หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ ดูงานต่างประเทศ (๒๕) : อินเดีย - เก็บเกี่ยวมุมคิดก่อนไปดูงานเมืองใหม่


ช่องของ สตรีแทนที่จะขอให้ยืนตรวจแบบง่ายๆเหมือนบ้านเรา เขาให้เกียรติแฮะ มีห้องมิดชิดเหมือนห้องลองเสื้อในห้างให้เข้าไปแอบก่อนเขาจะลูบตัว กระเป๋าถือที่ติดตัวไปเขาให้วางบนรางผ่านเอ็กซเรย์ เมื่อให้ผ่าน tag ที่แขวนกระเป๋าไว้จะได้รับการ stamp เป็นหลักฐาน

เมื่อพวกเราออกเดินทางไปสนามบิน เส้นทางใหม่ที่รถพาเราผ่านมีอะไรให้เห็นและฉุกใจ

ที่ฉันเคยเล่าไปก่อนหน้าว่าไกด์บอกว่าที่ โกลกาตาไม่แยกขยะรีไซเคิลน่าจะไม่จริงแล้วมั๊ง ความจริงน่าจะเป็นว่ามีการรีไซเคิลบ้างแล้ว หากแต่น่าจะยังน้อยอยู่ และจัดการไม่ง่ายมากกว่า  ก็ริมทางนั้นฉันเห็นบางพื้นที่ของหมู่บ้านมีพลาสติกและถุงขยะกองสุมอยู่ เกลื่อนคล้ายๆการแยกขยะไว้ขายในบ้านเรา

ในที่ลุ่มที่เห็นขยะเกลื่อนอยู่นั้น ฉันกำลังเดาใจว่าเขาใช้ขยะถมที่ลุ่มให้เป็นผินดินเหมือนบ้านเราที่ใช้ขยะถม ทะเลแบบหลายจังหวัดชายทะเลอยู่หรือเปล่าหนอ  ใครรู้จะเมตตามาเพิ่มข้อมูลให้หน่อยก็ดีนะคะ

สำหรับขยะสดก็มีการจัดการเช่นกัน ไม่งั้นคงไม่เห็นขยะสดรวมศูนย์แล้วกลายเป็นแหล่งอาหารให้วัวหรอกนะคะ

ได้ยินว่าขยะพลาสติกที่เกลื่อนถนนก็สร้างปัญหาทำให้วัวในอินเดียกินเข้าไปแล้วตายด้วย แต่ไม่รู้ที่เมืองไหน

 

ที่เห็นอยู่นี้กำลังชวนกันย้ายเมืองอยู่นะคะ

 

ภาพที่เห็นนี่แหละทำให้เปลี่ยนความคิดเรื่องการรีไซเคิลขยะในโกลกาตา

ที่เห็นนี่เป็นคลินิคแพทย์หรือร้านขายยาก็ไม่รู้ฮะ

หน้าร้านมีเครื่องหมายกากบาทสีแดงอยู่ ป้านร้านเขียนว่า Medicine Corner

 

เวลาที่เดินทางกันอยู่ไม่ถึงแปดโมงเช้า ถนนจึงว่างอย่างนี้

ไปถึงสนามบินฟ้าใสที่เห็นก่อนออกจากรีสอร์ทก็ครึ้มเมฆฝน ทุกคนช่วยกันจัดการสัมภาระท้ายรถ แล้วเดินไปเข้าคิวตรวจสัมภาระภายในอาคารขาออก  สนามบินเขาเข้มงวดเรื่องถ่ายภาพ ก็เลยไม่มีภาพมาให้ดู

มีเด็กหนุ่มกลุ่มหนึ่งมาช่วยขนกระเป๋าไปส่งที่สะพานเอ๊กซเรย์ แล้วที่ตรงนี้แหละที่แต่ละคนต้องดูแลสัมภาระของตัวเอง กระเป๋าทุกชิ้นต้องติด tag เตรียมไว้ให้เจ้าหน้าที่ปั๊มลงเวลาตรวจ ใครที่ลืมติด tag ต้องกลับมาเข้าคิวใหม่ ใครที่เจ้าหน้าที่สงสัยอยากดูกระเป๋าก็ต้องกลับมาเปิดให้ดู

ไม่รู้เขาสงสัยอะไรกับกระเป๋าพี่วิชช์ (ดร.วิชช์ จีระแพทย์) ขอเปิดดู  เพียงแค่สงสัยกระเป๋าใบเดียว พวกเราก็ต้องรอกันแล้ว จนกระทั่งกระเป๋าทุกใบผ่านเอ๊กซเรย์  จึงพากันไปเช็คอินขอที่นั่งกัน

 

บริเวณรอบนอกของสนามบินโกลกาตาที่มีการก่อสร้าง

บอกให้รู้ว่าอินเดียเริ่มขยับตัวเรื่องการท่องเที่ยวให้เร็วขึ้นหรือเปล่า

 

บรรยากาศมะรุมมะตุ้มเมื่อรถจอดลงหน้าอาคารผู้โดยสารขาออก

ได้บัตรขึ้นเครื่องแล้วก็ชวนกันเดินเป็นงูกินหางไปยังช่องผ่านเข้าไปยังห้องรอขึ้นเครื่อง เขาแยกทางเดินเข้าแยกช่องแต่ละเพศ

ช่องของสตรีแทนที่จะขอให้ยืนตรวจแบบง่ายๆเหมือนบ้านเรา เขาให้เกียรติแฮะ มีห้องมิดชิดเหมือนห้องลองเสื้อในห้างให้เข้าไปแอบก่อนเขาจะลูบตัว 

กระเป๋าถือที่ติดตัวไปเขาให้วางบนรางผ่านเอ็กซเรย์ เมื่อให้ผ่าน tag ที่แขวนกระเป๋าไว้จะได้รับการ stamp  เป็นหลักฐาน

ห้องรอขึ้นเครื่องของที่นี่อยู่ชั้นบน ชั้นล่างมีบูทขายเครื่องดื่มและขนมซอง หลายคนที่หิวกาแฟก็แวะไปอุดหนุน  คนที่อยากสำรวจสถานที่ก็เดินสำรวจกันไป คนที่อยากนั่งก็พาตัวขึ้นไปชั้นบน

หลายๆสถานที่ที่ผ่านมามักจะเห็นสตรีน้อย ที่นี่ต่างออกไปเล็กน้อย จำนวนสตรีที่เห็นมีจำนวนมากกว่าที่ที่เคยผ่านตา ส่วนใหญ่ที่เห็นเป็นพนักงานที่ต้องทำหน้าที่กับสตรีและทำความสะอาดห้องน้ำ  อ้อ….พนักงานที่เคาน์เตอร์เช็คอินเป็นสตรีเป็นส่วนใหญ่เหมือนบ้านเรา

 

อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ยานพาหนะเหล่านี้ต้องใช้

มีอะไรมั๊ยที่อินเดียต้องพึ่งพาแล้วสิ่งนั้นไทยเราสามารถผลิตเพื่อส่งออกอยู่บ้างมั๊ยนะ

๖ สิงหาคม ๒๕๕๓

หมายเลขบันทึก: 398266เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2010 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับคุณ หมอเจ๊ แซ่เฮคนงาม

ติดตามมาเที่ยวอินเดียอีกหนึ่งตอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท