SHA Season2.... แพ้ให้เป็น


การทำงานคุณภาพ ด้วยมิติจิตใจ จึงต้องละเอียด เข้าใจในบริบท ทุกแง่มมในจิตวิญญาณของผู้ป่วย

เช้าวันที่ ๒ ของการประชุมเครือข่าย SHA พวกเราใส่เสื้อยืดคอกลมมีลายขวางตรงกลาง โลโก้ เขียนไว้ว่า SHA… Together. มองไปทางไหนก็เจอะเจอคนใส่เสื้อสีนี้ทำให้มีความรู้สึกอบอุ่นใจ บรรยากาศดูเป็นกันเองขึ้นมาก

หลายๆคนในวันแรกใส่สูทดูน่าเกรงขาม มาวันนี้เสื้อที่สวมใส่ดูลำลอง  ผ่อนคลาย และเป็นกันเอง หลายคนจึงหยอกเย้ากันว่าดูหนุ่มจัง ดูสาวจริง 

 

เริ่มต้นในวันที่ ๒ ด้วย วิทีอาร์สั้นๆ ที่ประทับใจของเพื่อนร่วมวิชาชีพ ที่ทำงานด้วยการใช้ พื้นฐานของความรัก  และความเมตตา ส่งผลให้คนทำงานมี ความปิติ และรู้คุณค่าของการเป็นผู้ให้ ที่สำคัญผลงานนั้นมีคุณภาพ

ผลงานชิ้นนี้เป็นของโรงพยาบาลที่เข้าร่วมในโครงการ SHA รุ่นแรก   น้องๆหลายคนมาถามต่อว่า

 

 “ อันนี้เป็นเรื่องจริง หรือเป็นการถ่ายทำคะ  แม่ต้อย ”

 

แม่ต้อย อยากจะบอกว่า การแสดงที่ยากยิ่งนั้นคือการแสดงที่ต้องเลียนแบบ การกระทำที่ออกจากใจ จากสายตาที่กรุณา และจากคำพูดจากใจโดยไม่ต้องมีบท

แม่ต้อยเลยตอบสั้นๆว่า " เป็นเรื่องราวการทำงานจริงของเพื่อนเราเองคะ"

วันนี้เราได้จัดให้มีการเรียนรู้ประสบการณ์จริงจากโรงพยาบาลที่ได้ทดลองนำแนวคิดนี้ไปทำในระยะ ๑ ปีที่ผ่านมา มีข้อคิดหลายๆอย่างที่ชวนให้เรียนรู้

เช่น น้องจากรพ.หนองจิก จังหวัดปัตตานี ที่พกพาอารมณ์ขัน และประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยในสังคมแบบทวิลักษณ์ มาแลกเปลี่ยนแบบชัดเจน จริงใจ และอย่างชนิดที่ไม่มีใครกล้าแย้งได้

“ หากไม่เข้าใจประชาชน ยังไม่ต้องคิดเรื่องการพัฒนา”

แค่ประโยคแรกของน้องเซาะ ก็สะกดคนฟังให้เงียบไปทั้งห้องแล้ว

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าแค่เพียงเรื่องยา เรื่องระบบยาในโรงพยาบาล แต่ถ้าหากเรานำมิติเรื่องจิตใจเข้าไปผสมผสานด้วยเพื่อให้เป็น “ ยา.. SHA “ นั้น มีเรื่องละเอียดอ่อนมากมาย

ซึ่งหากเราเพียงแค่มีระบบที่ดี มีการส่งมอบ ยาให้ถึงมือคนไข้ อย่างครบถ้วน ถูกต้อง ถูกคน ถูกเวลา ไม่มีผิดพลาดแล้วก็ตาม ก่อนที่คนไข้จะกลับบ้าน

แต่ทว่า ยานั้นอาจจะไม่ส่งผลใดๆกับคนไข้เลยก็ได้ หากเราไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึง ความเชื่อ ความไม่เข้าใจ ความไม่คุ้นเคยของคนไข้

ภาพที่น้องเซาะ ไปตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านและมีถุงยานับสิบถุงแขวนไว้ที่เสาบ้าน ยาไม่มีพร่องไปสักเม็ด นั่นย่อมเป็นประจักษ์ที่ดี

เราจึงต้องเข้าใจคนไข้ว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น  สิ่งที่เราได้เรียนรู้คือ ชาวบ้านมีความเชื่อว่า มีข้อห้ามมิให้กินยาร่วมกับอาหารหลายๆประเภท นัยว่าเป็นอาหารต้องห้าม ซึ่งเมื่อรวบรวมรายชื่อแล้ว มีรายการมากมายนับไม่ถ้วน จุงไม่ต้องสงสัยว่าทำไม คนไข้ถึงยังมีอาการคงเดิม หรือกลับไปหาหมออีกบ่อยครั้ง

การทำงานคุณภาพ ที่ใช้ความประณีต ด้วยความกรุณา จึงต้องมีความ ละเอียดอ่อนที่จะเข้าใจ และหาทางโอบอุ้มด้วยวิธีการที่นุ่มนวลเข้าใจ

 

ในรพ.อีกแห่งที่มาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดในการทำงาน คือน้องจากรพ.เสาไห้ การเริ่มต้นทำงานอย่างประณีตและใช้มิติจิตใจ ทางรพ.เริ่มจากทีมของรพ.เองก่อน

โดย การปลูกฝังวิธีคิดใหม่ให้กับทีมงาน ให้คิดบวก ฝึกการให้อภัย ฝึกการอ่อนน้อมถ่อมตน ต่อเพื่อนผู้ร่วมงาน

ดังนั้นระดับหัวหน้างานที่มีอายุน้อยก็สามารถก้มหัวและ ยกมือไหว้คนงานที่มีอาวุโสกว่าได้  ฝึกการมีวินัย

ฝึกการเป็นผู้ให้

และที่สำคัญคือการฝึก” แพ้ให้เป็น”

แม่ต้อยรู้สึกปลื้มปิติกับการแลกเปลี่ยนเรื่องราวดีดีอย่างนี้เป็นอย่างยิ่ง รู้สึกว่ามีคุณค่าและเป็นโอสถทิพย์ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เราอยากจะร่วมกันฝ่าฟันไปอย่างไม่หยุดยั้ง

การนำเสนอของน้องๆ เป็นความงดงาม เป็นการทำงานของคนเล็กๆ แต่ทว่ายิ่งใหญ่

แม่ต้อยว่า น้องๆกำลังขับเคลื่อนตัวเองไปสู่ระดับที่เรียกว่า จิตสำนึกใหม่ จิตสำนึกที่เหนือกว่าการนึกถึงตนเอง แต่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเป็นผู้ให้ ที่ยิ่งใหญ่

 “ การแพ้ให้เป็น” แท้ที่จริงแล้ว คือการลดความยิ่งใหญ่ของตนเอง ลดอัตตาตัวเองลงให้ได้ เพื่อที่จะสามารถทำงานที่ยิ่งใหญ่ได้กว่า นั่นคือการเป็นผู้ให้

ก่อนจบการประชุมในเย็นวันนั้น แม่ต้อยได้ขอให้ผู้แทนของรพ. SHA รุ่นที่ 2 มาพูดแสดงความรู้สึก ก่อนจากกันไป

ท่านผู้อำนวยการรพ.ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกทม.

กล่าวสั้นๆว่า

“ ตั้งแต่ผมได้ เข้าร่วมอบรม สัมมนามา ผมชอบครั้งนี้มากที่สุด ขอให้พวกเรา SHA2 จึงดีใจที่ได้มาร่วมเส้นทางนี้  ผมขอขอบคุณ สรพ.มาก ครับ “

 

ในช่วงนั้น แม่ต้อยนึกในใจว่า

 

“เส้นทางนี้.. แม้ว่าจะยังยาวไกล..

แต่ระหว่างทาง ก็เริ่มมีความงาม ให้เห็นได้ชื่นใจ....

นั่นก็เพียงพอแล้ว กระมัง

สวัสดีคะ

ลองเข้าไปดูบรรยากาศนะคะ

http://www.youtube.com/watch?v=AGfDG74HQCg

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 382714เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2010 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีครับแม่ต้อย...

บันทึกน่าอ่านมาก ๆ ครับ

แหะ แหะ ยังพอมีเสื้อเหลือไหมครับ

P
ขอน้องเอกแม่ต้อยกำลังว่าจะเขียนในตอต่อไปคะ
แต่ขอบคุณมากๆนะคะ
ของจริงมาแล้วคะ
P
หนานเกียรติ
สวัสดีคะ
แม่ต้อยเก็บไว้ให้แล้วคะ
คิดถึงคะ ไปเชียงใหม่ไหมคะ

อยากไปครับ

เมื่อไรครับแม่ต้อย...

มีเรื่องอยากปรึกษาแม่ต้อยเหมือนกันครับ

P
หนานเกียรติ
น้องเกียรติคะ
น่าจะประมาณปลายเดือนนี้คะ เราจะจัดสำหรับภาคเหนือคะ
น้องเกียรตืโทรหาแม่ต้อยได้คะ หรือส่งทางเมลก้ได้คะ

เคยไปพูด palliative care ที่หนองจิก คนเขาดี มีพลังจริงๆครับ มาทำ SHA น่าจะสนุก

P
Phoenix สวัสดีคะ ท่านอาจารย์
น้องๆจากภาคใต้ มีแรงบันดาลใจในการทำงานที่ดีมากๆ คะ
เช่นที่หนองจิก ทุ่งยางแดง รามัน กะพ้อ ปาดังเบซาร์คะ
P
Phoenix สวัสดีคะ ท่านอาจารย์
น้องๆจากภาคใต้ มีแรงบันดาลใจในการทำงานที่ดีมากๆ คะ
เช่นที่หนองจิก ทุ่งยางแดง รามัน กะพ้อ ปาดังเบซาร์คะ

แม่ต้อยคะ...รับฟังจากรุ่นพี่ เห็นตัวอย่างความงามที่ปรากฏ ทำให้เห็นสิ่งดีดีใน รพ.ที่มีอยู่ ได้แรงใจเยอะขึ้น และจะแพ้ให้เป็นค่ะ...เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย ผู้รับบริการและประชาชน

P
เจษฎา
สวัสดีคะ
น้องเจษฎาคะ
แม่ต้อยว่าเรื่อง" คุณสุรศักดิ์" นั่นก็ สุดยอดความงดงามแล้วละคะ
ให้กำลังใจคะ

ตามมาให้กำลังใจ มาชื่นชม มาเรียนรู้ค่ะ

ถ้าฝาผนัง คือ คุณภาพของโรงพยาบาล อิฐแต่ละก้อน คือ HA ปูนที่คอยเชื่อมอิฐแต่ละก้อนให้เป็นฝาผนังที่แข็งแรง และยั่งยืน ก็คือ SHA ส่วนตัวมีความเชื่อเรื่องความสมดุลระหว่าง Hard Science และ Soft Science อยู่แล้ว ตั้งแต่โรงพยาบาลได้นำมาตรฐานฉบับ HA& HPH มาใช้ก็เริ่มรับรู้แล้วว่า HPH ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีทั้งผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และชุมชน หรือสังคม พอได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการ SHA Season II ทำให้มั่นใจว่าเราน่าจะมาถูกทางแน่นอน ขอบคุณแม่ต้อย และ สรพ. ครับที่ให้โอกาสกับทีมของเรา

  • สวัสดีค่ะ
  • วันแม่ที่ใกล้จะถึงนี้ ขอส่งความรักและความระลึกถึงด้วยบทกลอนเพราะ ๆ จาก internet มาฝากกันค่ะ
    สตรีใด…….ไหนเล่า………..เท่าเธอนี้
    เป็นผู้ที่ …………..ลูกทุกคน………บ่นรู้จัก
    เป็นผู้ที่ ……………มีพระคุณ………การุณนัก
    เป็นผู้ที่ …………..สร้างความรัก…..สอนความดี
    เป็นผู้ที่……………คอยสั่งสอน…….เอาใจใส่
    คอยห่วงใย….……เราทุกคน………จนวันนี้
    เปรียบแสงทอง……สว่างล้ำ……….นำชีวี
    เธอคนนี้…………..คือ ” แม่ ”……..ของเราเอง

                                  

P
สวัสดีคะ
ต้องขอขอบคุณในกำลังใจที่ดีนี้มากๆคะ
แต่ที่จริงแล้ว สิ่งที่งดงามกว่าคือน้องๆในโรงพยาบาลนั่นเองคะ ที่จะเป้นผู้สร้าง การให้ที่ดีขึ้นมาได้
แม่ต้อยขอให้กำลังใจอีกครั้งคะ
P
บุษรา
สวัสดีคะ
แม่ต้อยอ่านกลอน บทนี้ในวันแม่พอดีคะ
ขอบคุณมากๆคะ

ชอบคำนี้มากเลยค่ะ “หากไม่เข้าใจประชาชน ยังไม่ต้องคิดเรื่องการพัฒนา”

ได้อะไรๆทุกครั้งที่เข้ามาอ่านบันทึก "แม่ต้อย"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท