หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ (๔๐) : สร้างได้ก็เปลี่ยนได้


สังคมไทยมีลักษณะเฉพาะคนมีเงิน มีอำนาจ จะรวมคนได้ ทำให้มีพละ ยึดประเทศได้ การมีกิจกรรมทำให้มีทางออกแก้คนชอบเทศน์คนอื่นไม่ลงไปทำ

ชั่วโมงเรียนในวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ มีอาจารย์อีกท่านหนึ่งมาแบ่งปันความรู้ ท่านนี้เป็นผู้รู้สำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์ใน ๓ จังหวัดภาคใต้ ชื่อของท่านคือ รศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี เรื่องราวที่ท่านนำมาเล่าเป็นเรื่องอัตลักษณ์ในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ความขัดแย้งและการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างในประเทศไทยในประเด็นสังคมการ เมืองและอัตลักษณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

อาจารย์เกริ่นเรื่องว่า การแก้ปัญหาความขัดแย้งรุนแรงถ้านักรัฐศาสตร์ไม่ช่วยมองถือว่าล้มเหลว ปัญหาทางใต้ก็เช่นกันนักรัฐศาสตร์ช่วยมองเพื่อให้แก้ปัญหาได้ เหรียญมี ๒ ด้าน สงบ-ขัดแย้ง ในทางการเมืองก็ผ่านมาอย่างนี้  แล้วก็เล่าเรื่อง ๒ ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยแต่ผ่านความรุนแรงมาแล้ว คือ ฝรั่งเศสและอินเดียให้ฟัง

ฝรั่งเศสที่ลูฟท์มีคนตาย ๔ หมื่น มีรูปขึ้นนักบวชอยู่ เป็นหลักฐานของการเกิดความรุนแรงที่ผ่านมาแล้ว เป็นต้นแบบให้เรียนรู้ได้

อินเดีย วัฒนธรรมคล้ายไทย มีพุทธ ฮินดู ฆ่ากันอุตลุดมาเหมือนกันตั้งแต่ภควัตคีตา มหากาพย์ ฮินดูฆ่ากันเอง มุสลิมเข้ามาก็ฆ่ากันอีก พุทธแทรกเข้ามาก็มีฆ่า คริสต์เข้ามาก็ฆ่ากันอีก จนความรุนแรงสูงมาก เกิดอหิงสาโดยคันธีจึงหลุดออกมาได้

อาจารย์ยกตัวอย่างนี้มาเล่าเพื่อให้เข้าใจ ว่า ความรุนแรงกับสันติเดินด้วยกันได้ถ้าเข้าใจมัน

บรรยากาศ ฝั่งผู้แบ่งปันความรู้

ในเรื่องของอัตลักษณ์ อาจารย์มีความเห็นว่า เป็นการนำการต่อสู้สูง รุนแรง มาสร้างตัวตนบางอย่าง ไม่ว่าศาสนา เป็นการถูกสร้างด้วยความคิดของคนที่ตกผลึก ลากไปเรื่อยๆ มันนำสู่ความรุนแรง

อาจารย์ชี้ว่า เมื่อถูกสร้างก็เปลี่ยนได้ ปรับได้ ปรับเปลี่ยนได้  เพื่อชวนมองความเป็นไทยที่คุยกันว่า เป็นชาติพันธุ์ที่หลงตัวเอง แต่จริงๆความเป็นไทยมีมากกว่านั้น ในเมื่อสร้างได้ก็เปลี่ยนได้

มีภาพบางอย่างที่อาจารย์ยกมาชวนมอง ภาพนั้นก็คือ ขวานทองของไทย อาจารย์เล่าว่า ภาพขวานทองเพิ่งถูกสร้างเมื่อไม่นาน ราวๆ ๑๐๐ ปี (ปี ๑๙๐๙) สนธิสัญญาไทย-อังกฤษ ดึงปัตตานีมาจากอังกฤษ เป็นด้ามขวาน ที่รัชกาลที่ ๕ จัดตั้งเป็นรัฐรูปแบบใหม่สำเร็จ ไม่ใช่ยาวนานเป็นพันปี

อาจารย์ย้ำว่าความเป็นชาติที่ถูกสร้างทำ ให้เปลี่ยนได้ จะได้ จะใส่อะไรเข้าไปในเพื่อใน จะเจาะจงอะไรไว้ จะเอาอะไรออก เพื่อให้นำไปพินิจใหม่

สำหรับความหลากหลายที่เพิ่มเข้ามา เช่น ปิดหน้าคลุมหน้า ยืนเคารพธงชาติ สามารถแรับได้ บอกว่าเปลี่ยน มีข้อคิด ใส่สิ่งดีๆเข้าไป ก็เปลี่ยนได้

อาจารย์ชวนพินิจอีกว่า สันติคือความรุนแรงน้อยที่สุด วิธีการสันติเป้นวิธีที่ดีที่สุด ความคิดว่าหน่อมแน้ม ขาวเนียน ขาวไม่จริง ถูกเหยียดเยาะ เป็นความคิดไม่จริง เพราะว่าแท้จริง ทำให้เกิดความยั่งยืน

บรรยากาศ ฝั่งผู้ร่วมเรียนรู้เมื่อถึงเวลาผ่อนคลายชั่วคราว

อาจารย์ยกตัวอย่าง อาฟริกาใต้จัดฟุตบอลโลก เปลี่ยนผ่านมาจนเดี๋ยวนี้เขาภูมิใจ เพราะว่าแต่ก่อนมีความรุนแรง ขัดแย้งกันมาก แล้วตบท้ายด้วย การมาถูกทางแล้วเกี่ยวกับทหารว่าแก้ด้วยสันติก็ใช่

แล้วอาจารย์ก็แลกเปลี่ยนรูปธรรมของปัญหา ภาคใต้แบ่งปันให้รู้ เรื่อง ของภาคใต้ “ภาษา” สำคัญมากในความเป็นอัตลักษณ์

คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ ๖๐% พูดภาษามลายูยาวี (มลายูถิ่น) ใช้ภาษาไทย ๑๗% มลายูไทย ๒๔% อื่นๆ ๐.๒% จีนน้อยมาก มีแค่ ๑ คนใน ๒,๔๖๒ คน เขียนและพูดไทยได้ ๑๐%  พูด อ่าน เขียนไทยได้ ๘๐% ชอบดูละคร (ดูดารา) ทำให้เปลี่ยนโลกทัศน์

อาจารย์ให้ข้อคิดว่า วัฒนธรรมถูกรุกผ่านสิ่งเหล่านี้หรือเปล่า ข้อมูลที่พบบอกว่าการปรับตัวปรับโลกของคน ๓ จังหวัดเกิดขึ้นไม่น้อย บอกให้รู้ว่า เอกลักษณ์ปรับเปลี่ยนได้

อาจารย์ยังให้ข้อมูลอีกว่าผู้คนในภาคใต้มี ประสบการณ์ที่มีคนรู้จักเสียชีวิต บาดเจ็บ ตาย ๒๕.๖%  ไม่เคยมีประสบการณ์ความรุนแรงเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบ ๖๒.๙ %   ส่วนสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ๓ ลำดับต้นๆ เกิดจากกลุ่มก่อการไม่สงบ ความรุนแรงต่อประชาชน ความยากจน ความยุติธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ

ในภาพรวมๆ ความยุติธรรมในทุกด้านเป็นปัญหาสำคัญที่สุด ซึ่งอาจารย์บอกว่า ชาติพันธุ์ ศาสนา ประวัติศาสตร์ที่ถูกกดทับมานานเมื่อผสมกับความยุติธรรมที่มีปัญหาแล้วทำให้ เกิดความรุนแรง นี้เป็นสัญญานบ่งว่าอัตลักษณ์เป็นเรื่องสำคัญในภาคใต้ ซึ่งนั่นหมายความว่า อัตลักษณ์เป็นเรื่องสำคัญในการแก้ปัญหา

อาจารย์แลกเปลี่ยนเพิ่มว่า การเมืองแห่งอัตลักษณ์ เป็นเรื่องใหญ่ทางประวัติศาสตร์ การแก้ปัญหามีหลายรูปแบบในการจัดการ เช่น การสร้างสันติ ประชาธิปไตย ยุติธรรมที่เป็นจริง จะช่วยแก้ปัญหาได้

อาจารย์ชี้ว่าปัญหาในส่วนกลางที่เกิดขึ้น ใช้แนวคิดนี้แก้ได้ด้วย

ในเรื่องการเลือกตั้ง อาจารย์เล่าว่ารูปแบบของไทย ราชการถอดแบบฝรั่งเศส มีผู้ว่าราชการจังหวัด มีนายกอบจ. ทำให้เกิดสถานะเสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกัน  การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นแบบญี่ปุ่น เดิมไทยเหมือนญี่ปุ่นก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ คือ ญี่ปุ่นยุบมหาดไทยหมด ย้ายไปท้องถิ่นหมด เพราะอเมริกายุบมาก ยุบกองทัพญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นมี ๒๖ อบจ. มีเทศบาล ฝรั่งเศสมีผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าฯ ถ่ายโอนหน้าที่ ภูมิภาคไทยต่างจากฝรั่งเศสตรงที่ ทุกคนเป็นนายตัวเองหมด ไม่ได้มีผู้ว่าราชการจังวัดเป็นนายคนเดียวเหมือนฝรั่งเศส

อาจารย์ให้ความเห็นว่าการกระจายอำนาจในไทย เพิ่งเริ่มเมื่อปี ๔๐ ถ้าถามว่าเดี๋ยวนี้ดีพอมั๊ย อาจารย์ตอบว่าดี แล้วถามกลับว่าควรดีกว่านี้หรือเปล่า

ที่อาจารย์ตอบว่าดี เพราะระบบราชการไทยอยู่ในลำดับ ๓ ของเอเซีย (สิงคโปร์อยู่ลำดับที่ ๑) ในสิ่งที่ดีกระทรวงหนึ่งปรับตัวเร็วมาก แต่กระทรวงอีกกลุ่มปรับตัวช้ามาก อาจารย์ทิ้งท้ายไว้ด้วยคำว่า “อย่างมองคนข้างบ้านสวย คนในบ้านแย่”

อาจารย์ต่อด้วยการชวนให้หาคำตอบต่อคำถาม “ทำยังไงการเมืองหรือระบบรัฐสภามีนักการเมืองกระจายตัว”  “พรรคการเมืองเป็นคณะบุคคลเสมอ จะทำงานเพื่อส่วนรวมได้ยังไง”

แล้วชวนพินิจสภาพการเมืองด้วยการเล่าว่า คนดีไม่เล่นการเมือง คนดีไม่ดีทั้งวัน เช้าดี บ่ายชั่ว นักการเมืองควรเป็นคนกึ่งๆดีชั่ว คนทำงานการเมืองต้องทำงานสกปรกเป็น ฆ่าคนอื่นเป็น องค์กรทางการเมืองฆ่าคนอื่นถูกกฏหมาย เป็นเทวดา-ซาตานในคนเดียวกัน กิจกรรมของคนหมู่มากทำให้คนมารวมกลุ่มทางการเมืองเพื่อสาธารณประโยชน์น้อย สมาคมรัฐศาสตร์เองก็ไม่ work การมีกิจกรรมมากๆทำให้มีพลเมือง เคล็ดลับในต่างประเทศอยู่ตรงนี้ มีสมาคม สมาคมดูแล กำหนดกติกากำกับ

 

สีของความคิดเมื่ออยู่ร่วมกันใน ๔ส๒. เกิดบรรยากาศอย่างที่เห็นในภาพนี่แหละ

ในส่วนของสังคมอาจารย์มีทัศนะว่า สังคมไทยมีลักษณะเฉพาะคนมีเงิน มีอำนาจ จะรวมคนได้ ทำให้มีพละ ยึดประเทศได้ การมีกิจกรรมทำให้มีทางออกแก้คนชอบเทศน์คนอื่นไม่ลงไปทำ

อาจารย์ชี้ว่า สันติวิธีควรเปิดความมีหลากหลาย การมีส่วนร่วม ความยุติธรรม การจัดการที่ถูกต้อง อาจรวมถึงเรื่องกฏหมาย ระมัดระวังให้มากกับการใช้กฏหมาย

แล้วอาจารย์ก็แนะนำให้รู้จัก deep south watch ก่อนจบลงด้วยการสรุปอัตลักษณ์คนไทยรายภาคไว้ว่า

คนอีสานวิ่งเข้าหาศูนย์ คนใต้หนีศูนย์ถอยกลับไปหาชาติวัฒนธรรม

หมายเลขบันทึก: 374472เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2010 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท