ไปดูเขาทำSHA.. ที่นาโพธิ์


การเรียนรู้ วิถีชีวิต อาชีพ และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นปัจจัยสำคัญของการวางระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อการพัฒนาที่มั่นคง และยั่งยืน

เมื่อสักสองสัปดาห์ที่ผ่านมา แม่ต้อยมีประสบการณ์ที่ดีในการเยี่ยมโรงพยาบาลซึ่งอยากจะเอามาเล่าให้น้องๆได้รับรู้ร่วมไปกับแม่ต้อยด้วย

แม่ต้อยคิดว่าในการเดินทางสำหรับการเยี่ยมโรงพยาบาลทั้งสองแห่งนั้น น่าจะใช้ระยะทางไปกลับ รวมกันคงจะประมาณ ๑๐๐๐ กิโลเมตรน่าจะได้ เพราะว่า เราเดินทางโดยรถตู้จากกรุงเทพมหานคร  แวะพักที่จังหวัดนครราชสีมา  หรือโคราชบ้านเฮา นั่นแหละคะ เพื่อไปเยี่ยมรพ. ๒ แห่งคือ รพ.นาโพธ์ และรพ.ประทาย

วันแรกแม่ต้อยกำหนดที่จะต้องไปเยี่ยมโรงพยาบาลนาโพธิ์ ขนาด ๓๐ เตียงซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจาก โรงแรมที่พักในโคราชไปประมาณ๑๕๐ กิโลเมตร ไปกลับก็รวม ๓๐๐ กิโลเมตร

โรงพยาบาลนาโพธิ์นี้ มีความพิเศษกว่าแห่งอื่นๆที่ แม่ต้อยไปเยี่ยมมา เพราะว่าเป็นโรงพยาบาลที่ยังไม่ผ่านการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน คือกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนานั่นเอง  แต่ได้รับการคัดเลือกจากสรพ.ในการเข้าร่วมโครงการ SHA นี้ ซึ่งจะมีโรงพยาบาลในขั้นตอนนี้จำนวน ๑๐ แห่งด้วยกัน

จำได้ว่า ในวันแรกที่เราเชิญผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกแห่งมาร่วมสร้าง Future Scenario ที่กรุงเทพฯนั้น แม่ต้อยได้แสดง ความเปิ่นออกมาแบบไม่น่าให้อภัยเป็นอย่างยิ่ง

เพราะว่าโต้ะที่จัดไว้สำหรับผู้อำนวยการโรงพยาบาล นาโพธิ์ นั้น มีน้องตัวเล็กๆ ผมยาวๆ หน้าตาใสๆ นั่งอยู่ ท่าทางเงียบๆ

“ น้องคะ ท่านผู้อำนวยการไม่ว่างหรือคะ”  แม่ต้อยถามเป็นชุด...( แบบนี้ไม่ดี ต่อไปไม่ควรทำ ฮ่าๆๆ)

“ เอ้อ.. หนูเป็นผอ.คะ  อาจารย์..”

โอ้โห..  ...นี่แม่ต้อยตาถั่ว ..พลาดขนาดนี้เชียวหรือ

“ ขอโทษนะค้า..” ก็คุณหมอหน้าตาเด็กเสียจริงๆนี่นา

 

และทุกครั้งที่สรพ.จัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจในโครงการนี้ แม่ต้อยจะเห็นท่านผู้อำนวยการคนเก่งนี้ นำทีม มาร่วมเรียนรู้ทุกครั้งไม่เคยพลาด เป็นทีมที่ตั้งใจจริงๆ

แม่ต้อยเห็นความมุ่งมั่นในสายตาของคุณหมอใจทิพย์ ( ท่านผอ.) อย่างชัดเจน และแน่ใจในสายตาของตัวเองว่า ในทุกครั้งที่ได้เจอกัน ความมั่นใจในการพัฒนาคุณภาพก็มีความชัดเจน มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

และในวันนี้ แม่ต้อยได้พบทีมของและหมอใจทิพย์ อีกครั้ง สิ่งที่ได้สัมผัสคือเห็นความเป็นทีม ของแพทย์ พยาบาล และการเรียนรู้ในการทำงานกับชุมชนของโรงพยาบาล

คุณหมอใจทิพย์ เล่าให้ฟังว่า เมื่อมาเริ่มทำงานกับชุมชน ได้ เชิญผู้แทนชุมชนเข้ามาประชุมที่โรงพยาบาล ปรากฏว่า ไม่ค่อยมีคนเข้ามา บ้างก็ว่าไม่ว่าง บ้างก็ส่งคนเป็นผู้แทนเข้ามา ทำให้การที่รพ.จะไปสร้างภาพฝันกับเขาล้มเหลวไปโดยสิ้นเชิง

ดังนั้นทีมจึงเปลี่ยนใหม่โดยการลงไปหาชุมชน ไปคุยกับเขา ไปเรียนรู้ ความคิดเขาแล้วค่อยๆ เริ่มต้นจากเรื่องที่เขาคิดว่าเป็นปัญหาของเขา

โรงพยาบาลจึง ปรับการทำงานใหม่ โดยการลงไปในชุมชน แล้วเอาปัญหาที่เราพบ ลงไปคุยกับเขา หารือว่าเราจะมาช่วยกันทำอย่างไรดี เราจะทำอะไร ชุมชนจะทำอะไร”

 

“ เอาข้อมูลเรื่องการที่มีเด็กในหมู่บ้านป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกถึง ๒คน เข้าไป ช่วยกันคิด ว่าหากเราจะให้หมู่บ้านนี้ปลอดจากยุงลาย เราจะมีวิธีการอย่างไร.. ผอ.เล่าด้วยสายตาเป็นประกาย.. 

อาจารย์ คะ บังเอิญว่าหมู่บ้านนี้ อาชีพที่ทำรายได้คือการเลี้ยงตัวไหม และการทอผ้าไหม

 

 ดังนั้นการใช้ยาพ่นเพื่อ ฆ่ายุงลาย จึงไม่มีการยอมรับ เพราะว่าสารเคมี จะทำให้ตัวหม่อนไหม ตายไปด้วย รวมทั้งต้นหม่อนที่ชาวบ้านใช้เลี้ยงไหม ก็จะทำให้ตัวไหมตายด้วย...”

 

การเรียนรู้ วิถีชีวิต อาชีพ และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นปัจจัยสำคัญของการวางระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อการพัฒนาที่มั่นคง และยั่งยืน 

วิธีที่ดีที่สุดคือเราต้องใช้วิธีการป้องกัน ไม่ให้มีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน การทำให้บ้านเรือนสะอาด น่าอยู่

ผู้ใหญ่บ้าน  และผู้นำชุมชน อาสาสมัคร จึงร่วมกันกำหนดเป็นข้อตกลงในหมู่บ้าน ว่าทุกๆบ้านจะร่วมแรงใจกันกำจัดลุกน้ำยุงลาย หากใครยอมให้มีลูกน้ำเกิดขึ้น ยินดีเสียค่าปรับตัวละ ๕ บาท

  ผู้ใหญ่บ้านหญิงเก่ง

เมื่อแม่ต้อยไปเยี่ยมชุมชนแห่งนี้จึงพบว่ามีคนเฒ่าคนแก่ ผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ นายกเทศบาลมา รอพบกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลของเขา  อย่างมากมาย ทำให้แม่ต้อยพลอยได้ชื่นชมความสำเร็จของหมอใจทิพย์ ไปด้วยความยินดี และตื้นตันใจแทน

 

หมู่บ้านนี้ สะอาดสะอ้าน ไม่มีขยะ หรือน้ำขังใต้ถุนบ้าน แต่ปรับสภาพบริเวณ บ้านให้เป็นที่ทอผ้า เป็นที่เลี้ยงตัวไหม  บริเวณ ลานหมู่บ้าน เป็นที่พบปะ และออกกำลังกายชองเด็กๆและชาวบ้าน 

 

  ผ้าไหมของหมู่บ้านนี้ ส่งออกถึงต่างประเทศ และมีการทอที่มีลวดลายสวยงาม ที่มีชื่อเสียงมากคือลายผีเสื้อ

แม่ต้อยได้คุยกับผู้แทน ชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ท่านนายกเทศบาล หรือนายอำเภอ ชื่นชมคุณหมอใจทิพย์มากๆ บอกว่า เป็นคุณหมอใจดี ชาวบ้านอยากจะช่วยหมอทำงานด้านอื่นๆอีก เพราะทำแล้ว ชาวบ้านปลอดภัย มีสุขภาพที่ดี

 

 

“ หนูอยากจะออกชุมชนมากคะ.. เพราะเห็นว่าการที่ชุมชนมาร่วมด้วยในงานสุขภาพจะทำให้ การระบาดของโรค ลดไปได้มาก “....คุณหมอใจทิพย์ คุยระหว่างเรานั่งรถกลับมาที่โรงพยาบาล 

แม่ต้อยแน่ใจว่าท่านผอ.คนนี้จะต้องมี แนวคิดอื่นๆที่จะมาร่วมกับชุมชนอีกแน่นอนในไม่ช้านี้

ที่น่าสนใจในโรงพยาบาลนี้อีกอย่างคือการใช้แนวคิด out come mapping มาใช้ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริการ โดยเลือกพฤติกรรมที่เคยถูกร้องเรียน หรือพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มาแสดงบทโดยเพื่อนๆ ทำให้คล้ายๆกับกระจกส่องดูตนเอง

“ พอดู เพื่อนๆ แสดงกิริยา หรือ สิ่งที่เราเคยทำกับคนไข้..ทำให้เราคิดได้ว่าเราเคยทำจริงๆ  ภาพนั้นมันติดตา และเราจะเตือนตัวเองคะ ว่า เราจะไม่ทำอีก..”

“ ไม่โกรธ เพื่อนคะ.. เพราะเราทำจริงๆ..”  คุณพยาบาล ตอบแม่ต้อยยิ้มๆ

และต้องปรบมือให้สำหรับทีม PCT ที่มีการทบทวน ทุกโรค อย่างละเอียด จนทราบประเด็นที่จะต้องปรับปรุง ซึ่งคงจะต้องนำมาวางเป็นระบบ ของโรงพยาบาลต่อไป

แม่ต้อยจะเป็นกำลังใจให้ทีมโรงพยาบาลนาโพธิ์ ทุกท่าน ที่มีระดับการพัฒนาที่ก้าวหน้า มองเห็นเป้าหมายที่ชัดเจน

เมื่อแม่ต้อยเดินทางกลับที่พัก เห็นต้นข้าวสีเขียวข้างทาง ชูยอดแกว่งไกว พร้อมที่จะออกรวงข้าวอันงดงาม เต็มท้องทุ่งนา ดูน่าเพลิดเพลินและอิ่มเอิบใจนัก

คงเหมือนการพัฒนาคุณภาพที่โรงพยาบาลนาโพธิ์.. ที่อีกไม่ช้า คงจะออกดอก.ออกผล ที่งดงาม เช่นเดียวกัน

ขอเป็นกำลังใจให้คะ

สวัสดีคะ

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 306578เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2009 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

 โรงพยาบาลนาโพธิ์ ประทับใจตั้งเเต่คราวที่มาเจอกันที่ขอนเเก่นค่ะ จำได้ว่าประมูลหงส์ขาวของเราให้ราคาสูงสุด ผอ.เป็นผู้หญิงใช่มั๊ยคะ เเม่ต้อย ชื่นชมกิจกรรมดีดี ของชาวโรงพยาบาลนาโพธิ์ เเม่ต้อยได้ซื้อผ้าไหมมากี่ชิ้นคะ

 

 

 

กุ้งนาง สุธีรา
สวัสดีคะน้องกุ้งนาง

โอ้โห.ง ความจำนี่เยี่ยมมากเลยคะ

ใช่แล้วคะ คุณหมอใจทิพย์..และใจบุญด้วยคะ

ตอนนี้ที่รพ.นาโพธิ์ ทำกิจกรรมหลายๆด้านที่น่าประทับใจคะ

คิดถึงน้องกุ้งคะ

อ้อ  ผ้าไหม ก็ช่วยชาวบ้านไป นิดหน่อยคะ อิอิ

ขอบพระคุณอาจารย์ดวงสมร สำหรับกำลังใจและโอกาสดี ๆ ที่มอบให้เราชาวนาโพธิ์อีกครั้งค่ะ

มีเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลเข้ามาอ่าน sha แล้วนั่งยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ชื่นชม กับผลงานที่ได้ทำมา(ดีใจที่มีรูปลงใน sha ค่ะ)

ขอบพระคุณอาจารย์ อีกครั้งค่ะ

ด้วยความเคารพค่ะ

ใจทิพย์

สวัสดีค่ะ  ตามไปนาโพธิ์ด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ต้อย การที่เราได้ชื่นชมสิ่งที่ดีๆของคน ก็เป็นแรงบันดาลใจที่อยากจะทำความดี...ท่าน ผอ. คงไปนั่งในหัวใจของชาวบ้านแล้วค่ะ

 

 

สวัสดีค่ะ แม่ต้อย

พลังแห่งความดี พลังแห่งกัลยาณมิตร ทุกๆที่ ที่แม่ต้อยไปเยี่ยม มันแผ่ซ่านไปถึงทุกคน ทุกพื้นที่ ถ้าไม่เหนื่อยนักเห็นทีแม่ต้อยต้องไปเยี่ยมให้ครบทุก รพ.แล้วล่ะค่ะ

แม่ต้อย สู้ สู้ อิอิ

คิดถึงแม่ต้อยค่ะ

สวัสดีค่ะ แม่ต้อย

อ่่านเพลินกับเรื่องราวดีดีค่ะ มีความสุขเยอะๆนะคะ

ขอบคุณค่ะ

jerry

สวัสดีคะ คุณหมอใจทิพย์

ขอโทษมากๆๆคะ ที่มาตอบช้าไปสักนิด

เพราะเพิ่งกลับจากต่างประเทศคะ

เรื่องราวของรพ.นาโพธิ์ เป็นที่ประทับใจในสรพ.ด้วยนะคะ

กำลังคิดว่าจะเชิญมาร่วมเป็นวิทยากรน้องใหม่ในงาน forum ด้วยนะคะ

เอาใจช่วยคะ

รักและคิดถึงคะ

 

4.

P
KRUPOM
สวัสดีคะ
กำลังใจของครูป้อม คงเป็นยาวิเศษ ของชาวรพ.นาโพธิ์ มากๆคะ
P
แดง
น้องแดงคะ
หากน้องแดงได้เจอท่านผอ.ต้องมีความเห็นเช่นเดียวกันคะ
ว่าเป็นคน ตั้งใจ ทำงานจริงๆ
เรื่องเก่งคงไม่ต้องพูดถึงคะ
ขอบคุณน้องแดงมากคะ
P
แม่ต้อยก็อยากไปทุกที่คะ
แต่ว่า  สิริอายุ และสังขารไม่ค่อยเป็นใจเลยคะ
เลยต้องแล้วแต่บุญวาสนา.. ว่าจะได้ไปที่ใด
ขอบคุณมากนะคะ 
ฝากความระลึกถึงทีมงานทุกคนเช่นกันคะ
P
*AJ*
สวัสดีคะ
ดีใจคะ  ที่ชอบ
ขอบคุณคะ

สวัสดีครับ แม่ต้อย

  • ชื่นชมคุณหมอใจทิพย์ ( ท่านผอ.รพ.นาโพธิ์)
  • คุณหมอไม่ได้รักษาโรคแต่ทางกายเหมือนหมอทั่วไป
  • แต่ดูเหมือนคุณหมอเข้าไปดูแลทางด้านจิตใจ ด้านสังคม
  • ให้กับชาวบ้าน เป็นยุทธศาสตร์เชิงรุก ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน
  • เมื่อชาวบ้านรักศรัทธาร่วมกันดูแลสุขภาพ
  • คนก็ป่วยไข้ลดลงคุณหมอก็ทำงานที่ รพ.น้อยลง
  • ซึ่งก็จะพัฒนาด้านคุณภาพได้อย่างเต็มที่
  • ต้องยกย่องให้เป็นคุณหมอต้นแบบในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง
  • ขอบพระคุณแม่ต้อย  ที่ได้นำเสนอเรื่องนี้
  • หลานม่อนมาเยี่ยมด้วยครับ

สวัสดีค่ะ

  • ผ้าไหมที่นาโพธิสวยค่ะ...มีแบบและลวดลายเป็นของตนเอง
  • มีความสุขกับการทำงานนะคะ

แม่ต้อยหายไปไหนมาค่ะ เอารูปทะเลมาฝากค่ะ แล้วก็เอาบุญมาฝากด้วยค่ะ ทอดกฐินที่ตรังแวะทะเลด้วยค่ะ

สวัสดีครับ แม่ต้อย

  • กราบขอบพระคุณคุณยายแม่ต้อยของหลานม่อน
  • แวะไปเยี่ยมเยี่ยนหลานม่อน
  • ก็ยังอดห่วงใยเด็กๆไทยไม่ได้
  • เพราะดูเหมือนว่าตลอดระยะเวลาในชีวิตครูที่ผ่านมา
  • การเปลี่ยนหรือปฏิิรูปการศึกษาทุกครั้ง
  • ไม่ถึงคุณครูที่ปฏิบัติการที่โรงเรียนสักที
  • อิจฉาชาวสาธารณสุข มีผู้ใหญ่ไปเยี่ยมแล้วนำมาแลกเปลี่ยน
  • เป็นกำลังใจให้ชาว รพ. ขอชื่นชม
  • รักษาสุขภาพด้วยนะครับ
  • มาอู่ทอง สุพรรณเมื่อไรจะพาม่อนไปกราบ โชคดีครับ
P
หมอใจทิพย์ คงดีใจมากคะ
ที่มีคนมาให้กำลังใจคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท