สตีเฟน ฮอว์คิง : อนุภาคที่มีวิถีชีวิตของมันเอง ... (วินทร์ เลียววาริณ)


นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่ง มีงานเขียนทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ โดยที่ร่างกายขยับตัวไม่ได้ เขาคือ สตีเฟน ฮอว์คิง (Steven Hawking) ... ผมเองไม่ได้รู้จักเขามากนัก ผมเห็นหน้าเขาที่ร้านหนังสือ มีคนแปลหนังสือของเขามาเป็นภาษาไทย ผมเคยเห็นหน้าเขาในหนังสือ นิตยสารหลายเล่ม แต่ผมก็ยังไม่รู้จักเขา

วินทร์ เลียววาริณ ทำให้ผมรู้จักเขามากขึ้น จากงานเขียน "อนุภาคที่มีวิถีชีวิตของมันเอง" ในหนังสือ "ความฝันโง่ ๆ" ซึ่งเป็นความฝันโง่ ๆ ของสตีเว่น ฮอว์คิง

 

 

หมอบอกว่า เขาจะอยู่ได้อีกไม่เกินสองสามปี

เขาอายุยี่สิบเอ็ด เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี 1963 เขาล้มลงและไม่สามารถขยับเขยื้อนกายได้

หมอบอกว่า เขาเป็นโรค Amyotrophic Lateral Sclerosis (หรือ ALS) ระบบประสาทของเขาไม่สามารถสั่งการอวัยวะส่วนต่าง ๆ ให้ทำงานได้

ร่างกายของเขาจะสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวทีละน้อย จนเป็นอัมพาตถาวร

เขาไม่ได้กลับบ้านไปนอนรอความตาย เขายังคงเรียนหนังสือต่อไป สำหรับคนทั่วไป การเรียนหนังสือสำหรับคนใกล้ตายถือเป็นความสูญเปล่า แต่นอกจากเขาจะเรียนต่อแล้ว เขายังแต่งงาน

ชายหนุ่มคนนี้ชื่อ สตีเฟน ฮอว์คิง

 

 

(http://www.tamu-commerce.edu/physics/links/hawking2.jpg)

 

 

เกิดในยามสงครามที่ออซ์ฟอร์ด อังกฤษ สามร้อยปีหลังจากกาลิเลโอสิ้นชีพ ในช่วงสงคราม นาซีเยอรมันกับอังกฤษทำข้อตกลงว่า จะไม่ทิ้งระเบิดเมืองมหาวิทยาลัยของกันและกัน ออกซ์ฟอร์ดจึงมิได้รับผลกระทบของสงคราม

ตั้งแต่เด็ก ฮอร์คิงชอบคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ เขาเรียนได้คะแนนดีมาก สนใจเทอร์โมไดนามิกส์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ และควอนตัม ฟิสิกส์ ที่บอกว่า อนุภาคแต่ละตัวมีวิถีชีวิตของมันเอง และคาดเดาไม่ได้

ฮอว์คิงไปเรียนต่อปริญญาเอกที่เคมบริดจ์ ด้านจักรวาลวิทยา อนาคตของเขาสดใสยิ่ง หากมิใช่เพราะโรคร้ายดังกล่าว

ระหว่างที่เรียนเขาพบหญิงสาวคนหนึ่งชื่อ เจน ไวลด์ สองปีต่อมาเขาก็ขอเธอแต่งงาน เขาถามเธอว่า จะพิจารณาแต่งงานกับคนที่มีอายุเหลือสามปีหรือไม่

เธอตกลง และบอกว่า "นี่เป็นยุคมืดแห่งปรมาณู เราต่างมีอายุขัยที่สั้น"

 


โรคร้ายทำลายร่างกายของเขาไปทีละน้อย แต่ไม่กระทบสมองของเขา ฮอว์คิงยังคงหายใจเข้าออกเป็นทฤษฎีต่า ๆ ทางจักรวาลวิทยา

แปดปีหลังจากอาการของโรคร้ายแสดงออก ฮอว์คิงพบเพื่อนใหม่ชื่อ รอเจอร์ เพนโรส นักคณิตศาสตร์ ทั้งสองเข้าทีมกัน คำนวณจากรากฐานที่ไอน์สไตน์วางไว้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพ ว่าจักรวาลน่าจะมีจุดเริ่มต้น บิ๊กแบงเกิดขึ้นจริง และเรื่องหลุมดำ

 


อาการพิการค่อย ๆ หนักขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดเขาก็เป็นอัมพาตเกือบสิ้นเชิง สูญเสียระบบการพูด เขาใช้เสียงสังเคราะห์ไฟฟ้าในการสื่อสารกับคนอื่น

เก้าอี้เข็นของเขาติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อกับเครื่องอ่านค่ากะพริบตาที่ติดในแว่นตาของเขา โดยการกะพริบตาและหดกล้ามเนื้อแก้ม เขาก็สามารถพูดได้ ทำการรีเสิร์ชข้อมูลต่าง ๆ อ่านหนังสือ ท่องอินเทอร์เน็ต เขียนอีเมล และเขียนหนังสือได้ ขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมประตู แสงสว่างในห้อง

 

 

(http://ebidiots.com/wp-content/uploads/2007/03/steven_hawking.jpg)

 

 

สตีเฟน ฮอว์คิง ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ Lucasian ด้านคณิตศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ตำแหน่งที่เซอร์ ไอแซค นิวตัน เคยดำรงมาก่อน หนังสือเล่มแรกของเขา A Brief History of Time (1988) ขายดีจนเป็นปรากฎการณ์ใหม่ที่ลบล้างความคิดที่ว่า หนังสือวิชาการขายไม่ได้ในตลาดผู้อ่านทั่วไป หลังจากนั้นมีออกมาอีกหลายเล่มอย่างไม่น่าเชื่อว่าเป็นผลงานของคนพิการที่เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้

สตีเฟน ฮอว์คิง ลบล้างคำของหมอที่ตัดสินชีวิตของเขาว่า จะอยู่ได้อีกไม่เกินสองสามปี เขาอยู่ต่อมาอีกหลายสิบปี

เขาบอกว่า เขาโชคดี เขาว่าตนเองคงไม่สามารถค้นพบสิ่งสำคัญในโลกฟิสิกส์มากเท่านี้ หากมิใช่เพราะการสนับสนุนของครอบครัว

บางทีทุกชีวิตมีทางดิ้นรนของมันเองเสมอ ขอเพียงอย่าเพิ่งสิ้นกำลังใจ

บางที ควอนตัม ฟิสิกส์ อาจจะถูก อนุภาคแต่ละตัวมีวิถีชีวิตของมันเอง และคาดเดาไม่ได้

 

.....................................................................................................................................

 

ความสำเร็จของ สตีเฟน ฮอว์คิง ไม่ได้มาจาก "ความอัจฉริยะ" ที่มาจากสมองของเขาเท่านั้น แต่มาจาก "หัวใจนักสู้" ต่างหาก ... ถึงแม้ร่างกายจะเริ่มหมดสภาพการเคลื่อนไหวลง แต่เขาไม่เคยหยุดทำงานหรือบ่นออกมาว่า "ทำไม่ได้" ...

เป็นเรื่องน่าขันน่าดูที่ผมเห็นคนมีอวัยวะครบ 32 ประการ มีมือ มีขา มีสมอง กลับบ่น "ท้อใจ" เดินหนีปัญหากันอยู่ทุกวัน ... หัวใจไม่คิดสู้เหมือนกันคนที่กำลังจะตายจากภาวะโรคร้ายเขาทำ ... ลองคิด ไม่น่าละอายใจบ้างหรือยังไง ... หากลองเป็นเช่น สตีเฟน ฮอว์คิง ... คุณจะทำได้เท่าเขาพยายามเขยื้อนร่างกายไหม ?

"คนท้อ" กลับมาลองคิดดูให้ดี ๆ นะครับว่า "จะหนี" หรือ "จะสู้"

เกิดมามีแค่ลมหายใจเดียว ... จงทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ให้เต็มที่เถอะครับ

ไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ แต่ขอให้ภูมิใจว่า เราได้ลงมือทำมันแล้ว

บุญรักษา ครับ ;)

 

....................................................................................................................................

 

แหล่งอ้างอิง

วินทร์ เลียววาริณ.  ความฝันโง่ ๆ.  กรุงเทพฯ: 113, 2549.

 

หมายเลขบันทึก: 272663เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2009 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

ได้แง่คิดชีวิตจริงๆ ครับ ขอบคุณมาก

สำคัญอยู่ที่ใจสู้หรือเปล่า

ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์ จารุวัจน์ شافعى ... ;)

"...ใจสู้หรือเปล่า ไหวไหมบอกมา โอกาสของผู้กล้า ศรัทธาไม่มีท้อ..."

เสียงเพลงแว่วมาครับ ... อ่านบันทึกในวันนี้หลายท่าน เกิดอาการ "ท้อ" ... ไม่อยากให้เป็นแบบนั้นกันครับ ล้มแล้ว ต้องลุกขึ้นไว ... อย่าล้มแล้วน็อคไปเลย แบบนี้ไม่ดีแน่ ๆ ;)

เสียอะไรเสียได้...แต่อย่าเสียกำลังใจ...^^

แวะมาเยี่ยมอาจารย์คะ....นอนดึกจังเลยคะ...

ยินดีและขอบคุณครับ คุณก้อย  ♡*.:。 KiTTyJuMP゚・♡゚゚・ ที่แวะมาเยี่ยมยามดึก ๆ ;) ... ช่วงนี้งานเตรียมสอนค่อนข้างเยอะพอสมควรครับ ... ไม่เสียกำลังใจครับ ;)...

ขอบคุณที่นำเรื่องราวดีๆ มาบอกเล่าต่อ

เป็นพลังใจให้แก่หลายๆคนที่กำลังท้อแท้

บุญรักษาเช่นกันนะคะอาจารย์

ขอบคุณสำหรับบันทึกให้แง่คิดดีๆค่ะ และแนะนำหนังสือดีๆด้วย

จะลองไปหาซื้อเมื่อกลับเมืองไทยค่ะ

รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ขอขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ
  • จะไปหาซื้อมาอ่าน
  • ค่ะ...ไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ แต่ขอให้ภูมิใจว่า เราได้ลงมือทำมันแล้ว
  • ปกติก็มาติดตามอ่านทุกบันทึกของอาจารย์เสมอทุกบันทึก บางบันทึกเม้นท์ไม่ถูกค่ะ  ขออภัย

 

ขอบคุณมากครับ คุณครู ครูอรวรรณ ;)

พลังใจสำคัญมาก ทำให้เราก้าวเดินด้วยความมั่นคง ครับ

ขอบคุณครับ คุณหนุ่ย NuiErnik ;)

หนังสือชุดนี้ของวินทร์ เลียววาริณ เป็นหนังสือชุดโปรดของผมชุดหนึ่งครับ ... สั้น ง่าย สบายใจ และเป็นพลังใจในยามท้อได้ดีครับ

สวัสดีครับ คุณ ครูคิม ;)

แอบเห็นบันทึกของบิลลี่ โอแกน ที่ร้องเพลงว่า "อย่างนี้ต้องลาออก อย่างนี้ต้องลาออก" แล้วถามตัวเองว่า ผมเคยรู้สึกอย่างนี้ไหมในปัจจุบัน ... คำตอบคือ ไม่เคยครับ สำหรับผมไม่ว่าจะหนักเพียงใดในมหาวิทยาลัยท้องถิ่น ผมเลือก "การสู้ต่อ" ดีกว่า ไม่ได้ทำอะไรเลย

ถ้าเป็นในอดีต เมื่อผมรู้สึกว่า ทำงานไม่ได้ ทำงานให้กับองค์กรนี้ไม่ได้ ผมจะเลือกยื่นหนังสือลาออกทันที โดยไม่สนใจ เมื่อทำไม่ได้ ก็ออก

แต่ตอนนี้เป็น "ครู" ... คำว่า "ลาออก" ไม่มีอยู่ในความคิด

มีน้องอาจารย์ก็คิด "ลาออก" เพราะปรับตัวและสู้กับระบบไม่ดี ๆ ไม่ไหว ผมบอกน้องไปว่า "งั้นมาสู้กับพี่ไหม" อย่างไรก็ทำให้ถึงที่สุด ถ้าไม่ไหว น้องจะลาออกไป พี่ก็ยอมรับได้ แต่นี่น้องยังไม่ได้สู้ถึงที่สุดเลย แต่มาลาออก แล้วน้องจะหนีไปอยู่ที่ไหน นี่ก็ประเทศไทยบ้านเรา

อิ อิ ... เล่าให้ฟังเฉย ๆ ครับ ไม่มีนัยยะใด ๆ

แหม ... เมื่อคุณ ครูคิม แวะมาอ่านบันทึกผม เอาแค่ ... "แวะมาเยี่ยมบันทึกแล้วค่ะ" ... แค่ก็พอแล้วครับ

บุญรักษา ครับ ;)

เป็นเรื่องที่เยี่ยมมากเลยครับ

สวัสดี ครับ อาจารย์ Wasawat Deemarn

ตามมาอ่านเรื่องราว ดี ๆ จากหนังสือ ที่อาจารย์ แนะนำ

อ่านบทสรุป..ของอาจารย์ แล้ว ..อยากซื้อเก็บไว้ อ่าน.. ตอนหมดไฟ

จะได้รู้ว่า....ไฟในร่างกายของคนบางคน มีมากมายเหลือเกิน จุดเชื้อเติมแต่ง ได้มากเกินกว่าแค่มองจากภายนอก

 

ขอบพระคุณ อาจารย์มาก ครับ

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาบอก..ว่าจะต่อสู้ค่ะ
  • จะรอดูเวลานี้..ที่ผ่านไปถึงเวลานั้นค่ะ
  • ขอขอบพระคุณในความปรารถนาดีค่ะ

ไฟปรารถนาอยากทำความดีเพื่อผืนแผ่นดินที่ตัวเองเกิดครับ คุณ แสงแห่งความดี ;)...

ทำให้เต็มที่ก่อนจะได้ไม่ต้องเสียใจในภายหลัง

ขอบคุณครับ ;)

สู้ สู้ ครับ ... คุณ ครูคิม ;)...

ครูดีหาได้ไม่มากหรอกนะครับ ยิ่งด้วยระบบที่เอื้อ หรือ เยียวยาจากนักการเมือง หรือ นักการศึกษาหัวโตข้างบนกระทรวงฯ ไม่ต้องพูดถึง

ระบบกำลังฆ่าครูดี ครูไม่ดีก็แสดงตัวตนซ้ำครูดี ครับ ;)

เมื่อใดก็ตามที่ระบบตรวจสอบเข้มแข็งกว่านี้ ผู้ทำกรรมไม่ดี จะต้องได้รับกรรมนั้นครับ

สวัสดีค่ะ

อ่านจบด้วยความรู้สึก....ขอบคุณค่ะ

คุณลักษณะอย่างหนึ่งของผู้ที่จะประสบความสำเร็จและสามารถสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้สังคมได้จะต้อง ไม่ท้อง่าย ไม่บ่นก่นทุกข์ ไม่มัวคิดคำนึงถึงอดีตและอนาคต...

ขอคารวะคุณ สตีเฟน ฮอว์คิง

ขอบคุณเรื่องราวดี ๆ ค่ะ

(^___^)

ขอบคุณครับ น้อง สี่ซี่ ... มาเบิลเลยเหรอ 555 ;)

ขอบคุณครับ คุณ คนไม่มีราก ;)... เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ

ขอนำไปเผยแพร่ต่อนะค่ะ

คุณสายลม ... อย่าลืมอ้างอิงเจ้าของผลงาน คือ คุณวินทร์ ด้วยนะครับ ;)

วินทร์ เลียววาริณ.  ความฝันโง่ ๆ.  กรุงเทพฯ: 113, 2549.

ขอบคุณครับ ;)

เมื่อไม่นานนี้ได้อ่านหนังสือแปลเรื่อง ความสุข เขียนโดย มาติเยอร์ ริการ์ เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่ปัจจุบันบวชเป็นพระธิเบตมาร่วมสามสิบปีแล้ว ความคิด มุมมองและการถ่ายทอดของเขานั้นน่าสนใจมากๆเลยค่ะ ผู้แปลคือคุณสดใส ขันติวรพงษ์

ขอยกคำโปรยปกหลังที่ท่านมาติเยอร์กล่าวถึงความสุข...

...ความสุขในที่นี้ผมหมายถึงความเบิกบานอย่างลึกซึ้งซึ่งเกิดจากจิตที่มีสุขภาวะดียิ่ง ที่ไม่ใช่แค่ความเพลิดเพลิน ไม่ใช่ความรู้สึกหรืออารมณ์ชั่วครู่ชั่วยาม แต่เป็นภาวะการดำรงที่ดีที่สุด นอกจากนี้ความสุขยังเป็นวิธีการตีความโลกได้ด้วย เราอาจเปลี่ยนโลกได้ยาก แต่การเปลี่ยนวิธีการมองโลกนั้นเราทำได้ตลอดเวลา....

ขณะนี้พี่กำลังอ่าน ควอนตัมกับดอกบัว แม้เข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์ได้ยากหน่อยแต่น่าสนใจวิธีคิ วิธีการสนทนาระหว่าท่านมาติเยอร์ ริการ์ กับ ตวน นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ แปลกที่อ่านแล้วทำให้เข้าใจหลักคิดเรื่อง ความว่าง เหตุ-ปัจจัย และชีวิตมากขึ้นค่ะ

หากสนใจอยากอ่านทั้งสองเล่มแล้วยังไม่ได้ซื้อ พี่ส่งมาให้ยืมอ่านได้นานๆ อาจารย์จะได้ย่อยที่อ่านมาฝากชาวบล็อกไงล่ะคะ^__^

ขอบคุณครับ พี่อาจารย์ คุณนายดอกเตอร์ ;)...

ย่อยลำบากแน่ ๆ เลยครับ แต่ละเล่มมีความหนักหนาสำหรับผมเชียวแหละ อิ อิ

"มาร" ... ยังอยู่ห่างจากความว่างและปัจจัยอยู่เลยครับ

ลำบากจายคร้าบ 555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท