หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ (๒๑) : ครู "ชวน" ให้ทำต่อไป


คนไม่มีทำอะไรได้ดีกว่าคนที่มีได้

เมื่อครบรอบอีกสัปดาห์แล้วกับการเรียนร่วมใน หลักสูตร สสสส.๒ ในชั่วโมงเรียนของวันที่ ๒๓ เมษายน ไม่รู้มาก่อนว่าใครจะมาสอน จนกระทั่งผู้สอนปรากฏกายขึ้น

เช่นเคยที่ต้องมีนักเรียนเป็นตัวแทนกล่าวแนะนำวิทยากรและเชื้อเชิญท่านขึ้นสู่เวทีเพื่อแบ่งปันความรู้  คราวนี้เป็นคิวของผู้อยู่ในช่วงหมายเลขถัดไปจากกลุ่มของฉัน

ก่อนเริ่มชั่วโมงเรียน ผู้แทนของกลุ่มได้นำประวัติวิทยากรที่ทีมงานลุงเอกเตรียมไว้ให้ ไปปรึกษากับผู้มาเป็นวิทยากรเพื่อประเมินความเหมาะควรของการเอ่ยแนะนำและสาน สัมพันธ์บอกลำดับของการบริหารเวลาให้วิทยากรได้รับรู้ร่วม

เมื่อลุงเอกรู้ว่าวิทยากรมาถึงแล้ว ลุงเอกก็ปลีกตัวจากภารกิจมานั่งคุยด้วย

วิทยากรของวันที่ ๒๓ เมษายนเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ๒ สมัย ที่มีชื่อต้นด้วย “ช.ช้าง” ฉันขอเรียกท่านว่า “ครูชวน” ค่ะ

เรื่องราวที่ท่านมาแบ่งปันเป็นการเปิดมุมมองอีกมุมด้านประวัติศาสตร์นะฉันว่า

หลักหนึ่งที่ครูชวนแลกเปลี่ยน เหมือนกันกับอาจารย์ศรีศักร์ วัลลิโภดม นักประวัติศาสตร์ที่มาเป็นครูย้ำบอก หลักนั้นคือ “จะวิจารณ์อดีตต้องคิดถึงข้อเท็จจริงในสมัยนั้น” 

มีตัวอย่างหลายเรื่องที่ครูเล่าให้ฟัง เพื่อชวนให้มองย้อนอดีตอย่างเข้าใจสถานการณ์ในสมัยนั้นแล้วไม่ก่นด่าหรือ ขึ้งโกรธผู้ตัดสินใจ อย่างเช่น

การรักษาอธิปไตยของศาลเป็นเรื่องยากของสมัย ร.๕ และมันเกิดขึ้นในรูปการเสียดินแดนในสมัยรัชกาลที่ ๕

ความมั่นคงทางทหารที่ถูกให้ความสำคัญมากกว่าความมั่นคงทางสังคม และเมื่อเปลี่ยนผ่านมาถึงวันนี้ก็ไม่ค่อยย้ำเน้นและให้ความสำคัญเหมือนสมัยก่อน

ครูเล่าว่าในมุมของสันติวิธีที่สร้างความมั่นคงก็มีอยู่ตั้งแต่อดีต อย่างเช่นการยอมรับความหลากหลายของชนชาติที่อยู่ร่วม เรื่องจีนและมลายูที่อยู่ร่วมกับคนไทยได้อย่างสงบ คนจากชนชาติที่อยู่ร่วมเติบโตแบบได้รับโอกาสจากสังคมไทย เช่น เติบโตในราชการจนกระทั่งเป็นประธานศาลฎีกาได้ ทำให้ไทยอยู่แถวหน้าให้ชาติอื่นมาเรียนรู้

ครูมีความเห็นว่าความหลากหลายของศาสนาเป็นความเข้มแข็งไม่ใช่ความอ่อนแอ ศรัทธา แนวคิด ข้อปฏิบัติ ยุทธวิธีมีความสำคัญ หากไม่เชื่อผลก็เกิดไม่ได้ อยู่ที่ว่าจะนำมาใช้อย่างไรไม่ให้เป็นปัญหา 

ครูแบ่งปันให้รู้ว่า ในอดีตนั้นมีการใช้สันติวิธีมาแล้ว ๒ ครั้ง เหตุการณ์นั้น คือเรื่องราวระหว่างอยุธยากับรัฐปัตตานี ในส่วนของความขัดแย้งที่เคยเกิดมีระดับความรุนแรงที่ต่างกันไป ระดับความรุนแรงระหว่างเชียงใหม่กับกรุงเทพฯ และปัตตานีกับกรุงเทพฯ ไม่เท่ากัน 

การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีเป็น กุศโลบายที่พระมหากษัตริย์ทรงมีความรู้และเล็งเห็นว่าควรใช้เครื่องมือใด  มีบันทึกที่ร.๖ กำหนดแนวทางปฏิบัติสันติวิธีไว้ชัดเจน ๖  ข้อให้ใช้เรียน

๖ ข้อนี้ในสมัยพระองค์ปฏิบัติจริง แต่ในวันปฏิบัติไม่จริงจึงเกิดความเสียหาย

จุดเริ่มที่ไม่ปฏิบัติและถือว่าเลิกใช้ สันติวิธีคือ ปีพ.ศ.๒๕๔๔

ครูสะกิดให้คิดว่าแนวทางปฏิบัติในปี ๒๕๔๔ ใช้ยุทธวิธีอะไรอยู่ที่เชื่อไหม ครูบอกว่านโยบายไม่ผิด

แล้วก็เล่าต่อว่าสำหรับปัญหาภาคใต้ แนวคิดสันติวิธีเริ่มขึ้นในปี ๒๕๔๔ โดยมีองค์กรเป็นตัวตน ทำงานมาเรื่อยๆ ๓ ปี ต่อเนื่องอยู่ในด้านสภาความมั่นคง จน ๘ เมษายน ๒๕๔๔ เมื่อมีประกาศว่าให้แก้ไขให้ปัญหาจบใน ๓ เดือน ก็เกิดเรื่องราวความรุนแรงขึ้นครั้งแรกในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๔ 

เรื่องนี้ครูนำมาเล่าแบ่งปันเพื่อให้ข้อ คิดว่า “คนเคารพกฏเกณฑ์เสียเปรียบ เชื่อสันติวิธีแล้วอย่าทำให้สันติวิธีทำลายความถูกต้อง” 

สันติวิธีในความเชื่อของครูมีความหมายคือ “การทำให้ข้อขัดแย้งยุติลงได้ด้วยวิธีที่ไม่รุนแรง”

ครูได้แบ่งปันว่า คนไม่มีทำอะไรได้ดีกว่าคนที่มีได้  การยึดข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งไปใช้เป็นหลักไปได้แต่มีความรู้ใช่ว่าจะทำได้ เสมอไป

มีเรื่องอีกยืดยาวที่บรรดาเพื่อนร่วมรุ่นได้ถามครู บางเรื่องที่มีเพื่อนถามเพื่อขอแบ่งปันความรู้พร้อมเล่าเรื่องสิ่งที่ทำไป ครูก็บอกคนถามว่า “ขอให้ท่านทำต่อไป” คนถามได้ฟังคำตอบ ก็แอบมาเล่าว่า “เซ็งเลย ขอให้ออกความเห็นในมุมมองของครูก็ไม่ตอบซะนี่”

คำถามที่น่าสนใจจากเพื่อนๆหลังเวลาเบรค ฉันมีเวลาได้รับรู้ร่วมน้อยเพราะมีนัดเดินทางต่อไปสวนป่าเพื่อร่วมกิจกรรมพัฒนานักเรียนแพทย์จากจุฬาที่นั่น

เรื่องราวที่นำมาเล่าสู่กันฟังตามข้างล่างนี้ ถือเป็นน้ำจิ้มฟังสำนวนตอบคำถามของครูละกันค่ะ

คำถาม : การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดหรือตำรวจ ใช้แก้ปัญหาภาคใต้ได้หรือเปล่า

คำตอบ : เรื่องราวที่เกิดขึ้นไม่ใช่โครงสร้างมีปัญหา ศรัทธาและความหลากหลายต่างหากที่เป็นประเด็น การอุ้มฆ่า เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยจอมพลป. ที่ไม่มีการเยียวยา ทำให้การรับโทษกลายเป็นการไม่ต้องรับโทษ  การมีท่าทีในปี ๒๕๔๔ จากคำถามมีโจรกี่คน แล้วมีความเห็น มีโจรไม่เกิน ๕๐ คน และผู้ทำหน้าที่ขอเวลา ๖ เดือนในการแก้ปัญหา ซึ่งมีคำต่อรองทำให้สำเร็จภายใน ๓ เดือน เกิดขึ้น แล้วขณะนี้ปัญหาก็ยังมีอยู่

ครูบอกตบท้ายก่อนเบรคว่า “นโยบายความมั่นคงลองไม่ได้ ถ้าไม่มั่นใจในแนวทางไม่ลงมือ สาระสำคัญอยู่ที่ไม่ชี้นำและการนำไปปฏิบัติ แนวทางสันติวิธีไม่ใช่แนวทางของนักกฎหมาย”

แล้วยังทิ้งท้ายเป็นเชิงตั้งคำถาม “นโยบายกับผู้ปฏิบัติจะสอดคล้องกันได้อย่างไร”

หมายเลขบันทึก: 360720เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2010 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

แวะมาสวัสดี คุณหมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ

...

สันติวิธี..ในบันทึกของคุณหมอ

ทำให้เห็น...อะไรบางสิ่ง บางอย่าง ที่เจือปนอยู่บนความหลากหลาย

...

ด้วยความเคารพและระลึกถึง นะครับ

 

  • สวัสดีค่ะ พี่หมอเจ๊
  • ช่วงนี้อยู่ กรุงเทพ หรอคะ โรงเรียนไม่หยุดเหรอคะ
  • เรียนถึงเมื่อไรคะ หากเข้ากรุงเทพจะไปหา(หากไปถูก)

 

ปล. อยากฟังเสียงครูชวนจังค่ะ อ่านบันทึก เสียงไม่มาเลยอ่ะค่ะ :-)))

  • คุณ มาตายี ค่ะ
  • ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
  • .........
  • ดีใจที่ได้รับรู้ว่า
  • บันทึกนี้ให้ประโยชน์กับตัวคุณค่ะ
  • .........
  • ขอบคุณนะคะที่แวะมาคุยกัน

สวัสดีครับ พี่หมอ

แวะมาเยี่ยมเยียนครับ

เป็นบันทึกที่มีคุณค่ามาก ๆ เลยครับ...

  • น้อง แสงแห่งความดี ค่ะ
  • ไม่ได้คุยกันซะนานเนอะ
  • .......
  • เรื่องของสันติวิธี
  • มีหลายมุมมองด้านวิชาการค่ะ
  • .......
  • หมอเจ๊เข้าไปสัมผัสร่วมเรียนรู้แล้ว
  • ก็พบว่าพื้นที่ที่สร้างสันติที่สำคัญที่สุด
  • ไม่ได้อยู่ไกลเลย
  • ......
  • อยู่ในใจเรานี่เองค่ะ
  • .....
  • หากสามารถเข้าใจตัวเองอย่างแท้จริง
  • ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติตน
  • เพื่อพัฒนาตนเองจะสอนเองว่า
  • สันติวิธี (วิธีทำให้เกิดสันติ)...ควรลงมืออย่างไร
  • มีอะไรบ้างที่ต้องทำ...ควรทำ...ช้าๆไว้...ยั้งไว้ก่อน...หรือลงมือเลยค่ะ
  • .....
  • ดีใจนะคะที่แวะมาคุยกัน มาทักทายกันเช่นที่เคยก่อนเก่า
  • pa_daeng ค่ะ
  • พี่ไปๆมาๆระหว่างกรุงเทพฯกับที่ทำงานเป็นว่าเล่นเลยค่ะ
  • .....
  • ช่วงเกิดเหตุการณ์ไ่ม่สงบ
  • ติดอยู่กรุงเทพฯค่ะ....เป็นเรื่อง HA ค่ะ
  • .....
  • สถาบันพระปกเกล้าเป็นหน่วยงานราชการค่ะ...ป้าแดง
  • วันไหนหยุดราชการ...วันนั้นก็หยุดเรียนค่ะ
  • .....
  • ว่างๆแวะไปเจอกันซิค่ะ
  • ที่เรียนอยู่ที่เดียวกับการเจรจาประวัตฺศาสตร์ ๒ ครั้งนั่นแหละค่ะ
  • เพียงแต่คนละห้องกันค่ะ
  • .....
  • คิดถึงป้าแดงมากมายเลยค่ะ
  • น้อง หนานเกียรติ ค่ะ
  • ชวนตามอ่านนะคะ
  • มีอะไรที่เติมเต็มหลายมุมเชียวค่ะ
  • .......
  • พี่ว่าใช้ประโยชน์ได้กับชีวิตจริงด้วยนะคะ
  • เป็นอะไรที่คนที่ไม่เคยทำหน้าที่อย่างเรา
  • มองคนละมุมกับเขาก็มีเลยนะคะ
  • .......
  • เรื่องราวที่ได้รับรู้เหล่านี้
  • ทำให้พี่เห็นความสำคัญของ "ประวัติศาสตร์"
  • "ทุกเรื่องราวมีประวัติศาสตร์เบื้องลึก" อยู่ทั้งสิ้นเลย
  • .......
  • การได้รู้เพิ่มขึ้นในช่วงของเดือนกว่าๆที่ไปร่วมเรียน
  • ทำให้รู้เลยว่ายังมีอะไรอีกมากมายที่เราไม่รู้
  • .......
  • ใช้ประโยชน์จากเรื่องราวที่นำมาเล่าสู่กันฟัง...ได้เต็มที่เลยนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท