บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

เซิ้งแหย่ไข่มดแดง


“ไข่มดแดง” เป็นอาหารประจำท้องถิ่นของทางอีสาน การแหย่รังมดแดงเพื่อนำไข่มดแดงมารับประทานนั้น ต้องใช้ความอดทนและความสามารถมาก

เซิ้งแหย่ไข่มดแดง

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">          ไข่มดแดง เป็นอาหารประจำท้องถิ่นของทางอีสาน การแหย่รังมดแดงเพื่อนำไข่มดแดงมารับประทานนั้น  ต้องใช้ความอดทนและความสามารถมาก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">          ดังนั้นการแสดงชุดนี้ จึงได้ถ่ายทอดและสอดแทรกลีลาการแหย่ไข่มดแดงออกมาตามกรรมวีธีที่ชาวบ้านกระทำอยู่  ประดิษฐ์ท่ารำโดย นักศึกษาวิชาเอกนาฏศิลป์ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ ใช้เพลงกันตรึมประกอบการแสดง ต่อมาวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธิ์ ได้นำไปปรับปรุงเพลง บรรเลงด้วยวงโปงลาง เพิ่มความสนุกสนานและทำให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น</p> 

หมายเลขบันทึก: 127471เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2007 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สวัสดีครับ อ.บัวชูฝัก

  • เคยชมการแสดงชุดนี้อยู่บ่อยๆ เหมือนกันครับ
  • แต่เป็นแบบเซิ้งดนตรีโปงลาง  แบบกันตรึมยังไม่เคยชมครับ

ขอบคุณครับ

  • สวัสดีครับคุณพี่สะ-มะ-นึ-กะP
  • บรรเลงแบบกันตรึมก็มีเสน่ห์อีกแบบครับ
  • ต้นฉบับเป็นแบบกันตรึม แต่ก็มาโด่งดังมากช่วงที่วิทยาลัยศิลปกาฬสินธิ์นำมาเผยแพร่ จึงทำให้ผู้ชมติดภาพติดเสียงของโปงลางครับ
  • ขอบคุณนะครับคุณพี่

สวัสดีค่ะ

โปงลาง กับกันตรึมต่างกันอย่างไรค่ะ รบกวนถามค่ะ

ทางเหนือก็มีครับ แต่วิธีการทำอาจจะแตกต่างกัน

เคยไปอยู่ภาคอีสานพักหนึ่ง

รสชาดแปลกดี แต่ก็อร่อย

สุข สงบ เย็น

  • สวัสดีครับคุณตันติราพันธ์P
  • โปงลาง คือเครื่องดนตรีที่เกิดขึ้นในแถบภาคอีสานเหนือ ได้แก่ กาฬสินธิ์ ร้อยเอ็ด อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม สกลนคร นครพนมฯลฯ โดยมีวัฒนธรรมและภาษาท้องถิ่น คือภาษาลาวอีสาน สำเนียงแบบ ชาวเวียงจันทน์ครับ
  • กันตรึม คือวงดนตรีที่เกิดขึ้นในแถบ ภาคอีสานใต้ เช่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา สระแก้ว ฯลฯ โดยมีวัฒนธรรมและภาษาพูดเป็นภาษาเขมร เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา จึงทำให้เกิดการเลื่อนไหลของวัฒนธรรมทั้งสองประเทศครับ
  • ขอบคุณครับที่เข้ามาแบ่งปัน
  • สวัสดีครับ คุณthassana wongP
  • วีธีการทำแตกต่างกัน ขึ้นอยู่ที่ภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นครับ
  • ก็เคยได้ทานเหมือนกันครับ ก็อร่อยไปอีกแบบครับ
  • ขอบคุณที่เข้ามาร่วมแบ่งปันครับ

สวัสดีค่ะ..

  • น้องค่ะ....เห็นชื่อแล้วนึกถึงไข่มดแดงค่ะ.....อร่อยค่ะ.....เคยกินแต่ไม่เคยแหย่ค่ะ(ไข่มดแดง)
  • การแสดงไม่เคยเห็นบนเวทีเลยค่ะ......เห็นแต่พรรคพวกชอบสนุกเวลาเข้าค่ายลูกเสือจะนำมาแสดงแบบสนุกสนาน  ชอบดูค่ะ....ไม่ทราบว่าจะเหมือนของจริงหรือเปล่า......
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • แถวบ้านป้าแดงก็มีค่ะ
  • แต่ไม่ได้สังเกตว่าดนตรีเป็นโปงลางรึป่าว อิอิอิ

 

  • สวัสดีครับ คุณครูหญ้าบัวP
  • ไข่มดแดงนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายชนิดครับ แล้วว่าจะสร้างสรรคฺกันอย่างไรครับ
  • ก็น่าจะคล้ายกันกันครับ เพราะจะเน้นความสนุกสนาน ดดยเฉพาะช่วงที่ถูกมดแดงกันผู้แสดงจะแสดงท่าทางได้สนุกสนานบนกับตลก เรียกเสียงหัวเราะได้เป็นระยะๆครับ
  • ขอบคุณครับครูหญ้าบัวที่ร่วมแบ่งปัน
  • สวัสดีครับป้าแดงP
  • แถวบ้านป้าแดงน่าจะเป็นโปงลางครับ สังเกตได้จากถิ่นที่ตั้งของแถบจังหวัด ถ้าเป็นวงกันตรึมต้องเป็นแถบที่มีอาณาเขตติดกับประเทศกัมพูชาครับ
  • ขอบคุณป้าแดงที่เข้ามาร่วมแบ่งปันครับ

สวัสดีครับ

ยินดีที่ได้รู้จักครับผม

http://www.nsm.or.th/images/ant08.jpg

เอาภาพมดแดงกับไข่มดแดงมาฝากครับ

เป็นสิ่งที่ดีนะครับ ในการนำเสนอความเป็นอยู่ร่วมกันระหว่าง คนกับสิ่งแวดล้อม สิ่งดีๆ ถ่ายทอดออกมาเป็นศิลปะพื้นบ้านได้ มีเนื้อหาสาระ บวกกับการจัดการความรู้เอาไว้ให้อยู่กับท้องถิ่นและชุมชนครับ

ขอบคุณมากๆ นะครับผม ขออนุญาตนำเข้าแพลนเน็ตด้วยครับผม

ขอบคุณมากครับ  มีโอกาสจะไปหาดูนะครับว่ามีการเซิ้งมีรายละเอียดอะไรบ้างครับ

ขอบคุณมากครับ 

  • สวัสดีครับ..คุณเม้งP
  • ขอบคุณครับสำหรับภาพสวยๆ ที่แฝงไว้ด้วยความหมายและปรัชญาที่ลึกซึ้ง
  • ส่วนการแสดงในชุดต่างๆก็ต้องขอขอบคุณสถาบันการศึกษาทุกแห่งที่ช่วยกันประดิษฐ์ท่ารำและช่วยกันอนุรักษ์ไว้ครับ
  • ต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้ขออนุญาตก่อนนำเข้าแพลนเน็ตนะครับ
  • ขอบคุณ คุณเม้งครับที่ร่วมแบ่งปัน

เรียนอาจารย์

ขอรบกวนในเรื่องวัฒนธรรมอีสานเหนือ

หัวข้อ ท่ารำเซิ้งโปงลาง

จะขอคำแนะนำด้วยครับ

ว่าจะสามารถหาได้ที่ไหน

ได้เนื่องจากเด็กนักเรียนทำการบ้านในหัวข้อดังกล่าว

แล้วไปหาตามร้านหนังสือแล้วไม่มี

พยายามหาทางnetแล้วไม่มีเผยแพร่ที่ไหน

ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

กิตติ

กรุณาติดต่อกลับ

[email protected]

(ส่วนตัวแล้วคิดว่าน่าจะมีการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในทางnet

ด้วยครับ....คุณครุพยายามให้เด็กเรียนรู้ตรงนี้เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ที่ดี

เพือพยายามรักษาวัฒนธรรมของเราไว้ให้ยืนยาวแต่ไม่มีหน่วยงานไหนที่จะเผยแพร่เป็นวงกว้างยังเป็นแคบ ๆ อยู่น่าเสียดายครับ)

ดีดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท