หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ ดูงานต่างประเทศ (๒๙) : อินเดีย-ตื่นเต้นที่ได้เจอตัวจริง


เขาเล่าว่าการควบคุมการก่อการร้ายที่นี่ใช้กำลังทหารด้วย เขาให้เหตุผลว่าใช้เพื่อควบคุมสถานการณ์ ไม่ได้ใช้เพื่อเผชิญหน้า

ระหว่างรอให้ผู้เชี่ยวชาญมากันครบ พวกเราก็มีการเล่นเก้าอี้ดนตรีสลับเก้าอี้กันหลายรอบ จนกระทั่งมีชายคนหนึ่งเดินเข้ามาในห้องด้วย ไม่รู้ว่าเป็นใครหรอก จนกระทั่งการสานเสวนาอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้น ลุงเอกแนะนำว่าชายดังกล่าวคือ ท่านทูตพลเดช วรฉัตร พอได้ยินชื่อฉันหูผึ่งเลยเชียว คุ้นๆว่าเคยได้ยินชื่อนี้มาก่อน นึกไปนึกมาก็อ้อ…เคยผ่านตาเห็นท่านใน G2K นี่เอง

ไม่เคยคุยกันผ่านบล็อก ได้แต่แอบรู้จักท่าน วันนี้เจอตัวจังๆ  ด้วยศักดิ์และฐานะของท่าน ไม่กล้าเข้าไปทักทายเลยอ่ะ ได้แต่แอบลุ้นเท่านั้นเองว่าจะมีโอกาสได้คุยกับท่านบ้าง

ระหว่างการสานเสวนาดำเนินไป ฉันไม่รู้เลยว่ามีเพื่อนๆป่วย มาูรู้อีกทีก็มีบางคนหายไปแล้ว รู้มาภายหลังว่าชวนกันไปนอนพักที่สถานทูต รอกันอยู่ที่นั่น

 

ตอนเดินเข้าไปเป็นบรรยากาศอย่างนี้ เจอบรรยากาศในห้องเป็นอีกอย่าง เผลอสนุกนอนดึกกันมาก่อนด้วย เลยเดี้ยงกันไปหลายคน

ท่านทูตให้เกียรติเรามาก อยู่ร่วมฟังการสานเสวนากับเราด้วยจนกระทั่งการแลกเปลี่ยนในห้องประชุมจบลง ก่อนที่ท่านจะผละไป ท่านบอกว่าไว้ไปที่สถานทูตแล้วจะมีรายละเอียดมาเล่าให้ฟัง

ทีมนักวิชาการที่มาคุยให้เราฟัง เขามีข้อมูลเชิงลึกในหลายแง่มุมในงานของเขาจริงๆ  เขาจับเอาภัยคุกคามออกมาแตกเป็นประเด็นให้เราฟังได้เป็นฉากๆ  ทั้งเรื่องแคชเมียร์ ลัทธิเหมา  การก่อความไม่สงบในทุกแคว้น

เขามีผู้เชี่ยวชาญตามเรียนรู้ ตามวิเคราะห์เหตุการณ์หมดทุกพื้นที่  เขาไม่ได้แค่วิเคราะห์เพื่อใช้สอนเท่านั้น แต่เขาทำหน้าที่เป็นคลังสมองให้ข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาลด้วย และรัฐบาลก็ฟังเขาด้วย และรัฐบาลก็ไม่ได้ทำตามเขาไปทุกเรื่องหรอก

ความเป็นองค์กรอิสระของเขา ไม่ได้ใช้งบประมาณหนุนจากรัฐบาล แต่เป็นงบแบบกองทุนบริหารจัดการในรูปมูลนิธิซะมากกว่า

เขาเล่าว่าการควบคุมการก่อการร้ายที่นี่ใช้กำลังทหารด้วย เขาให้เหตุผลว่าใช้เพื่อควบคุมสถานการณ์ ไม่ได้ใช้เพื่อเผชิญหน้า

เขาพูดชัดว่าการใช้กำลังทหารจำเป็นสำหรับการมีภัยคุกคามลักษณะนี้

 

ในการแลกเปลี่ยน สานเสวนา ท่านทูตพลเดช วรฉัตร  มานั่งเป็นกำลังใจให้เราด้วย

อินเดียมีจุดดูแลความมั่นคงอยู่รอบตัว ๔ จุด ทุกจุดเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ และเป็นเมืองท่าริมฝั่งมหาสมุทรอินเดีย โกลกาตาที่เราผ่านไปดูงานมาแล้วเป็น ๑ ใน ๔ จุดที่มีหน่วยความมั่นคงตั้งอยู่  อีก ๓ จุดอยู่ที่ เจนไน ไฮเดอราบัด และ มุมไบ

นอกจากหน่วยงานความมั่นคงที่อยู่ตรงจุด ยุทธศาสตร์แล้ว เขายังจัดระบบการข่าวที่รวดเร็วไว้ด้วย ในภาษางานของฉันเรียกมันว่า SRRT หรือ survellance rapid response team ทำหน้าที่เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วเรื่องการข่าวค่ะ  เร็วในการลงไปพื้นที่ เพื่อค้นหาคำตอบของเหตุการณ์ หน้าที่สืบข่าวเพื่อวิเคราะห์ต้นเหตุและลงมือแก้ให้ทันท่วงทีเป็นของคนในทีม นี้

ระบบการข่าวที่เร็วของอินเดียเขามีระบบ คล้ายๆการทำงานแบบ SRRT ของฉัน เขามีหน่วยงานที่เรียกว่า หน่วยสอบสวนกลางแห่งชาติทำหน้าที่บัญชาการ มี quick response Team และ special intervention unit ทำงานอยู่ในรัฐต่างๆ คอยตอบโต้การก่อการร้ายให้ทันท่วงที มีระบบประสานงานด้านการข่าวจากรัฐบาลแห่งรัฐไปยังรัฐบาลกลางด้วย

การตอบโต้เพื่อลดอิทธิพลความเชื่อของลัทธิเหมาเขาใช้วิธีพัฒนาพื้นที่และแก้ไขปรับปรุงวิธีประสานงานระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐพื้นที่

 

คุยกัน ๒ ชั่วโมง มอบของที่ระลึกแล้วย้ายมาคุยตัวต่อตัวก่อนลากลับ

เขาเลี้ยงเราง่ายๆดี มีแค่บิสกิตหยิบเอาเอง ชงกาแฟ-ชาเอง

เรื่องที่เขาเล่าว่าท้าทายที่สุดเ็ป็นเรื่องปากีสถาน ประสบการณ์จากการมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับปากีสถาน และบทเรียนจากการก่อการร้ายทำให้เขาหันมามองว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กับประเทศเพื่อนบ้านเป็นเรื่องสำคัญ

วันนี้ทิศทางของการเมืองและการพัฒนาประเทศของอินเดียจึงคิดถึงการปรับ ดุลยภาพของการมีความสัมพันธ์ร่วมกันมากขึ้นไม่ลำเอียงเข้าข้างใครข้างใดข้างหนึ่งเกินไป

ฟังเขาแล้วรู้เลยว่าเพื่อนบ้านตามพรมแดนอย่างเช่นพม่า บังคลาเทศ และปากีสถานสอนบทเรียนด้านการเมืองให้อินเดียเกิดปิ๊งแง่มุมใหม่ในการพัฒนาประเทศและกำหนดนโยบายทางการเมือง การสานสัมพันธ์ที่มากขึ้นกับเพื่อนบ้านเหล่านี้จึงเกิดขึ้น

เรื่องที่ยากที่อินเดียมองอยู่คือบทบาทของอเมริกาที่ยื่นมือเข้ามายุ่งกับการจัดการเรื่องการก่อการร้าย

รับรู้วิธีคิดของคนอินเดียระดับมันสมองที่ นี่แล้ว ต้องร้องเฮ้อในใจ ทำไมไม่เห็นบ้านเรามีระบบงานวิชาการที่เป็นคลังสมองเพื่อประเทศบ้างเลย บ่นแล้วก็นึกขึ้นมาได้ ไม่ใช่ซิ บ้านเรามีนี่ไงคนหนึ่งในคลังสมองบ้านเรา

ลอดแว่นมองวิธีคิดของอินเดียด้านความมั่นคงผ่านภูมิรัฐศาสตร์

๖ สิงหาคม ๒๕๕๓

หมายเลขบันทึก: 401126เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2010 07:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ท่านเอกชัยหรือลุงเอกได้แนะนำให้รู้จักหมอเจ้โดยบอกว่า นี่ไงหมอเจ้ จากบล๊อค G2K

ก็รู้สึกดีใจที่ได้พบกับสมาชิกเว๊บบล๊อคเดียวกัน แต่เนื่องจากนักศึกษาพระปกเกล้าคณะนี้มีจำนวนมาก เลยไม่ทันได้สนทนาอะไรมากมาย จึงได้บอกว่า

เอาไว้เย็นนี้เจอกันที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตนะครับ ซึ่งจะได้ให้การต้อนรับ บรรยายสรุปและเลี้ยงอาหารค่ำให้ด้วย

ก็รอหมอเจ้ คนสวย แซ่เฮเล่าต่อครับ

 

  • ท่านทูต พลเดช วรฉัตร ค่ะ
  • มีอะไรที่หมอเจ๊ฟังมาเล่าเพี้ยน
  • ขอพึ่งท่านช่วยเตือนให้แก้ไขด้วยค่ะ
  • ...............
  • ไม่ใคร่มีเวลามากนัก
  • บันทึกเลยทะยอยเล่าเรื่อยๆค่ะ
  • ...............
  • ขอบคุณค่ะ

คุณหมอครับ

ต้องขอชื่นชมคุณหมอเจ้นะครับที่อุตสาห์นำเรื่องมาเล่าเป็นข้อมูลสำหรับนักศึกษาคนอื่นและผู้สนใจด้วย

ในรุ่นหนึ่งจำได้ว่ามีท่านทนายชาวเกาะที่ทำแบบนี้ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้สนใจมาก

ผมว่าท่านเอกชัยน่าจะมอบรางวัลนักศึกษาทำคุณประโยชน์ดีเด่นให้นะครับ มีกันรุ่นละ 1 คน ก็ถือว่าดีมากแล้วครับ

เท่าที่เล่ามาถือว่าสนุกและได้ใจความดีครับ เห็นภาพรวมการเดินทางและดูงานได้ดี ส่วนใครสนใจในรายละเอียดใด ก็คงไปหากันเองได้

อินเดียต้องถือว่าเป็นบทเรียนที่สำคัญสำหรับโลกปัจจุบันและในอนาคตครับ เพราะวิธีคิด วิธีแก้ปัญหาแบบแขก บางทีก็ใช้ได้ผล ทั้งที่เราอาจคิดว่าไม่น่าจะได้ผล ที่สำคัญเขาคิดแล้วทำ ไม่ถูกก็แก้ไขกันจนสำเร็จ ได้สูตรสำเร็จนำไปใช้ได้

ด้วยการสร้างสมดุลย์ในนโยบายต่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้านและมหาอำนาจ จะทำให้อินเดียมีบทบาทนำในเวทีระหว่างประเทศในอนาคตแน่นอนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท