐานของสภาวะจิตแบบธรรมดาๆ กระผมไม่ได้หมายถึงว่าระบบที่สร้างมาในโลกไม่ดี เลวร้ายไปหมด เพียงแต่มนุษย์ไม่ได้มีสติและปัญญาที่อิสระมากพอ ที่จะกรองหรือตรองสิ่งต่างๆ ให้ไปตามสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่อย่างเชื่อมโยงเป็นระบบ มันจึงเหมือนกับดักชีวิต สร้างความหลงผิดได้ง่ายมากครับผม ที่ผ่านมาสังคมขัดแย้งเพราะไปมองเชิงเทคนิคและวิธีการเป็นหลัก แต่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เพื่อยกระดับของปัญญาที่มีมุมมองที่เห็นปัญหาและทำให้ดีเพื่อมวลมนุษยชาติและสรรพสิ่งร่วมโลก กระผมมองว่าแท้จริงแล้วสังคมวุ่นวาย ก็ล้วนมาจากการมุ่งเอาชนะ/เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง เน้นแก้ไขในเชิงเทคนิควิธีการมากกว่า แต่ไม่ได้มองที่คุณค่าและหัวใจความเป็นมนุษย์ (ขาดการพัฒนาทางจิตวิญญาณ) การยึดมั่นถือมั่น ที่มีอัตตาสูง การมีสภาวะจิตวิญญาณที่ยังไม่ได้ขัดเกลา ก็ล้วนทำเพื่อสร้างความมั่นคง และความปลอดภัยที่มีฐานมาจากความต้องการในระดับจิตแบบพื้นๆ การที่เราไม่เคยพบความสุขแบบง่ายๆ ที่ราคาถูก ที่มีความเย็นของใจ ที่เกิดจากการปล่อยวางได้มาก เห็นสิ่งต่างๆตามที่มันเป็น เห็นถึงความไม่เที่ยง การแบ่งปัน หรือเห็นถึงคุณค่าของการเคารพในเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน หากไม่มีการสัมผัสถึงสภาวะการที่มีสติปัญญาที่อิสระต่อโลกในระดับหนึ่ง การรู้เท่าทันมายาจิตได้บ้างนั้น เท่ากับเรายึดมั่นถือมั่นและตอบสนองตอบความอยากเป็นหลักไม่ว่าจะเป็น รัก โลภ โกรธ หลง  โทสะ โมหะ  ความอาฆาตพยาบาทต่างๆ หรือ มายาต่างๆ กระผมทราบเพียงว่า สภาวะการที่มีสติปัญญาที่อิสระต่อโลกในระดับหนึ่ง เป็นความสุขอย่างอัศจรรย์พอสมควร ไม่รู้สึกร้อนใจ สงบมากขึ้น มีความละเมียด กระผมมองว่า เราต้องพัฒนามนุษย์ทางจิตวิญญาณด้วย เพราะหากพัฒนาเพียงแต่วัตถุมากๆ จิตใจเราก็ล้อไปกระแสธารแห่งกิเลสนั้น  มันจึงเหมือนสร้างกับดักชีวิตไปด้วย แต่หากเรามีปัญญาที่อิสระพอ และรู้ถึงความพอประมาณชีวิต มนุษย์ก็จะสามารถออกจากอวิชชาในระดับโลกียะได้ครับผม ดังที่กระผมเคยแสดงความเห็นไปว่า กระผมมองว่า หากคนเราไม่มีหัวใจเมตตาแห่งความเป็นมนุษย์ ฟังเสียงหัวใจผู้อื่นบ้าง และเป็นผู้มั่งมีที่แบ่งปัน มีเมตตา จะศึกษาทางโลกเท่าไหร่ก็ตาม เมื่อหลงอยู่ในกระแสแห่งกิเลสและอวิชชาเช่นนี้ก็หาทางสนองความอยากตัวเองแบบไม่สนใจผลลัพธ์อื่นๆ กระผมก็ขอกล่าวตามท่านพุทธทาสสอนว่า ศีลธรรมไม่มาโลกาจะวินาศ ยังเห็นเหมือนเดิมครับผม

เรียนแสดงความเห็นด้วยความเคารพครับผม

สวัสดีค่ะท่านอ.แสวง

มาอ่านเพิ่มเติมความรู้และโลกทัศน์ค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ ขอมาเรียนรู้ด้วยคนนะคะ ขอบพระคุณค่ะ

  • ติดตามอ่านบันทึกของท่านอาจารย์ ดร แสวงเสมอค่ะ แต่ไม่ได้ฝากรอยไว้ คราวนี้ขออนุญาตแสดงความเห็นนะคะ  ศิลามองว่าการจัดการความรู้ คือการจัดการคนที่มีความรู้ฝังลึก การจัดการคนมีมิติที่ลึกซึ้งมากในการสะกัดออกมาเป็นความรู้ให้เราสัมผัส เรียนรู้ร่วมกันได้
  • เนื่องจากการจัดการคนเช่นว่านี้ต้องเริ่มจากการมองกลับมาที่ตัวเอง เปลี่่ยนแปลงความเขื่อดั้งเดิมบางอย่างที่เป็นอุปสรรคในการถ่ายทอดความรู้ แล้วพัฒนาจิตตนเองเพื่อจะดึงความรู้ที่มีอยู่ออกมาให้ปรากฎ
  • แม้กระทั่งผู้ที่เป็น FA ในการส่งเสริมให้เกิดการจัดการความรู้ก็คงต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้คนรอบข้างเห็นเช่นกันค่ะ แล้วก้าวไปสู่การอำนวยให้ผู้อื่นจัดการตัวเองต่อ ๆ ไปอีกเป็นลูกโซ่
  • กระบวนการเรียนรู้ตัวเองคือการค้นหา ประเมิน จุดอ่อน จุดแข็งที่เรามี ทำได้หากหมั่นทบทวนตัวเองบ่อย ๆ ค่ะ
  • เป็นเพียงความเห็นที่อาจจะดูเป็นนามธรรมนะคะ แต่จริง ๆ หากมีโอกาสอยากนำเสนอสิ่งที่เป็นรูปธรรมประกอบ ซึ่งคงต้องใช้เวลาให้เกิดการ trust กันเพียงพอ จึงจะพูดต่อไปได้ค่ะ  เพราะมนุษย์เราโดยทั่วไปมีการตั้งคำถามแบบนักปุจฉาเป็นพื้นฐาน ไม่เชื่อ หรือเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งในสิ่งที่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้จักกันดีพอกล่าวมา...เวลาแห่งการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจก็เป็นส่วนสำคัญยิ่งให้เกิดการเปิดใจรับฟัง ซึ่งจะนำไปสู่การลปรร และจัดการความรู้ที่ยั่งยืนค่ะ
  • ขอบพระคุณมากค่ะ สำหรับบันทึกที่ทรงคุณค่าและงดงามค่ะ
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • หลายผู้รู้บอกว่า เปลี่ยนแปลงตัวเองแล้วคนอื่นจะเปลี่ยนตาม แต่หากการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องขององค์ความรู้ก็ยากลำบากอยู่เหมือนกันนะคะ
  • ใครๆก็ชอบพูดถึง KM แต่ใช้ KM กันเป็นมากน้อยแค่ไหนก็ไม่รู้ยากที่จะเปล่ยนแปลงค่ะ
  • ขอบคุณอาจารย์ค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์แสวง

ได้อ่านบันทึกนี้แล้วก็ชุกคิดอะไรได้มากขึ้น แถมยังมีประเด็นที่อาจารย์นำเสนอแล้วตรงใจมากๆค่ะ

หากเรามองกันเป็นภาพรวมว่าผลกระทบจากการกระทำวันนี้จะมีผลกระทบอะไรที่เป็นลูกโซ่ต่อผู้อื่น สังคม องค์กร และประเทศ หลายๆ ปัญหาคงอาจจะลดลงไป แถมยังทำให้เกิดการพัฒนากันมากยิ่งขึ้น

สำหรับวิธีแก้เท่าที่เคยคิดไว้นั้น คิดว่าเราจะต้องทำอย่างไรให้คนในองค์กรพัฒนาตนเองได้เร็วและมีประสิทธิภาพ และควรช่วยกันลดข้อจำกัดต่างๆ และช่วยเหลือกันในการช่วยกันพัฒนา ผลสุดท้ายของการพัฒนาคือช่วยให้เกิดการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น และการทำงานน่าจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยค่ะ  ที่สำคัญต้องหมั่นสละเวลาที่มี่อยู่อย่างจำกัดที่จำเป็นต้องรับผิดชอบงานที่มีอยู่ตรงหน้ามานั่งทบทวนความเป็นไปและความก้าวหน้าของตนเองและทีมงาน และมองหาจุดบอดหรือจุดที่เป็นปัญหาเพื่อไขปัญหานั้นออกมา และที่สำคัญต้องทำให้คนในทีมได้มองเห็นเป้าหมายเดียวกันอย่างชัดเจนมากขึ้นค่ะ ซึ่งเมื่อเห็นเป้าหมายเดียวกันก็เหมือนกับการมีหัวใจเดียวกันของคนในทีม ที่รู้ว่าเราจะทำอะไรไปเพื่อใคร และต้องทำอย่างไร ซึ่งก็จะทำให้เกิดทีมงานที่เข้มแข็งขึ้นค่ะ

หากอาจารย์มีข้อแนะนำเพิ่มเติม รบกวนชี้แนะด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ ^_^

บันทึกนี้สะท้อนปัญหาชีวิต สังคมความเป็นจริงค่อนข้างชัดเจน  ในปัจจุบัน  แล้วการแก้ปัญหานี่ซิ...คงต้องใช้เวลามาก  เพราะมันเกี่ยวข้องกับทัศนคติ  ความเชื่อส่วนบุคคล  อย่างน้อยคงต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน  แล้วค่อยแผ่ขยายไปยังคนรอบข้าง

  ครูรส

สวัสดีค่ะอาจารย์
ส่วนตัวเองแล้ว ไม่ค่อยตื่นเต้นกับ คำว่า การจัดการความรู้ เพราะ มันไม่ใช่เรื่องใหม่เลย ดิฉันเองคุ้นเคยมาอยู่

การจัดการความรู้ไม่ใช่ เรื่องยากและสามารถทำให้เป็นส่วนหนึ่งของ งานได้ และจริงๆ แล้วการจัดการความรู้ก็เป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวั
การทำ knowledge sharing นั้น  มักจะทำกันอย่างเป็นทางการ คือการมานั่งคุยกันประชุมกัน   เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างตรงไปตรงมาอย่างตั้งใจ หรือแม้กระทั่งการเชิญวิทยากรผู้ที่มีความชำนาญในเรื่องต่างๆ มาสอนมาเล่าให้ฟัง
แต่ มันจะเป็นทางการไป  ซึ่งบางทีไม่ได้ผลเลย  เพราะพนักงานไม่มี ใจ อยากรู้จริงๆ เสียเงินค่า วิทยากรเปล่าๆ
การจัดการความรู้ในองค์กรนั้นจะสำเร็จได้ต้องอยู่ที่ใจของพนักงานในองค์กรทุกคนที่มีความต้องการอยากที่จะเรียนรู้

การทำงานแบบสั่งการ ตามระเบียบขั้นตอน ตามคำสั่ง  ทำให้การสื่อสารระหว่างเพื่อนร่วมงาน หรือระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง ก็เป็นไปตามความจำเป็น ซึ่งจะมีความรู้ประเภท tacit ออกมาน้อย

ตามประสบการณ์ ดิฉัน ทำทั้ง 2 แบบ อย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ และก้ได้ผล เป็นที่น่าพอใจค่ะ

 

เรียน ท่านอาจารย์

  • มาอ่านเพิ่มเติมความรู้ครับ
  • "การจัดการความรู้" ได้พัฒนาตัวผมและคนรอบข้างอย่างมีนัยสำคัญครับท่านอาจารย์ ยกตัวอย่าง เช่น การเข้ามาเขียนบันทึก และ ลปรร. ใน G2K แห่งนี้ ทำให้ผมรู้จักสุนทรียสนทนาลดความก้าวร้าวทางวิชาการไปมาก ทำให้ผมพัฒนาตนเองด้วยองค์ความรู้จากคนอื่นได้อย่างรวดเร็วยิ่ง ผมเห็นอย่างนั้นจริง ๆ ครับ
  • ส่วนประเด็นการนำไปพัฒนาคนรอบข้าง องค์กร ชุมชน และสังคมจะกลับมา ลปรร. ในวาระต่อไปครับ
  • ขอบพระคุณครับ 

 

ขอบพระคุณมากเลยครับ ที่ให้ความสนใจและเสนอความเห็นเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์มากมาย

ผมคงจะต้องประมวล วิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปบทเรียน และนำไปปรับใช้กับงานที่จะทำครับ

โดยแก่นของแนวทาง ผมคิดว่าหลักของศาสนาก็น่าจะดีนะครับ

บอกให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เย็นให้สัมผัส

จากการทำเป็นตัวอย่างดังกล่าว ก็ยังจะติดขัดที่ระดับการคิด ระบบคิด หรือ กระบวนทัศน์

ไม่งั้น พุทธศาสนิกชนน่าจะบรรลุ "นิพพาน" กันไปหมดแล้ว

แต่แม้จะไม่ถึง ก็น่าจะมีผลสำเรจต่างระดับเกิดขึ้นมากมาย

แต่.... ในความจริง เป็นอย่างไร เราก็เห็นกันอยู่

ทุกคนอ้างอิงว่า ตนมีศาสนา แต่ก็ยังทำร้ายกันเอง เอาเปรียบกัน ทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเป็นว่าเล่น

แม้ยุค "การจัดการความรู้" เราก็ยังอยู่อย่าง

  • ใช้ความรู้น้อยถึงน้อยมาก
  • บางทีก็ใช้ความรู้ที่เป็นปัญหาระยะยาวต่อตนเองและผู้อื่น
  • บางทีก็ใช้ความรู้ที่เป็นโทษ ทั้งที่รู้ (ส่วนใหญ่) และไม่รู้ (ส่วนน้อย) เช่นการใช้ยาเสพติดต่างๆ เป็นต้น

ผมเลยยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ ว่า

ทำไม ทำไม และ ทำไม จึงเป็นเช่นนั้น

นอกจากที่กล่าวไว้แล้วในบันทึกครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ

 

สวัสดีครับท่านอาจารย์

  • ตามมาอ่านเพิ่มเติมความรู้ครับ
  • ดีใจมากที่ได้พบตัวจริงเสียงจริงของท่านในการประชุมวันที่ ๗ สิงหาคม ที่ผ่านมา เป็นวาสนาของผมจริง ๆ ครับ
  • ขอบพระคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท