วิธีค้นหาความถนัด และ สไตล์ "การเขียน" ของคุณอย่างง่าย ๆ ... (อัจฉริยะฉลาดเขียน)


"นักเขียนที่ดีต้องสไตล์ที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง และสไตล์การเขียนนั้นต้องสม่ำเสมอ คงเส้นคงวาไม่ใช่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา จนหาสไตล์หาตัวตนที่แท้จริงของตัวเองในงานเขียนไม่เจอ"

หนังสือ "อัจฉริยะฉลาดเขียน" (Writing Genius) ที่เขียนโดย ลุงไอน์สไตน์ มีเคล็ดลับน่ารู้ เกี่ยวกับ วิธีค้นหาความถนัด และ สไตล์ "การเขียน" ของคุณอย่างง่าย ๆ ดังนี้

 

1. อ่านหนังสือทุกแนวให้มาก ๆ เพื่อที่คุณจะได้สำรวจดูว่า งานเขียนแบบไหนที่คุณสนใจเป็นพิเศษ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าให้คุณเลียนแบบสไตล์การเขียนของคนอื่น แต่ให้คุณค้นหาและปรับใช้ในแบบของคุณ

 

2. ทดลองฝึกเขียนในแบบและสไตล์ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อค้นหาความถนัดและความเป็นตัวคุณ

 

3. ให้คนอื่นช่วยวิจารณ์งานเขียนแบบต่าง ๆ ของคุณ

4. จดบันทึกจุดดีจุดด้อยงานเขียนในแบบต่าง ๆ ที่คุณทดลองฝึกเขียน ทั้งจากความรู้สึกของคุณเอง และจากคำวิจารณ์ของคนอื่นที่ได้อ่านงานเขียนของคุณ

 

5. ค้นหาบุคลิกภาพ และความเป็นตัวตนของคุณให้ได้ว่าคุณเป็นคนแบบไหน

6. ค้นหาแรงจูงใจ หรือแรงบันดาลใจของคุณ นั่นคือ การเขียนแบบไหน ประเภทไหน แนวไหน ที่ทำให้คุณรู้สึกอยากจะเขียนมากที่สุด

 

7. ค้นหาความสนใจของคุณ ว่าคุณสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ บางครั้งความสนใจของคุณก็อาจจะทำให้คุณุสไตล์การเขียนของคุณได้ โกวเล้ง นักเขียนนวนิยายกำลังภายในชาวจีนชื่อดัง มีความสนใจในด้านปรัชญามา สไตล์การเขียนของเขา นอกจากจะใช้คำ วลี และประโยคที่สั้น ๆ ใช้สำนวนภาษาที่กระชับ เรียบง่าย แต่แฝงด้วยความลึกซึ้งกินใจแล้ว ยังสอดแทรกคำคม แง่คิด และหลักปรัชญาต่าง ๆ อยู่ในนวนิยายทุกเล่มของเขาด้วย

 

8. สำรวจความรู้ที่คุณมี เช่น สมมติว่าคุณถนัดเขียนนวนิยาย นอกจากความชอบเขียนและความรู้ในด้านการเขียนนวนิยายแล้ว คุณก็อาจจะมีความรู้ในด้านประวัติศาสตร์เป็นพิเศษ ดังนั้น คุณจึงอาจถนัดเขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ มากกว่านวนิยายสืบสวนสอบสวน หรือนวนิยายวิทยาศาสตร์ก็เป็นได้

 

เขาว่ากันว่า ...

"นักเขียนที่ดีต้องสไตล์ที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง และสไตล์การเขียนนั้นต้องสม่ำเสมอ คงเส้นคงวาไม่ใช่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา จนหาสไตล์หาตัวตนที่แท้จริงของตัวเองในงานเขียนไม่เจอ"

 

.............................................................................................................

 

ท่านลองนำคำแนะนำไปใช้ในการเขียนบันทึก ณ ที่แห่งนี้ ดูได้นะครับ

ผมเชื่อว่า หลักการเหล่านี้ไม่หนีกันมากจากงานเขียนธรรมดาเท่าไหร่

ขอบคุณครับ :)

 

.............................................................................................................

 

แหล่งอ้างอิง

ลุงไอน์สไตน์ (นามแฝง).  อัจฉริยะฉลาดเขียน.  กรุงเทพฯ: บิสกิต, 2552.

 

หมายเลขบันทึก: 259549เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2009 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

ขอบคุณมากค่ะ

สามารถนำไปใช้จริง และเป็นประโยชน์มากทีเดียวค่ะ

ยินดีและขอบคุณเช่นกันครับ น้อง Jarinya :)

ช่วงนี้งานหนักหน่อยนะครับ ... สู้ สู้

สวัสดีค่ะอาจารย์

วันก่อนแวะร้านหนังสือเจอเล่มนี้พอดีค่ะ หยิบมาน่าสนใจ แต่ด้วยความงกจึงเชื่อว่าใครแถวๆ นี้น่าจะนำหนังสือดีๆ มาให้อ่านกันแบบชิมๆ หากอ่านแล้วถูกใจจะได้ไปซื้อมาเก็บไว้ค่ะ

แล้วก็ไม่ผิดหวังมาจริงๆ ซะด้วย

ขอบคุณค่ะ

ไปเขียนหนังสือต่อแล้วค่ะ ว่าแต่สี่ต้องส่งเจ้าหนังสือเล่มนี้ไปให้อาจารย์ที่ไหนค่ะ หรือฝากผู้ใดได้บ้างค่ะ :)

น้อง สี่ซี่ ... เล่มนี้เหมาะกับผู้ที่ต้องการจะเขียนทุกระดับ ทุกประเภทครับ ... อ่านง่าย กระดาษดี เนื้อหาแน่น ครับ :)

เออ ... หนังสือเล่มนี้ คือ อะไรเหรอครับ :)

คุ้นๆ ครับว่าเคยเจอที่ร้าน Se-Ed แต่ดูจากปกแล้ว ผมคิดว่าไม่ใช่แนวผม จึงไม่ค่อยสนใจ นึกว่าเป็น How To ที่คนนิยมทั่วๆไป (ผมไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือประเภทขายดี)แต่ได้ชิมจากเนื้อหาที่อาจารย์ Wasawat Deemarn ย่อยมาให้เบื่องต้นแล้ว เห็นที ต้องไปหามาอ่านแล้วครับ

ยินดีและขอบคุณมากครับ คุณ ไทเลย-บ้านแฮ่ ;)

ลองค้นหาประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้ดูนะครับ

สวัสดีครับคุณพี่ Was

ดีหลายๆทีเชียวครับพี่ เป็นคำแนะนำที่ดีที่น่าเอามาแบ่งปันกัน :)

ผมเขียนบันทึกไหนๆ มาวิจารณ์กันได้เต็มที่เลยนะครับ เพื่อการพัฒนาของกันและกัน เราก็จะได้มีบันทึกดีดีอ่านกันเยอะๆไงครับ ^_^

ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณค่ะ...ประโยชน์ที่ได้รับในครั้งนี้ขอเป็นกุศลให้ท่านอาจารย์มีความเจริญยิ่งๆขึ้นไปนะคะ..ถือเป็นความรู้ที่นำไปใช้ได้เพื่อค้นพบตัวเอง...

ขอบใจมาก ๆ ครับ คุณน้อง adayday ;) ... นี่แวะมาสร้างกำลังใจให้คุณพี่เลยนะน่ะ ...

"คนเขียนบันทึกที่ดี ต้องรู้จักยอมรับความคิดเห็นจากเพื่อน ๆ คนอื่น เพราะจะทำให้ได้มีโอกาสเห็นจุดบกพร่องของตน และแก้ไขจุดบกพร่องได้ทันท่วงที"

คุณน้อง adayday เคยเห็นไหมครับ ... หากเขียน comment ไม่ถูกใจ ไม่ชมเชย หรือ ชื่นชอบ ... คนเขียน comment ด้วยความปรารถนาดีต่อกัลยาณมิตร อาจหน้าหงายได้ และคงจะไม่ยอมเข้าไปอ่านอีก เพราะความรู้สึกที่เสียไป มันเอาคืนมาไม่ได้แล้วครับ

:)

ขออนุโมทนาบุญกุศลคืนไปยังท่าน ศน.add ด้วยครับ ...

สาธุ สาธุ สาธุ !!!

อืม...ไม่เคยเห็นครับพี่Was

เดย์คิดว่าเราได้อ่านบันทึกดีดีน่ะนะ นั่นก็คือที่สุดของความโชคดีแล้วครับพี่

ถ้าคาดหวังความสุขยิ่งๆขึ้นไปแล้วผิดคาด หน้าหงายขึ้นมา ก็ขาดทุนกันไป สิ่งดีดีที่ได้อ่านมานั้นอาจเป็นเนกาทิฟ ^_^

จะนึกได้ภายหลังว่า...ไม่น่าเล๊ย :)

 

ดีครับ Positive Thinking เป็นการมองโลกในแง่ดีอย่างยิ่งยวด ... แต่ต้องอย่าลืมเผื่อใจไว้ด้วยนะ ... วันดี คืนดี อาจจะพบกับคนประเภทนั้นก็ได้นะครับ ... การแฝงตัวมันเป็นเรื่องง่ายในชุมชน แต่การเปิดตัวตนที่แท้จริงเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน ครับ

ขอบคุณมากครับ คุณน้อง adayday :)

สนใจข้อสามครับอาจารย์

  • ถ้าผมติดป้ายหน้าบล็อกตัวเอง ว่า ยินดีรับคำวิจารณ์เรื่องการเขียน รับรองไม่โกรธ..ไม่โกรธ จะมีคนวิจารณ์ผมตรงๆมั๊ย 
  • เอาแค่ง่ายๆ ภาษาที่ฟุ่มเฟือย ถ้ามีคนช่วยทักช่วยอ่านเตือนกัน ภาษาไทยเราจะได้ไม่พุงพลุ้ยนะครับ
  • G2K จะได้ไม่ถูกตั้งข้อหาว่า มีแต่คำหวาน จน...

อาจารย์หมอ เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี ครับ :)

หากท่านใดที่เข้ามาอ่านงานของอาจารย์ประจำแล้วกล้าที่จะให้คำแนะนำ ... แสดงว่านั่นคือ มิตรแท้ของอาจารย์แล้วล่ะครับ ผมคิดเช่นนั้น

"ความหวาน จน เครียด" นี่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันแล้วล่ะครับ หากหวานแบบหน้าทั้งต่อหน้า และลับหลัง แบบนี้ OK ครับ ... แต่หากต่อหน้าอีกอย่าง ลับหลังอีกอย่าง ผมว่า ... อยู่ห่าง ๆ คนลักษณะนี้จะดีกว่าครับ

มิตรแท้ หรือ มิตรเทียม ... เราน่าจะพอรับความรู้สึกนั้นได้ อาจารย์หมอว่าไหมครับ ;)

ขอบพระคุณครับอาจารย์ :)

การวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ จนเราสามารถปรับปรุงตัวเองได้ดีขึ้น ผู้รับคำวิจารณ์ยินดีอยู่แล้ว ใช่มั๊ยครับ

อาจารย์หมอ เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี ครับ ...

ผมว่า ไม่ทุกคนนะครับ ... เหมือนการฟังธรรมจากพระพุทธองค์ครับ บางคนฟังครั้งแรกแล้วดวงตาเห็นธรรม บางคนฟังหลายครั้งหน่อย แต่บางคนฟังยังไงก็ไม่เข้าใจ เพราะใจไม่รับ

มัวแต่คิดว่า ตัวเองเป็นฝ่ายถูกอยู่เสมอ เพราะชีวิตที่ผ่านมาของเรา เราได้รับรางวัลมากมาย ดีเด่นโน้น ดีเด่นนี่ ดังนั้น เราเก่งที่สุด ใครว่า เราแสดงว่า คนว่าเรา ผิด แต่เราถูกที่สุด

อาจารย์หมอว่าไหมครับ :)

การรับความคิดเห็นด้วยความเต็มใจจึงอาจจะไม่เป็นกันได้ทุกคน ไม่มีข้อจำกัดวัยวุฒิ คุณวุฒิใด ๆ ครับ

แต่รับรองได้ว่า หากทั้งผู้ให้และผู้รับมีจิตใจดีทั้งสองฝ่าย เปิดใจรับฟังผู้อื่น แล้วนำมาปรับปรุงตัวเสมอ โลกนี้จะมีแต่สันติภาพ แน่นอนครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ Wasawat

มาเรียนรู้ เพื่อค้นหาแนวการเขียนของตัวเองครับ

ก็ยังหาไม่เจอเท่าไหร่

และมักจะเปลี่ยนไปมา ตามแต่อารมณ์ความรู้สึกในแต่ละขณะ

คำแนะนำจากหนังสือเล่มนี้ ผมคิดว่ามีประโยชน์มากๆ ครับ

จะขอเก็บไว้ใช้เป็นแนวทาง

เพื่อค้นหาแนวทางการเขียน

และที่สำคัญคือเพื่อค้นหาตัวเองด้วยครับ

ยินดี หากมีประโยชน์มากมายครับ ท่านอาจารย์ ซวง ณ ชุมแสง :)

เล่มนี้น่าสนใจค่ะ พรุ่งนี้จะโต๋เต่ตามร้านหนังสือ จะไปหาอ่านดูค่ะ

มีทุกร้านเลยครับ พี่หม่อม ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี ...

ซีเอ็ดยูเคชั่น ดูจะเห็นชัดเจนที่สุด

ขอบคุณครับ :)

ป้าเหมียวเคยคิดเปลี่ยนสไตล์ตัวเอง เพราะเข้ามาในดินแดน โกทูโนว์ กลัวจะแปลกแยก...แต่มันก็ฝืดเขียนไม่ออกถ้าไม่ใช่สไตล์ตัวเอง

เขียนไปเรื่อย ไม่มีสไตล์ของตนเอง

อยากเขียนก็เขียน อยากแต่งกลอนก็แต่ง

แบบนี้ไม่มีโอกาสเป็นอัจฉริยะเลยล่ะซีนะ

จะฝึกฝนเขียนให้หลากหลายสไตล์ค่ะ แต่ไม่ว่าจะเขียนอะไรก็รู้สึกสบายใจค่ะ เพราะคิด (เอาเอง) ว่ามีผู้รู้มาตรวจสอบคำสะกดผิดถูกให้อยู่เสมอค่ะ แต่ถ้าจะให้ดี ตั้งใจว่าจะเขียนเนื้อหาที่สั้นกระชับมากขึ้น จะได้มีข้อผิดพลาดน้อย ๆ ดีไหมคะท่านอาจารย์

ขอบคุณครับ คุณ ป้าเหมียว ;) ... สไตล์ของใครของมันครับ ใช้ได้เลย

ขอบคุณมากครับ คุณ ครู ป.1 ;) ... เขียนด้วยความเป็นกัลยาณมิตร จึงดีสุดครับ สไตล์ไหนก็ได้เหมือนกัน

แหม ท่านอาจารย์นพลักษณ์ ๙ Sila Phu-Chaya ครับ ... การกังวลเรื่องการถูกตรวจสอบ ทำให้เราไม่สามารถพังกำแพงแห่งอัตตาของตัวเราออกมาได้นี่ครับ

ยิ่งเขียนเยอะ ยิ่งทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น ตามหลักนพลักษณ์นั่น ไม่ใช่เหรอครับ อิ อิ

แต่ถ้าเขียนสั้น ก็ไม่ใช่ อาจารย์นพลักษณ์ ๙ ตัวจริงนี่ครับ ตัวปลอมแน่ ๆ 555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท