หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ (๒๙) : ระวังตาเข


มีคำพูดหนึ่งที่อาจารย์เล่าออกมาสั้นๆ “นักเจรจาไกล่เกลี่ยต้องไม่ตาเข” ตรงนี้ทำให้เอะใจมั๊ยค่ะว่าอาจารย์กำลังสื่อเรื่องอะไร เมื่อฉันกลับไปทวนที่อาจารย์เล่ามาเรื่อยๆ ฉันเอะใจค่ะว่า อาจารย์กำลังบอกนัยยะเตือนการฟังของนักเจรจาด้วยหรือเปล่า??????????????…..

เมื่อครั้งที่น้องฑูรและพ่อครูไปเป็นนักเรียนโข่งรุ่น ๑  น้องฑูรเคยเล่าเรื่องของวิทยากรผู้หนึ่่งเอาไว้และบอกว่าท่านมีอะไรที่ชวน ให้นั่งเรียนด้วยอย่างสนุกด้วยลูกฮาที่ท่านมี

วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๓ นักเรียนโข่งรุ่นฉันก็ได้ประจักษ์กับหูประจักษ์ตาในความสามารถเรียกเสียงฮา ของวิทยากรที่เอ่ยถึงข้างบน  ชั่วโมงที่เรียนกับท่านเป็นชั่วโมงต่อเนื่องจากอาจารย์นพพร โพธิรังสิยากร ท่านคือผู้ที่เขียนหนังสือเล่มนี้ค่ะ

บรรยากาศของวันที่เรียนกับอาจารย์เปลี่ยนไปจากเดิมๆตรงที่ อาจารย์ให้ย้ายห้องเรียนไปนั่งเรียนกันอีกห้อง ไม่มีโต๊ะนั่งเรียน มีแต่เก้าอี้ล้อมเป็นวงกลมไว้สองวง

คนที่เข้าห้องก่อนต่างเลือกที่นั่งในวงกลมวงนอก ปล่อยให้วงในว่างไว้ สังเกตดูเหอะดูเหมือนเรื่องนี้จะเป็นวัฒนธรรมไปแล้วกับการหาที่นั่งเรียนตาม จริตของคนวัยทำงานเนอะ

และแล้วเมื่อถึงเวลาเรียน เหอๆๆๆ…..หลายคนก็แป่วเมื่ออาจารย์ไม่ยอมให้วงหน้าว่าง เรียกให้แต่ละคนพิจารณาการเข้ามานั่งวงในใกล้ๆอาจารย์….ฉันว่าที่อาจารย์ไม่ ยอมให้นั่งวงนอกกันก็เพราะว่า ชั่วโมงเรียนนี้มีชื่อว่า “การใช้ประชาเสวนา” ในพื้นที่ความขัดแย้ง ก็เป็นได้นะคะ

แล้วอาจารย์ก็เริ่มสร้างสัมพันธภาพเพื่อให้พวกเราเปิดใจเรียนร่วมกัน  ความเป็นกันเองของอาจารย์เป็นอย่างไรบ้าง ดูได้จากภาษากายของเพื่อนๆพี่ๆค่ะ

อาจารย์ตกลงกติกากับพวกเราด้วยว่า อาจารย์จะทำอย่างไรหากพวกเราคนใดคนหนึ่งกำลังรับโทรศัพท์ แล้วอาจารย์ก็ทำจริงๆค่ะ

อ๊ะๆ รู้นะคิดอะไรยู้ เดาผิดแล้วค่ะ อาจารย์แค่ลดเสียงคุยกับคนที่เหลือเบาๆจนแทบไม่ได้ยินแบบเกรงใจคนรับ โทรศัพท์เท่านั้นเอง แค่ทริกที่อาจารย์ทำอย่างนี้ก็ทำให้คนมีความสุขแล้วค่ะ  ไม่เชื่อดูกับตาเองได้เลยค่ะ

อาจารย์เริ่มต้นด้วยชวนทำความรู้จักกับความหมายของภาษาที่ใช้กันในแวดวง สันติวิธีอีกนั่นแหละค่ะ คำแรกที่นำมาคุยกันก็เป็นคำที่ฮิตคำนี้ค่ะ “การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม”  มีความหมายว่าอย่างไร อ่านกันเองแล้วกัน  ต่อด้วยคำอีกคำที่คุ้นหูค่ะ

อาจารย์เล่าเรื่องการทำประชาพิจารณ์ให้ฟังสั้นๆว่าอเมริกาเลิกทำไปนาน แล้ว  แล้วตบท้ายด้วยการแลกเปลี่ยนมุมมองไว้ว่า ถ้าต้องการให้เกิดความขัดแย้งให้ทำประชาพิจารณ์ เพราะประชาพิจารณ์เป็นเวทีของการโต้วาทีกัน (debate) ใครไม่เชื่อก็นำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับความรู้ของตัวเองแล้วกันค่ะ

แล้วอาจารย์ก็พูดต่อเรื่องมุมมองต่อการเจรจาประวัติศาสตร์ ๒ ครั้งที่เกิดขึ้นที่สถาบันพระปกเกล้าแห่งนี้ อาจารย์ออกความเห็นว่าถ้ามีการแบ่งแยกขั้ว แบ่งข้าง การเจรจาก็ต้องมีคนกลาง

ส่วนเวลาคุยกันแล้วมีการ ขอใช้สิทธิพาดพิง ให้รอ ไม่ควรใช้สิทธิทันที เพราะใช้สิทธิทันทีเมื่อไร ก็พาตัวก้าวเข้าสู่การโต้วาทีทันทีเมื่อนั้น

อาจารย์แนะให้เห็นมุม ใหม่ว่าที่โต้กันนั้นส่วนใหญ่เกิดเพราะอารมณ์  และที่อาจารย์ให้รอก็เพื่อให้สิ่งที่ควรเกิดขึ้น เกิดขึ้นมา สิ่งนั้นคือ dialogue ค่ะ

แล้วอาจารย์ก็ชวนให้รู้จักคำเพิ่มขึ้นอีก เป็นคำเหล่านี้ค่ะ

อาจารย์แบ่งปันว่า dialogue ไม่สามารถนำไปถึงการประชาเสวนาเพื่อหาทางออก ยังเป็นแค่การฟังๆๆๆๆ  ที่อาจารย์บอกว่า dialogue ยังเป็นแค่ฟังๆๆๆ เพราะอาจารย์แบ่งระดับการฟังไว้ดังนี้

ระดับที่ ๑  รับรู้ รวบรวมข้อมูล download data

ระดับที่ ๒  ฟังแบบศาล คือ ฟังแล้วโต้หรือแย้ง ( debate)

ระัดับที่ ๓  สานเสวนา ( dialogue) ฟังแบบตั้งใจ ได้ยินแบบมองตาก็รู้ใจ เข้าใจแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา (deep listening)

ระดับที่ ๔  ฟังแล้วจึงเห็นทางเลือก เห็นทางเลือกแล้วจึงตัดสินใจ (deliberate)

มีคำพูดหนึ่งที่อาจารย์เล่าออกมาสั้นๆ “นักเจรจาไกล่เกลี่ยต้องไม่ตาเข” ตรงนี้ทำให้เอะใจมั๊ยค่ะว่าอาจารย์กำลังสื่อเรื่องอะไร เมื่อฉันกลับไปทวนที่อาจารย์เล่ามาเรื่อยๆ  ฉันเอะใจค่ะว่า อาจารย์กำลังบอกนัยยะเตือนการฟังของนักเจรจาด้วยหรือเปล่า??????????????….. ใครก็ได้ช่วยสรุปหน่อยค่ะ

ถ้าใช่ก็แปลว่าผู้จะทำ หน้าที่เจรจาพึงฝึกฝนตนให้ระดับการฟังถึงระดับที่ ๔ ไปด้วยซิน่า

เมื่ออาจารย์แบ่งปันต่อว่า นักเจรจาไกล่เกลี่ยควรแสดงออกด้วยภาษากายว่าฟังอยู่ ซึ่งอาจารย์ก็มีลูกเล่นทำให้ดูค่ะด้วยการ ฟังไป พยักหน้าไปแล้วทำเสียง อือ ฮึ..ฮึ..อือม์…….ก็ทำให้บรรยากาศการเรียนชวนฮาหมือนที่อัยการชาวเกาะ เคยเล่าให้ฟังไม่มีผิดเลย…มีภาพยืนยันความฮาด้วยค่ะ….อิอิ

หมายเลขบันทึก: 364314เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2010 07:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท