บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

ฟ้อนบูชาเจ้าพ่อผาขาว


สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านยาวีศรัทธา เพราะเชื่อว่าเจ้าพ่อผาขาวบันดาลให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล ดินอุดมสมบูรณ์ ยังส่งผลให้ชาวบ้านยาวีอยู่เย็นเป็นสุข

ชื่อรายงาน การใช้เอกสารประกอบการสอนเรื่อง ฟ้อนบูชาเจ้าพ่อผาขาว กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ สาระเพิ่มเติม ศ 23202 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้ศึกษาค้นคว้า นายเศกสรร แสงจินดาวงศ์เมือง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ฟ้อนบูชาเจ้าพ่อผาขาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ สาระเพิ่มเติม ศ 23202 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน จากการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ฟ้อนบูชาเจ้าพ่อผาขาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ สาระเพิ่มเติม ศ 23202 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ฟ้อนบูชาเจ้าพ่อผาขาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ สาระเพิ่มเติม ศ 23202 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านยาวี –ห้วยโป่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 จำนวน 23 คน แบบแผนการวิจัยคือ One Group Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ฟ้อนบูชาเจ้าพ่อผาขาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ สาระเพิ่มเติม ศ 23202 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ฟ้อนบูชาเจ้าพ่อผาขาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ สาระเพิ่มเติม ศ 23202 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ฟ้อนบูชาเจ้าพ่อผาขาวกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ สาระเพิ่มเติม ศ 23202 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ฟ้อนบูชาเจ้าพ่อผาขาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ สาระเพิ่มเติม ศ 23202 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หาประสิทธิภาพจากสูตร E 1/E2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น ค่าความยาก และสถิติการทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent)

ผลการศึกษา พบว่า

1. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ฟ้อนบูชาเจ้าพ่อผาขาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ: นาฏศิลป์ สาระเพิ่มเติม ศ 23202 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยเท่ากับ86.01/86.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ได้กำหนดไว้

2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนจากการเรียนด้วย

เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ฟ้อนบูชาเจ้าพ่อผาขาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ สาระเพิ่มเติม ศ 23202 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ฟ้อนบูชาเจ้าพ่อผาขาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ สาระเพิ่มเติม ศ 23202 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.81)


ประวัติผู้ศึกษา

ชื่อ – ชื่อสกุลนายเศกสรร แสงจินดาวงศ์เมือง

วัน เดือน ปีเกิด18 กันยายน พ.ศ. 2514

ที่อยู่ปัจจุบัน245 หมู่ 10 ถนนคชเสนีย์ ตำบลวังชมภู อำเภอเมืองเพชรบูรณ์

จังหวัดเพชรบูรณ์ 67210 โทร.0814444684 ,[email protected]

ที่ทำงานปัจจุบันโรงเรียนบ้านยาวี-ห้วยโป่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

เพชรบูรณ์ เขต 1

ตำแหน่งครูชำนาญการ

ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2527 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านวังบาล(วังบาลวิทยาคาร)

ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์

พ.ศ. 2533 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหล่มเก่าพิทยาคม อำเภอหล่มเก่า

จังหวัดเพชรบูรณ์ (วิทย์-คณิต วิชาเลือกนาฏศิลป์ไทย)

พ.ศ.2537 คุรุศาสตรบัณฑิต วิชาเอกนาฏศิลป์ วิทยาลัยครูเพชรบูรณ์ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์

จังหวัดเพชรบูรณ์

พ.ศ.2556 ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการดนตรีและนาฏศิลป์ ภาควิชาดนตรีวิทยา

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ฟ้อนบูชาเจ้าพ่อผาขาว

ประวัติความเป็นมา

ฟ้อนบูชาเจ้าพ่อผาขาวเป็นการแสดงที่นำพิธีกรรมตามความเชื่อของชาวบ้านยาวี ในช่วงเทศกาลบุญเดือน 6 ของทุกปี โดยจะนำเครื่องบูชาไปถวายเจ้าพ่อผาขาว ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านยาวีศรัทธา เพราะเชื่อว่าเจ้าพ่อผาขาวบันดาลให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล ดินอุดมสมบูรณ์ ยังส่งผลให้ชาวบ้านยาวีอยู่เย็นเป็นสุข


ในการประดิษฐ์ท่าฟ้อนบูชาเจ้าพ่อผาขาว ได้จินตนาการให้เห็นถึงสตรีชาวบ้านยาวีแต่งกายด้วยชุดที่สวยงาม เพื่อนำเครื่องบูชาไปถวายแด่ศาลเจ้าพ่อผาขาว เครื่องบูชาประกอบไปด้วยพานบายศรีใบตองเปรียบเสมือนความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร พานบายศรีทอง เปรียบเสมือนความมั่งคั่งและโชคลาภ พานบายศรีเงินเปรียบเสมือนเศรษฐกิจและการค้าขาย พานดอกรักเปรียบเสมือนความรักใคร่กลมเกลียวสามัคคีของชาวบ้านยาวี พานดอกดาวเรืองเปรียบเสมือนความเจริญรุ่งเรื่อง พานดอกบัวเปรียบเสมือนความอ่อนน้อมความเมตตาความดีงามของชาวบ้านยาวี พานสิ่งมงคลจะจัดเตรียมเป็นคู่เพื่อความครองคู่อันยาวนาน ด้วยลีลาท่ารำอันอ่อนหวานนิ่มนวล

ลักษณะการแสดง เป็นการรำหมู่ ลีลาท่ารำเป็นลักษณะการฟ้อนของสตรีชาวเหนือ โดยชาวบ้านยาวีสืบเชื้อสายมาจากคนอำเภอหล่มเก่าอำเภอหล่มสักโดยมีบรรพบุรุษที่สืบเชื้อสายมาจากหลวงพระบางและทางภาคเหนือของไทย

โอกาสที่ใช้แสดง สามารถจัดแสดงได้ทุกโอกาส โดยเฉพาะงานมงคลและงานรื่นเริงต่างๆ

ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้วงสะล้อซอซึง

เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงสวมใส่ผ้าถุงยาวลายขวาง สีม่วงสด เดินดิ้นทอง สวมเสื้อแขนกระบอกคอตั้งสีม่วง ห้มผ้าสไบ สีม่วงขลิบดิ้นทอง ใส่เครื่องประดับเครื่องทอง ผมเกล้ามวยสูง ประดับด้วยดอกไม้

นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ฟ้อนบูชาเจ้าพ่อผาขาวได้รับการสนับสนุนจากท่านผู้อำนวยการสุพิน นุชรอด ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยาวี-ห้วยโป่ง ให้สร้างสรรค์ประดิษฐ์ท่ารำขึ้น โดยการนำของนายเศกสรร แสงจินดาวงศ์เมือง ครูชำนาญการ สาระนาฏศิลป์ โรงเรียนบ้านยาวี-ห้วยโป่งและคณะ บรรเลงเพลงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์คมกริช การินทร์ หัวหน้าโปรแกรมสาขาวิทยาการดนตรีและนาฏศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

การแสดงชุดนี้ได้รับรางวัลเหรียญทอง จากการแข่งขันนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ จากงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคเหนือ ครั้งที่ 60-62 โดยได้รับการสนับสนุนจากนายพฤฒสภา แย้มพราย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยาวี-ห้วยโป่ง แสดงโดยนักเรียนโครงการบ้านหลังเรียน กิจกรรมบ้านนาฏศิลป์ ฝึกซ้อมโดย นายเศกสรร แสงจินดาวงศ์เมือง นางพนิดา พรมเท้า นางวิไลภรณ์ รัฐไชย นางสุทิศา จารุเดชา นางประไพพิศ กันทอง นางกันยา เห็นเจริญ นางกานจรีย์ ละคำ นางปรานี สายแก้วมา และ คณะครูกิจกรรมบ้านนาฏศิลป์ โรงเรียนบ้านยาวี-ห้วยโป่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1

หมายเลขบันทึก: 423749เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2011 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2015 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีค่ะ
  • น้องๆทั้งเก่งทั้งสวยค่ะ
  • ชื่นชมนะค่ะ
  • ชุดนี้ได้เป็นตัวแทนของเขตฯปี 53 ไปแข่งขันที่เชียงราย
  • ปีนี้ขอเอาใจช่วย(ลุ้น)ให้ได้ไป พิจิตร นะค่ะ
  • ครูเก่ง เด็กรำสวย..มีผู้ใหญ่สนับสนุนดี...พบได้ที่นี่ค่ะ
  • .เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ
  • อยากให้ได้แชมป์ทุกปีเลยค่ะ
  • ชอบบบบบบบ

สวัสดีครับครูหญ้าบัวและศิษย์เก่า

                        ได้เป็นตัวแทนไปแข่งเชียงรายและพิจิตร ในปี 2553 และ2554 สมใจแล้วครับ แต่น่าเสียดายปีนี้ ที่เชียงใหม่เปลี่ยนเกณฑ์การแข่งขัน นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ในปีนี้ ต้องเป็นนาฏศิลป์ที่ไม่ใช่พื้นเมือง เช่นฟ้อนหรือเซิ้ง ฟ้อนบูชาเจ้าพ่อผาขาวเป็นประเภทฟ้อนครับ คงไม่มีอยู่ในเกณฑ์ที่จะส่งได้ คงจะต้องส่งชุดใหม่ คือ ระบบเพชะปุระบารีหรือไม่ก็เป็นระบำสดุดียาวีห้วยโป่งแทนครับ

                                                                                  ขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท