เชิญแสดงความคิดเห็น : รายการวิทยาศาสตรใน ทีวีไทย (Thai PBS) ควรเป็นอย่างไร?


 

ตอนนี้ผมเป็นอนุกรรมการคัดเลือก รายการ สารคดี & วิทยาศาสตร์

ใน ทีวีไทย (Thai PBS) ครับ

 

 

 

แต่ละท่านอยากเห็นรายการสารคดี และ/หรือ รายการวิทยาศาสตร์ ใน ทีวีไทย เป็นอย่างไร

ก็เขียนความคิดเห็นไว้ได้ที่นี่เลย จะรวบรวม & นำไปเสนอในที่ประชุมเพื่อพิจารณา


ขอบคุณมากครับ ^__^

 



ข้อเสนอ & ความคิดเห็นที่ได้รับ - จำนวนความคิดเห็นล่าสุด : 012 (20 กรกฎาคม 2552)

(ผมนำข้อเสนอล่าสุดไว้บนสุด และทำ key words ให้เป็นตัวเข้ม โดยจะจัดเป็นกลุ่มๆ หากทำได้ครับ)



021)

อยากให้มีการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตและการช่วยเหลือในสังคมค่ะ

เพราะทุกวันนี้ประเทศของเรามีปัญหามากมายจุกจิกทั่วไปหมด ทรัพยากรไม่ได้มีมากมายล้นฟ้า ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรบุคคลหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือทรัพยากรสังเคราะห์ ถ้าหากได้วิทยาศาสตร์มาช่วยปรับการใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์คุ้มค่าที่สุดเพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคมได้จะดีมาก ตัวอย่างเช่น บ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ บุคลากรมีน้อย ขาดคนดูแล ถ้ามีการประดิษฐ์เครื่องมือ หรือปรับการจัดวาง การให้อาหารสุนัขได้ ก็ไม่จำเป็นมีบุคลากรมากมาย เป็นต้น (แค่ตัวอย่างนะคะ ยังมีอีกหลายอย่างที่เอามาเล่นได้ค่ะ)

ส่วนรูปแบบการนำเสนอ อยากให้เป็นลักษณะการแข่งขัน แบบรายการทีวีแชมเปี้ยน หรือรายการ american inventor ก็ได้ คิดว่าน่าจะช่วยกระตุ้นต่อมความคิดสร้างสรรค์ของประชาชนได้นะคะ อีกทั้งยังช่วยเหลือสังคมได้ด้วย คิดว่าน่าจะได้ประโยชน์ทั้งสองทางนะคะ

[คุณ m - 24 ก.ค. 52]




020)

"รายการวิทยาศาสตร์ในดวงใจ" ผมอยากชม ...

๑. การ์ตูนบุคคลสำคัญของโลก จำได้ว่า ตอนเด็ก ๆ ดูแล้วเกิดแรงมุมานะว่า อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์กับเขาบ้าง

๒. วิทยาศาสตร์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชน แต่ประชาชนไม่ทราบว่า นี่คือวิทยาศาสตร์

๓. พิสูจน์เรื่องเหนือธรรมชาติโดยใช้วิทยาศาสตร์ เพื่อลบความเชื่อที่ยังไม่ถูกต้องออกไปจากใจ

๔. ท้องฟ้าจำลองบนหน้าจอทีวี เพราะตอนเรียนมัธยมฯ โรงเรียนอยู่ใกล้ ว่างเมื่อไหร่จะไปดู เป็นการสร้างความรักที่มีต่อโลกและดวงดาวได้ดีมาก

๕. นาโนเทคโนโลยีทำประโยชน์อะไรให้เราได้บ้าง อยากให้คนทั่วไป รู้สึกว่า นาโนเทคโนโลยีไม่ได้อยู่ไกลตัวเองเลย

๖. ประโยชน์ที่แท้จริงของไอซีทีที่มีต่อประชาชนคนไทย เพื่อเตรียมสู่โลกสมัยใหม่ (รายการไอทีน้อยเหลือเกิน มีแต่เน้นด้านพาณิชย์ หรือ entertain)

๗. วิทยาศาสตร์ด้านการแพทย์ ที่ทำให้คนไทยเข้าใจวงการแพทย์มากขึ้น

๘. รายการแนะนำหนังสือดีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชนไทย เช่น ..... ผ่ากรุอารยธรรม (เกี่ยวไหมเนี่ย) 555


[อ.Wasawat Deemarn - 24 ก.ค. 52]



019)

ได้อ่านข้อเสนอแนะจากหลายๆ ท่านแล้ว ก็ทำให้ได้เห็นรูปแบบที่หลากหลาย โดยส่วนตัวแล้ว พอได้ยินคำว่าวิทยาศาสตร์ก็จะรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจ (สงสัยจะติดภาพจากตอนเรียนม.ปลาย) หัวแล่นทางเชิงสังคมมากกว่า แต่ก็เข้าใจว่าเรื่องวิทยาศาสตร์ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตค่ะ ^_^

ปรางเลยอย่างนำเสนอถึงรูปแบบการดำเนินรายการค่ะ พอดีได้มีโอกาสดูรายงานสอนศิลป์ซึ่งออกอากาศทางช่องทีวีไทย ซึ่งรู้สึกว่าเป็นการเสนอเรื่องศิลปะที่มีคุณค่าดีจัง แต่รายการนี้นำผู้ที่เป็นศิลปินมาเป็นจุดขายในการถ่ายทอดความรู้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะในแขนงต่างๆ ค่ะ ซึ่งรูปแบบอาจจะแตกต่างจากรายการวิทยาศาสตร์ที่อาจจะต้องนำเอาแนวคิดความคิด หรือหลักฐาน หรือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เป็นตัวเด่น แต่ถ้ามีความหลากหลายนำเสนอในออกไปในทุกสาขาวิชาในเชิงวิทยาศาสตร์ก็น่าสนใจนะคะ

นอกจากนี้แล้วก็รายการสอนศิลป์นำเสนอเนื้อหาที่ไม่ยาวจนเกินไป และรู้สึกว่าเทปนึงจะออกอากาศวันละ 2 ครั้งด้วย ก็เลยทำให้รู้สึกว่าน่าจะเข้าถึงประชาชนได้หลายกลุ่ม กลุ่มนึงดูรายการตอนกลางวัน กลุ่มนึงดูรายการช่วงหัวค่ำค่ะ และได้รับความรู้สึกว่า งานศิลปะเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และน่าจะเป็นการปลูกฝังที่ดีให้แก่ผู้ชมได้ทุกวัยด้วย และยังรู้สึกว่ารูปแบบการนำเสนอแบบนี้ ชวนติดตามและความยาวของการนำเสนอก็ไม่นานจนเกินไป

ในส่วนของเนื้อหาของการนำเสนอนั้น อยากเน้นให้มีการนำเสนอวิทยาศาสตร์ผนวกกับเชิงทางสังคม การดำเนินชีวิต และหากผนวกกับภูมิปัญญาไทยอย่างที่มีผู้เสนอไปแล้วก็น่าจะดีค่ะ ซึ่งก็อาจจะนำเสนอในมุมมองที่ให้เห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีคุณค่าต่างๆ ในสิ่งที่ผนวกเข้าไปในเนื้อหา โดยการนำเสนอก็น่าจะเน้นให้ผู้ชมทั่วๆ ไปทำความเข้าใจและเข้าถึงเนื้อหาได้ง่ายด้วยค่ะ เหมือนกับเรากำลังพยายามที่จะทำให้คนทุกกลุ่มที่มีระดับความรู้ ความเข้าใจ ในมุมมองที่ที่แตกต่างกัน สามารถทำความเข้าใจเนื้อหาที่จะนำเสนอได้อย่างง่ายค่ะ


[คุณมะปราง - 23 ก.ค. 52]





018)

 

มีประสบการณ์ตรงกับการชวนลูก (ตอนนั้นอายุ 5 ขวบ) ดูรายการของ TPBS ตอนเย็นๆ ช่วงปิดเทอม

ไม่นาเชื่อว่าจะมีรายการสำหรับเด็กดูสนุก แต่ผู้ใหญ่ดูก็รู้ว่าอยากสอนความรู้วิทยาศาสตร์ให้เด็ก คือ รายการ Generation Y เราติดตามดูกันทุกอาทิตย์ๆ ละ 1 วัน

แรกๆ ก็เป็นฝ่ายชวนลูก หลังๆ ลูกเปิดดูเองค่ะ แล้วมาเล่าให้เราฟังทีหลัง เช่น เรื่องแรงโน้มถ่วง ของแข็งของเหลว แรงเสียดทาน ฯลฯ ไม่น่าเชื่อว่า ลำดับการนำเสนอและวิธีการที่ใช้ เด็กวัย 5 ขวบสามารถมาถ่ายทอดต่อให้เราได้พอสมควร

ช่วงหลังไม่ได้อยู่บ้านดูกับลูกแล้วค่ะ เพราะโรงเรียนเปิดเทอม เลยไม่ค่อยได้ติดตามสักเท่าไหร่

ส่วนรายการอื่น สำหรับเด็กของ TPBS หลายรายการ ก็แปลกและน่าสนใจสำหรับเด็กๆ อยู่แล้ว เช่น รายการขบวนการไร้พุง รายการผจญภัยในสวนสัตว์ (อันนี้จำชื่อรายการไม่ได้) เมื่อเปรียบเทียบกับรายการเด็กของช่องอื่นๆ ที่เน้นพิธีกร โฆษณา ฯลฯ ที่ยังไม่เห็นในช่องนี้

สำหรับข้อเสนอของคนอื่นๆ ใน blog นี้ก็เห็นด้วยเกือบหมดเลย แต่ที่อยากสนับสนุนให้ผู้ผลิตรายการคิดมากๆ ก็คือ

1. หากต้องการสอนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ โปรดอย่าเริ่มจากความคิดที่จะเริ่มสอนวิทยาศาสตร์ ..มันจะกลายเป็นรายการที่ดูไม่สนุกเลยค่ะ

2. การนำประวัติของคนสำคัญทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะถ้าเป็นคนไทยได้ก็จะยิ่งดี ..เพราะเมืองไทย โดยเฉพาะเด็กๆ ขาดแบบอย่าง (idol) ด้านนี้มากเลยค่ะ

3. การนำภูมิปัญญาไทยมาอธิบายด้วยกระบวนการและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ..ผู้ชมรายการจะรู้สึกถึงคุณค่าและความไม่แปลกแยกกับภูมิปัญญาของคนไทย กับการนำมาปรับใช้หรือดำรงรักษาไว้ต่อไป

4. ช่วงเวลาที่นำเสนอรายการวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นรายการสำหรับเด็กหรือคนทั่วไป ไม่น่าจะจำกัดอยู่ที่ช่วงเย็นหรือช่วงเช้าวันหยุดเท่านั้น

[คุณ [email protected] - 23 ก.ค. 52]


017)

ผมไม่มีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบหรือเนื้อหารายการทางวิทยาศาสตร์ครับ เพราะที่หลายๆ ท่านแสดงความคิดเห็นมานั้นก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจอยู่แล้วครับ

แต่ที่อยากให้พิจารณาคือ ช่วงเวลาออกอากาศ ครับ

ยกตัวอย่างครับ รายการเรื่องจริงผ่านจอ บางครั้งบางตอนมีเรื่องน่าสนใจแต่ตัวรายการออกอากาศค่อนข้างดึกครับ แถมนำตอนที่น่าสนใจไปไว้ช่วงท้ายรายการด้วย บางครั้งผมเลยไม่ดูครับ เพราะขี้เกียจรอ

อีกอย่างคือ หากได้ช่วงเวลาดี เช่น ช่วงเวลาหลังซีรีย์ญี่ปุ่น ผมก็ไม่อยากให้รายการออกอากาศวันเดียวกันกับช่วงวันพุธ-พฤหัสครับ เพราะเวลาออกอากาศชนกับรายการเกมส์ซ่าท้ากึ๋น กับรายการ mega-clever (ขออภัยด้วยครับ แบบว่าอยากดูแบบต่อเนื่องไม่ต้องเปลี่ยนช่องทีวีไปๆ มาๆ ครับ ^__^")

หรือไม่อย่างนั้นก็นำไปไว้ช่วงบ่าย (14.00 - 16.00 น) ของวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ก็ดีครับ เหมือนที่ช่อง 9 นำรายการฉลาดล้ำโลกไปออกอากาศตอน 15.00 น. วันอาทิตย์ (แต่ตอนนี้ย้ายเวลาไปแล้ว)

ส่วนรายการแนวการทดลองวิทยาศาสตร์ของไทยพีบีเอสที่มีดาราตลกโยกเยกกับดาราเด็กอีกคนมาทำการทดลองวิทยาศาสตร์ก็เป็นรายการที่มีความน่าสนใจครับ แต่ขอตินิดนึงครับว่าวิธีนำเสนอค่อนข้างซ้ำ ไม่มีความหลากหลายครับ

[คุณ The One - 23 ก.ค. 52]


016)

แบบ Mega Clever ผมว่าโอเคนะครับ

แต่ผมชอบเกี่ยวกับเรื่อง ดาราศาสตร์ ครับ ไม่ค่อยมีรายการแนวนี้เท่าไร

[คุณ Nat Panik - 20 ก.ค. 52]


015)

อยากเสนอแนะวิธีการนำเสนอของรายการมากกว่าค่ะ เพราะเนื้อหาวิทยาศาสตร์หัวข้อไหนๆก็น่าสนใจทั้งนั้น ถ้าวิธีการนำเสนอโดนใจคนดู

โดยส่วนตัวชอบวิธีการนำเสนอแบบ Mega Clever คือมีการทดลองให้เห็นภาพได้จริงผ่านผู้เชียวชาญที่มีอารมณ์ขันสักหน่อย อย่างรายการเกมโชว์แนววิทยาศาสตร์ของเกาหลีก็น่าสนใจมาก

หรือนำเสนอแนวหนังวิทยาศาสตร์ อย่างแม็คกายเวอร์(แต่ไม่ต้องเวอร์ขนาดนั้นก็ได้ค่ะ) หรือ Grey's anatomy , BONE เป็นต้น

[คุณ seasiri - 20 ก.ค. 52]


 
014)

  • ควรมีรายการที่เป็นสารคดีวิทยาศาสตร์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการเกษตร เช่น ที่ดักจับแมลง ความรู้ทางชีวะวิทยาที่นำมาในการไล่แมลง ความรู้ทางเคมี เป็นต้น
  • นอกจากนี้ยังอยากให้มีรายการที่เจ้าของรายการไม่เป็นผู้เอาเปรียบผู้ชมเช่น ไม่นำเสนอการโฆษณาสินค้าที่ไม่มีประโยชน์แก่ผู้ชม [หมายเหตุ : ข้อนี้ไม่น่าห่วง เพราะเป็นนโยบายของทีวีสาธารณะอยู่แล้วครับ  เข้าใจว่าอาจจะหมายถึง โฆษณาแฝงที่มาอย่างแนบเนียน - บัญชา]
  • ควรมีรายการ วิทยาศาสตร์ความรู้พื้นฐานแก่เด็กเพื่อจะได้เป็นพื้นฐานที่จะกระตุ้นให้เด็กๆๆอยากเรียนวิทยาศาตร์ต่อไปในอนาคตครับ

    [อ.ขจิต ฝอยทอง - 20 ก.ค. 52]

  • 013) วิทยาศาสตร์รอบตัวเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ควรแทรกเนื้อหา How to เข้าไปด้วย เช่น ทำอย่างไรถึงจะลดปริมาณขยะได้ในแต่ละวัน ทำอย่างไรกรุงเทพถึงจะน่าอยู่ ทำอย่างไรการจราจรจะดีขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นตัวจุดประกาย ทำให้ทุกคนที่ชมรายการปิ๊งขึ้นมาว่า ... แค่เราช่วยกัน คนละนิด คนละหน่อย ก็ช่วยกันแก้ปัญหาได้แล้ว รวมทั้งบอกถึงข้อเสียของการที่ไม่ทำอะไร ไม่แก้ไขปัญหา สักวันโลกจะเป็นอย่างไรถ้าเรายังก่อขยะต่อวันมากมายขนาดนี้ เป็นต้น

    [คุณมิกิ - 20 ก.ค. 52] 




    012) ผมขอเสนอโดยแบ่งเป็นสี่มิติที่ต้องนำมาทำตารางพิจารณากันนะครับ

    1. หมวดเนื้อหา

    2. ประเภทรายการ

    3. กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ชมรายการ

    4. ที่มาของรายการ

    ผมขอเสนอไว้เบื้องต้นในแต่ละมิติประมาณนี้

    1. หมวดเนื้อหา

    1.1 ทรัพยากรทางธรรมชาติ (ของไทย ของโลก) - อยากเน้นหัวข้อนี้มากๆ หน่อย

    1.2 ปัญหาสิ่งแวดล้อม (ของไทย ของโลก) - ข้อนี้ก็อยากเน้น

    1.3 ความรู้วิทยาศาสตร์ทั่วไป – ทำให้สนุกๆ ได้ ดูได้ทั้งครอบครัว

    1.4 การแพทย์และสาธารณสุข - เรื่องนี้น่าจะเป็นที่สนใจในวงกว้างอยู่แล้ว แต่ทำให้สนุกอย่างไร

    1.5 สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี ภูมิปัญญาพื้นบ้าน – รายการต่างประเทศมีเยอะ ต้องเพิ่มภูมิปัญญาของเรา

    1.6 วิทยาศาสตร์ในอาชีพ : เกษตรกรรม ประมง ฯลฯ – ต้องมีสำหรับคนส่วนใหญ่ของประเทศ

    1.7 วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน : ภูมิอากาศ ฯลฯ

    1.8 ประวัตินักวิทยาศาสตร์และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ -สร้างแรงบันดาลใจ

    2. ประเภทรายการ

    2.1 ข่าว เช่น ข่าววิทยาศาสตร์สำหรับเกษตรกร ข่าวเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับคนทั่วไป ข่าวสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ฯลฯ และน่าจะเจาะข่าว ไปถึงเบื้องหลังว่านักวิทยาศาสตร์มองข่าวนั้นอย่างไร หรือความจริงทางวิทยาศาสตร์อธิบายอย่างไร ข่าวสิ่งแวดล้อมหรือภัยพิบัติ อย่าเล่าข่าวเฉยๆ ต้องเจาะข่าวอธิบายด้วย แบบตามล่าความจริง หรือถอดรหัส

    2.2 สารคดี เช่น สารคดีธรรมชาติของ BBC หรือ Discovery Channel ฯลฯ ขอสารคดีธรรมชาติเยอะๆ หน่อยครับ หรือแบบกบนอกกะลาก็ได้

    2.3 เกมโชว์ เช่น เกมโชว์การทดลองทางวิทยาศาสตร์ แบบ sponge หรืออื่นๆ ฯลฯ กลุ่มนี้สนุกดี น่าจะมีบ่อยๆ

    2.4 เรียลลิตี้โชว์ (ยังนึกไม่ออก :P อา ถ่ายทอดสดเวลามีแข่งหุ่นยนต์ พอไหวไหม)หรือรายการแบบคนค้นคน ตามไปดู

    2.5 วาไรตี้โชว์ เช่น เอาตัวอย่างแบบรายการคุณพระช่วย มาทำเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ก็ได้

    2.6 ละคร มินิซีรีส์ เช่น ของฝรั่งมีหลายเรื่องเลย เช่น CSI House Number Taken ฯลฯ ของญี่ปุ่น มี Team Medical Dragon (ฉายไปแล้ว) Galileo Voice ฯลฯ

    2.8 การ์ตูน ประเภทส่งเสริมจินตนาการให้เด็กๆ รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ

    2.9 ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ฉายภาพยนตร์แล้วทำรายการพูดคุยต่อหลังหนังจบว่ามีวิทยาศาสตร์อะไรในภาพยนตร์ที่นำมาฉาย หรือทำแบบตัดฉากหนังบางส่วนมาคุยกันก็ได้ เช่นหนังใหม่ๆ Transformer Harry Potter ค่ายหนังน่าจะโอเคนะ เหมือนรายการแนะนำหนังดัง

    3. กลุ่มเป้าหมาย

    3.1 กลุ่มเด็กประถม อยากให้มีรายการสำหรับเด็กมากๆ หน่อย รายการบางอย่างกลุ่มทั่วไปก็ดูได้ด้วย เน้นด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไป ธรรมชาติ สิ่งประดิษฐ์

    3.2 กลุ่มคนทั่วไป เน้นด้านสิ่งแวดล้อม การแพทย์ สุขภาพ วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ข่าว

    3.3 กลุ่มอาชีพ อยากให้มีวิทยาศาสตร์สำหรับคนอาชีพต่างๆ โดยเฉพาะเกษตรกร คนส่วนใหญ่ของประเทศ

    4. ที่มาของรายการ

    4.1 ซื้อรายการต่างประเทศมา น่าจะมีให้เลือกมากในเนื้อหาและประเภทรายการหลายอย่างนะครับ แต่จะไม่มีเนื้อหาสำหรับบางกลุ่มเป้าหมาย

    4.2 ไทยทีวีทำรายการเองหรือสนับสนุนเอกชนทำรายการ เลือกได้ว่าจะเจาะกลุ่มเป้าหมายไหน

    จะรอชมรายการดีๆ นะครับ


    [สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ, บก. สนพ.สารคดี  - 20 ก.ค. 52] 



    011)
    อยากให้มีรายการวิทยาศาสตร์ทีบรรยายถึงข้อเสียของการใช้ชีวิตในปัจจุบัน เช่น การใช้โฟมใส่อาหาร การใช้ขวดน้ำพลาสติกซ้ำและอธิบายว่ามันเป็นเพราะอะไร โดยเอาปัญหาปัจจุบันเป็นตัวตั้งและเปลี่ยนไปเรื่อยค่ะ

    [พญ.อัจฉรา เชาวะวณิช - 19 ก.ค. 52] 



    010) ผมรู้สึกว่าเหมือนเป็นการขอข้อมูลเริ่มต้น เลยอยากเสนอให้ ดีๆครับ ว่าอยากทำรายการวิทยาศาสตร์ออกมายังไง

    เริ่มต้นจากคุณนำรายการที่คนอยากดู (ที่คุณขอความคิดเห็น) มา groupping ว่ามีประเภทไหนบ้าง เปรียบเทียบกับรายการวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่มีในช่วงเวลาต่างๆ น่าจะเห็นข้อมูลบางอย่างที่มีประโยชน์

    โดยส่วนตัว ผมไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องว่าจะทำวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอะไร เพราะวิทยาศาสตร์มันมีความรู้อยู่แล้ว แต่ห่วงว่าจะนำเสนออย่างไรมากกว่า

    อยากฝากไปให้ถึงผู้ผลิตรายการด้วยครับ ว่าควรมีหลักในการพิจารณาด้วยว่าจะทำรายการอย่างไร ถึงจะขายออก

    มิติแรกดูว่า ศึกษาคนดู เพราะแต่ละรูปแบบรายการก็มีคนดูต่างกัน สัดส่วนของกลุ่มคนดูควรเป็นยังไง คุณจะทำรายการให้เหมาะกับคนกลุ่มนั้นได้อย่างไร

    มิติที่สอง ดูว่า รายการเป็นยังไงซึ่งผมคิดว่าสำคัญที่สุด โดยดูจาก 1 เนื้อหาอะไร คุณมีคอนเซ็ปต์เป็นวิทยาศาสตร์ก็ดูว่าควรเป็นวิทยาศาสตร์แบบไหนบ้าง เช่น เป็นวิทยาศาสตร์แบบฟิสิกส์ แบบประยุกต์ (ซึ่งก็ต้องมาดูว่าเกี่ยวกับอะไรอีก อย่างสุขภาพและการแพทย์ วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย วิทยาศาสตร์ในเรื่องความเชื่อ สิ่งลี้ลับ) 2. ดูว่า นำเสนอรายการอย่างไร เช่น เป็นสารคดี เป็นการ์ตูน เป็นเกมโชว์ เป็นทอล์กโชว์ เป็นการสอน ฯลฯ

    หรืออาจจะพิจารณาต่อจาก มิติแรกก็ได้ว่า มีคอนเท้นต์ไหนมั้ยที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่ไม่เคยมีมาก่อน อย่างวิทยาศาสตร์สำหรับผู้หญิง เช่น การช็อปปิ้ง การแต่งหน้า การเพิ่มเสน่ห์ การทำศัลยกรรม เป็นต้น ซึ่งมันมีแง่มุมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

    นอกจากนี้การศึกษารูปแบบรายการจากต่างประเทศก็จะทำให้รายการออกมาดีครับ

    มิติที่สาม ดูว่า คุณจะจัดผังเวลาอย่างไรให้รับกับเวลาของผู้ชม เวลาไหนที่มีคนดูมากที่สุดควรเป็นรายการอะไรรวมทั้งผู้ชมจะดูรายการประเภทไหนได้ดีที่สุดในช่วงไหน อย่างวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอาหารการกิน ควรจะเป็นช่วงไหน การ์ตูนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กควรจะอยู่ช่วงไหน (ปล. ถ้าทำจะมีประโยชน์ต่อเด็กๆ มาก แต่กรุณาอย่าให้ชนกับการ์ตูนช่อง 9 เลย หาเวลาอื่นจะดีกว่า ถ้าเรตติ้งพุ่งกระฉูดค่อยว่ากันอีกที)

    นอกจากนี้ก็จัดผังไปด้วยว่า วิทยาศาสตร์แบบไหนที่มีเยอะแล้วในรายการโทรทัศน์เมืองไทย แบบไหนที่ยังไม่มี หรือควรจะมีแบบไหนเพิ่มเข้ามา

    โดยส่วนตัวอยากเห็นวิทยาศาสตร์ในด้านที่เกี่ยวกับความเป็นไทยที่สนุกๆ ขำๆ และสะท้อนให้เห็นว่าความเป็นไทย เน้นที่กลุ่มวัยรุ่นครับ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหาร ความเป็นอยู่ เครื่องแต่งกาย วรรณคดี อะไรก็ได้ ทำให้สนุกๆ ครับ รายการไม่ต้องไทยจ๋าครับ แต่ให้คุมคอนเซ็ปต์แบบคนสมัยใหม่ ให้คุณโอปอลกับนักวิทยาศาสตร์หน้าตาดีสักคนที่เป็นคนรุ่นใหม่มาเป็นพิธีกร มีการยิงมุก มีแขกรับเชิญ มาคุยในประเด็นที่รายการยกมา

    อย่างเช่น วิทยาศาสตร์ในปลาร้า ให้คนดูกระบวนการว่าปลาร้าทำอย่างไร (ไปดูที่แหล่งผลิตปลาร้า) ปลาร้ามีกลิ่นเหม็นได้อย่างไร ทำไมบางคนชอบ บางคนคนไม่ชอบกลิ่นปลาร้า (ท้าฝรั่งมาดมกลิ่นปลาร้า)ปลาร้ามีสารอาหารอย่างไรบ้าง มีวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างไร จะเพิ่มคุณค่าให้ปลาร้าได้อย่างไร ควรเลือกซื้อปลาร้าอย่างไร อาจเสริมเกร็ดเรื่องที่มาของปลาร้า เคล็ดลับการทำอาหารด้วยปลาร้า ฯลฯ แขกรับเชิญอาจเลือกดาราที่ขึ้นชื่อเรื่องชอบกินปลาร้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

    [คุณโจ้ - 19 ก.ค. 52] 


     

    009) รายการเกี่ยวกับชีวิตของนักวิทยาศาสตร์ (ไทย) และงานที่เขาชื่นชอบ (คล้ายๆ กับรายการหนึ่งในพระราชดำริครับ) และอาจจะมีพูดเกี่ยวกับทำไมเขาถึงทำอย่างที่ทำอยู่ มีอะไรน่าตื่นเต้นบ้าง อีกสิบปีข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นในสาขาที่เขาทำงาน ฯลฯ

    เพื่อให้เห็นว่าวันๆนักวิจัยทำอะไรบ้าง, นำงานวิจัยออกมาให้คนเห็นเผื่อไปประยุกต์ใช้ในอาชีพ และเด็กๆเห็นก็อยากจะทำงานแบบนั้นบ้างครับ

    [คุณไก่ - 18 ก.ค. 52] 


     008) 

    นักเรียนมักจะถามคำถามเช่น "ท่องนี่ไปทำไม" หรือ "จำนี่ไปเพื่ออะไร" อยากให้รายการช่วยยกตัวอย่างการนำไปใช้ในแวดวงวิทยาศาสตร์ หรือ การนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ รายการวิทยาศาสตร์ที่ดีควรที่จะสร้างทัศนคติทางบวกให้กับเยาวชน เยาวชนไทยจะได้รักวิชานี้มากขึ้น 


    อยากให้รายการช่วย verify ข้อเท็จจริงของฟอร์เวิร์ดเมลต่างๆ ที่มักจะมีข้อมูลที่ถูกบิดเบือนมาก ฟอร์เวิร์ดเมลกลายเป็นสื่อที่ทรงพลังไปแล้วในโลกยุคปัจจุบัน และมักจะให้หลักฐานข้อมูล อ้างคำพูดคนดังๆ หรือนักวิทยาศาสตร์ระดับแถวหน้าของประเทศอยู่เสมอ คนอ่านจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่า "จริงหรือเปล่าเนี่ย" ถ้ามีรายการที่ไขข้อกระจ่างได้คงจะดีไม่น้อย

    [ปอม-เอกสิทธิ์ เข้มงวด - 17 ก.ค. 52]



    007)  ถ้าเป็นกรณีที่ยังไม่ทราบแน่ชัด คือเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ อยากให้นำนักวิทยาศาสตร์นำข้อมูลสนับสนุนของแต่ละทฤษฎีมานำเสนอข้อมูล แล้วตอนท้ายรายการนำข้อมูลมาเทียบกัน โดยไม่จำเป็นต้องหาข้อสรุป


    [ปอม - 17 ก.ค. 52] 


     

    006) อยากได้วิทยาศาสตร์แบบมันส์ๆค่ะ อาจจะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

    เช่น เวลายิงลูกปืนขึ้นฟ้า แล้วลูกปืนจะไปตกที่ไหน มีโอกาสตกลงมาแล้วโดนคนบาดเจ็บรึเปล่า?หรือเป็นการทดลองเด็ดๆที่มาทดลองกันแบบเห็นชัดๆ (นึกภาพรายการ MEGA CLEVERน่ะค่ะ)เน้นได้ความรู้ สนุก ย่อยง่าย ถ้าขำๆได้ยิ่งดีค่ะ (คนไทยชอบ) พอชอบแล้วก็จะติดตาม และได้ซึมซับวิทยาศาสตร์เขาไปในชีวิตประจำวันค่ะ


    [น้องข้าวตู - 17 ก.ค. 52]




    005)
    ประวัติของนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญๆ นะครับ อาจจะเป็นละครก็ได้ หรือเป็นหนังสั้นก็ได้ ออกแนวคอมมาดี้หน่อยก็ดี เช่น ไอนสตาย ไฟร์แมน ฮอร์กิ้ง แอร์ดิช รามานุจัน อะไรอย่างนี้นะครับ ที่เขามีมุมชีวิตที่กระตุ้นแรงบันดาลใจ ของการคิดแบบวิทย์ แต่จิตแบบศิลป์ครับ [คุณสมศักดิ์ - 17 ก.ค. 52]




    004) ภูมิปัญญาเก่าของคนโบราณนะครับ ว่ามีความสอดคล้องกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์อย่างไร พยายามเชื่อมโยง บริบททางวัฒนธรรมมาเชื่อมด้วย ไม่อยากให้แยกส่วน อยากให้บูรณาการไปเลยโดยเอาวิทยาศาสตร์เป็นแกน เช่น เรื่องของกบ นีก็น่าสนใจครับ [คุณสมศักดิ์ - 17 ก.ค. 52]





    003)

    อยากเห็น การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติของครูวิทยาศาสตร์กับเด็กนักเรียน ให้เห็นการคิดที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นะครับ เช่น อาจจะเป็นที่ทะเล นักสืบสายนำ (ออกแนวทุ่งแสงตะวันแต่อินเตอร์หน่อยหนึ่ง) หรือเรื่องอื่นๆ ที่เป็นการตั้งคำถาม ทดลอง หาข้อสรุป ทำให้ท้าทายอยากจะรู้ เป็นวิทยาศาตร์รากฐานจริงๆและที่สำคัญ ต้องชวนให้ คิดแบบวิทย์ แต่จิตแบบศิลป์ นะครับ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์แข็งๆ แล้วก็โยงมาสู่เรื่องของจิตใจ หรือความเป็นธรรมชาติที่มันสอนเรา ให้เราเป็นคนที่ต้องร่วมมือกับธรรมชาติ มิใช่แบ่งแยกตัวเองนะครับ [คุณสมศักดิ์ - 17 ก.ค. 52] 


      <p style="text-align: left;">002) อยากเห็นละครสั้นๆ แบบแฟนตาซี ที่จบในตอน (ครึ่งหรือหนึ่งชั่วโมง) เนื้อเรื่องตื่นเต้นลึกลับ แบบเดียวกับ twilight zone ของฝรั่ง (แบบเดียวกับภาพยนตร์ชื่อเรื่องเดียวกันที่สตีเวน สปีลเบิร์ก ควักกระเป๋าทำ)เมื่อสักสิบยี่สิบปีก่อนครับ [ดร.นำชัย - 17 ก.ค. 52]

    </p>


     
    001) อยากเห็นรายการไขความลับ-ความเชื่อแปลกๆ โดยเฉพาะที่เป็นแบบไทยๆ หรืออาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหรือส่วนรวมได้ (เช่น ล่าสุด เอาราจั๊กจั่นหรือราแมลงอื่นไปกิน - มีรายที่ป่วยกันไปด้วย แต่ดีที่ไม่ตาย) โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น ถ่ายติดวิญญาณเป็นดวงๆ หรือเห็นผีแบบเป็นรูปเงาคนตะคุ่มๆ นี่ อาจจะเป็นอะไรได้อีก นอกจากวิญญาณหรือผีอย่างที่นึกขึ้นวูบแรก หรือเห็นอะไรลอยไวๆ บนฟ้า อาจจะเป็นอะไรนอกจากจานบินได้บ้าง (เคยเห็นมีรายการของฝรั่งและญี่ปุ่นทำแบบนี้อยู่หลายรายการ - อย่างละคร Galileo ที่เคยเอามาฉายก็ใช่) [ดร.นำชัย - 17 ก.ค. 52] 



    ตัวอย่าง A) อยากเห็นการเปิดโปงสินค้าหรือบริการที่โฆษณาเกินจริง โดยใช้หลักการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปพิสูจน์ [บัญชา : 17 ก.ค. 2552]

    ตัวอย่าง B) อยากให้มีรายการที่นำเสนอวิทยาศาสตร์ที่ผสมผสานไปกับศิลปะและวัฒนธรรม :- วิทยาศาสตร์กับดนตรี วิทยาศาสตร์ในสุภาษิตและสำนวนไทย คณิตศาสตร์ในการพับกระดาษ ;-) [บัญชา : 17 ก.ค. 2552]

    ตัวอย่าง C) อยากเห็นมีรายการที่นำเสนอเรื่องราวแปลกๆ (เช่น UFO พลังจิต ล็อกเนส ฯลฯ) ในหลากหลายมุมมอง โดยไม่ละเลยข้อมูลและการตีความทางวิทยาศาสตร์ [บัญชา : 17 ก.ค. 2552] 




    หมายเหตุ

    ประชุมเกี่ยวกับรายการวิทยาศาสตร์ครั้งแรก : ศุกร์ 24 กรกฎาคม 2552

    ผมจะนำข้อเสนอและข้อคิดเห็นที่ได้รับทั้งหมด (ก่อนการประชุม) เข้าสู่ที่ประชุม

    หากมีรายละเอียดเพิ่มเติม ก็สามารถอ้างถึงเลขอ้างอิงได้ เช่น 001) เป็นต้น

     


     

    หมายเลขบันทึก: 277396เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2009 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (40)
    นำชัย ชีววิวรรธน์

    (1) อยากเห็นรายการไขความลับ-ความเชื่อแปลกๆ โดยเฉพาะที่เป็นแบบไทยๆ หรืออาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหรือส่วนรวมได้ (เช่น ล่าสุด เอาราจั๊กจั่นหรือราแมลงอื่นไปกิน - มีรายที่ป่วยกันไปด้วย แต่ดีที่ไม่ตาย) โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น ถ่ายติดวิญญาณเป็นดวงๆ หรือเห็นผีแบบเป็นรูปเงาคนตะคุ่มๆ นี่ อาจจะเป็นอะไรได้อีก นอกจากวิญญาณหรือผีอย่างที่นึกขึ้นวูบแรก หรือเห็นอะไรลอยไวๆ บนฟ้า อาจจะเป็นอะไรนอกจากจานบินได้บ้าง (เคยเห็นมีรายการของฝรั่งและญี่ปุ่นทำแบบนี้อยู่หลายรายการ - อย่างละคร Galileo ที่เคยเอามาฉายก็ใช่)

    (2) อยากเห็นละครสั้นๆ แบบแฟนตาซี ที่จบในตอน (ครึ่งหรือหนึ่งชั่วโมง) เนื้อเรื่องตื่นเต้นลึกลับ แบบเดียวกับ twilight zone ของฝรั่ง (แบบเดียวกับภาพยนตร์ชื่อเรื่องเดียวกันที่สตีเวน สปีลเบิร์ก ควักกระเป๋าทำ)เมื่อสักสิบยี่สิบปีก่อนครับ

    1.อยากเห็น การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ ของครูวิทยาศาสตร์กับเด็กนักเรียน ให้เห็นการคิดที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาตร์นะครับ เช่น อาจจะเป็นที่ทะเล นักสืบสายนำ (ออกแนวทุ่งแสงตะวันแต่อินเตอร์หน่อยหนึ่ง) หรือเรื่องอื่นๆ ที่เป็นการตั้งคำถาม ทดลอง หาข้อสรุป ทำให้ท้าทายอยากจะรู้ เป็นวิทยาศาตร์รากฐานจริงๆและที่สำคัญ ต้องชวนให้ คิดแบบวิทย์ แต่จิตแบบศิลป์ นะครับ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์แข็งๆ

    แล้วก็โยงมาสู่เรื่องของจิตใจ หรือความเป็นธรรมชาติที่มันสอนเรา ให้เราเป็นคนที่ต้องร่วมมือกับธรรมชาติ มิใช่แบ่งแยกตัวเองนะครับ

    2.ภูมิปัญญาเก่า ของคนโบราณนะครับ ว่ามีความสอดคล้องกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์อย่างไร พยายามเชื่อมโยง บริบททางวัฒนธรรมมาเชื่อมด้วย ไม่อยากให้แยกส่วน

    อยากให้บูรณาการไปเลยโดยเอาวิทยาศาสตร์เป็นแกน เช่น เรื่องของกบ นีก็น่าสนใจครับ

    3.ประวัติของนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญๆ นะครับ อาจจะเป็นละครก็ได้ หรือเป็นหนังสั้นก็ได้ ออกแนวคอมมาดี้หน่อยก็ดี เช่น ไอนสตาย ไฟร์แมน ฮอร์กิ้ง แอร์ดิช รามานุจัน อะไรอย่างนี้นะครับ ที่เขามีมุมชีวิตที่กระตุ้นแรงบันดาลใจ ของการคิดแบบวิทย์ แต่จิตแบบศิลป์ครับ

    อยากได้วิทยาศาสตร์แบบมันส์ๆค่ะ อาจจะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

    เช่น เวลายิงลูกปืนขึ้นฟ้า แล้วลูกปืนจะไปตกที่ไหน มีโอกาสตกลงมาแล้วโดนคนบาดเจ็บรึเปล่า?หรือเป็นการทดลองเด็ดๆที่มาทดลองกันแบบเห็นชัดๆ (นึกภาพรายการMEGA CLAVERน่ะค่ะ)เน้นได้ความรู้ สนุก ย่อยง่าย ถ้าขำๆได้ยิ่งดีค่ะ (คนไทยชอบ

    พอชอบแล้วก็จะติดตาม และได้ซึมซับวิทยาศาสตร์เขาไปในชีวิตประจำวันค่ะ

    1. อยากให้รายการช่วย verify ข้อเท็จจริงของฟอร์เวิร์ดเมลต่างๆ ที่มักจะมีข้อมูลที่ถูกบิดเบือนมาก ฟอร์เวิร์ดเมลกลายเป็นสื่อที่ทรงพลังไปแล้วในโลกยุคปัจจุบัน และมักจะให้หลักฐานข้อมูล อ้างคำพูดคนดังๆ หรือนักวิทยาศาสตร์ระดับแถวหน้าของประเทศอยู่เสมอ คนอ่านจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่า "จริงหรือเปล่าเนี่ย" ถ้ามีรายการที่ไขข้อกระจ่างได้คงจะดีไม่น้อย

    2. ถ้าเป็นกรณีที่ยังไม่ทราบแน่ชัด คือเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ อยากให้นำนักวิทยาศาสตร์นำข้อมูลสนับสนุนของแต่ละทฤษฎีมานำเสนอข้อมูล แล้วตอนท้ายรายการนำข้อมูลมาเทียบกัน โดยไม่จำเป็นต้องหาข้อสรุป

    3. นักเรียนมักจะถามคำถามเช่น "ท่องนี่ไปทำไม" หรือ "จำนี่ไปเพื่ออะไร" อยากให้รายการช่วยยกตัวอย่างการนำไปใช้ในแวดวงวิทยาศาสตร์ หรือ การนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ รายการวิทยาศาสตร์ที่ดีควรที่จะสร้างทัศนคติทางบวกให้กับเยาวชน เยาวชนไทยจะได้รักวิชานี้มากขึ้น

    ส่วนข้อคิดเห็นที่ท่านอื่นให้ไว้ดีแล้วครับ

    สวัสดีครับ ชิ้น (ดร.นำชัย) คุณสมศักดิ์ น้องข้าวตู และปอม

             ขอบคุณมากเลยครับสำหรับข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ

             ทั้งหมดที่เสนอมานี้ล้วนสะท้อนความต้องการที่แท้จริง และจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยอย่างมาก หากทีวีไทย (Thai PBS) รับข้อเสนอนำไปปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมครับ

             ช่วยกันเสนอมาอย่างนี้ วันประชุมสนุกแน่ครับ แล้วจะนำบรรยากาศการประชุมและผลสรุปมาฝาก เพื่อให้เห็นความก้าวหน้าเป็นระยะครับ ^__^

    รายการเกี่ยวกับชีวิตของนักวิทยาศาสตร์ (ไทย) และงานที่เขาชื่นชอบ (คล้ายๆกับรายการหนึ่งในพระราชดำหริครับ) และอาจจะมีพูดเกี่ยวกับทำไมเขาถึงทำอย่างที่ทำอยู่ มีอะไรน่าตื่นเต้นบ้าง อีกสิบปีข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นในสาขาที่เขาทำงาน ฯลฯ

    เพื่อให้เห็นว่าวันๆนักวิจัยทำอะไรบ้าง, นำงานวิจัยออกมาให้คนเห็นเผื่อไปประยุกต์ใช้ในอาชีพ และเด็กๆเห็นก็อยากจะทำงานแบบนั้นบ้างครับ

    สวัสดีครับ คุณไก่

             ขอบคุณมากครับ ได้นำไปไว้ในข้อ 009) แล้วครับ

             การนำชีวิตและงานของนักวิทยาศาสตร์ไทยมาเผยแพร่เป็นการให้เกียรติคนไทยเราด้วยกัน และน่าจะเป็นต้นแบบให้กับเด็กไทยในปัจจุบันได้ครับ

    ผมรู้สึกว่าเหมือนเป็นการขอข้อมูลเริ่มต้น เลยอยากเสนอให้ ดีๆครับ ว่าอยากทำรายการวิทยาศาสตร์ออกมายังไง

    เริ่มต้นจากคุณนำรายการที่คนอยากดู (ที่คุณขอความคิดเห็น) มา groupping ว่ามีประเภทไหนบ้าง เปรียบเทียบกับรายการวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่มีในช่วงเวลาต่างๆ น่าจะเห็นข้อมูลบางอย่างที่มีประโยชน์

    โดยส่วนตัว ผมไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องว่าจะทำวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอะไร เพราะวิทยาศาสตร์มันมีความรู้อยู่แล้ว แต่ห่วงว่าจะนำเสนออย่างไรมากกว่า

    อยากฝากไปให้ถึงผู้ผลิตรายการด้วยครับ ว่าควรมีหลักในการพิจารณาด้วยว่าจะทำรายการอย่างไร ถึงจะขายออก

    มิติแรกดูว่า ศึกษาคนดู เพราะแต่ละรูปแบบรายการก็มีคนดูต่างกัน สัดส่วนของกลุ่มคนดูควรเป็นยังไง คุณจะทำรายการให้เหมาะกับคนกลุ่มนั้นได้อย่างไร

    มิติที่สอง ดูว่า รายการเป็นยังไงซึ่งผมคิดว่าสำคัญที่สุด โดยดูจาก 1 เนื้อหาอะไร คุณมีคอนเซ็ปต์เป็นวิทยาศาสตร์ก็ดูว่าควรเป็นวิทยาศาสตร์แบบไหนบ้าง เช่น เป็นวิทยาศาสตร์แบบฟิสิกส์ แบบประยุกต์ (ซึ่งก็ต้องมาดูว่าเกี่ยวกับอะไรอีก อย่างสุขภาพและการแพทย์ วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย วิทยาศาสตร์ในเรื่องความเชื่อ สิ่งลี้ลับ)2. ดูว่า นำเสนอรายการอย่างไร เช่น เป็นสารคดี เป็นการ์ตูน เป็นเกมโชว์ เป็นทอล์กโชว์ เป็นการสอน ฯลฯ

    หรืออาจจะพิจารณาต่อจาก มิติแรกก็ได้ว่า มีคอนเท้นต์ไหนมั้ยที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่ไม่เคยมีมาก่อน อย่างวิทยาศาสตร์สำหรับผู้หญิง เช่น การช็อปปิ้ง การแต่งหน้า การเพิ่มเสน่ห์ การทำศัลยกรรม เป็นต้น ซึ่งมันมีแง่มุมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

    นอกจากนี้การศึกษารูปแบบรายการจากต่างประเทศก็จะทำให้รายการออกมาดีครับ

    มิติที่สาม ดูว่า คุณจะจัดผังเวลาอย่างไรให้รับกับเวลาของผู้ชม เวลาไหนที่มีคนดูมากที่สุดควรเป็นรายการอะไรรวมทั้งผู้ชมจะดูรายการประเภทไหนได้ดีที่สุดในช่วงไหน อย่างวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอาหารการกิน ควรจะเป็นช่วงไหน การ์ตูนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กควรจะอยู่ช่วงไหน (ปล. ถ้าทำจะมีประโยชน์ต่อเด็กๆ มาก แต่กรุณาอย่าให้ชนกับการ์ตูนช่อง 9 เลย หาเวลาอื่นจะดีกว่า ถ้าเรตติ้งพุ่งกระฉูดค่อยว่ากันอีกที)

    นอกจากนี้ก็จัดผังไปด้วยว่า วิทยาศาสตร์แบบไหนที่มีเยอะแล้วในรายการโทรทัศน์เมืองไทย แบบไหนที่ยังไม่มี หรือควรจะมีแบบไหนเพิ่มเข้ามา

    โดยส่วนตัวอยากเห็นวิทยาศาสตร์ในด้านที่เกี่ยวกับความเป็นไทยที่สนุกๆ ขำๆ และสะท้อนให้เห็นว่าความเป็นไทย เน้นที่กลุ่มวัยรุ่นครับ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหาร ความเป็นอยู่ เครื่องแต่งกาย วรรณคดี อะไรก็ได้ ทำให้สนุกๆ ครับ รายการไม่ต้องไทยจ๋าครับ แต่ให้คุมคอนเซ็ปต์แบบคนสมัยใหม่ ให้คุณโอปอลกับนักวิทยาศาสตร์หน้าตาดีสักคนที่เป็นคนรุ่นใหม่มาเป็นพิธีกร มีการยิงมุก มีแขกรับเชิญ มาคุยในประเด็นที่รายการยกมา

    อย่างเช่น วิทยาศาสตร์ในปลาร้า ให้คนดูกระบวนการว่าปลาร้าทำอย่างไร (ไปดูที่แหล่งผลิตปลาร้า) ปลาร้ามีกลิ่นเหม็นได้อย่างไร ทำไมบางคนชอบ บางคนคนไม่ชอบกลิ่นปลาร้า (ท้าฝรั่งมาดมกลิ่นปลาร้า)ปลาร้ามีสารอาหารอย่างไรบ้าง มีวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างไร จะเพิ่มคุณค่าให้ปลาร้าได้อย่างไร ควรเลือกซื้อปลาร้าอย่างไร อาจเสริมเกร็ดเรื่องที่มาของปลาร้า เคล็ดลับการทำอาหารด้วยปลาร้า ฯลฯ แขกรับเชิญอาจเลือกดาราที่ขึ้นชื่อเรื่องชอบกินปลาร้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

    สวัสดีครับ คุณโจ้

            โอ้โห! คิด & นำเสนอได้ละเอียดและชัดเจนมากครับ รับรองว่าจะนำเข้าไปให้ในที่ประชุมได้พิจารณาแน่ๆ ครับ

            สำหรับการระดมความคิดเห็นในบล็อกนี้ เกิดจากการที่ผมได้ไปบอกที่ประชุมว่า นอกจากฟังความคิดเห็นของคณะอนุกรรมการแต่ละคน รวมทั้งความคิดเห็นต่างๆ ที่ส่งมายัง Thai PBS แล้ว อาจจะเป็นไปได้ที่อนุกรรมการแต่ละคน จะระดมความคิดเห็นผ่านสื่อบางอย่าง (เช่น บล็อกนี่แหละ) เพื่อนำความคิดเห็นเหล่านี้เข้าสู่ที่ประชุม

            ขอบคุณมากครับ ได้ผลอย่างไร ผมจะนำมานำเสนอเป็นระยะในบล็อกนี้ (อาจจะเป็นบันทึกอื่น แต่ลิงค์ไปจากที่นี่อีกทีครับ) ^__^

    อยากมีรายการวิทยาศาสตร์ทีบรรยายถึงข้อเสียของการใช้ชีวิตปัจจุบันเช่นการใช้โฟมใส่อาหาร การใช้ขวดน้ำพลาสติกซ้ำและอธิบายว่ามันเป็นเพราะอะไร โดยเอาปัญหาปัจจุบันเป็นตัวตั้งและเปลี่ยนไปเรื่อยค่ะ

    สวัสดีครับ คุณหมอ พ.ญ. อัจฉรา เชาวะวณิช

             ขอบคุณมากครับ เป็นแนว "วิทยาศาสตร์เพื่อ (สุขภาวะที่ดีของ) ผู้บริโภค" ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในเชิงปฏิบัติอย่างมากในชีวิตปัจจุบัน

              ผมนำไปไว้ในข้อ 011) แล้วครับ ^__^

    สวัสดีครับ คุณ singha2515

           ไว้นึกอะไรออกก็มาเติมแถวๆ นี้ได้นะครับ เมื่อไรก็ได้ ขอบคุณครับ

    ผมขอเสนอโดยแบ่งเป็นสี่มิติที่ต้องนำมาทำตารางพิจารณากันนะครับ

    1. หมวดเนื้อหา

    2. ประเภทรายการ

    3. กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ชมรายการ

    4. ที่มาของรายการ

    ผมขอเสนอไว้เบื้องต้นในแต่ละมิติประมาณนี้

    1. หมวดเนื้อหา

    1.1 ทรัพยากรทางธรรมชาติ (ของไทย ของโลก) - อยากเน้นหัวข้อนี้มากๆ หน่อย

    1.2 ปัญหาสิ่งแวดล้อม (ของไทย ของโลก) - ข้อนี้ก็อยากเน้น

    1.3 ความรู้วิทยาศาสตร์ทั่วไป – ทำให้สนุกๆ ได้ ดูได้ทั้งครอบครัว

    1.4 การแพทย์และสาธารณสุข - เรื่องนี้น่าจะเป็นที่สนใจในวงกว้างอยู่แล้ว แต่ทำให้สนุกอย่างไร

    1.5 สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี ภูมิปัญญาพื้นบ้าน – รายการต่างประเทศมีเยอะ ต้องเพิ่มภูมิปัญญาของเรา

    1.6 วิทยาศาสตร์ในอาชีพ : เกษตรกรรม ประมง ฯลฯ – ต้องมีสำหรับคนส่วนใหญ่ของประเทศ

    1.7 วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน : ภูมิอากาศ ฯลฯ

    1.8 ประวัตินักวิทยาศาสตร์และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ -สร้างแรงบันดาลใจ

    2. ประเภทรายการ

    2.1 ข่าว เช่น ข่าววิทยาศาสตร์สำหรับเกษตรกร ข่าวเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับคนทั่วไป ข่าวสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ฯลฯ และน่าจะเจาะข่าว ไปถึงเบื้องหลังว่านักวิทยาศาสตร์มองข่าวนั้นอย่างไร หรือความจริงทางวิทยาศาสตร์อธิบายอย่างไร ข่าวสิ่งแวดล้อมหรือภัยพิบัติ อย่าเล่าข่าวเฉยๆ ต้องเจาะข่าวอธิบายด้วย แบบตามล่าความจริง หรือถอดรหัส

    2.2 สารคดี เช่น สารคดีธรรมชาติของ BBC หรือ Discovery Channel ฯลฯ ขอสารคดีธรรมชาติเยอะๆ หน่อยครับ หรือแบบกบนอกกะลาก็ได้

    2.3 เกมโชว์ เช่น เกมโชว์การทดลองทางวิทยาศาสตร์ แบบ sponge หรืออื่นๆ ฯลฯ กลุ่มนี้สนุกดี น่าจะมีบ่อยๆ

    2.4 เรียลลิตี้โชว์ (ยังนึกไม่ออก :P อา ถ่ายทอดสดเวลามีแข่งหุ่นยนต์ พอไหวไหม)หรือรายการแบบคนค้นคน ตามไปดู

    2.5 วาไรตี้โชว์ เช่น เอาตัวอย่างแบบรายการคุณพระช่วย มาทำเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ก็ได้

    2.6 ละคร มินิซีรีส์ เช่น ของฝรั่งมีหลายเรื่องเลย เช่น CSI House Number Taken ฯลฯ ของญี่ปุ่น มี Team Medical Dragon (ฉายไปแล้ว) Galileo Voice ฯลฯ

    2.8 การ์ตูน ประเภทส่งเสริมจินตนาการให้เด็กๆ รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ

    2.9 ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ฉายภาพยนตร์แล้วทำรายการพูดคุยต่อหลังหนังจบว่ามีวิทยาศาสตร์อะไรในภาพยนตร์ที่นำมาฉาย หรือทำแบบตัดฉากหนังบางส่วนมาคุยกันก็ได้ เช่นหนังใหม่ๆ Transformer Harry Potter ค่ายหนังน่าจะโอเคนะ เหมือนรายการแนะนำหนังดัง

    3. กลุ่มเป้าหมาย

    3.1 กลุ่มเด็กประถม อยากให้มีรายการสำหรับเด็กมากๆ หน่อย รายการบางอย่างกลุ่มทั่วไปก็ดูได้ด้วย เน้นด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไป ธรรมชาติ สิ่งประดิษฐ์

    3.2 กลุ่มคนทั่วไป เน้นด้านสิ่งแวดล้อม การแพทย์ สุขภาพ วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ข่าว

    3.3 กลุ่มอาชีพ อยากให้มีวิทยาศาสตร์สำหรับคนอาชีพต่างๆ โดยเฉพาะเกษตรกร คนส่วนใหญ่ของประเทศ

    4. ที่มาของรายการ

    4.1 ซื้อรายการต่างประเทศมา น่าจะมีให้เลือกมากในเนื้อหาและประเภทรายการหลายอย่างนะครับ แต่จะไม่มีเนื้อหาสำหรับบางกลุ่มเป้าหมาย

    4.2 ไทยทีวีทำรายการเองหรือสนับสนุนเอกชนทำรายการ เลือกได้ว่าจะเจาะกลุ่มเป้าหมายไหน

    จะรอชมรายการดีๆ นะครับ

    สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ

    สวัสดีครับ พี่ดำ - Dhammakutto

           เสนอมาเป็นระบบมากเลยครับ สมกับเป็น บก. สนพ.สารคดี เลย

           นำไปไว้ในข้อเสนอที่ 012) แล้วครับ และข้อเสนอทั้งหมดจะถูกนำไปเสนอในที่ประชุมวันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม 2552 นี้แน่นอน

           ขอบคุณมากครับ ^__^

    วิทยาศาสตร์รอบตัวเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ควรแทรกเนื้อหา How to ไปด้วย เช่น ทำอย่างไรถึงจะลดปริมาณขยะได้ในแต่ละวัน ทำอย่างไรกรุงเทพถึงจะน่าอยู่ ทำอย่างไรการจราจรจะดีขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นตัวจุดประกาย ทำให้ทุกคนที่ชมรายการปิ๊งขึ้นมาว่า ... แค่เราช่วยกัน คนละนิด คนละหน่อย ก็ช่วยกันแก้ปัญหาได้แล้ว รวมทั้งบอกถึงข้อเสียของการที่ไม่ทำอะไร ไม่แก้ไขปัญหา สักวันโลกจะเป็นอย่างไรถ้าเรายังก่อขยะต่อวันมากมายขนาดนี้ เป็นต้น

    • เย้ ได้ 014
    • ควรมีรายการที่เป็นสารคดีวิทยาศาสตร์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการเกษตร เช่น ที่ดักจับแมลง ความรู้ทางชีวะวิทยาที่นำมาในการไล่แมลง ความรู้ทางเคมี เป็นต้น
    • นอกจากนี้ยังอยากให้มีรายการที่เจ้าของรายการไม่เป็นผู้เอาเปรียบผู้ชมเช่น ไม่นำเสนอการโฆษณาสินค้าที่ไม่มีประโยชน์แก่ผู้ชม
    • ควรมีรายการ วิทยาศาสตร์ความรู้พื้นฐานแก่เด็กเพื่อจะได้เป็นพื้นฐานที่จะกระตุ้นให้เด็กๆๆอยากเรียนวิทยาศาตร์ต่อไปในอนาคตครับ
    • ขอบคุณพี่ชิวมากๆๆครับ

    สวัสดีครับ คุณมิกิ

            ข้อเสนอเป็นประโยชน์ เพราะให้น้ำหนักกับการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม (practical) ดีมากๆ เลยครับ

            ขอบคุณครับ ^__^ 

    สวัสดีครับ อ.แอ๊ด 014)  <-- อาจจะกลายเป็นชื่อเล่นติดตลาดไปก็ได้นะ

          ขอบคุณสำหรับข้อเสนอครับ เรื่องโฆษณาที่ไม่มีประโยชน์นี่ เป็นนโยบายของทีวีสาธารณะ อย่าง Thai PBS อยู่แล้วครับ ว่าจะต้องไม่มีโฆษณาทั้งตรงและแบบแฝง ;-)

           

    อยากเสนอแนะวิธีการนำเสนอของรายการมากกว่าค่ะ เพราะเนื้อหาวิทยาศาสตร์หัวข้อไหนๆก็น่าสนใจทั้งนั้น ถ้าวิธีการนำเสนอโดนใจคนดู

    โดยส่วนตัวชอบวิธีการนำเสนอแบบ Mega Clever คือมีการทดลองให้เห็นภาพได้จริงผ่านผู้เชียวชาญที่มีอารมณ์ขันสักหน่อย อย่างรายการเกมโชว์แนววิทยาศาสตร์ของเกาหลีก็น่าสนใจมาก

    หรือนำเสนอแนวหนังวิทยาศาสตร์ อย่างแม็คกายเวอร์(แต่ไม่ต้องเวอร์ขนาดนั้นก็ได้ค่ะ) หรือ Grey's anatomy , BONE เป็นต้น

     

    สวัสดีครับ คุณ seasiri

            ขอบคุณมากครับ คิดว่าหลายๆ ท่านเห็นตรงกันในประเด็นที่ว่า วิธีการนำเสนอต้องโดนใจกลุ่มเป้าหมาย ตัวอย่าง Mega Clever และ แม็คไกเวอร์ ก็เป็นรูปธรรมชัดเจนครับ

            นำข้อคิดเห็นไปไว้ในข้อ 015) แล้ว

            ขอบคุณมากครับ ^__^

    แบบ mega clever ผมว่าโอเคนะครับ

    แต่ผมชอบเกี่ยวกับเรื่อง ดาราศาสตร์ ครับ ไม่ค่อยมีรายการแนวนี้เท่าไร

    สวัสดีครับ คุณ Nat_Panik

            เรื่องเกี่ยวกับ ดาราศาสตร์ มักจะมีเสน่ห์เสมอครับ โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับ จักรวาลวิทยา (cosmology)

            ขอบคุณมากครับ ผมนำไปไว้ในข้อ 016) แล้วครับ

    ผมไม่มีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบหรือเนื้อหารายการทางวิทยาศาสตร์ครับ

    เพราะที่หลายๆ ท่านแสดงความคิดเห็นมานั้นก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจอยู่แล้วครับ

    แต่ที่อยากให้พิจารณาคือ ช่วงเวลาออกอากาศครับ

    ยกตัวอย่างครับ รายการเรื่องจริงผ่านจอ บางครั้งบางตอนมีเรื่องน่าสนใจแต่ตัวรายการออกอากาศค่อนข้างดึกครับ แถมนำตอนที่น่าสนใจไปไว้ช่วงท้ายรายการด้วย

    บางครั้งผมเลยไม่ดูครับ เพราะขี้เกียจรอ

    อีกอย่างคือ หากได้ช่วงเวลาดี เช่น ช่วงเวลาหลังซีรีย์ญี่ปุ่น ผมก็ไม่อยากให้รายการออกอากาศวันเดียวกันกับช่วงวันพุธ-พฤหัสครับ เพราะเวลาออกอากาศชนกับรายการเกมส์ซ่าท้ากึ๋น กับรายการ mega-clever (ขออภัยด้วยครับ แบบว่าอยากดูแบบต่อเนื่องไม่ต้องเปลี่ยนช่องทีวีไปๆ มาๆ ครับ ^__^")

    หรือไม่อย่างนั้นก็นำไปไว้ช่วงบ่าย (14.00 - 16.00 น) ของวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ก็ดีครับ เหมือนที่ช่อง 9 นำรายการฉลาดล้ำโลกไปออกอากาศตอน 15.00 น. วันอาทิตย์ (แต่ตอนนี้ย้ายเวลาไปแล้ว)

    ส่วนรายการแนวการทดลองวิทยาศาสตร์ของไทยพีบีเอสที่มีดาราตลกโยกเยกกับดาราเด็กอีกคนมาทำการทดลองวิทยาศาสตร์ก็เป็นรายการที่มีความน่าสนใจครับ แต่ขอตินิดนึงครับว่าวิธีนำเสนอค่อนข้างซ้ำ ไม่มีความหลากหลายครับ

    ขอบคุณครับ

    มีประสบการณ์ตรงกับการชวนลูก (ตอนนั้นอายุ 5 ขวบ) ดูรายการของ TPBS ตอนเย็นๆ ช่วงปิดเทอม

    ไม่นาเชื่อว่าจะมีรายการสำหรับเด็กดูสนุก แต่ผู้ใหญ่ดูก็รู้ว่าอยากสอนความรู้วิทยาศาสตร์ให้เด็ก คือ รายการ Generation Y เราติดตามดูกันทุกอาทิตย์ๆ ละ 1 วัน

    แรกๆ ก็เป็นฝ่ายชวนลูก หลังๆ ลูกเปิดดูเองค่ะ แล้วมาเล่าให้เราฟังทีหลัง เช่น เรื่องแรงโน้มถ่วง ของแข็งของเหลว แรงเสียดทาน ฯลฯ ไม่น่าเชื่อว่า ลำดับการนำเสนอและวิธีการที่ใช้ เด็กวัย 5 ขวบสามารถมาถ่ายทอดต่อให้เราได้พอสมควร

    ช่วงหลังไม่ได้อยู่บ้านดูกับลูกแล้วค่ะ เพราะโรงเรียนเปิดเทอม เลยไม่ค่อยได้ติดตามสักเท่าไหร่

    ส่วนรายการอื่น สำหรับเด็กของ TPBS หลายรายการ ก็แปลกและน่าสนใจสำหรับเด็กๆ อยู่แล้ว เช่น รายการขบวนการไร้พุง รายการผจญภัยในสวนสัตว์ (อันนี้จำชื่อรายการไม่ได้) เมื่อเปรียบเทียบกับรายการเด็กของช่องอื่นๆ ที่เน้นพิธีกร โฆษณา ฯลฯ ที่ยังไม่เห็นในช่องนี้

    สำหรับข้อเสนอของคนอื่นๆ ใน blog นี้ก็เห็นด้วยเกือบหมดเลย แต่ที่อยากสนับสนุนให้ผู้ผลิตรายการคิดมากๆ ก็คือ

    1. หากต้องการสอนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ โปรดอย่าเริ่มจากความคิดที่จะเริ่มสอนวิทยาศาสตร์ ..มันจะกลายเป็นรายการที่ดูไม่สนุกเลยค่ะ

    2. การนำประวัติของคนสำคัญทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะถ้าเป็นคนไทยได้ก็จะยิ่งดี ..เพราะเมืองไทย โดยเฉพาะเด็กๆ ขาดแบบอย่าง (idol) ด้านนี้มากเลยค่ะ

    3. การนำภูมิปัญญาไทยมาอธิบายด้วยกระบวนการและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ..ผู้ชมรายการจะรู้สึกถึงคุณค่าและความไม่แปลกแยกกับภูมิปัญญาของคนไทย กับการนำมาปรับใช้หรือดำรงรักษาไว้ต่อไป

    4. ช่วงเวลาที่นำเสนอรายการวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นรายการสำหรับเด็กหรือคนทั่วไป ไม่น่าจะจำกัดอยู่ที่ช่วงเย็นหรือช่วงเช้าวันหยุดเท่านั้น

    ขอบคุณค่ะที่ให้โอกาสแชร์ จะรอชมนะคะ

    สวัสดีครับ คุณ The One (โต๋วนั่นเอง :-D)

            ขอบคุณมากครับ ประเด็นเรื่อง ช่วงเวลาออกอากาศ นี่สำคัญมากอย่างที่ว่ามาครับ

           ได้นำประเด็นนี้และประเด็นอื่นๆ ที่ให้ไว้ไปไว้ใน 017) แล้ว และจะนำเสนอต่อที่ประชุมในวันพรุ่งนี้เลย (ศุกร์ 24 กรกฎาคม 2552) - เมื่อกี้เจ้าหน้าที่เพิ่งจะโทรมาย้ำเตือน...

    สวัสดีครับ คุณ sasi

          ข้อเสนอจากประสบการณ์ที่ว่ามาน่าสนใจมากๆ แสดงว่าเด็กวัย 5 ขวบสามารถติดตามรายการได้ด้วยความเข้าใจในระดับที่น่าพอใจทีเดียว

          ได้นำข้อคิดเห็น & ข้อเสนอทั้งหมดไปไว้ในข้อ 018) แล้ว และจะนำเข้าที่ประชุมในวันพรุ่งนี้ครับ

          ขอบคุณมากครับ

    พี่ชิวคะ

    มาแล้วค่ะ ...... คงยังไม่ช้าไปนะคะ

    ได้อ่านข้อเสนอแนะจากหลายๆ ท่านแล้ว ก็ทำให้ได้เห็นรูปแบบที่หลากหลาย โดยส่วนตัวแล้ว พอได้ยินคำว่าวิทยาศาสตร์ก็จะรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจ (สงสัยจะติดภาพจากตอนเรียนม.ปลาย) หัวแล่นทางเชิงสังคมมากกว่า แต่ก็เข้าใจว่าเรื่องวิทยาศาสตร์ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตค่ะ ^_^

    ปรางเลยอย่างนำเสนอถึงรูปแบบการดำเนินรายการค่ะ พอดีได้มีโอกาสดูรายงานสอนศิลป์ซึ่งออกอากาศทางช่องทีวีไทย ซึ่งรู้สึกว่าเป็นการเสนอเรื่องศิลปะที่มีคุณค่าดีจัง แต่รายการนี้นำผู้ที่เป็นศิลปินมาเป็นจุดขายในการถ่ายทอดความรู้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะในแขนงต่างๆ ค่ะ ซึ่งรูปแบบอาจจะแตกต่างจากรายการวิทยาศาสตร์ที่อาจจะต้องนำเอาแนวคิดความคิด หรือหลักฐาน หรือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เป็นตัวเด่น แต่ถ้ามีความหลากหลายนำเสนอในออกไปในทุกสาขาวิชาในเชิงวิทยาศาสตร์ก็น่าสนใจนะคะ

    นอกจากนี้แล้วก็รายการสอนศิลป์นำเสนอเนื้อหาที่ไม่ยาวจนเกินไป และรู้สึกว่าเทปนึงจะออกอากาศวันละ 2 ครั้งด้วย ก็เลยทำให้รู้สึกว่าน่าจะเข้าถึงประชาชนได้หลายกลุ่ม กลุ่มนึงดูรายการตอนกลางวัน กลุ่มนึงดูรายการช่วงหัวค่ำค่ะ และได้รับความรู้สึกว่า งานศิลปะเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และน่าจะเป็นการปลูกฝังที่ดีให้แก่ผู้ชมได้ทุกวัยด้วย และยังรู้สึกว่ารูปแบบการนำเสนอแบบนี้ ชวนติดตามและความยาวของการนำเสนอก็ไม่นานจนเกินไป

    ในส่วนของเนื้อหาของการนำเสนอนั้น อยากเน้นให้มีการนำเสนอวิทยาศาสตร์ผนวกกับเชิงทางสังคม การดำเนินชีวิต และหากผนวกกับภูมิปัญญาไทยอย่างที่มีผู้เสนอไปแล้วก็น่าจะดีค่ะ ซึ่งก็อาจจะนำเสนอในมุมมองที่ให้เห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีคุณค่าต่างๆ ในสิ่งที่ผนวกเข้าไปในเนื้อหา โดยการนำเสนอก็น่าจะเน้นให้ผู้ชมทั่วๆ ไปทำความเข้าใจและเข้าถึงเนื้อหาได้ง่ายด้วยค่ะ เหมือนกับเรากำลังพยายามที่จะทำให้คนทุกกลุ่มที่มีระดับความรู้ ความเข้าใจ ในมุมมองที่ที่แตกต่างกัน สามารถทำความเข้าใจเนื้อหาที่จะนำเสนอได้อย่างง่ายค่ะ

    ^_^

    สวัสดีครับ มะปราง

             ทันเวลาครับ พี่จะเข้าประชุมพรุ่งนี้ และจะนำข้อคิดเห็นของทุกท่านเข้าที่ประชุมครับ

             ได้พิมพ์ออกมาแล้ว และจะอ่านสรุปให้ฟัง - อีกอย่างคือ จะช่วยให้เห็นพลังของการใช้บล็อกในการระดมความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ โดยเฉพาะระบบบล็อกที่มีคุณภาพสูงอย่าง GotoKnow ครับ ^__^ (โฆษณาแฝงอ้ะเปล่าหว่า...อิอิ)

             ไว้จะมารายงานผลการประชุมแถวๆ นี้

             ขอบคุณมากเลยครับ ^__^

    ผมจะขอปิดตา ไม่อ่านข้อเสนอของท่านอื่นก่อนครับ เพราะหากซ้ำ แสดงว่า ใจตรงกันกับผมคืนนี้ (พรุ่งนี้ผมมีภารกิจ ไม่อยู่หน้าคอมฯ)

    "รายการวิทยาศาสตร์ในดวงใจ" ผมอยากชม ...

    ๑. การ์ตูนบุคคลสำคัญของโลก จำได้ว่า ตอนเด็ก ๆ ดูแล้วเกิดแรงมุมานะว่า อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์กับเขาบ้าง

    ๒. วิทยาศาสตร์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชน แต่ประชาชนไม่ทราบว่า นี่คือวิทยาศาสตร์

    ๓. พิสูจน์เรื่องเหนือธรรมชาติโดยใช้วิทยาศาสตร์ เพื่อลบความเชื่อที่ยังไม่ถูกต้องออกไปจากใจ

    ๔. ท้องฟ้าจำลองบนหน้าจอทีวี เพราะตอนเรียนมัธยมฯ โรงเรียนอยู่ใกล้ ว่างเมื่อไหร่จะไปดู เป็นการสร้างความรักที่มีต่อโลกและดวงดาวได้ดีมาก

    ๕. นาโนเทคโนโลยีทำประโยชน์อะไรให้เราได้บ้าง อยากให้คนทั่วไป รู้สึกว่า นาโนเทคโนโลยีไม่ได้อยู่ไกลตัวเองเลย

    ๖. ประโยชน์ที่แท้จริงของไอซีทีที่มีต่อประชาชนคนไทย เพื่อเตรียมสู่โลกสมัยใหม่ (รายการไอทีน้อยเหลือเกิน มีแต่เน้นด้านพาณิชย์ หรือ entertain)

    ๗. วิทยาศาสตร์ด้านการแพทย์ ที่ทำให้คนไทยเข้าใจวงการแพทย์มากขึ้น

    ๘. รายการแนะนำหนังสือดีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชนไทย เช่น ..... ผ่ากรุอารยธรรม (เกี่ยวไหมเนี่ย) 555

    หมดมุขสำหรับคืนนี้ครับ ... วิเคราะห์และสังเคราะห์นะครับ ท่านพี่ชิว ;)

    สวัสดีครับ อ. Wasawat Deemarn

             เมื่อกี้เขียนตอบไปยาวทีเดียว แต่เครื่องเจ้ากรรมไม่ทำงานต่อซะงั้น...เอาใหม่ครับ ;-)

             พี่จะนำมุขทั้ง 8 ที่เสนอมาเข้าที่ประชุมวันนี้ 10:00 น. ครับ

             ข้อ 3 นี่ หลายคนเสนอมาตรงกันทีเดียว พี่เองเคยมีประสบการณ์ตรงเรื่องนี้นิดหน่อย กรณี ภาพวงกลมจตุคามฯ เมื่อ 2 ปีก่อน

             ข้อ 6 นี่ดีทีเดียว และอาจทำให้รอบด้านโดยคิดทั้ง + และ - หรือไม่ + ไม่ - ในหลายๆ ระดับ ตั้งแต่คนๆ หนึ่งไปจนถึงโลก

             ส่วนข้อสุดท้ายนี่ ถ้าทำไม่เนียน อาจเข้าข่ายโฆษณาแฝงครับ ยิ่งไป "เปิดกรุ" อะไรด้วยแล้ว พี่อาจจะกระเด็นออกจากอนุกรรมการได้ง่ายๆ (ฮา)

             ขอบคุณมากครับ ^__^

    อยากให้มีการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตและการช่วยเหลือในสังคมค่ะ

    เพราะทุกวันนี้ประเทศของเรามีปัญหามากมายจุกจิกทั่วไปหมด ทรัพยากรไม่ได้มีมากมายล้นฟ้า ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรบุคคลหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือทรัพยากรสังเคราะห์ ถ้าหากได้วิทยาศาสตร์มาช่วยปรับการใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์คุ้มค่าที่สุดเพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคมได้จะดีมาก ตัวอย่างเช่น บ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ บุคลากรมีน้อย ขาดคนดูแล ถ้ามีการประดิษฐ์เครื่องมือ หรือปรับการจัดวาง การให้อาหารสุนัขได้ ก็ไม่จำเป็นมีบุคลากรมากมาย เป็นต้น (แค่ตัวอย่างนะคะ ยังมีอีกหลายอย่างที่เอามาเล่นได้ค่ะ)

    ส่วนรูปแบบการนำเสนอ อยากให้เป็นลักษณะการแข่งขัน แบบรายการทีวีแชมเปี้ยน หรือรายการ american inventor ก็ได้ คิดว่าน่าจะช่วยกระตุ้นต่อมความคิดสร้างสรรค์ของประชาชนได้นะคะ อีกทั้งยังช่วยเหลือสังคมได้ด้วย คิดว่าน่าจะได้ประโยชน์ทั้งสองทางนะคะ

    ว้า ไม่ทันการประชุม ขอโทษนะคะที่ช้า เสียดายจัง

    สวัสดีครับ คุณ m

             ไม่เป็นไรครับ เพราะผมแจ้ง URL ของบันทึกนี้ให้ทาง Thai PBS ไปแล้ว ทางคณะทำงานจะนำข้อคิดเห็นทั้งหมดไปพิจารณาดำเนินการต่อครับ

             ขอบคุณมากครับสำหรับข้อคิดเห็น

    สวัสดีค่ะพี่ชิว

    เอ๋ตามมาจากเว็ปของสารคดีค่ะ เห็นชื่อพี่ชิวเอ๋เลยคลิกตามมาค่ะ

    ว้า..พี่ๆตอบไปหมดแล้วค่ะ เอ๋เห็นด้วยกับพี่ขจิตในความเห็นที่ 014

    และของพี่ Wasawat Deemarn ในความเห็นที่ 020

    เอ๋ชอบดูรายการวิทยาศาสตร์ค่ะ เอ๋ไม่ดูละครหลังข่าวมาเป็นสิบปีได้แล้วค่ะ การ์ตูนก็ดูบ้างค่ะ ประวัติศาสตร์เอ๋ก็ชอบค่ะ ธรรมะก็ชอบ คือดูทุกอย่างที่มีสาระค่ะ ไร้สาระเอ๋ไม่ดูค่ะ แต่สำหรับรายการที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันนี่เป็นประโยชน์มากค่ะ ซึ่งเอ๋ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมทีวีไทยทำไมมีให้ดูน้อยจัง ทำไมต้องไปทุ่มกับละครหลังข่าวที่ นำมาสร้างแล้วสร้างอีก แต่เอ๋ก็เข้าใจค่ะเพราะกลุ่มผู้บริโภคมีหลายระดับ ซึ่งส่วนมากชอบละครหลังข่าวซะด้วย เราคนกลุ่มน้อย ก็คงต้องหาจากส่วนอื่นนะคะ เช่นวารสาร หนังสือซะมากกว่าค่ะ เอ๋ชอบอ่าน วารสารเทคโนโลยีวัสดุ ของMTECและ Update โดยเฉพาะของท่านดร.บัญชา ค่ะ ท่านเขียนได้ดีมากเลยค่ะ เอ๋ติดตามมาตลอดค่ะ อิ อิ

    ขอบคุณค่ะ

    เอ้อ...ให้ข้อมูลนิดหนึ่งนะครับ

    คือ ดร.บัญชา คนที่อ้างถึงเนี่ย ตอนนี้เริ่มออกอาการเป๋ๆ แล้วครับ ไม่ค่อยเขียนเรื่องทางวิทยาศาสตร์มากเหมือนเดิม เอาแต่ พับกระดาษ กับ ดูเมฆ ครับ

    ต้องระวังอย่าไปเชื่อท่านมาก (อิอิ)

    แหะ แหะ ว่าจะเสนอ สักหน่อย

    ย้อนกลับไปอ่านความเห็น

    ครบถ้วนและมากกว่าที่ผมคิดไว้แยะเลยครับ

    น้องหนานเกียรติ

           ไม่มีปัญหาครับ ถ้าคิดอะไรออก ก็แว่บเข้ามาแถวนี้เลย หรือจะฝากไว้ที่อื่นก็ได้ เดี๋ยวพี่นำมาแปะไว้ตรงนี้เอง

           พี่ไปประชุมที่ Thai PBS ทุก 2 สัปดาห์ครับ

    พี่ชิวครับอยากให้เอาเรื่องที่น่าสนใจ ข่าว ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก หรือแม้แต่ภาพยนตร์ฮอลลีวูด มาอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ คนที่สนใจเขาจะได้รู้ว่าสิ่งต่างๆที่ทุกคนประสบพบเห็นในชีวิตประจำวันนั้นมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์รองรับทั้งนั้น เช่น ถนนทางโค้งทำไมต้องเอียงทำมุม หรือทำไมมอเตอร์ไซต์เวลาเข้าโค้งในสนามแข่งต้องเอียงจนเข่าติดพื้น แล้วเอียงขนาดไหนถึงจะไม่ล้ม แล้วก็อีกมากมายหลายเรื่อง

    ผมไม่อยากได้ยินหรือได้อ่านข่าว เวลาเจอสัตว์พิการ กลายพันธ์ หรือต้นไม้ประหลาด แล้วชาวบ้านพากันไปขูดหาเลข หรือไปกราบไหว้ ผมจึงไม่แปลกใจทำไมชาวบ้านจึงโดนมิจฉาชีพหลอกกันเป็นประจำ แต่ผมก็ไม่รู้นะว่าชาวบ้านจะดูหรือปล่าว สงสัยจะสู้กับละครน้ำเน่ายาก

    แต่ผมเลิกดูละครมานานหลายปีแล้ว เดี่ยวนี้ดูทีวีอยู่ 2 ช่องคือ Thai PBS กับ ช่อง 9 Modern Nine นอกนั้นก็จะเป็นเคเบิลอย่างเดียวเลยครับ

    อาจารย์อ๊อด ขอบคุณมากเลยครับ

          จะนำความคิดเห็นและข้อเสนอของอาจารย์ไปเพิ่มเติมให้กับ Thai PBS นะครับ พี่จะประชุมทุกๆ 2 สัปดาห์ (อย่างวันนี้ พุธที่ 14 ตุลาคม) ก็ไปอีก ช่วงเช้าถึงบ่ายต้นๆ ครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท