หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ (๓๕) : ไม่ใช่เรื่องสมมติ


ใครบ้างหนอที่ไม่ภูมิใจกับพื้น ถิ่นที่มี สิ่งที่สังคมให้ค่าฝังอยู่ ถ้าเห็นด้วยว่าความภูิมิใจนี้ควรได้หล่อเลี้ยงความรู้สึกด้านดีๆไว้ตราบนาน เท่านานโดยไม่เบียดเบียนกันและกันเลย…ดีกว่าอื่นใดอยู่แล้ว…ก็ชวนให้ ช่วยกันลงมือทำซะ…เริ่มที่ตัวเองก่อนใครอื่นนั่นแหละดีนักเชียว

ที่จริงสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ นั้น มีเรียนอยู่ ๒ วันเช่นเคย แต่ฉันได้แวะเข้ามาร่วมเรียนแค่วันที่ ๗ พฤษภาคมวันเดียวเท่านั้น อีกวันพาตัวหายไปทำงานกับกลุ่มเฮฮาศาสตร์ที่สวนป่าค่ะ  ไปมาแล้วถือว่าเป็นโชคดีของชีิวิตอีกมุมที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดและ ความรู้กับคนอีกกลุ่มที่ทำงานเพื่อเยียวยาสังคมอยู่อย่างเงียบๆตลอดมา

คนกลุ่มนี้นำทีมโดยครูที่เป็น “ครู” ทั้งเนื้อทั้งตัวโดยธรรมชาติเชียวแหละ  ท่านผู้นี้เป็นผู้รู้คนหนึ่งในเรื่องของสันติวิธีนะคะ  ขอชวนตามเรียนรู้จากท่านกันค่ะ

เมื่อเข้าห้องเรียนในเช้าวันที่ ๗ พฤษภาคมนั้น ฉันก็พบว่าที่นั่งเรียนถูกสับเปลี่ยนใหม่แล้ว ที่นั่งของฉันถูกโยกมาอยู่ทางเดินริมสุดคนละซีกห้องกับทิศเดิม  โชคดีหน่อยที่ไม่ถูกโยกไปอยู่ด้านหน้าเกินไป ไม่งั้นคงเมื่อยคอหน้าดู ก็ฉันไม่คุ้นกับการนั่งแถวริมๆเลยอ่ะค่ะ นั่งทีไรรู้สึกมีปัญหากับคอตัวเองทุกทีไป

เป็นการโยกที่นั่งที่แปลกเพราะใช้การโยกทั้งแถวย่อยมานั่งที่ใหม่ ผู้คนที่นั่งใกล้กันจึงไม่เปลี่ยนแปลง ไม่รู้ที่โยกที่นั่ง คนโยกให้หวังให้เกิดอะไรขึ้น  บันทึกไว้เฉยๆ ไม่ได้อยากรู้คำตอบหรอกนะ

บรรยากาศในห้องเรียน   เช้าวันนี้โค๊ชหรั่งทำหน้าที่แนะนำวิทยากรค่ะ

เกริ่นแนะนำไปแล้วว่าวันนี้ได้ยินได้ฟังเรื่องที่ตื่นตาตื่นใจด้านประวัติศาสตร์  วันนี้เป็นครั้งที่ ๒ ที่ได้ยินคำว่า “ภูมิรัฐศาสตร์” หลังจากได้ฟังครั้งแรกจากปากลุงเอก 

ผู้ที่มาเล่าใช้ความเชี่ยวชาญของตนด้าน “ภูมิรัฐศาสตร์” นี่แหละค่ะรวบรวมเรื่องราวมาได้ 

เป็นวิทยากร ๑ ใน ๒ ท่านของวันนี้  มาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานีค่ะ

เรื่องที่ได้ฟังบอกว่าคำเรียกขาน “รัฐปัตตานี” ไม่ใช่เรื่องสมมติที่ตั้งขึ้นเพื่อเรียกร้องอดีต  เป็นเรื่องจริงที่หากนำมาเล่าด้วยสไตล์เล่านิยายให้ฟังจะทึ่ง อึ้ง และภูมิใจกับเมืองไทยขึ้นอีกมากมายนัก อีกทั้งยังมีหลายแง่มุมที่คนในยุคสมัยเข้าใจผิดเพี้ยน คลาดเคลื่อน

คลาดเคลื่อนอย่างไร เข้าใจผิดอย่างไร เล่าต่อๆกันมาเพี้ยนอย่างไร ฉันจะพยายามแกะรอยภาษาประวัติศาสตร์มาเล่าทีละน้อยๆแล้วท่านสรุปของท่านกันเองก็แล้วกันค่ะ  ว่าแล้วก็เริ่มแกะรอยมาเล่าซะเลยดีกว่าเนอะ

ยุคสมัยที่แกะรอยมาเล่านี้ขอย้อนไปเริ่มที่พ.ศ. ๒๔๗๖ ก่อนค่ะ ในตอนนั้น ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ยังไม่เป็นจังหวัด ซึ่งแม้จะยังไม่เป็นจังหวัด ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่เจริญนะคะ

เชื่อว่าถ้าเอ่ยชื่อต่อไปนี้หลายคนคงรู้หรือคุ้นหูอยู่แล้วและร้องอ๋อ จะเชื่อกันมั๊ยว่าสิ่งนี้คือหลักฐานของการมีอยู่ของรัฐโบราณอ่ะ ชื่อที่ว่า็คือ “ซาไก” “เซมัง” ไงค่ะ นี่คือเรื่องจริงที่นักภูมิรัฐศาสตร์ใช้เป็นหลักฐานยืนยันว่ารัฐโบราณมีจริงค่ะ

หลักฐานที่พบและเสริมให้เชื่อได้ว่าเมื่อย้อนไปถึงยุคสมัยก่อนหน้าอีกช่วงหนึ่งนั้น คนกลุ่มนี้เคยอยู่ร่วมกับคนโบราณของพื้นถิ่นใต้และคนโบราณเหล่านี้ก็เป็นบรรพบุรุษของผู้คนในถิ่นใต้ที่มีวิถีและวัฒนธรรมอันเจริญมาตั้งแต่เก่าก่อนก็คือ ภาพเขียนสีโบราณ ขวานหินที่พบในจังหวัดยะลา

ยุคสมัยที่ว่านี้คำนวณอายุแล้วโบราณกว่า ๓ พันปีที่ผ่านมาเชียวนะคะ ไม่น่าเชื่อเลยใช่มั๊ยว่า ความแก่ของประวัติศาสตร์ในพื้นถิ่นนี้จะยาวนานขนาดนี้

ใครบ้างหนอที่ไม่ภูมิใจกับพื้น ถิ่นที่มีสิ่งที่สังคมให้ค่าฝังอยู่ ถ้าเห็นด้วยว่าความภูิมิใจนี้ควรได้หล่อเลี้ยงความรู้สึกด้านดีๆไว้ตราบนาน เท่านานโดยไม่เบียดเบียนกันและกันเลย…ดีกว่าอื่นใดอยู่แล้ว…ก็ชวนให้ช่วยกันลงมือทำซะ…เริ่มที่ตัวเองก่อนใครอื่นนั่นแหละดีนักเชียว

การย้อนยุคไปพบหลักฐานนี้แหละค่ะที่ทำให้ได้รู้ที่มาของคำว่า “สุวรรณภูมิ” แล้วได้รู้ว่าชาวอาหรับ อินเดียเข้ามาในผืนดินไทยตั้งแต่ยุคโบราณแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นี้ก็คล้ายๆที่เคยเล่าเรื่องไว้เมื่อไปเรียนรู้นอกพื้นที่ที่จังหวัดอยุธยายังไงยังงั้น คือ การค้าขายทำให้คนพื้นถิ่นได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่ต่าง รับรู้ศาสนาที่ต่าง  การยอมรับได้กับศาสนาฮินดูเกิดขึ้นในยุคนี้

การได้รู้จักกันและทำการค้าต่อกันทำให้ค่อยๆก่อเกิดการตั้งถิ่นฐานบ้าน เรือนที่ปากแม่น้ำและบริเวณที่ทำการค้าต่อกันได้สะดวก ชายฝั่งในพื้นถิ่นกลายเป็นจุดนัดพบของนักเดินเรือที่ทำการค้า สุดท้ายบ้านเรือนก็ขยายตัวกลายเป็นเมือง

หากให้ระบุเวลาที่ชัดเจนเพื่อให้เห็นความต่อเนื่องของเวลาของเหตุการณ์ ที่เล่ามานี้ ก็ให้ตั้งหลักที่ พ.ศ. ๗๐๐ แล้วย้อนกลับไปอดีตอีกราว ๒ พันปีค่ะ เก่ามากๆเลย ใช่มั๊ยค่ะ

ชื่อเรียกแผ่นดินว่า  “สุวรรณภูมิ” ก็เกิดขึ้นในยุคนี้แหละค่ะ แปลจากชื่อก็หมายถึง “แผ่นดินทอง” เนอะค่ะ  หลักฐานที่พบว่าพื้นถิ่นนี้มีทองอยู่ซึ่งอธิบายที่มาของคำนี้อยู่ในภาพข้างบนนั่นแหละค่ะ

นี่คือเรื่องราวย่อยๆที่ได้ฟังมาในชั่วโมงเรียนค่ะ ถ่ายทอดและแบ่งปันโดยรอง ศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และอาจารย์ อิสมาอิล เบญจสมิทธิ์ นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น นักวิชาการอิสระ

ทั้ง ๒ ท่านมีสิ่งที่กำลังทำด้วยหลักคิดว่า “ความภูมิใจของพื้นถิ่นเป็นความภูมิใจร่วมของคนทั่วไป พื้นถิ่นปักษ์ใต้ที่มีอารยธรรมที่ต่อเนื่องยาวนานที่คนไทยสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ภูมิใจจึงควรเป็นความภาคภูมิใจร่วมของคนไทยทั่วไปด้วย”

หนังสือหลายๆเล่มที่ฉันถ่ายภาพมา การให้เกียรติมาเป็นวิทยากรในหลักสูตร สสสส.๒ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการลงมือทำของทั้ง ๒ ท่าน

สัมผัสที่ฉันรับรู้และรับฟังนี่แหละค่ะที่ทำให้ฉันทึ่งและอึ้ง ท่านกำลังเผยแพร่ความภูิมิใจของคนไทยกันอยู่นะคะ  ยิ่งรู้สึกดีกับถิ่นแดน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ยิ่งขึ้นไปอีกมากมายเลยค่ะเมื่อได้รับรู้เรื่องราว

สัมผัสนี้ทำให้เข้าใจหลักคิดของวิทยากรทั้ง ๒ ท่านชัดเจนแจ่มแจ้งเลยค่ะ  

ความภูมิใจทำให้เกิดการรับรู้และเรียนรู้ เกิดความเข้าใจและเกิดความเป็นเจ้าของประวัติศาสตร์ร่วมกัน  และความมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของนี้จะช่วยเพิ่มสันติและเพิ่มไมตรีที่มีต่อกัน ของผู้คนจากความเข้าใจนั้น....จริงๆนะคะ

ไม่ต้องหาึำตอบว่าจะไปทดลองเริ่มที่ใครเลยค่ะ เริ่มที่ตัวเองก่อนนี่แหละ  เมื่อความเข้าใจเกิดขึ้นอย่างจริงแท้แล้ว  กรอบความคิดบางอย่างจะถูกปอกทิ้งไป กลายเป็นความคิดและความรู้สึกใหม่ค่ะ

นี่คือสิ่งที่ ๒ ท่านกำลังช่วยกันทำให้เกิดเพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันค่ะ

การที่ ๒ ท่านลงมือช่วยกันทำเพราะท่านค้นพบปัญหา มีรายละเอียดอย่างไรอยู่บ้างของเรื่องนี้  ฉันจะพยายามย่อยมาเล่าพอสังเขปต่อไป

ที่ออกตัวว่าขอย่อยมาเล่าพอสังเขปก็เพราะประวัติศาสตร์ของถิ่นแดนนี้ เป็นเรื่องยาวกว่า ๕-๖ ตอนเชียวนะคะกว่าจะเข้าใจความเป็น “รัฐปัตตานี”

ใครใจร้อนอยากรู้เรื่องราวก่อน หาหนังสืออ่านเองได้นะคะ อาจารย์แจ้งว่ามีขายที่ศูนย์หนังสือจุฬาค่ะ

หมายเลขบันทึก: 365402เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2010 01:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายด้วยความระลึกถึง สบายดีนะคะ
  • วันนี้บุษราได้นำภาพดอกไม้สวย ๆ มาฝากกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                         

  • น้อง บุษราคนใจงามค่ะ
  • ขอบคุณที่ระลึกถึงและแวะมาส่งใจนะคะ
  • ช่วงนี้ชีพจรที่ตาตุ่ม
  • เต้นเร่าๆตลอดเวลาค่ะ
  • พี่เลยมีเวลาแค่ได้โฉบค่ะ
  • ........
  • มีความลับจะบอก
  • เวลาเหนื่อยๆนึกถึงห้องน้ำของน้อง
  • แล้วอดยิ้มกับจินตานาการที่เกิดไม่ได้
  • ยิ้มแล้วช่วยปลดความเหนื่อยไปบ้าง
  • ขอบคุณนะคะ
  • ........
  • ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท