ประทับใจ..ที่ประทาย


การที่เราจะสามารถทำเรื่องราวของมิติจิตใจได้ดี หรือการที่เราจะสามารถเผื่อแผ่ความรักของเราให้คนอื่นได้นั้น สิ่งที่สำคัญคือการให้ตัวเราเล็กลง.. หรือลดอัตตาของเราลง .. เราจึงจะมีความรักอันไพศาลให้กับคนอื่นได้ดี..

ถ้าหากว่าจะเล่าเรื่องการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ หรือ Humanized Health Care โดยไม่ได้กล่าวถึงโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง หรือคุณหมอคนหนึ่งที่แม่ต้อยชอบเรียกว่า” หมอนัท” ก็อาจจะทำให้มุมมองบางส่วน หายไปก็ได้

“ หมอนัท” หรือชื่อเต็มๆว่า นายแพทย์ นิวัฒชัย นามศิริชัยกุล  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลประทาย จังวัดนครราชสีมา

เมื่อหลายปีที่ผ่านมา สักประมาณ สามหรือสี่ปี น่าจะประมาณนี้ แม่ต้อยมีโอกาสคุยกับคุณหมอสุรชัย ซึ่งท่านเป็นผู้เยี่ยมสำรวจคนสำคัญของสรพ.เลยทีเดียว ท่านบอกกับแม่ต้อยว่า มีหมอคนหนึ่ง อยากจะแนะนำให้ได้รู้จักเพราะว่า เป็นคนที่มีแนวโน้มที่จะมาช่วยงานพัฒนาคุณภาพได้สูงมาก

“ แล้ว ป้าต้องชอบ..” คุณหมอสุรชัยชอบเรียกว่า ป้า..ช่างไม่รู้เลยว่า ผู้หญิงไม่ค่อบชอบหรอกน้า..ฮ่าๆๆ  แต่เอาเหอะน่า ไม่ว่ากัน..

 

“ คุณหมอ นิวัฒชัย เป็นคนดี เก่ง น่าจะมาช่วยงานของพรพ.( ในขณะนั้น) ได้..” คุณหมอสุรชัย แนะนำอย่างมั่นอกมั่นใจ

แม่ต้อยจึงได้มีโอกาสได้รู้จัก และก็เป็นความจริงตามนั้นเพราะว่า ไม่ว่าโครงการใดที่สรพ. ได้คิด เพื่อพัฒนา คุณหมอนัท มักจะเป็นคนหนึ่งที่มาร่วมงานอย่างเต็มอกเต็มใจ  เรียกได้ว่า เป็นคนช่วยนำร่องให้ก่อน..

และเมื่อคราวที่ทางสรพ.จะเริ่มต้นสนับสนุนให้ โรงพยาบาล นำแนวคิดเรื่อง Humanized health care มาผสมผสานการทำงานในโรงพยาบาล ก็เป็นหมอนัท นี่แหละ ที่เป็นหนึ่งใน๖ รพ.ที่อาสาเป็นโครงการนำร่องให้ได้เกิดการเรียนรู้ จนขยายอย่างกว้างขวางในปัจจุบันนี้

แม่ต้อยทราบว่าตอนที่เราเริ่มโครงการ นี้หมอนัท ยังทำงานที่รพ.บ้านเหลื่อม และได้ย้ายมาทำงานที่รพ. ประทาย หลังจากที่เริ่มโครงการได้ไม่นานนัก

โรงพยาบาลประทาย จึงเสมือนจุดเปลี่ยน แนวคิดการทำงานของหมอนัท ในการที่จะพยายาม นำแนวทางด้านมิติจิตใจ มาเชื่อมโยงในการบริหารโรงพยาบาล   การสร้างเครือข่าย และการดูแลรักษาผู้ป่วย

เพียงในปีที่๒ ของการทำงานที่นี่ คุณหมอนัท ได้รับรางวัลอันน่าภาคภูมิใจ นั่นคือรางวัล Humanized health care award ทั้งในระดับองค์กร และระดับบุคคล ในปี ที่ผ่านมา จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล

 

แม่ต้อยมีโอกาสมาเยี่ยมโรงพยาบาลประทาย เป็นครั้งที่๒ ในระยะห่างกันไม่น่าจะเกิน ๒ ปี

แทบไม่น่าเชื่อว่าเพียงระยะเวลาไม่นานมากนัก โรงพยาบาลได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย จนแม่ต้อยแปลกใจมากๆ หรือความจำเราไม่ดีหนอ..

 

เมื่อวันที่ไปถึงจึงเพียรพยายามถามน้องๆที่มารับที่หน้าโรงพยาบาล ว่า

“ คราวที่แล้ว อาจารย์ มาร่วมประชุมกับน้องๆ ที่ตึกไหนนะคะ?”  ..( อิอิ)

 

เพราะมีการปรับปรุงอาคารสถานที่ให้สอดคล้องกับแนวคิดของ “สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยาหรือ Healing environment “  นั่นเอง

ซึ่งแม่ต้อยคิดว่าทีมงานของโรงพยาบาลต้องการเน้นการพัฒนา ตรงจุดนี้ให้เกิด เพื่อสร้างบรรยากาศ ให้คนไข้รู้สึกปลอดภัย อบอุ่น  ผ่อนคลาย และเชื่อมั่น เป็นการขจัดความวิตกกังวล ความเครียดของคนไข้ อันนับว่าเป็นมิติหนึ่งที่จะช่วยเยียวยาผู้ป่วย ควบคู่ไปกับการรักษาอย่างดีเยี่ยม

การมาเยี่ยมรพ.ประทายในวันนี้เรามากันเป็นทีมขนาดใหญ่  และไม่บ่อยครั้งนักที่อาจารย์อนุวัฒน์ และแม่ต้อยจะได้มีโอกาส ออกนอกที่ทำงานพร้อมๆกันเช่นนี้

 

หมอนัท คงจะว้าวุ่นในมิใช่น้อย เพราะแม่ต้อยแอบสังเกตุว่าโทรศัพย์ ติดตาม ข่าวคราวตลอดเวลาเลยทีเดียว คงเครียดแน่ๆ ฮ่าๆๆ

เมื่อมาถึงโรงพยาบาลเห็นติดป้ายภาษาอังกฤษ ขนาดใหญ่บะเลิ่มเฮิ่ม เด่นเป็นสง่าแต่ไกล  เพื่อต้อนรับอาจารย์ Marion ซึ่งมาจากแดนไกลถึงแคนาดา ( ให้รู้เสียบ้างว่าไผเป็นไผ ..อิอิ)

“ อาจารย์ ครับ นี่พี่กิตติ ครับ เป็นคนไข้เบาหวานตั้งแต่ผมอยุ่บ้านเหลื่อม และมาเจอกันที่นี่อีกครับ  ตอนนี้พี่กิตติ มาช่วยโรงพยาบาลทำ 5 ส. ครับ เพราะว่าพี่เขาได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเขต ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ครับ”..

พี่กิตติ ท่าทางสุภาพ มายืนต้อนรับทีมเรากับหมอนัท ราวกับเจ้าบ้านที่ดีอย่างไรอย่างนั้น

หมอนัท นี่เก่งจังเลย.. สามารถสร้างความเป็นเจ้าของ หรือการเป็นภาคีหุ้นส่วนได้อย่างยอดเยี่ยม คนไข้คนหนึ่งในเวลานี้ ได้เปลี่ยนเป็นเจ้าภาพ ..เป็นผุ้รับผิดชอบในการพัฒนาโรงพยาบาลจากความชำนาญที่เขามีอยู่อย่างเต็มที่..โดยไม่ต้องใช้เงินงบประมาณไปจ้างใครที่ไหนมาแพงๆ..

แม่ต้อยนึกแอบชมหมอนัทในใจ...และมาชมอีกครั้งก็ในบล้อกนี่ละคะ

เมื่อเข้าไปในห้องประชุม ก็ไม่ใช่เพียงเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเท่านั้นที่มาคอยต้อนรับอย่างอบอุ่น ในห้องนั้นมีพระคุณเจ้าจากวัดที่ใกล้เคียง มีคนไข้ที่ผันตัวเองมาช่วยกิจกรรมต่างๆในโรงพยาบาล ซึ่งมีมากมาย นับตั้งแต่การมาช่วยตัดผม ทำสวน ทำความสะอาด ดูแลคนไข้  จนแม่ต้อยที่เพิ่งมาถึง แยกไม่ออกว่าใครเป็นใคร

  อาสาสมัครทั้งนั้นคะ

 

 เพราะที่นั่งๆ หรือทำงานอยู่ ไม่มีใครสักคนที่มีท่าทางว่าเคยเป็นคนเจ็บป่วยสักนิด

“ ป้า..หนูพิน  เป็นคนไข้เบาหวาน  ตอนนี้มาช่วย ตัดผมให้คนไข้อื่นๆที่เป็นเบาหวาน  เวลาตัดผมก็ช่วยแนะนำการกินอาหาร การปฏิบัติตัวไปด้วยครับ..” หมอนัทกล่าวเสริม เมื่อป้าหนูพิน แนะนำตัวกับพวกเรา..

การที่สามารถพัฒนาให้คนไข้ที่มีความเจ็บป่วยเหมือนกันและผ่านการรักษา ผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเอง จนสำเร็จ มาเป็นพี่เลี้ยง ช่วยให้กำลังใจ มาช่วยแนะนำสำ หรับผู้ป่วยรายใหม่กันด้วยความเอื้ออาทรนี้ เป็นแนวคิดที่ดีมากๆ เพราะว่า เขาย่อมมีความเข้าใจในความรู้สึก อาการของโรค ความท้อแท้ได้เป็นอย่างดี

“ ต้องขอคาระวะ นายแพทย์สงวน นิตยารัมพงศ์  ที่เมื่อเจ็บป่วย  ยังเข้าใจในความเจ็บป่วยด้วยกัน มีความเห็นใจในความทุกข์ทรมานของผู้ที่ป่วย จึงได้นำแนวคิดนี้มาขยายต่อ..จนบัดนี้ แม้ว่าท่านจะจากโลกนี้ไปสุ่สุคติแล้ว... แต่ความห่วงใยของท่านก็ทำให้ มีคุณูปการในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง..” 

“ ใครเล่าจะมีความเข้าใจ ในความทุกข์ของคนป่วยได้ดี เท่ากับคนที่เคยป่วยด้วยโรคเดียวกัน”

 

 

แม่ต้อยกับอาจารย์ Marion   ได้เดิน เยี่ยมน้องๆที่ทำงานรอบๆโรงพยาบาล ทุกหนทุกแห่ง ทีมงานพยายามสร้างวัฒนธรรมการทำงานบนพื้นฐานคุณภาพ มีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้มารับบริการ

 

แม่ต้อยนี้คงน่าจะเป็น” แม่ใหญ่” ของภาคอิสาณได้เสียกระมัง เพราะตอนที่แม่ต้อยไปเยี่ยมคนไข้ที่ตึกคลอด มีพยาบาลมาบอกแม่ต้อยว่า

“ อาจารย์คะ ช่วยผูกข้อมือให้หลานหน้อย สักนิดเถอะคะ”

แม่ต้อยเลย ทำหน้าที่ในการผุกข้อมือ รวมทั้งให้ศีลให้พรเด็กแรกคลอดที่อยุ่ในอ้อมกอดของแม่ ในวันนั้น..โดยมีแม่เด็กๆ ยิ้มอย่างสุขใจ

“ เด็กแรกคลอด คงเป็นของขวัญล้ำค่า ที่สำคัญที่สุด สำหรับพ่อ แม่ หากมีใครสักคน ร่วมชื่นชมยินดี ให้พร ในวันสำคัญนี้ก็น่าจะเป็นความประทับใจที่ไม่มีวันลืม..”

ทุกแห่งที่แม่ต้อยเข้าไปเยี่ยม จะมีการตบแต่งอย่างน่ารักโดยใช้วัสดุจากท้องถิ่น จึงให้โรงพยาบาล กลายเป็นที่พักผ่อน สำหรับคนชาวอำเภอประทายที่มีอาการเจ็บป่วย เลยทีเดียว

 

เมื่อถึงเวลารับประทานอาหารกลางวัน เรากลับมาพบกันอีกครั้ง โดยมีรายการอาหารสูตรพิเศษ สำหรับระดับวีไอพี คือส้มตำที่แสนจะอร่อยมากๆคะ

แม่ต้อยอยากจะเล่าว่า ระหว่างรับประทานอาหาร แม่ต้อยสังเกตเห็นบางสิ่งบางอย่างที่ในห้องอาหารนี้...เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้เห็นเลย..

คุณหมอนัท รับประทานอาหารสักครู่ แล้วก็ลุกออกไปยกหม้อข้าวมาแนบไว้กับอก พร้อมๆกับเดินไปรอบๆโต้ะ เพื่อตักข้าวเพิ่มให้กับแขกและลูกน้อง..

การที่เราจะสามารถทำเรื่องราวของมิติจิตใจได้ดี หรือการที่เราจะสามารถเผื่อแผ่ความรักของเราให้คนอื่นได้นั้น สิ่งที่สำคัญคือการให้ตัวเราเล็กลง.. หรือลดอัตตาของเราลง .. เราจึงจะมีความรักอันไพศาลให้กับคนอื่นได้ดี.. 

“ วันนี้มาเห็นกับตาแล้ว..ว่าคนที่สามารถลดตัวตนได้นั้นเขาเป็นอย่างไร?...

แม่ต้อยย้อนนึกถึงในปีที่ผ่านมา แม่ต้อยกับน้องพอลล่าได้มาคุยกับเจ้าหน้าที่คนหนึ่งซึ่งเป็นพนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ เธอเล่าว่า

“หนู ทำงานมา หลายสิบปีคะ... ตำแหน่งอย่างหนูก้ช่วยเหลืองานทั่วๆไปคะ..

มีอยู่วันหนึ่งหนูได้รับมอบให้ยกกาแฟไปเสริฟผุ้อำนวยการโรงพยาบาล..

“ หนูตกใจมาก เพราะท่านผอ. ยกมือไหว้หนู  และบอกว่า..ขอบคุณครับ..”

ตั้งแต่หนูทำงานมา ยังไม่เคยพบท่านผอ.ท่านใดมายกมือไหว้หนูเลย.. เธอพูดพร้อมกับน้ำตาซึมๆ

“ หนูรู้สึกว่าตัวหนูมีค่ามากมาย..เหลือเกิน.. หนูจึงอยากทำงานให้ดีที่สุด..เท่าที่จะทำได้..”

จึงไม่แปลกใจที่ แม่ต้อยเห็นความรัก ความอบอุ่นเจือในสายตาของคนที่นั่น

ก่อนจากกัน แม่ต้อยถามว่า

“ น้องวิวัฒน์ ไปไหนละคะ?”..

น้องวิวัฒน์ คือ คนไข้หนุ่ม หน้าตาดี อายุราวยี่สิบกว่าๆ เกิดโชคร้ายประสบอุบัติเหตุ รักษาตัวนานมาก ผลพวงจากอุบัติเหตุ ทำให้ขาทั้งสองข้างเป็นอัมพาตไม่สามรถเดินได้ ต้องนอนที่บ้าน กับแม่เพียงสองคน

ทีมงานกายภาพบำบัดได้เข้าไปช่วยเหลือ อย่างเต็มที่ หลายต่อหลายครั้งที่น้องวิวัฒน์ คิดสั้น เพราะอับจนต่อชะตาชีวิต ไม่อยากอยู่ให้เป็นภาระของใคร

ด้วยความเข้าใจในความทุกข์ และความอดทนของทีมงานจึงทำให้น้องวิวัฒน์สามารถ ร่วมมือในการรักษา ด้วยกำลังใจที่เข้มแข็ง จนสามารถเดินได้ มีชีวิตได้อย่างงดงาม

“ อ๋อ..วันนี้น้องวิวัฒน์ ไปเป็นวิทยากรคะ..” น้องเอื้อย กายภาพบำบัดเจ้าของไข้ส่งเสียงตอบ

จากคนไข้ที่เดินไม่ได้..กลายมาเป็นคนที่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ..และวันนี้พัฒนาตัวเองเป็นวิทยากรแล้ว..น่าภาค

ภูมิใจแทนน้องวิวัฒน์ เสียจริงๆคะ

คราวนี้แม้ว่าแม่ต้อยจะเดินทางระยะทางรวมกันแล้วน่าจะประมาณ ๑๐๐๐ กิโลเมตร แม้ว่าจะเหนื่อย ..แต่ก็มีความสุขจาก สิ่งที่ได้ พบเห็น..

คิดเหมือนแม่ต้อยไหมคะ?

สวัสดีคะ

 




 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 310010เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2009 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ตื่นแต่เช้า แล้วเข้ามาจิบชาบ้านแม่ต้อย (สูตรประทาย)

G2K ทำให้เราได้รู้จักเพื่อนๆมากมาย โดยเฉพาะชาวสาธารณสุข (สุขแบบสาธารณะ)

อิ่มเอม เปรมปรี และปรีดา กับแม่ต้อยด้วยจริงๆค่ะ เหมือนได้ไปเยี่ยม"ประทาย"กับแม่ต้อยด้วย

สุดยอดเลยค่ะ การพัฒนาคุณภาพด้วยหัวใจ เริ่มตั้งแต่ การได้หัวใจของคนในองค์กร แล้วแผ่ขยายถึงคนในชุมชน แล้วก็สะท้อนกลับมายังโรงพยาบาล ช่างเป็นสุขยิ่งนัก

ขอบคุณแม่ต้อยที่พาไปเยี่ยมชมและเรียนรู้

ขอบคุณ รพ.ประทายแทนประชาชนทุคคนด้วยค่ะ

น่าประทับใจจริงๆค่ะ

sha-รพ.แก่งคอย จังหวัดสระบุรี
โอ้โห..เช้าวันอาทิตย์  ตื่นมาจิบน้ำชาตั้งแต่หกโมงเช้า.. คงมีความสุขมากๆๆ

หากจะให้รางวัล แฟนพันธ์แท้ คงต้องยอมยกให้SHA แก่งคอยนี่แหละคะ

 

P
jaja
ขอบคุณมากนะคะ
คิดถึงเช่นกันคะ

สวัสดีครับแม่ต้อย ชารพ. แก่งคอยมาชิมชาสูตรประทายก่อนแล้ว สนับสนุนความเห็น ชาแก่งคอย

เราชาวสาสุข ทำงานแล้วได้"ธรรมสุขศิลป์"ครับ

สวัสดีค่ะแม่ต้อย

อ่านบันทึกนี้แล้วได้เรียนรู้หลายๆอย่าง

แม่ต้อยบรรยายได้อย่างน่าติดตาม

และได้สัมผัสกับโรงพยาบาลประทายไปด้วย

อ.นัทน่ารักมากจริงๆ เคยได้พูดคุยด้วย2-3ครั้ง สัมผัสถึงความน่ารักและมิตรภาพอันอบอุ่นนั้นจริงๆ

ขอบคุณบันทึกดีๆนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะแม่ต้อย

- ตามมาดูภาคีเครือข่าย เขาสุดยอดจังค่ะ

- ได้ใจ ได้งาน มากเลยค่ะ

โอ้ โฮ ! ค่อยๆอ่านบันทึกนี้ของเเม่ต้อย ที่บันทึกได้อย่างละเอียดยิบ เขียนจากใจของเเม่ต้อยที่ชื่นชมโรงพยาบาลประทายจากใจจริง กุ้งก็มาชืนชมด้วยคนนะคะ วันที่ 27 -28 เจอกันนะคะ

P
วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
สวัสดีคะ ท่านวอญ่า
อยากพบตัวจริงมากๆคะ
เดือนธันวาคมนี้ แม่ต้อยจะมาที่หาดใหญ่มาเจอกันนะคะ
P
นาง...มณีวรรณ
สวัสดีคะ
น้องมณีวรรณ
คุณหมอนัท น่ารักมากคะ
ทีมงานก็น่ารักทุกคนคะ
P
เพชรน้อย
สวัสดีคะ
ขอบคุณมากคะ ที่มาติดตามอ่านคะ

8.

P
กุ้งนาง สุธีรา
น้องกุ้งนางคะ
ไปเยี่ยมรพ.ประทายสิคะ ไม่ไกลมากคะ
คิดถึงคะ

สวัสดีครับ แม่ต้อย

  • โรงพยาบาลนี้อยู่ติดต่อกับเขตบริการของ รร.
  • ที่ผมไปบรรจุครั้งแรก ปี2518 ได้เห็นความเปลี่ยนแปลง
  • แบบเหมือนไม่เคยพบเห็น เจริญมากงดงามตั้งแต่ประตูทางเข้า
  • นั่นก็คงไม่สำคัญเท่ากับความเปลี่ยนด้านจิตจิตของคนที่อยู่ภายใน รพนี้
  • ขอร่วมชื่นชมเพื่อเป็นกำลังใจให้กับคุณความดีนี้เป็นอมตะต่อไป
  • ขอบพระคุณ รักษาสุขภาพนะครับ โชคดีครับ

13.

P
นายประจักษ์ ปานอินทร์
สวัสดีคะ ท่านผอ.
ใช่คะ และที่น่าประทับใจคือมีการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานทั้งสองอย่างดีเยี่ยม
วันที่แม่ต้อยไปมีเด็กนักเรียนตัวเล้กๆมาแสดงให้ ปู่ย่าตายายที่มาโรงพยาบาลได้ชื่นใจ 
หายป่วยเร็วดีคะ
เพราะว่าลุกหลานมาให้กำลังใจ
สุขสันต์ วันลอยกระทงคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท