หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ (๔๗) : บทเรียนสำคัญที่ควรคงไว้


การฝักฝ่ายไม่เอื้อประโยชน์ในการขับเคลื่อนและพัฒนาประชาธิปไตยในชุมชน เพราะการเลียนแบบทำตามระดับชาติมากเป็นฝักฝ่ายถาวรซึ่งไกลมากเป็นเรื่องไกลไปสำหรับชุมชน

ฉันยังขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับประชาธิปไตยชุมชนที่ได้รับการแบ่งปันจากอาจารย์วุฒิสาร ตันไชยมาเล่าให้ฟังนะคะ

ประชาธิปไตยท้องถิ่นเป็นบทเรียนสำคัญของประชาชน เงื่อนไขที่ยังไม่สามารถทำให้เกิดความเป็นเจ้าของได้ คือ การปฏิรูปทางการคลังที่จะทำให้ท้องถิ่นมีภาษีเป็นของตัวเองมาก เก็บเงินแล้วตรวจสอบกันเองได้ ระบบคลังยังไม่เอื้อให้ท้องถิ่นดูแลตัวเองได้จริง ภาษีที่เก็บได้เองเพียง ๙% เพราะโครงสร้างภาษีไม่เอื้อให้มีรายได้ ภาษีที่เก็บเองมาจากภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย ภาษีอากรฆ่าสัตว์และค่าธรรมเนียม ภาษีบำรุงท้องที่ 

ฉันเพิ่งรู้อีกนะแหละว่าป้ายที่เขียนผสมภาษาจ่ายค่าภาษีแค่ครึ่งเดียว แล้วยังมีกฎหมายเรื่องการไม่รื้อผักตบชวาหน้าบ้านแต่เอาน้ำมันก๊าดราดแล้วมีความผิดตั้งแต่ปีที่ขึ้นต้นด้วยปี ร.ศ. และมีกฎหมายที่เก่าขนาดเป็นโบราณวัตถุได้ อย่างเช่น กฎหมายเดินเรือในน่านน้ำไทยที่เขียนเวลาไว้ว่าปีพระพุทธศักราช

 

a1

อาจารย์เสนอความเห็นว่ากฎหมายที่เป็นประโยชน์กับท้องถิ่นต้องปฏิรูปการคลัง ต้องทำให้ประชาชนเป็นเจ้าของ เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ จะทำให้ระบบประชาธิปไตยท้องถิ่นเข้มแข็งขึ้นเยอะ ระบบยังไม่เอื้อไม่เข้มแข็งเพราะว่ามีแต่ระบบตรวจสอบ และระบบความต้องการ (demand)

แล้วเติมมุมมองว่าระบบประชาธิปไตยท้องถิ่นแตกต่างจากประชาธิปไตยระดับชาติมากตรงเรื่องมีsocial control และ การแซงชั่น เป็นเครื่องมือทางสังคม การทำงานแบบ watch dog เป็นเรื่องสำคัญ 

ในเรื่องของการหาเสียง อาจารย์มีมุมมองแลกเปลี่ยน ลองตามเรียนรู้กันค่ะ  อาจารย์เห็นว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาเพราะว่า องค์กรท้องถิ่นเป็นองค์กรการเมือง การทำอะไรจึงหาเสียงไปด้วย

การตรวจสอบที่เข้าใจธรรมชาติ เชื่อระบบการเมือง เชื่อว่าประชาชนตรวจสอบได้ เข้าใจธรรมชาติขององค์กร จะนำไปสู่ความเข้าใจเรื่องการให้สิทธิประชาชนตามกฎหมายเช่นเรื่องการจัดหาแว่น แจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ว่าเป็นเรื่องการซื้อเสียงที่ถูกกฎหมาย  ถ้าเข้าใจว่าองค์กรการเมืองสามารถหาเสียงได้ แต่ระบบจะเป็นผู้ตัดสิน ประชาชนตรวจสอบเองได้    เข้าใจความเป็นธรรมดาว่าไม่ว่าการเมืองระดับไหนก็ต้องทำหาเสียง เป็นองค์กรการเมืองต้องหาเสียง เพื่อแสดงตัวให้คนเห็นว่าทำอะไร ปล่อยให้ประชาชนตัดสินใจ ให้ระบบตัดสินใจ องค์กรราชการที่ทำหน้าที่ตรวจสอบก็ไม่ต้องยุ่งไปทุกเรื่อง

a2

ความต่างอีกมุมที่อาจารย์นำมาแบ่งปัน คือ เรื่อง ประชาธิปไตยท้องถิ่นจำลองโครงสร้างมาจากระดับชาติ อย่างมีความสมบูรณ์เท่า ต่างกันก็แต่ มีกลไกหลายเรื่องที่สั้นกว่า เช่น ถอดถอนนี่ไปเลย กลไกหลายเรื่องเป็นประชาธิปไตยทางตรงที่มีกลไกสั้น และยังมีมิติทางสังคมที่มีส่วนทำให้ประชาธิปไตยมีความแตกต่าง มีความยืดหยุ่นในตัว มีการตรวจสอบกันเอง มีการสื่อสารที่ใกล้  มีปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ มีการตอบสนองในความเร็วที่ต่างและเป็นมิติที่ใหญ่มากต่างจากระดับชาติ

อาจารย์ชวนใ้ห้ลงมือทำ ถ้าคิดว่าประชาธิปไตยท้องถิ่นสำคัญในแง่เป็นพื้นฐานขับเคลื่อนให้ระดับชาติเข้มแข็ง มีสิ่งที่ต้องทำเหมือนกันคือ การเติมภูมิต้านทานในมิติเรื่องคุณค่าที่กำลังถดถอย

อาจารย์ไม่ค้านเรื่องการฝักฝ่าย แต่มองว่าไม่เอื้อประโยชน์ในการขับเคลื่อนและพัฒนาประชาธิปไตยในชุมชน เพราะการเลียนแบบทำตามระดับชาติมากเป็นฝักฝ่ายถาวรซึ่งไกลมากเป็นเรื่องไกลไป 

a3

อาจารย์ยังเห็นว่าการทำตามพระราชปณิธานของร.๗ สามารถทำได้ ถึงแม้จะทำยาก ทำได้โดยเพิ่มความแข็งแรงของความสัมพันธ์เชิงสังคมมาช่วยให้มาก นี่แหละค่ะคือหนทาง

จบชั่วโมงแล้ว พี่จุกก็ขออนุญาตให้หลวงพี่ เพื่อนร่วมรุ่น อวยพรวันเกิดให้อาจารย์ หลวงพี่ได้ให้พรและมอบหนังสือธรรมให้อาจารย์ พร้อมทั้งอวยพรวันเกิดให้เพื่อนคนอื่นๆที่เกิดในเดือนพฤษภาคมนี้อีกหลายคนไปพร้อมกัน แล้วการเรียนวันนี้ก็จบลง

หมายเลขบันทึก: 387216เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2010 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท