หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ (๓๔) : แหม!


แต่วันนี้ขอ แหม! สักหน่อยเหอะ กับประวัติศาสตร์ที่เรียนผ่านมาของตัวเอง นี่ถ้าตอนที่ได้เรียนตอนเด็กๆมีเรื่องเล่าที่ฟังแล้วมหัศจรรย์พันลึกอย่าง ที่ได้ฟังในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ ของหลักสูตร สสสส.๒ ละก็ ตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัย ฉันคงขอพ่อแม่เรียนประวัติศาสตร์ไปแล้ว…จริงๆนะ

นึกถึงเรื่องราวของตัวเองกับคำว่า “แหม!” แล้วขำตัวเอง ไอ้เจ้าคำนี้เคยหลุดออกจากปากฉัน เมื่อคราวที่ได้รับหมายศาลไปเป็นพยานคดีๆหนึ่งหลังจากจบมาทำงานไม่นานนัก 

เหตุการณ์ของวันนั้น ผู้พิพากษาที่นั่งบัลลังค์ก็เป็นเพื่อนรุ่นน้องที่รู้จักกันดี อัยการผู้ฟ้องเรื่องก็รู้จักกันดี ทนายจำเลยรึก็รู้จักดี โจทย์หรือก็คุ้นๆ  มีแต่จำเลยเท่านั้นที่ไม่รู้จัก เรื่องราวที่ฟ้องเกิดเหตุการณ์ผ่านไปหลายปีดีดักแล้ว ตอนนั้นก็จำรายละเอียดได้ไม่ทั้งหมดแล้ว ถึงแม้จะทบทวนประวัติิการบาดเจ็บของโจทย์จากร.พ.ก่อนไปก็จำอะไรไม่ได้ทั้ง หมดอยู่ดี

ตอนขึ้นคอกพยาน ศาลก็จะให้สาบานตนว่าจะพูดแต่ความจริง ถ้าพูดเรื่องไม่จริงให้มีอันเป็นไป  ขึ้นคอกพยานแล้วก็โดนซักเรื่องราวอะไรตั้งหลายอย่างทั้งจากอัยการเจ้าของ เรื่องและทนายจำเลย

ตอนที่ทนายจำเลยซักถาม มีหลายเรื่องที่ฉันจำไม่ได้ ฉันก็ตอบตามตรงว่า “จำไม่ได้” ตอบอย่างนี้ซะหลายคำถามที่โดนซักจนกระทั่งรู้สึกรำคาญนึกในใจว่าถามอยู่ได้ (ด้วยความรู้สึกว่ามันจำไม่ได้อ่ะ) แล้วผู้พิพากษาก็เป็นคนกันเอง ก็เลยเผลอหลุดปากออกไปว่า “แหม ใครจะไปจำได้” กลางศาล

ผู้พิพากษาเอ็ดเอาเลย “มาแหม เหมอในศาลได้ยังไง ไม่เคารพศาลเอาซะเลย”  ได้ยินรุ่นน้องดุกลางศาล อ้าปากค้างไปเลยฉัน

อัยการเจ้าของเรื่องคงเห็นว่าไม่ได้เรื่องแล้ว ขืนให้ซักแล้วตอบด้วยความจำต่อไปศาลจะตัดสินคดีไม่ได้ ก็เลยควักเอกสารความเห็นการตรวจบาดแผลที่เป็นหลักฐานทางการแพทย์ขึ้นมาให้ อ่านทวน พร้อมถามว่าเป็นความเห็นที่ฉันบันทึกไว้ใช่หรือเปล่า ได้เอกสารนี้มาช่วยชีวิตแท้ๆ ทำให้หลุดออกจากคอกพยานมาได้….ใจสั่นโหม๊ด….โดนรุ่นน้องเอ็ดกลางศาล…ต่อหน้าธารกำนัลซะด้วย…..อิอิ

พ้นมาจากวันนั้นแล้วเจอกันอีก พรรคพวกที่อยู่ด้วยกันในศาลวันนั้นก็แซวตลอด  “เกือบไปแล้วนะพี่หมอ เกือบโดนศาลลงโทษที่หมิ่นศาลซะแล้วไง”….5555…เป็นหมออ่อนหัดก็เลยเจอดี

ตั้งแต่วันนั้นก็เลยไม่เคยหลุดคำว่า “แหม ให้ใครที่เป็นผู้ชายได้ยินอีกเลย…กลัวโดน…555555″

แต่วันนี้ขอ แหม! สักหน่อยเหอะ กับประวัติศาสตร์ที่เรียนผ่านมาของตัวเอง นี่ถ้าตอนที่ได้เรียนตอนเด็กๆมีเรื่องเล่าที่ฟังแล้วมหัศจรรย์พันลึกอย่างที่ได้ฟังในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ ของหลักสูตร สสสส.๒ ละก็ ตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัย ฉันคงขอพ่อแม่เรียนประวัติศาสตร์ไปแล้ว…จริงๆนะ

เรื่องราวที่ได้ยินได้ฟังเป็นประวัติศาสตร์ของปักษ์ใต้ในมุมใหม่ ที่ยิ่งฟังก็ยิ่ง “ตื่นตา” “ตื่นใจ” ค่ะ

วิทยากร ๒ ท่านคือผู้ที่นำเรื่องเหล่านี้ออกมาวางบนโต๊ะให้มีโอกาสรับรู้โดยทั่วกัน  ท่านหนึ่งเป็นไทยพุทธ อีกท่านหนึ่งเป็นไทยมุสลิม ช่วยกันเล่า ช่วยกันเติม

ฟังแล้วทึ่งกับเรื่องราวของปักษ์ใต้ไทยจริงๆค่ะ   ขอบคุณจริงๆนะคะที่ทำให้รู้ว่าประวัติศาสตร์ไทยมีชื่อรัฐที่เรียกว่า “ลังกาสุกะ” และ “มัชปาหิต” ด้วย เชยซะจริงเลยค่ะที่เพิ่งได้ยินคำเหล่านี้เป็นครั้งแรกในชีวิต

ใครอยากรู้รายละเอียดเรื่องนี้ ไปหาหนังสืออ่านได้  มีขายที่ศูนย์หนังสือจุฬา

เรื่องราวเหล่านี้ วิทยากรแบ่งปันว่า เป็นส่วนหนึ่งของปักษ์ใต้บ้านเราที่ถูกเก็บงำไว้

จะเป็นเพราะคนสมัยก่อนเชื่อว่าอ่านหนังสือเยอะแล้วทำให้สายตาสั้น ความกลัวลูกหลานจะสายตาสั้นก็เลยทำให้ไม่ให้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวมาแบ่งปันกันก็ได้มั๊ง ก็เมื่อฉันยังเล็กๆพ่อชอบเตือนว่า “ลูกเอ๋ย พักสายตาซะบ้าง อย่าอ่านหนังสือเยอะเดี๋ยวสายตาสั้นเหมือนพ่อ” นา

แต่ฉันก็ฝืนคำของพ่อ อ่านๆๆๆและอ่าน พอแอบไปวัดสายตาพบว่าสั้นแล้วแจ้นไปบอกพ่อ พ่อยังหาว่าอำเล่นไม่เชื่อนิ คิดไปว่าฉันอยากใส่แว่นสายตาให้ดูโก้ไปซะโน่น…5555…ในที่สุดก็สายตาสั้นจนได้

เหตุผลที่พ่อฉันเตือนให้เพลาๆการอ่าน น่าจะไม่เหมือนที่ได้ฟังจากที่วิทยากรแบ่งปัน ความเชื่อน่าจะเป็นคนละเรื่องคนละด้านไปเลย ก็ท่านแบ่งปันว่า “เรื่องราวถูกเก็บงำ ไม่ให้ศึกษาค้นคว้า” นี่ค่ะ

ฟังไปก็ทึ่งไป อึ้งไป ผิดคาดก็หลายเรื่องเชียวค่ะ เรื่องที่ทึ่งไม่น้อยกว่าเรื่องอื่นๆก็เห็นจะเป็นชีวิตของผู้รวบรวมเรื่องราวมาเขียนเป็นหนังสือ

ผจญภัยเหมือนดังชีวิตอินเดียน่า โจนส์ที่โลดแล่นบนแผ่นจอเงินยังไงยังงั้นเลยเชียว ที่เปรียบเทียบว่าเหมือนอินเดียน่า โจนส์ ก็เพราะเป็นคนหนุ่มที่กัดไม่ปล่อยกับเรื่องราวโบราณ เป็นคนหนุ่มที่ช่วยฟื้นชีวิตของปักษ์ใต้บ้านเราให้มีพลังชีวิตคืนมาเลยเชียวนะคะ

การที่ท่านกัดไม่ปล่อยกับเรื่องราวโบราณนี้ เพราะท่านมีแรงปรารถนาในใจที่จะเชื่อมร้อยรอยต่อที่ขาดหายไปของประวัติ ศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้ให้กลับมาเต็มครบทุกด้าน เพื่อประโยชน์สุขและสันติสุขของสังคมภาคใต้ สังคมไทยและสังคมโลกค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งด้วยความชื่นชมจากคนแก่อย่างฉัน ขอบคุณในความปรารถนาดีที่มีต่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันค่ะ

นี่คือผู้ที่ฉันขนานนามว่า อินเดียน่า โจนส์ ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 365401เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2010 01:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท