"หลุมดัก" พรางตา ที่มาของวงจร “โง่ จน เจ็บ”


เกษตรกรที่ความรู้ และมีปัญญาไม่พอใช้ จนต้องวนเวียนในหลุมดัก เป็นเหยื่อให้กับผู้ที่มีอำนาจทางการเงิน และมีความรู้สูงกว่า ที่คอยแต่จะเอาเปรียบคนรู้น้อยกว่าทุกวิถีทาง

วันนี้ผมมีแขกคนสำคัญของวงการเกษตรอินทรีย์ระดับประเทศมาเยี่ยมถึงบ้าน

ท่านนั้นก็คือ

 พ่อวิจิตร บุญสูง ผู้นำกลุ่มเกษตรกรที่ทำการเกษตรอินทรีย์ในภาคอีสาน

ท่านเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ “ เกษตรกรทำนา นาโส่” อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

ผมจึงได้มีโอกาสสนทนาแนวทางการช่วยเหลือ และพัฒนาเกษตรกร “ยากจน” ให้มีทางเลือกที่จะหลุดออกมาจากหลุมดักเกษตรกรที่ความรู้ และมีปัญญาไม่พอใช้ จนต้องวนเวียนในหลุมดัก

เป็นเหยื่อให้กับผู้ที่มีอำนาจทางการเงิน และมีความรู้สูงกว่า ที่คอยแต่จะเอาเปรียบคนรู้น้อยกว่าและหรือมีอำนาจต่อรองน้อยกว่า ทุกวิถีทาง

จากการพูดคุยแบบกัลยาณมิตรประมาณ ๑ ชั่วโมง

ทำให้ได้ประเด็นสำคัญที่น่าจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาก็คือ หลุมดักที่ลึก ขนาดใหญ่ และโยงใยกับวิถีชีวิตด้านต่างๆ จนทำให้เกษตรกรทั่วไปดำเนินชีวิตจนเข้าไปเป็นเหยื่อของระบบ ที่ส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะถอนตัวออกมาได้โดยง่าย

และ...

ที่ผ่านมา มีเพียงเกษตรกรไม่กี่รายที่มีความรู้ และจิตใจเข้มแข็งพอที่จะพัฒนาความสามารถ จนสามารถมีแรงต้านกระแส ที่สามารถเอาตัวรอดได้ ทั้งแบบหนีกระแส หรืออยู่กับกระแสได้โดยไม่เดือดร้อน หรือสามารถดิ้นรน จนพ้นหลุมดักดังกล่าว

แต่ก็ยังมีบางคนที่ดูเหมือนจะรอด ที่อาจเป็นเพียงก้าวออกมายังไม่พ้นหลุม เพียงแต่ยืนเหยียบเพื่อนที่อยู่ในหลุมที่ลึกกว่า จนสามารถชูมือ ชูศรีษะให้พ้นหลุมได้เท่านั้น ที่ถ้าเพื่อนในหลุมล้มลง ก็อาจจะกลับล้มตามไปด้วย

หลุมดักที่สำคัญคาดว่า จะมีอย่างน้อยสองหลุมใหญ่ๆ ก็คือ

  • หลุมดักทางความรู้ โดยนักธุรกิจ และนักวิชาการเกษตรที่นิยมชมชอบ "ความรู้เป็นพิษ" ได้พยายามสร้างและวางเงื่อนไข
    • ภายใต้คำโฆษณาของความ “สะดวก เร็ว ง่าย ได้มาก และสบายกว่า”
    • ทำให้คนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์หลงเชื่อ หลงใช้ จนเสพติด เป็นความเคยชิน และเป็นนิสัยในที่สุด
    • ที่เปลี่ยนแปลงหรือเลิกได้ยากมาก
  • หลุมดักทางเศรษฐกิจ การเงิน โดยการเปิดโอกาสให้นำเงิน "ที่คาดว่าจะมีในอนาคต" มาใช้
    •  ภายใต้ยุทธศาสตร์ "กลลวง" ลอกมาจากภาษาอังกฤษ ที่หรูหราว่า “เครดิต” และมี เครดิต มาใช้ล่วงหน้า
    • ทั้งๆที่ เงินจริงๆ ในปัจจุบัน ยังไม่มี และ ในอนาคต จะได้หรือมีหรือเปล่าก็ไม่มีใครรับประกันได้
    • แถมยังมีการยกย่องว่าเป็น "ลูกค้าชั้นดี" เพื่อหลอกล่อให้หลงระเริงกับการใช้เงินที่ดูเหมือนได้มา "ง่ายๆ"  และให้เงินที่คาดว่าจะมี "ในอนาคต" มาใช้ล่วงหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ ทุกรอบการจ่ายหนี้ แบบว่า ถ้าสามารถนำเงินชาติหน้ามาใช้ได้ด้วย ก็คงจะไม่รีรอที่จะทำ
    • จนทำให้ผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ตกเป็นเหยื่อของระบบ
    • ต้องดิ้นรนทุกวิถีทาง ที่จะเปลี่ยนทุกทรัพยากรให้เป็นเงิน หรือหมุนเงินมาใช้หนี้
    • แม้จะหมุนหนี้ดอกแพงมาใช้หนี้ดอกต่ำก็ยังทำ
    • ไม่สามารถหนีออกจากระบบได้
    • เพราะต้องพยายามหาเงินมาเลี้ยงระบบตามคำยกยอให้หลงทาง ว่า “ลูกค้าชั้นดี” ไว้ให้ได้
    • บางคนยอมทำทุกอย่าง ที่ได้ผลที่สุด ก็แค่ "ดิ้นตายอยู่ในหลุม"
    • ยิ่งดิ้นหลุมยิ่งลึก จนตายไปในหลุมดัก
    • สุดท้าย อย่างมากก็ได้เงิน "ค่าทำศพ" จากกองทุนฌาปนกิจเท่านั้น

ยิ่งไปกว่านั้น

เส้นทางระหว่างสองหลุมนี้ ยังมีสายพันธนาการของ “บริโภคนิยม” แข่งกันหา แข่งกันใช้ของฟุ่มเฟือย ที่ดูเหมือนจะดีและสบายกว่าเดิม จนเป็นความชอบ ความเคยชิน และเป็นนิสัยของทั้งตนเองและครอบครัว และวิถีของชุมชน

อันรวมไปถึงการปั่นกระแสค่านิยมของสังคมที่ร้อยรัดทั้งแนวคิดและการกระทำให้หลงติดอยู่กับ “ความทันสมัย” และแม้แต่คำว่า "นำสมัย" หรือ "สมัยใหม่"

ใครไม่ทำก็จะถูกเพื่อนๆขนานนามว่า "ล้าสมัย" หรือ " ไม่พัฒนา" ว่ากันไปโน่น

ที่ย้อนกลับไปผลักไส ให้คนที่มีความรู้ไม่พอใช้ บ่มเพาะนิสัยการใช้เงินล่วงหน้าแบบไม่มีวิจารณญาณ เพียงเพราะจะได้ชื่อว่า "ทันสมัย"  

เดินเข้าสู่การ “ติดหล่ม” และ "ติดกับ" อยู่กับวังวนของวงจรอุบาทว์ “โง่ จน เจ็บ” แบบลึกลงไปเรื่อยๆ

ยิ่งดิ้นยิ่งจม หาทางออกไม่ได้ จากความรู้ไม่พอใช้ ไม่คิดหรือไม่มีเวลาคิดที่จะสร้างความรู้ คอยแต่จะทำตามกัน จนถลำลงลึกไปเรื่อยๆ

  • ทั้งในเชิงของความเสื่อมของทรัพยากร
  • ความเสื่อมทางสังคม ประเพณี และวัฒนธรรมอันดี และ
  • ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ ที่มักจบ หรือมีแนวโน้มที่จะจบลงด้วยการขายที่ดินมรดกของตนเอง ขายแรงงาน จนกระทั่งขายตัว (ถ้ามีคนซื้อ)
  • กลายเป็นผู้ไร้ที่ทำกิน ขายแรงงาน ขายศักดิ์ศรี และขายตัว จนถึงมิจฉาชีพต่างๆ

ทั้งๆที่ปัญหาเหล่านี้กำลังจะนำไปสู่สังคมที่เสื่อมโทรม แต่ผู้มีอำนาจ และผู้รู้ที่ชี้นำสังคมส่วนใหญ่ ก็ยังแสดงตัวแบบไม่สนใจ ใช้ความรู้ความสามารถหาผลประโยชน์ให้กับตัวเองและพรรคพวกไปเรื่อยๆ แบบทองไม่รู้ร้อน

เมื่อภาพใหญ่ของประเทศอยู่ในลักษณะนี้ ทางออกที่มีจึงเหลือริบหรี่เต็มที

การสนทนาเชิงทางเลือก ทางออกจึงไปสรุปอยู่ที่การหาทางพัฒนาความรู้ที่จะอยู่แบบต้านกระแส ที่อาจจะหาช่องทางเอาตัวรอดได้

ความรู้ที่ว่า จะต้องเป็นความรู้เพื่อการพึ่งตนเอง มากกว่าความรู้เพื่อการพึ่งผู้อื่น หรือพึ่งพาภายนอก

พยายามพัฒนาความรู้ และความสามารถในการลดการบริโภคของ “ฟุ่มเฟือย” หาสิ่งทดแทน ทั้งด้านอาหาร ของใช้ และพลังงาน ที่เป็นค่าใช้จ่าย “เกินตัว” ถึงกับที่ต้องนำ “เงินในอนาคต” มาใช้

ต่อจากการพัฒนาความรู้ก็คือ

การพัฒนาขีดความสามารถในเชิงของทักษะในการใช้และพัฒนาความรู้ และสุดท้ายก็คือนำความรู้มาสร้าง “ปัญญา” ที่สามารถต้านกระแส อยู่กับกระแส หรือ ถ้าสามารถ “หนี” พ้นจากกระแสได้ ก็ถือว่าเป็นขั้นสูงมากที่อาจพัฒนาขึ้นได้

ดังนั้นกระบวนการพัฒนา

จึงต้องพยายาม “เข้าใจ” ถึงขีดจำกัดและความต้องการที่แท้จริง ไม่เพียงแค่การ “อยากได้” แบบ “ไม่รู้จักตัวเอง” หรือ “ยังหาตัวเองยังไม่พบ”

แต่เป็นการทำความเข้าใจที่กลุ่มปราชญ์คิดคำขึ้นมาว่า “มองตัวเองให้ออก บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น”

ถ้าหน่วยงานพัฒนาทำแบบ “เข้าใจ” แล้วไซร้

ทางออกที่ตีบตันอยู่ น่าจะค่อยๆแย้มให้มีตัวอย่างที่ดีหลุดรอดออกไปเป็นตัวอย่างได้มากขึ้นเรื่อยๆ

แต่ถ้ายัง “คิดใหม่ ทำเหมือนเดิม” อย่างที่เป็นมาตลอด น่าจะยากครับ

จากการคุยกันกับ “บัณฑิต” ที่จะพาไปหาผล ประมาณ ๑ ชั่วโมง ก็ได้ประมาณนี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 402173เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2010 00:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

I see these (pit) 'traps' as conditions created by predators to catch preys. Predators always try to be at least one step ahead of preys. How can preys avoid getting caught? Caution only comes from recognition of the 'traps. If preys fail to learn to look for the traps, then predators win and keep setting more traps.

How can preys make it unprofitable for predators to exploit them? There are ways...

ครับคุณกรกฎ

นี่แหละที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ หรือไม่ทราบ

การจัดการความรู้ก็สำคัญอยู่ประมาณนี้แหละ

ที่ผมคิดว่า สคส ควรให้ความสำคัญ

แต่ก็ดูเหมือนว่ายังทำระดับเล่นขายของมากกว่าที่จะเอาจริงกับปัญหาระดับชาติครับ

ถ้ามีโอกาสช่วยสะกิดหัวหน้าคุณให้ด้วยครับ อาจจะได้ผลมากกว่ามาให้ความเห็นเฉยๆ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

QUOTE:

"# หลุมดักทางความรู้ โดยนักธุรกิจ และนักวิชาการเกษตรที่นิยมชมชอบ "ความรู้เป็นพิษ" ได้พยายามสร้างและวางเงื่อนไข

* ภายใต้คำโฆษณาของความ “สะดวก เร็ว ง่าย ได้มาก และสบายกว่า”

* ทำให้คนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์หลงเชื่อ หลงใช้ จนเสพติด เป็นความเคยชิน และเป็นนิสัยในที่สุด

* ที่เปลี่ยนแปลงหรือเลิกได้ยากมาก"

Your words above are wonderful and seem you understand "poison" knowledge well.

IMO: Microsoft products fit to your description well.

I am glad to see you said it out loud in here.

Please keep on your good works.

Regards,

zxc555

ขอบคุณครับอาจารย์สุพัฒน์

ผมว่าท่านก็ตระหนักไม่น้อยกว่าผมแน่นอน

สำนวนแสดงภูมิปัญญาครับ

    มันคือความจริงที่หาตัวอย่างประกอบได้ทั่วไปทุกพื้นที่ครับ  อาการถูกหลอกให้หลงเพลินบริโภคพิษนี้ มันมาพร้อมกับความบ้าที่มีรสชาติ  บ้าวัตถุนิยม และบริโภคนิยม จนทำให้ผู้คนในสังคมตาบอดกันถ้วนหน้า แต่บอดตาใสนะครับ  มองผิวเผินไม่มีใครเห็นว่าใครตาบอด แต่เส้นทางที่ก้าวเดินกันอยู่มันบอกชัดว่าเขาบอด เพราะมันเดินไปลงเหวที่เห็นอยู่ชัดเจนเบื้องหน้า แต่เพราะเขาไม่มีตาก็เลยมองไม่เห็น .. ยาหยอดตาแก้การมืดบอดมีอยู่ครับ ชื่อว่า"วิชชา" แต่ไม่มีใครใช้เพราะเขายังไม่รู้กันเลยว่าเขาตาบอด .. อนิจจา

[This is my 4th try to add this response -- may be g2k technical support can trace and tell.]

This is a confusion in identifying 'sr' ;-)

I feel that I should warn คุณกรกฎ that there may be some upset in the workplace, though it is not คุณกรกฎ's doing. I am sure ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช can understand a friendly knock-off in this blog and won't be hassled by:

"...ที่ผมคิดว่า สคส ควรให้ความสำคัญ

แต่ก็ดูเหมือนว่ายังทำระดับเล่นขายของมากกว่าที่จะเอาจริงกับปัญหาระดับชาติครับ

ถ้ามีโอกาสช่วยสะกิดหัวหน้าคุณให้ด้วยครับ อาจจะได้ผลมากกว่ามาให้ความเห็นเฉยๆ..."

Looking at the last annual report (2550) for KMI (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม -- สคส), we can see that KMI has been busy with building up the number of knowledge field agents and networking resources. This work is foundational and essential for development of 'cooperative geniuses' in society. The growth of similar in purpose websites clearly shows we are reaching a 'critical mass' for change.

QUOTE:

""...ที่ผมคิดว่า สคส ควรให้ความสำคัญ

แต่ก็ดูเหมือนว่ายังทำระดับเล่นขายของมากกว่าที่จะเอาจริงกับปัญหาระดับชาติครับ

ถ้ามีโอกาสช่วยสะกิดหัวหน้าคุณให้ด้วยครับ อาจจะได้ผลมากกว่ามาให้ความเห็นเฉยๆ..."

Looking at the last annual report (2550) for KMI (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม -- สคส), we can see that KMI has been busy with building up the number of knowledge field agents and networking resources. This work is foundational and essential for development of 'cooperative geniuses' in society. The growth of similar in purpose websites clearly shows we are reaching a 'critical mass' for change. "

REPLY:

I don't think above related to this topic BUT it was appear here and fortunately I know about it so I have to say in here too.

Long time ago, when Dr. Vicharn has only ONE choice in this world that is me to help him to build TH web. He used to ask me to help pass thru Dr. Apichart. Unfortunately, it has missing in communication so his original idea never being done by me. (IF it was done by me then the problem here will not exist).

Most webmasters today has not enough knowledge to maintain their web and most of them get worse in containing what I called "poison" knowledge and look down TH persons ability.

That is limiting factor why TH was won at this time.

At most I can do by now is simply apply "UU BEK KHA" and "PAW WA NA" that Android I made in which the company promise to produce 1000 million pieces will come out as fast as possible.

At that time this problem will not exist automatically.

Regards,

zxc555

ขอบคุณครับที่อธิบาย

ผมต้องขอบอกตรงๆว่า ผมเข้าใจประเด็นนั้นน้อยมาก

ที่ผมเสนอแนะก็คือ การจัดการความรู้ภาคปฏิบัติที่ยังขาดมาก

ที่ผมพบว่าคนทั่วไปมีความรู้มาก แต่ไม่ได้นำมาใช้ หรือนำมาปฏิบัติ

ขีดจำกัดที่ผมมองก็คือ "การจัดการความรู้" ยังไม่มี

ทั้งระดับนักวิชาการ ลงมาถึงชาวบ้านทั่วไป

ที่ทำให้สังคมยังหลงทาง ล้มลุกคลุกคลานอยู่ในปัจจุบัน

ถ้า สคส มองว่าไม่ใช่หน้าที่ของตัวเอง ผมก็ไม่มีอะไรจะคุยต่อแล้วครับ

แต่ผมก็พอเข้าใจบ้างว่า สคส ก็มีขีดจำกัดในตัวเองพอสมควร

ในที่สุด สคส ก็ต้องกลับมาดูตัวเองพอสมควร

และผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับวิธีการ

  • คอยแต่ลอกความคิดความอื่นมาพูด
  • แปลตำราขาย

ผมว่ามันมีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้ และดูมีศักดิ์ศรีมากกว่านี้ครับ

ขอบคุณครับ

QUOTE:

"และผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับวิธีการ

* คอยแต่ลอกความคิดความอื่นมาพูด

* แปลตำราขาย

ผมว่ามันมีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้ และดูมีศักดิ์ศรีมากกว่านี้ครับ"

REPLY:

Wonderful :)

I am glad it has brave person as you to say it out loud in here.

Those problem exist because most bosses in TH look down TH persons and praised farang on high.

When they see TH names they refuse to listen it since the beginning.

Regards,

zxc555

Dear Dr Sawaeng and Ajarn Supat

I am only a watcher following สคส progress. I cannot speak for สคส. But I see an 'child' organization for "promoting" knowledge-based society growing and becoming independent on it own right (without being 'funded' by some 'mother' organizations) -- where there was "none" before -- as a good thing.

This child organization may look and behave like 'ordinary child' (rather than a smart 'knowledge' child that we can bank on). We can nudge and guide the future of this child. We can encourage development in certain/preferred directions. And we can do so in a 'child-centred' manner -- without the 'cane', the 'nagging' or the 'words that hurt' which may cause permanent (physical/psychological) scars on the child. We know that this child is among the children for 'our' future, they are all growing up, learning, finding their clear roles and positions and their 'niche' to survive in this (financially) hostile world. We know also we cannot lose any of our 'future builders' and let money-mongers rule...

Let us talk about our smart doctors, farmers, inventors, nurses, public servants, teachers... [in alphabetical orders ;-) -- I may have missed smart 'politicians' already.] Last night, I looked up and saw a bright star outshining all other stars and planets. I thought about the three maggis in the desert following a bright star in a story (in the Bible), they too had faith and hope for the future of the world...

มีภาพที่ผมช่วยเพื่อนทำขึ้นมาประกอบการนำเสนอ เรื่อง กระบวนการหลุดพ้นจากความเป็นหนี้ กรณีศึกษา : กลุ่มปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน มาฝากครับ.

ยังมีช่องว่างที่ใหญ่มากเลยครับ

ผมกำลังหาทางอุดอยู่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท