มุมมองใหม่..ไม่ติดตำรา


การพัฒนาตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว มีลักษณะของการพัฒนาที่อนุโลม และรอมชอมกับสภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสภาพของสังคมจิตวิทยา แห่งชุมชน ไม่ผุกมัดติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย..

 แม่ต้อยมีสมุดเล่มหนึ่งซึ่งได้รับจากเพื่อนๆ และแม่ต้อยชอบมากเนื่องจากเป็นสมุดที่สำนักงานคณะกรรมการเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ขออนุญาติจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริน้อมนำ " หลักในการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันทรงคุณค่ายิ่งมาพิมพ์ในสมุดเล่มนี้เพื่อเผยแพร่แก่
ปวงชนชาวไทยเพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจหลักในการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติในการเจริยรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ให้คนสามารถพึ่งตนเองได้ ขยายไปสู่ชุมชนเข้มแข็งและนำไปสุ่สังคมที่ร่มเย็นเป็นสุขต่อไป
 
 หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประการหนึ่งที่จะขอนำมาเผยแพร่ในบทความเรื่องนี้คือเรื่อง " ไม่ติดตำรา"

การพัฒนาตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว มีลักษณะของการพัฒนาที่อนุโลม และรอมชอมกับสภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสภาพของสังคมจิตวิทยา แห่งชุมชน ไม่ผุกมัดติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย..

และเป้าหมายที่สำคัญของโครงการที่ต่อไปนี้ แม่ต้อยจะเรียกว่า " SHA" เพื่อให้สั้นและเป็นที่เข้าใจง่าย ก็เพื่อที่จะเจริยรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนด้านสุขภาพให้พึ่งพาตนเองได้ เข้าใจสภาพที่แท้จริงของชุมชน ใช้มิติทางด้านจิตใจ และสติปัญญาในการอยู่ร่วมกัน มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ระหว่างผุ้ให้บริการและผู้รับบริการ อันจะนำไปสู่ สังคมที่เอื้ออาทร และร่มเย็นเป็นสุขเป้นประการสำคัญ


 ดังนั้นในการประชุมในวันแรกอันเป็นจุดเริ่มต้นของการผลักดันโครงการนี้ เราจึงได้มีการพูดคุยกันถึงแนวทางและ ทำความเข้าใจในเบื้องต้นของแนวความคิดนี้เสียก่อน  เพื่อให้ทุกคนมีฝัน หรือมีแรงบันดาลใจที่ใกล้เคียงกันนั่นเอง

 หลังจากที่อาจารย์ โกมาตรได้สร้างแรงบันดาลใจ และเสนอมุมมองอีกด้านของการพัฒนาไปสู่การยั่งยืนแล้ว  อีกวันต่อมาแม่ต้อยมีความประทับใจมากๆกับท่านวิทยากรที่ได้มาแลกเปลี่ยนแนวคิดนี้กับที่ประชุม ทั้งๆที่ทุกๆคนเคยทำงานร่วมกับแม่ต้อยมานานแสนนาน แต่วันนี้แม่ต้อยได้เห็นความสด ความใหม่ ที่อดไม่ได้ที่จะนำมาเล่าต่อให้ฟังดังนี้คะ

 สาม.. มุมมอง..


 เป็นการสร้างเวทีสนทนา เพื่อให้เห็นว่าการสร้างเสริมสุขภาพที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายนั้น บางที่อาจจะต้องคิดไปให้ไกล หรือคล้ายๆความคิดนอกกรอบ หรือความใฝ่ฝันสิ่งที่เราต้องการเห็นนั่นเอง วิทยากรในวันนั้น มีอาจารย์ วราวุธ สุรพฤกษ์  อาจารย์ นันทา อ่วมกุล และคุณหมออภิสิทธิ์ ฯจากโรงพยาบาลอุบลรัตน์

 "...เป็นการฉายภาพให้เห็นมุมมองอีกด้านของโรงพยาบาล...."

เริ่มจากคุณหมอวราวุธ ที่ประสบการณ์ของคุณหมอนั้นคลุกคลีตีโมงในชุมชนมาตลอด ตั้งแต่เราเริ่มโครงการมาเมื่อสี่ปีที่ผ่านมา

 ในความคิดและสายตาของคนไข้ที่มีต่อโรงพยาบาลนั้น.. เป้นเพียงส่วนหนึ่ง หรือเสี้ยวเล็กๆของความเชื่อ ความศรัทธา.เท่านั้น หากเราจะสังเกตดูให้ดี.."

" คนไข้หลายๆคนเมื่อมาหาหมอที่โรงพยาบาล หากยังไม่หาย เขาจะบอกว่าจะไปขอให้ทางบ้านรำปอบผีฟ้าให้ดีกว่า..


และบังเอิญหากว่าคนไข้คนนี้หายก็จะกลายเป็นศรัทธาที่ฝังจิตใจของเขา.."

" และที่แปลก..ไม่เคยเห้นคนไข้ฟ้อง หมอผี หมอตำแยให้เราได้เห็น.. เรายังมีเรื่องราวอีกมากมายที่เรายังไม่รู้จักและเข้าถึงคนไข้.."

คุณหมอนันทา ที่เป็นหลักด้านการสร้างเสริมสุขภาพของกรมอนามัย กล่าวว่า...

" ก่อนอื่น.. อยากจะทำความเข้าใจก่อนว่า ทุกวันนี้ที่เราเป็นหมอ เป็นพยาบาล เราต้องการเห็นอะไร?..


เราคงไม่ต้องการเห็นเพียงแค่การซ่อมแซมสุขภาพเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วสิ่งที่เป็นความปราถนาของเราคือการที่ประชาชนมีสุขภาพดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี..

" เดิมเรามักจะคิดว่าการสร้างเสริมสุขภาพเป็นการไปช่วยประชาชนให้เขาทำโน่นทำนี่ ..มีกิจกรรมต่างๆมากมายก่ายกอง.. แต่เราลืมไปว่าเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพนั้นเป็นเรื่องของทุกๆคนที่มาช่วยกัน ..ที่สำคัญคือ

เราต้องให้เขารู้ว่า ตอนนี้สุขภาพเขาเป็นอย่างไร?... เขาควรดูแลตนเองอย่างไร มันจะเชื่อมโยงไปถึง สภาพเศรษกิจและสังคมด้วย... อันนี้เป็นการเพิ่มความสามารถของมนุษย์.. กระบวนการเราต้องค่อยๆเปลี่ยนแนวความคิดนี้..

" แต่ก่อน เราเคยคิดมาตลอดว่า เรานั้นเป็น เจ้าของปัญหาสุขภาพ เพราะข้อมูลทั้งหมดอยู่ที่เรา.. เราจึงเป็นเจ้าของ..


แต่ตอนนี้เราต้องค่อยๆคืนข้อมูลนี้ ปัญหานี้ให้กับประชาชน และช่วยกันคิดแก้ไข...ให้เจ้าของปัญหาที่แท้จริงมาช่วยคิด"

คุณหมออภิสิทธิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุบลรัตน์ ที่ใครๆก็ กล่าวถึงว่าเป็นคนคิดนอกกรอบ ทำอะไรแปลกๆ มาร่วมวงสนทนาด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม อบอุ่น อย่างคนที่เข้าใจกระแสเชี่ยวกรากของแนวคิดวัตถุนิยม

" อะไรที่ทำให้คุณหมอ..มาเป็นคนที่คิดอะไรไม่เหมือนคนอื่น หรือที่เรียกว่าคิดนอกกรอบครับ?.. คุณหมอวราวุธ ถามตรงเป้าเลยละคะ

ด้วยใบหน้าที่ยังคงยิ้มแย้ม คุณหมอค่อยๆเล่าให้พวกเราฟัง ถึงชีวิตการทำงานในอดีต..

" สมัยก่อนผมก็เหมือนกับพวกเราทุกคนครับ..คิดตลอดเวลาว่าระบบสุขภาพ หรือโรงพยาบาลนั้นคือที่พึ่งของประชาชนเพียงอย่างเดียว.."


" ตอนนั้คนไข้มากล้นทั้งคนไข้นอกและคนไข้ใน คล้ายๆกับร้านขายอาหารที่ต้องแย่งเก้าอี้แย่งโต้ะ.. แต่อันนี้แย่งเตียงนอนป่วย.. คุณหมอบรรยายจนเห็นภาพชัดแจ๋ว..


" เราทำงานกันเหนื่อยมาก ทรุดโทรม ระบบที่เรามีก็ส่งเสริมในด้านทุนเต็มตัว..คือหากคนไข้มากจะได้เงินมากตามไปด้วย  คุณหมอตามด้วยดาบคมกริบที่สองอย่างไม่ยั้ง..อิอิ

 

" อยากจะเรียนไว้เลยครับว่า เมื่อคนไข้มากขึ้น เงินมากขึ้น แต่ปัญหาทุกอย่างก็จะมากตามมาแน่นอน..

" ในสังคมบ้านเราได้ถูกวางไว้โดยระบบใหญ่ว่าคนที่ท้อแท้สิ้นหวังจะต้องกลับไปที่ชนบท เพื่อรอใครสักคนมาช่วย..


ชาวบ้านจะพยายามกู้หนี้ยืมสินเพื่อส่งลุกหลานไปเรียนหนังสือเพื่อเป็นเจ้าคนนายคนและมีเงินเดือนใช้ ปรากกการณ์และความเชื่อนี้ทำให้เกิดสิ่งหนึ่งคือการรอคอย วันที่ ๑ หรือ ๑๖ และทุกคนเป็นหนี้สิน

" การทำงานในโรงพยาบาลชุมชน ต้องเข้าถึงชุมชนและสร้างให้เป็นจุดแข็ง ให้ได้ครับ เอาชาวบ้านมาร่วมให้ได้ ผมคิดว่าเพื่อนๆทุกๆคนในที่นี้ไปอยู่ที่รพ.ชุมชนด้วยความสมัครใจ ความตั้งใจ และที่นั่น เรามีอิสระที่จะทำให้ชาวบ้านเขายืนได้ด้วยตัวเขาเองจากแนวคิดเศรษกิจพอพียง  คือมีความรู้ในเรื่องของชุมชนอย่างลึกซึ้ง จริงจัง และ ต้องมีคุณธรรม มีความอดทน มีความอดกลั้น และมีความเพียรในการทำงานกับประชาชนให้เขาเห้นในศักยภาพเขาให้ได้  จุดอ่อนของชุมชน คือเศรษกิจตาโต( ทุนนิยม..แม่ต้อยแปล)

เป็นวงสนทนาที่แม่ต้อยคิดว่า เราได้เห็นผู้ที่อุทิศตนให้สังคมอย่างจริงใจ ทั้งสามท่านโดย ไม่หวังชื่อเสียง ใดๆ
              
สำหรับเรื่องราวของชาวบ้านที่สามารถประคับประคองชีวิตที่ถูกพิษเศรษกิจเล่นงานจนมีหนี้สินล้นพ้นตัว และคุณหมออภิสิทธฺ์ได้ใช้โอกาสของการเป็นแพทย์ในโรงพยาบาล กระตุ้นให้คนที่เคยคิดสั้นกลับกลายเป็นผู้ที่ยืนได้ด้วยตนเอง และปัจจุบันเป็นที่เรียนรู้ของชาวบ้านมาแล้วคะ( เรื่องโอกาสทองของชีวิต)

หลังนั้นที่ประชุมก็ได้สนทนากลุ่มต่อเพื่อเรียนรู้เรื่องราวดีดี ที่มีมากมายในแต่ละโรงพยาบาล เอามาแลกเปลี่ยเรียนรู้

 


ซึ่งเรื่องราวดีดีจากกลุ่มนี้  แม่ต้อยจะเอามาเล่าให้ฟังต่อในโอกาสต่อไปคะ
วันนี้แม่ต้อยขอเอามาเล่าต่อเพียงเท่านี้นะคะ
สวัสดีคะ  และขอขอบคุณมากคะ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 263000เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2009 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

มาทักทายแม่ต้อยค่ะ กุ้งเองนะคะ วันนั้นได้ยินเสียงแม่ต้อย ตัวจริงเสียงจริง ก็รู้สึกได้ถึงความเป็นกันเอง และความน่ารักของเเม่ต้อย เป็นความโชคดีของกุ้งจริงๆค่ะที่จะได้ร่วมงานกับท่านรอง ผอ.พรพ.เหมือนเป็นรางวัลหนึ่งของชีวิต ท่านผู้ตรวจการ พี่สุชีลา เกษตรเวทิน

เคยปรารภกับกุ้งเสมอว่าอยากให้กุ้งนำเรื่องการดูแลในมิติจิตวิญญาณ และการดูแลเพื่อให้พ้นผ่านภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสียไปเเลกเปลี่ยนในวงกว้าง เพราะคิดว่าคนยังทำน้อย ตามโรงพยาบาลต่างๆ หากมีการดูแลที่เข้าถึงจิตวิญญาณ เชื่อว่าคนป่วยคงหายป่วยไปเเล้วครึ่งหนึ่ง อีกอย่างการดูแลเพื่อให้พ้นผ่านภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสียเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย วันนี้ดูเหมือนว่าฝันของท่านจะเป็นจริง ที่กุ้งได้มีโอกาส ขอบพระคุณแม่ต้อยค่ะ

P

สวัสดีคะ น้องกุ้ง
แม่ต้อยเองก็ดีใจคะ อยากให้เรื่องราวเหล่านี้ได้ขยายมุมมองมากขึ้นคะ
วันนี้แม่ต้อยทดลองเขียนใน note pad คะ ปรากฏว่าตัวอักษรเล็กมากจริงๆขนาดตอนบันทึกใช้ตัวให่มากแล้ว
 แต่แม่ต้อยเปลี่ยนไม่เป็นคะ ( ความรู้น้อย )
จึงขอโทษท่านผู้อ่านทุกท่านด้วยคะที่อาจจะทำให้ ระคายเคืองสายตาคะ
จะพยายามหาทางปรับปรุงตัวเองคะ

ยิ่งเขียน ก็ยิ่งตัวเล้กลงทุกทีๆเลยคะ

ทำไงดีคะ อ่านเองยังไม่ได้เลยคะ

 

ยิ่งเขียน ก็ยิ่งตัวเล้กลงทุกทีๆเลยคะ

ทำไงดีคะ อ่านเองยังไม่ได้เลยคะ

 

เเม่ต้อยคะกุ้งเคยเจอปัญหานี้ค่ะ วิธีการที่ทำให้ตัวใหญ่ ให้ก๊อปรูปมาอย่างเดียวค่ะ เสร็จแล้วคลิกตรงเรียกใช้ตัวจัดการข้อความจะขึ้นคำว่าไม่ใช้ตัวจัดการข้อความค่อยวางรูปลง

จากนั้นจึงพิมพ์ข้อความค่ะลองใหม่นะคะแม่ต้อย เชียร์ค่ะ

  • ชื่นชมบล็อกแม่ต้อย
  • อ่าน 2 เที่ยวแล้ว
  • ด้วยเหตุผลที่ไม่กล้าเข้ามาเยี่ยมกลัวแม่ต้อยเรียก มหา เกินยศ

สวัสดีค่ะ

มาแชร์นะคะการที่เราคลุกคลีกับคนไข้ กับแม่ๆที่ดูแลลูกๆที่ป่วย

เขาจะมีการเรียนรู้...บางครั้งลองผิดถูก...เพื่อให้การดูแลลูกที่ดีที่สุด...

บางครั้งก็ต้องเรียนรู้จากคนที่ปฏิบัติจริง...

คนไข้เป็นครูของเรา...จึงมีเวทีแลกเปลี่ยนกัน...

จับเข่าคุย......เป็นKM ระหว่างผู้ดูและและแม่ๆ...เช่นการcare colostomy

การดูแลป้องกันการอาเจียน...ขณะให้เคมี....

ดอกไม้นี้สวยและบริสุทธิ์...เอื้องนางชี......

ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่ต้องการการปฏิรูปวงการแพทย์

 

 

แม่ต้อยคะ เวลา ก๊อบรูป คนที่เม้นมา ถ้าเอารูปมาขึ้นก่อนตัวหนังสือหลังรูปภาพจะเล็กค่ะ

 แม่ต้อย พิมพ์ สักสองสามคำก่อนหน้ารูปภาพนะคะ

P  แม่ต้อย

อย่างนี้เป็นต้นค่ะ  คุณครูมาแล้วววว

ขอบพระคุณอาจารย์แม่เป็นอย่างสูง  ที่กรุณาแวะไปเยี่ยมยามถามข่าว ...เคยได้พบปะคุณหมออภิสิทธิ์ และคุณหมอทานทิพย์  ท่านทั้งสองกรุณาให้เอกสารเกี่ยวกับเครือข่ายของท่านที่ทำร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านหลายท่าน...มีคุณค่ามากครับ

แวะมาติดตามเรื่องดีๆและส่งความคิดถึงค่ะแม่ต้อย

แวะมาติดตามเรื่องดีๆและส่งความคิดถึงค่ะแม่ต้อย

P

 สวัสดีคะ
เข้ามาคุยด้วยเถอะนะคะ..
อย่ากลัวแม่ต้อยเรียกว่าท่านมหาเลย
แต่แม่ต้อยว่าดีออกคะ
ขอบคุณมากคะ

7. แดง
ขอบคุณน้องแดงมากคะ

เข้ามาแลกเปลี่ยนบ่อยๆนะคะ

 

♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿
เมื่อ อา. 24 พฤษภาคม 2552 @ 20:43

พอลล่าคนสวยคะ

ที่แม่ต้อยอยากทราบคือตัวหนังสือที่ลงในบล้อกด้วยนะคะ

ตอนที่แม่ต้อยพิมพ์ลงใน Note pad ใช้ตัวโตมากๆคะ

แต่พอเอามาวางบนบล้อก ตัวเล้กลงจนแม่ต้อยอ่านไม่ออกคะ

คุณครู พอลล่า ช่วยมาแนะนำหน่อยค่า...มีรางวัลด้วย..

 

หนุ่ม กร~natadee
น้องหนุ่มคะ

หายไปนานจนแม่ต้อยคิดถึงคะ

สวัสดีค่ะ มีมุมมองใหม่แล้ว เย้

. KRUPOM

ใช่คะ มุมมองใหม่ที่ไม่ติดตำราคะ

ครูป้อมสบายดีนะคะ

 

. ทรายชล
น้องทรายคะ

คิดถึงเช่นเดียวกันคะ

เมื่อไหร่ผลเลือดกรุปโอจะออกละคะ

คอยอยู่คะ

ท่านแม่ต้อยคะ ท่านก็คงมีปัญหาในการพิมพ์ ให้ตัวเล็กตัวใหญ่ แต่ก่อนดิฉันก็มีปัญหาเหมือนกันคะ สว.(สูงวัย) อยากจะมีส่วนร่วมเข้ามาเขียนในบล็อก  แต่บล็อคที่ให้เขียนมันเล็กนิดเดียว  เขียนไปแล้ว ก็ไม่ได้อ่านทาน พร้อมๆกันเพราะมันต้องขยับ หายขึ้นข้างบนไปเรื่อยๆ  แถมพิมพ์ตัวหนังสือตนเองก็อ่านไม่ออก ต้องเพ่งตา  สมัยก่อนเข้ามาใหม่ๆ ก็พิมพ์อยู่ ตัวหนังสือเล็กพอทนได้  เพราะตนเองก็ยังไม่รู้วิธีแก้ไข  แต่ทุกวันนี้ พิมพ์ไปต้องอ่านได้ ใจความไปพร้อมๆกับความคิด เพราะมันกำลังรื่นไหลไปแล้ว ถ้ามัวแต่มาอ่าน ความคิดสะดุด สิ่งที่คิดไว้ดีๆหายไป

 

ดิฉันจึงแก้ปัญหาโดย เปิด   หน้าพิมพ์เอกสารธรรมดา พิมพ์เสร็จแล้ว ตรวจทาน พอจรวจทานเสร็จ แล้วก็กดซ้าย  เหมือนคลุมดำแล้ว แล้วลากคัดลอก หรือคำว่า GOPPYเสร็จแล้วนำมาวางที่บล็อกเม้นท์คะ จะเห็นได้ว่า ดิฉันจะไม่เมนท์ที่ในบล็อก พิมพ์ข้างนอกแล้วดึงมาเอา นี่คือพูดแบบง่ายๆนะคะ

 

เพราะตอนดิฉันเข้ามา  มีบล็อกที่บอก ให้ทำอย่างโน้น ทำอย่างนี้ จะได้รูปนี้  แต่ที่เขาบอกเป็นภาษาช่าง ภาษาเทคนิค ทับภาษาเลย  ดิฉันศึกษาอย่างไรก็ไม่ได้  ในที่สุดก็ฝึกแก้ฝึกทำไปเรื่อยๆ ทำไม่ได้ ไปเจอบล็อกไหนที่ทำได้ ก็ถามวิธีเอา เขาก็มาบอกึงบล็อกเลยคะ  รู้สึกว่า จะเป็นบล็อค น้องคนชื่อ  แบ่งปัน  คะ ได้แต่บอกนะคะ เพราะไม่รู้ว่าจะดึงบล็อกเขามาให้ดูอย่างไร  คงต้องฝึกเรื่องนี้อีกคะ

 

เป็นกำลังใจให้ ในกิจกรรม  มุมมองใหม่นะคะ เป็นกำลังให้ ผอ.ทุกท่านและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องคะ  ไม่ติดตำรา  อิงของจริงเลย เพราะสถานการณ์มันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ต้องใช้เชิงรุกแล้วคะ ถึงจะได้ต้นเหตุ ของข้อมูลจริงๆ

ตามจริงด้านขวามือของคอม  มันจะมีที่ให้เราขยายตัวเพื่อการอ่าน โดยมันจะตัวหนังสือใหญ่ขึ้น  แต่พอเรามาเมนท์ เราไม่ลดตัวหนังสือลง  เห็นไหมคะ  ในบล็อคของใคร  ที่ตัวหนังสือเล็กลง หลังจากกดบันทึกแล้ว ก็เพราะว่า เวลาเราพิมพ์เรา ไปกดขยายทางด้านขวา พอเราบันทึก มันจะเล็กลงทันที  เวลาอ่านก็ต้องไปขยายอีก  สาเหตุตัวหนังสือเล็กก็เพราะเหตุนี้แหละคะ  พูดไป ไม่รู้ว่าท่านจะเข้าใจหรือเปล่า

และที่พิมพ์ไปของดิฉันจะเว้นบรรทัดบ้าง ถ้าติดต่อกันมาก ตาลาย อ่านแล้วก็หลงบันทัด  เพื่อไม่ให้หลงบรรทัด ถึงได้สลับสี

ซึ่งไม่ใช่สีเพื่อความสวยงาม  มันก็งามอยู่หรอก กันไม่ให้หลงบรรทัด ตอนนี้กำลังอ่านสีอะไร ก็จะได้รู้ อ่านง่ายขึ้น  สว.(สูงวัย)แนะนำได้เท่านี้แหละคะ

. สุ-มหาวิทยาลัยชีวิต ราชภัฏพระนคร อ.กระนวน จ.ขอนแก่น

สวัสดีคะ

ขอบคุณมากจริงๆสำหรับคนที่น่าจะวัยใกล้กันนะคะ

มีประโยชน์มากคะ

จะทดลองปฏิบัติตามคะ

ขอบคุณอีกครั้งคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท