หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ (๔๖) : จำลองแบบประชาธิปไตยท้องถิ่นอย่างไรดี


การจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเองในชุมชน โดยควบคุมกันเอง ไม่ต้องมีพนักงานไกล่เกลี่ย เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมฝ่ายยุติธรรม การจัดการป่าชุมชน การมีเจ้าโคตร การมีผู้เฒ่าผู้แก่ตัดสินปัญหา การทอดผ้าป่าที่เอาเจ้านายเป็นประธานแข่งกัน เหล่านี้เป็นของเดิมที่มีอยู่ไซฟ่อนระบบโดยธรรมชาติ โดยวิถี การรักษาให้คงไว้ เป็นการเพิ่มภูมิต้านทานหรือเปล่า

บันทึกนี้ยังเป็นเรื่องที่อาจารย์วุฒิสาร ตันไชยแบ่งปันการเรียนรู้อยู่นะคะ

อาจารย์ได้เล่าตัวอย่างวิถีชีวิตประชาธิปไตยท้องถิ่นที่เข้มแข็ง การเคารพเหตุเคารพผล การพูดกันด้วยเหตุผล การยกไม่เก็บดอกเบี้ยคนใดคนหนึ่งก็ใช้เหตุผลอภิปรายในกลุ่ม มีอยู่แล้ว แต่เริ่มไม่เข้มแข็งเพราะมีสิ่งจากข้างนอกเข้าไปเยี่ยมมากขึ้นให้ฟัง เช่น สัจจะออมทรัพย์ที่ตกลงกันเรื่องออมเดือนละ ๕ บาท วันละบาท เดือนละ ๓๐ บาท สิ้นปีดีใจเก็บเงินได้แล้วจะได้กู้กันปีละ ๓,๐๐๐ บาทที่หล่นโครม กระบอกไม้ไผ่ไม่มีความหมาย ก็เป็นจากมีการเติมจากภายนอกใส่ลงไปทำลายเสน่ห์ของมัน

การคอรัปชั่นท้องถิ่น ๑๐-๒๐% ที่รู้สึกธรรมดา เมื่อพูดถึงระดับ ๓๐% กลับเป็นเรื่องพิเศษ ทั้งๆที่ควรจะรู้สึกตั้งแต่ ๑๐% อย่างนี้ก็ใช่

การจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเองในชุมชน โดยควบคุมกันเอง ไม่ต้องมีพนักงานไกล่เกลี่ย เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม การจัดการป่าชุมชน การมีเจ้าโคตร การมีผู้เฒ่าผู้แก่ตัดสินปัญหา การทอดผ้าป่าที่เอาเจ้านายเป็นประธานแข่งกัน เหล่านี้เป็นของเดิมที่มีอยู่ ไซฟ่อนระบบโดยธรรมชาติโดยวิถีอยู่แล้ว และเป็นอะไรที่ถูกบ่อนทำลายมากขึ้นอย่างนี้ก็ใช่

อาจารย์ว่าทั้งหมดทั้งสิ้นมีเหตุมาจากภูมิต้านทาน

อาจารย์เล่าให้เห็นแนวโน้มว่าระบบเหล่านี้กำลังเลียนแบบประชาธิปไตยระดับชาติ  วันนี้นายกท้องถิ่นก็ประชานิยมกว่าและกว่า 

อาจารย์ย้ำว่าประชาธิปไตยแบบนี้ยิ่งพัฒนาขึ้นประชาชนยิ่งอ่อนแอ  แต่อาจารย์ก็เห็นมุมว่าถ้านำไปสร้างเงื่อนไขกับประชาชน นักการเมืองที่ใช้ก็จะสอบตกเพราะคู่แข่งจะอาสาประชาชนทำให้หมด

ข้อวิเคราะห์ของอาจารย์คือ ระบบการเมืองแบบนี้เกิดจากความขาด

อาจารย์สรุปว่า ด้วยเหตุนี้ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาลก็ต้องทำนโยบายประชานิยมที่อาจจะไม่ใช่นโยบายที่ดีแต่เลิกไม่ได้เยอะ ดีแต่เลิกไม่ได้ ไม่ดีแต่เลิกไม่ได้เยอะ หลายเรื่องเป็นนโยบายที่อาจจะไม่เหมาะสมเลยแต่เลิกไม่ได้เพราะให้ไปแล้ว 

เหล่านี้เกิดขึ้นเพราะไปเติมสิ่งที่ชาวบ้านขาด เติมโดนใจ การเมืองก็เดินไปอย่างนี้ ฉะนั้นนโยบายการเมืองต่อไปจะเป็นนโยบายที่ให้ ท้องถิ่นก็ให้

อาจารย์ชี้ว่าการที่ประชาชนไม่เคยตั้งคำถามว่าเงินที่ให้เอาจากที่ไหน เห็นว่าเงินนี้ไม่ใช่ภาษีของตัว ในขณะที่หลายประเทศรู้ว่าภาษีอยู่ตรงนี้  รู้ว่าเอาภาษีไปทำอะไรกับตัวเอง ทำให้ระบบความเป็นเจ้าของในเชิงทรัพยากรไม่มี เพราะไม่รู้ว่าจ่ายแล้วเอาไปไหน และทำให้กลายรูปแบบจากการไม่เป็นทางการเป็นรูปแบบสถาบัน

และนี่คือเรื่องราวที่อาจารย์ชี้ว่าการทำให้การเมืองท้องถิ่นเข้มแข็งจึงเป็นเรื่องทำได้ยากมาก เพราะคนจำลองระบบเหมือนกัน

อาจารย์แบ่งปันว่า ความจริงเรื่องของการปกครองท้องถิ่น มีหลักความเชื่อว่าการปกครองท้องถิ่นคือการดูแลตัวเอง

การเอาอำนาจการแก้ปัญหาไปไว้ใกล้ปัญหา ไปให้กับเจ้าของปัญหา โดยระบบโครงสร้างเป็นการปกครองของประชาชนก็แปลว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ  

กลไกที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจมีหลายแบบ ผ่านระบบการเลือกตั้ง ระบบประชาคม ระบบประชาพิจารณ์ ระบบการถอดถอน  ระบบเสนอข้อบัญญัติ มีอยู่หมด

ฉันเพิ่งรู้วันนี้เองว่าในเมืองไทยการถอดถอนทำได้โดยตรงโดยประชาลงมติถอดถอนโดยไม่ต้องมีเหตุ แค่จำนวนหนึ่งยื่นให้ผวจ. ผวจ.ส่งให้กตต. กตต.สั่งให้คนที่ถูกถอดถอนชี้แจงเสร็จ ก็จัดมติถอดถอนเลย ลงเสียง ๓ ใน ๔ ของผู้มีสิทธิที่มาเลือกตั้ง โดยผู้มาลงเสียงเลือกตั้งมีเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ก็ไปเลย รวมตัดสิทธิทางการเมือง ๕ ปี 

เพิ่งเห็นมุมมองว่าเรื่องเหล่านี้เป็นการมอบบทเรียนประชาธิปไตยให้กับประชาชนด้วย จากเรื่องเล่าของอาจารย์นี้เอง  เรื่องพวกนี้มีตัวอย่างมาก่อน เช่น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ตามพ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารที่เคยสร้างความหงุดหงิดให้ข้าราชการ การฟ้องศาลปกครองที่เคยถูกมองว่าอะไรก็รับฟ้องยันเลย แล้วในทางปฏิบัติก็ทำให้มีความระมัดระวังมากขึ้น  พฤติกรรมดีขึ้น เหล่านี้แหละค่ะ เป็นเรื่องการปลูกฝังแนวคิดประชาธิปไตยระดับชุมชนด้วย

อาจารย์บอกว่าประชาธิปไตยในชุมชนกำหนดสิทธิของผู้สมัครผู้บริหารท้องถิ่นต้องเป็นคนในชุมชน เป็นคนนอกไม่ได้ ไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่การปกครองเพื่อประชาชน

มีตัวอย่างอย่างนี้ค่ะ สำหรับประชาธิปไตยท้องถิ่น ถ้าแยก ๒ คำ นักการเมืองท้องถิ่น กับ ผู้บริหารท้องถิ่น นักการเมืองจะไม่ทำอะไรเลยถ้าไม่ได้เสียง แม้ว่าสิ่งนั้นต้องทำ  นักบริหารท้องถิ่นต่างไปที่ทำให้ทุกคนเท่ากันในสิ่งที่ต้องทำ คนที่เข้ามาเป็นนายกด้วย ๓,๐๐๐ เสียง เมื่อได้เป็นแล้วก็เป็นนายกของคนทั้งหมดอย่างนี้นี่แหละค่ะ คือ มุมมองเรื่องการปกครอง

อาจารย์ย้ำว่า การเมืองแบบนี้ถ้าสร้างให้การเมืองระดับท้องถิ่นเห็นก็จะเป็นตัวอย่างของการเมืองระดับชาติ

ที่คิดเห็นอย่างนี้ เพราะในความเป็นไปเวลานี้ ระบบท้องถิ่นเป็นแบบจำลองของการพัฒนาประชาธิปไตยที่มีความสมบูรณ์ทั้งในเชิงมิติโครงสร้างและรูปแบบครบเท่าระดับชาติ และมีมากกว่าระดับชาติที่มีความสัมพันธ์ใกล้กว่า จับต้องได้ซึ่งกันและกันมากกว่าระหว่างการเมืองกับประชาชน

นี่แหละคือสิ่งที่อาจารย์มองมุมบวกว่า ถ้าพัฒนาดีจะเป็นแบบจำลองที่ดีให้ประชาชนเข้าใจการใช้อำนาจและใช้สิทธิ 

ส่วนในเรื่องของการซื้อเสียงในระดับท้องถิ่นที่รุนแรง อาจารย์เห็นว่า ที่จริงมีระบบตรวจสอบ ระบบการเฝ้าดู ระบบความสัมพันธ์ ระบบการรู้จักกันในชุมชนอยู่  ถ้าแก้ปัญหาของสิ่งเหล่านี้ได้ การเมืองจะถูกหล่อหลอมไปในทิศที่ต้องการได้

หมายเลขบันทึก: 387208เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2010 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

*** แวะมาชื่นชม ... ถ้าพัฒนาดีจะเป็นแบบจำลองที่ดีให้ ประชาชนก็จะเข้าใจการใช้อำนาจและใช้สิทธิ ได้

*** เป็นกำลังใจให้นะคะ

คนเราหากสำนึกในหน้าที่มากกว่าเรียกร้องสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตยก้คงไม่ไกลเกินจะไขว้คว้า นักวิชาการบอกสองามวันที่ผ่านมาว่า ภาคอิสานซื้อเสียงมากที่สุด คงจะจริง เพราะผมอยู่อิสานก้เป็นอย่างงั้นจริง ไม่เคยไปสัมผัสเลือกตั้งภาคอื่นไม่รู้เป็นงัย แต่คนมาซื้อเสียงคือนักการเมือง ประชาชนไปได้ไปถามซื้อเหมือนซื้อไข่ที่ตลาด เพราะฉะนั้นการซื้อสิทธิขายเสียง ก้เป้นเหตุการที่เกิดขึ้นจากทั้งสองฝ่าย ส่วนความอยากได้ใครเท่านั้นแหละที่จะมากกว่ากัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท